ปี 2021 เราได้สัมภาษณ์กับ Temporarywest กลุ่มเพื่อน 10 คนที่รวมตัวกันทำงาน Street Art เพื่อพัฒนาชุมชนในโปรเจกต์ Art Town ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เวลาผ่านมาจนถึงปี 2023 เราได้รับคำเชิญจากกลุ่ม T-West ให้ไปนิทรรศกาลศิลปะชื่อ The Lost Wall Exhibition ที่รันโดยกลุ่มผ่านคอนเซปต์ Host เทคหนึ่งสัปดาห์จัดงานในธีมของตัวเอง ในตึกที่มีชื่อว่า Red.cose (ระหว่างที่เขียนอยู่นี้งานได้จบลงไปแล้วเมื่อวันที่ 12/08/2023 ที่ผ่านมา) ‘เฟม-พีรพัฒน์ อื้อพรรณรังษี’ หรือ Aka. Y? เฮดของกลุ่ม T-West เป็นเพื่อนกับผมสมัยทำงานอยู่ที่บริษัทปาร์ตี้ชื่อ Dudesweet ด้วยกันเมื่อนานมาแล้ว ด้วยความที่ไม่ได้เจอกันมาหลายปี เราจึงขอมันสัมภาษณ์ทำ Artist Room เพื่อคุยถึงมุมมองที่มันมีต่อวงการ Graffiti ความฝันในการพาเพื่อน ๆ เป็น Street Crew ระดับโลก และความหลงใหลใน Street Art
วินาทีนี้คงจะไม่มีซีรีส์เรื่องไหนจะร้อนแรงได้เท่ากับ Beef ของ Netflix อีกแล้ว ! ซีรีส์เรื่องนี้ผลิตโดย A24 ค่ายสุดไฮป์ผู้ขยันสร้างตำนานได้ทุกวัน กับเรื่องย่อสุดมินิมอลที่สามารถเล่าไว ๆ บรรทัดเดียวจบได้แบบนี้ “นี่คือเรื่องราวระหว่าง Danny Cho กับ Amy Lau คนแปลกหน้าที่ประทะอารมณ์กันบนท้องถนน บีบแตรรถใส่กัน ด่ากัน ชูนิ้วกลางให้อีกฝ่าย จนนำไปสู่ความวายป่วงของชีวิตเกินกว่าใครจะคิดฝัน” ถึงแม้ว่าเรื่องย่อของซีรีส์จะแสนสั้น แต่ซีรีส์เรื่องนี้อุดมด้วยรายละเอียดของประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างเข้มข้น ทั้งฉายภาพความเหนื่อยล้าของชนชั้นกลางที่ทำงานเพื่อคนอื่นตลอดชีวิตแต่ไม่มีใครเห็นค่า ความคิดชุ่ย ๆ ของ Privillage ที่มองคนเป็นคนไม่เท่ากัน และอีกหลายประเด็นที่ดูจบครั้งเดียวคงเก็บรายละเอียดไว้ไม่หมดแน่นอน สิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ อย่างแรกเกี่ยวกับ Beef คือการวางตัวของ Lee Sung Jin เดบิวต์ในฐานะ Creator และ Director เป็นครั้งแรก หลังจากที่เขาเป็นคนเขียนบทซีรีส์มาโดยตลอด ผลงานเด่น ๆ ก็จะมี Undone (2019) / Dave (2020) /
Street Art ผลงานศิลปะข้างถนนที่หลายคนอาจจะมีมุมมองด้านลบกับมัน รู้สึกกับมันเป็นเพียงสิ่งที่สร้างความเลอะเทอะให้กับสังคม แต่แท้จริงแล้วผลงาน Street Art เช่นในสายของ Graffiti กลับมีความหมายหลาย ๆ อย่างซ่อนอยู่ในผลงานศิลปะข้างถนนเหล่านั้น มีทั้งความฝัน แรงบันดาลใจที่ใส่ลงไปในกระป๋องสเปรย์และถูกถ่ายถอดออกมาลงบนผืนกำแพงในที่รกร้าง และลวดลายเหล่านั้นมันมีส่วนช่วยให้พื้นที่ต่าง ๆ ในสังคมมีความหมายมากขึ้นกว่าที่เคยเป็น Temporary West คือหนึ่งในกลุ่มที่สร้างสรรค์ผลงาน Street Art ที่เริ่มต้นจากความชอบจนต่อยอดไปสู่การพัฒนาชุมชนทั่วไป รวมไปถึงในพื้นที่บ้านเกิด จนได้รับการยอมรับจากสังคม พวกเขามารวมตัวกันได้อย่างไร? อะไรคือเป้าหมายในการสร้างผลงานศิลปะที่ไร้ขอบเขต? มาทำความรู้จักพวกเขาไปพร้อม ๆ กันครับ TEMPORARY WEST การรวมตัวของเพื่อน “พวกเราเป็นกลุ่มเพื่อนที่ชวน ๆ กันมาทำงานครับ มารวมตัวกันช่วงทำโปรเจกต์ Art Town ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่มันไม่สนุกถ้าทำคนเดียว ก็เลยชวน ๆ เพื่อนกันมารวมตัวกัน พอรวมกันเยอะๆ มันรู้สึกคลิกกัน ก็เลยตัดสินใจรวมกันเป็นกลุ่ม หลังจากนั้นก็ทำกันมาเรื่อย ๆ เลยครับ” “ส่วนชื่อกลุ่มได้มาจากในกรุ๊ปไลน์ครับ ที่ตั้งว่า ‘Temporary West’ เพราะว่าเราได้ไปทำกิจกรรมกันที่ประจวบคีรีขันธ์