DESIGN

#ArtistRoom : Y? ศิลปินผู้หลงใหลในวัฒนธรรมของดนตรี Hip Hop และทำงาน Street Art เพื่อตอบทุกเครื่องหมายคำถามในชีวิตของตัวเอง

By: GEESUCH August 23, 2023

ปี 2021 เราได้สัมภาษณ์กับ Temporarywest กลุ่มเพื่อน 10 คนที่รวมตัวกันทำงาน Street Art เพื่อพัฒนาชุมชนในโปรเจกต์ Art Town ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

เวลาผ่านมาจนถึงปี 2023 เราได้รับคำเชิญจากกลุ่ม T-West ให้ไปนิทรรศกาลศิลปะชื่อ The Lost Wall Exhibition ที่รันโดยกลุ่มผ่านคอนเซปต์ Host เทคหนึ่งสัปดาห์จัดงานในธีมของตัวเอง ในตึกที่มีชื่อว่า Red.cose (ระหว่างที่เขียนอยู่นี้งานได้จบลงไปแล้วเมื่อวันที่ 12/08/2023 ที่ผ่านมา) 

‘เฟม-พีรพัฒน์ อื้อพรรณรังษี’ หรือ Aka. Y? เฮดของกลุ่ม T-West เป็นเพื่อนกับผมสมัยทำงานอยู่ที่บริษัทปาร์ตี้ชื่อ Dudesweet ด้วยกันเมื่อนานมาแล้ว ด้วยความที่ไม่ได้เจอกันมาหลายปี เราจึงขอมันสัมภาษณ์ทำ Artist Room เพื่อคุยถึงมุมมองที่มันมีต่อวงการ Graffiti ความฝันในการพาเพื่อน ๆ เป็น Street Crew ระดับโลก และความหลงใหลใน Street Art ผ่านคำถามในการทำงานศิลปะว่า ‘ทำไม?’ เพื่อหาคำตอบให้กับมุมมองที่สงสัยของตัวเอง

** เนื่องจากบทความนี้ผมเป็นเพื่อนกับศิลปินที่ถูกสัมภาษณ์ จึงจะขอใช้สรรพนาม ‘กู’ และ ‘มึง’ เพื่อให้ได้เห็นความเป็นตัวเองของศิลปินแบบ 100% ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ **


ULM : กูเริ่มแบบนี้เฟม จำได้ว่าตอนทำงานอยู่ที่ Dusesweet มึงไม่ได้ใช้ Artist Name นี้ เอาความหมายของชื่อ Y? ก่อนเลย ทำไมต้องเป็นตัวอักษรนี้ และมีเครื่องหมาย ? ต่อท้าย 

Y? : ก็แปลว่า ‘ทำไม?’ ไง ตรงตัวไปเลย แค่เอาตัว Y มา แล้วตัด WH ออก แล้วทำไมถึงใช้คำว่าทำไมใช่มั้ย เพราะว่ามันเป็นคำถามที่กูชอบ เหมือน Grammar ตอนเด็ก ๆ อะ ถาม Why ตอบ Because พอถามว่าทำไม ก็จะได้เหตุผลจากคนที่ถาม มันจะได้คำอธิบาย ก็รู้สึกว่าเวลาถามไปมันให้คนเขาตอบในสิ่งที่เขาคิด แล้วก็จริง ๆ เป็นคำถามที่พ่อกูชอบถามกูด้วยตั้งแต่เด็กด้วย อีกอย่างคือกูรู้สึกมันกวนตีนดีเวลาคุยกับฝรั่ง เวลามันถามว่าแบบ มึงคือใคร ชื่ออะไร กูตอบ I’m Y? ละทุกคนก็จะแบบ อ้อ That’s WHY 

ULM : แล้ว Y? ของมึงต้ังคำถามกับอะไร

Y? : ตั้งคำถามกับทุกอย่างเลยเว้ย เพราะกูรู้สึกว่าทำอะไรต้องมีเหตุผล กูเป็นคนยึดอย่างนั้น กระทั่งแบบกูทำงานเองพอเวลาไม่มีเหตุไม่มีผลกูก็จะไปต่อไม่ถูก ไม่รู้จะทำไปทำไม ยิ่งเวลาแบบทำไปสักพัก มันจะชอบ Doubt ตัวเอง สิ่งนี้มันถูกปะวะ มันก็จะเกิดจากคำถามนี้ ทำไปทำไม ถ้าวันไหนกูตอบไม่ได้ กูจะรู้สึกว่า “โอเค ไม่มีเหตุผลละ” บางทีเหตุผลมันไม่ต้องตอบเป็นคำก็ได้นะ แต่คือกูจะรู้ของตัวเองอะว่ามันมีเหตุผลของมันอยู่ อาจเป็นแค่ Passion หรืออะไรก็ได้ อย่างน้อยมันต้องมีเหตุผล กูเป็นคนรู้สึกว่าทุกอย่างต้องมีเหตุผล

ULM : แบบนี้ก็แสดงว่างานทุกชิ้นของ Y? มึงไม่ได้ใช้อารมณ์นำตลอดเวลาใช่มั้ย

Y? : คือบางทีเหตุผลมันก็อยู่นอกเหนือจากงานได้ไง สมมุติว่ากูอาจจะวาดอันนี้เพื่อ Express อารมณ์ตรงนี้ แต่มันก็ต้องมีเหตุผลว่าทำไมถึงต้อง Express อารมณ์ตรงนี้ ที่กูใช้ตอบกับตัวเองแต่กูอาจจะไม่ได้บอกคนอื่นก็ได้ แต่ไม่ใช่หมายความว่ามันจะเป็นงานที่แบบเป็นเหตุและผล แล้วก็สะท้อนอะไรสักอย่างตลอดเวลา อาจจะไม่ได้ขนาดนั้น เพราะงั้นกูก็รู้สึกว่ามันเป็นการก็ดู Keep Character ไป

ULM : อันนั้นคือว่าทำไมถึงต้องเป็น Y? แล้ว YAKOB ชื่อ Artist Name เก่าของมึงล่ะ มีเหตุผลอะไร

Y? : คือ YAKOB (ยาขอบ) มันเหมือนเป็นชื่อที่ตั้งเร็ว ๆ แล้วก็เมื่อก่อนชอบนักเขียนชื่อ ‘ยาขอบ’ เป็นคำที่เข้าปากดีด้วยตอนนั้น แต่มันก็เป็นชื่อแรก ๆ เหมือนกับ Rapper ที่แบบชื่อแรกมันก็ไม่ใช่สำหรับทุกคนในบางที ละพอมองย้อนกลับไปดูที่มาของชื่อนักเขียน มันมาจากคำว่า ‘เจคอบ’ เพี้ยนมาเป็นยาขอบ เออซึ่งเมื่อก่อนกูก็เป็นเด็กนักเรียนขาสั้นกางเกงน้ำเงิน พร้อมกระเป๋าจาคอบเป็นหนึ่งในพร็อพที่ค่อนข้างคู่กาย มันใกล้ตัวก็เลยหยิบขึ้นมาใช้ ตอนนั้นกูยังทำเขียนบทหนังอยู่ด้วย ก็อยากได้ชื่อที่ให้มันดูเป็นนักเขียนหน่อย แล้วก็อยากทำเหมือนต่างประเทศที่มีวัฒนธรรมการใช้ชื่อซ้ำกันแต่เปลี่ยนเป็นจูเนียร์ ก็เหมือนเอาชื่อคนที่เราชอบมาใช้อินสไปร์นั่นแหละ แต่สุดท้ายมันก็ไม่ฟิตอินเท่าไหร่ พอมาทำอาร์ตที่ไม่ใช่เขียนบทหนัง ก็ยิ่งรู้สึกว่ามันไม่ค่อยเป็นตัวเองเท่าไหร่

ULM : พอดีเลยมึงพูดถึงเรื่องเขียนบทหนังขึ้นมา มึงเคยเล่าให้กูฟังว่าเรียนฟิล์มศิลปากร แต่สุดท้ายมาเลือกทำงาน Street Art ช่วงเวลาตรงนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง

Y? : มันเหมือนเป็นช่วงที่กูเลิกทำฟิล์ม คือจริง ๆ กูก็ไม่ได้ถลำลึกขนาดนั้นนะ เพราะว่าถ้าเด็กบ้านเราเวลาทำฟิล์มคือหมายถึงการไปทำโปรดัคชั่นใช่มะ คือกูไม่ชอบโปรดัคชั่น ไม่ได้แอนตี้ระบบ เชื่อว่าระบบโปรดัคชั่นมันดีในแง่การผลิตให้เป็นอุตสาหกรรม แต่กูชอบในความเป็นดีไซน์ที่มันยังเป็นความคราฟต์ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรม แล้วการทำงานระบบโปรดัคชั่นอะ มันหลากคน หลากเหตุผลที่เข้ามาอยู่รวมกันตรงนั้น เรารู้สึกว่ามันไม่คลีนสำหรับตัวเอง ก็เลยถอยออกมา

ก็เลยต้องมามองหาว่า เฮ้ย ยังชอบฟิล์มอยู่ อยากทำฟิล์ม แต่ไม่ได้อยากทำอย่างเดียวไปทั้งชีวิต พยายามหาอย่างอื่นที่มันลิงก์กันว่าจริง ๆ แล้วเราชอบอะไร เพราะกูว่าส่วนใหญ่ทุกคนน่าจะเจอเหมือนกัน คือไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรจริง ๆ แต่รู้แค่ว่ามีสิ่งที่ชอบประมาณนึง ยิ่งเราอยู่ในประเทศที่ categorize ของอาชีพมันแคบด้วย 

ทีนี้กูก็เลยมาพยายามหาว่าในสิ่งที่ชอบทั้งหมดนั้น อะไรเป็นแกนที่เราชอบแล้วมันเหมือนกันหมด อย่างเช่น เขียนบท / ทำหนัง / วาดรูป / ฟังเพลง / อะไรคือสิ่งเดียวกันที่มันดึงให้เราชอบสิ่งเหล่านี้ พยายามแกะไปหาตรงนั้น สุดท้ายมันก็กลับมาเป็น ‘วาดรูป’ … ตอนกูเรียนฟิล์มกูไม่วาดรูปเลย สตอรี่บอร์ดกูก็ไม่เขียน กูใช้เป็นถ่าย Pilot หมด เมื่อก่อนกูเหมือนเป็นพวกหมกมุ่น คิดว่าแบบทำอะไรต้องทำอย่างเดียวมันถึงจะสุด 

ทีนี้ก็เรียกว่ากลับไป Back To Basic สกิลแรกที่ทำให้เราชอบงานครีเอท พอเริ่มวาดรูปแล้วก็พยายามหาต่อว่า “เราชอบวาดอะไร?” ซึ่งสุดท้ายมันก็กลับมาที่เราชอบไลฟ์สไตล์แบบ Hip Hop เราอินสไปร์จาก Sub Culture แบบนี้เยอะ กูไม่ได้อยากเป็นคนดำอะไรแบบนั้นนะ แต่ Sub Culture ที่เตะเตะตากูที่สุดมันคือ Hip Hop เลยลองดูแล้วก็รู้สึกว่าเป็นเทสที่เข้ากันดี คนในบริบทตรงนั้นค่อนข้างแมทช์กับเราด้วย แล้วกูก็ขยับเข้ามาจนมันเป็น Street Art

ULM: ในช่วงเริ่มต้นงานของการค้นหาสไตล์ตัวตนของ Y? มึงทำอะไรบ้าง 1 2 3 4 จนถึงวันที่พบสิ่งที่ตัวเองเป็นในที่สุด  

Y? : กูเริ่มจากเอาสิ่งที่ชอบมากองรวมกันแล้วก็ค่อย ๆ วาดซ้ำไปเรื่อย ๆ และเพราะว่ากูกลับมาเริ่มวาดรูปช้าด้วยมั้ง เลยไม่ได้มีเวลามานั่งฝึก Basic Study ใหม่ ตั้งแต่ Anatomy แถมเรียนฟิล์มมาด้วย จะรู้สึกว่าไม่ชอบกรอบวิชาชีพเวลาที่มันมีทฤษฎีเยอะ ๆ พอวาดรูปก็เลยลองไม่มีกฎไม่มีเกณฑ์ 

กูเป็นคนชอบอะไรไทย ๆ บางคนเขาเขียนออกมาเป็นแนวญี่ปุ่น เขียนออกมาเป็นสไตล์เกาหลี เขียนออกมาเป็นอเมริกันคอมิคจ๋า ๆ แต่แบบนั้นกูเขียนละกูเขิน เพราะกูจะรู้สึกว่าถ้าคนบ้านเขามาเห็นเมื่อไหร่กูจะไม่มั่นใจ ก็เลยพยายาม develop ออกมาเป็นสไตล์เอเชี่ยนไทย ๆ 

ยิ่งพอไปออนฟิลด์อยู่ในสนามจริง แล้วเราเจอศิลปิน พอเขาเห็นผลงานแล้วเก็ทความต้องการที่เราอยากได้ ว่าแบบ “เห้ย ! คุณมาจาก South East Asia รึเปล่า” คุณมาจากประเทศไทยรึเปล่า นั่นคือการพยายามประกอบจิ๊กซอว์ให้เป็นตัวเองที่สุดของกู และกูก็จะเป็นคนรีเช็คจากคนอื่นว่าเราประกอบมาถูกมั้ย แล้วกูเป็นพวกชอบแบบออกชาตินิยมนิด ๆ ก็เลยออกมาเป็นงานประมาณนี้ 

บวกกับตั้งแต่เด็กกูชอบวาดปีศาจ วาดมอนสเตอร์อยู่แล้ว เพราะว่าวาดคนไม่เก่ง ซึ่งพอวาดคนไม่เก่งแล้วเนี่ย พอมาวาดอะไรพวกนี้เรารู้สึกว่าแม่งไม่มีทฤษฎีเลย มึงวาดอะไรก็เป็นสัตว์ประหลาด แต่อยู่ที่ว่ามันจะเป็นสัตว์ประหลาดที่มึงใส่อะไรเข้าไป เหมือนฟองน้ำเลย กูก็เหมือน Develop มันมาเรื่อย ๆ จับความเป็นไทยเข้าไปใส่มันก็เลยกลายมาเป็นงานที่เห็นปัจจุบัน

ULM: ในปีศาจจะเห็นการเลือกใช้สีที่เป็น ‘ดำ’ กับ ‘แดง’ อยู่ตลอดเวลา มีความหมายอะไรซ่อนอยู่รึเปล่า 

Y? : ก็เลือกจากสิ่งที่กูชอบอีกนั่นแหละ อาจจะเป็นเพราะความใจร้อนด้วยมั้ง ส่วนใหญ่งานกูมันจะ Develop ผ่านการที่อยู่กับทีม T-West แล้วมันกลายเป็นว่าเพื่อนเราหลายคนมันเป็นเด็กเรียนศิลปะ มันมีเบสิคพื้นฐานที่ค่อนข้างแน่น ต่อให้ในทาง Street Art บางคนเพิ่งมาเริ่ม แต่ในฐานะฝ่ายอาร์ตมันมากันนานแล้ว เราก็เลยรู้สึกว่าแค่พยายามตามให้ทันอะ

กูเลยนึกถึงคู่สีที่กูชอบที่สุด เด่นที่สุด และกูรู้สึกว่ามันเป็นการบังคับให้มองที่สุด เข้าตามหลักจิตวิทยาสีทั่วไปมันก็คือดำกับแดง แต่พื้นฐานจริง ๆ กูชอบดำ คือกูจะค่อนข้างยึดกับสีดำละเอาสีอื่นมาใส่ 

เด็กผู้ชายทุกคนอยากเป็นสีแดงอยู่แล้ว เหมือนมึงดู Power Ranger มึงก็อยากเป็นสีแดง กูก็จะชอบเคมีตรงนี้ตั้งแต่เด็กละ ตัวละครสีดำเป็นตัวมาทีหลังแต่เก่งกว่า ตัวแดงก็จะเป็นตัวลีดเดอร์ กูเลยรู้สึกว่าเป็นแสงกับเงาสำหรับรตัวเองดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องสองสีนี้เท่านั้นนะ 

ULM : เรามาคุยสไตล์งานในวันที่เป็นปัจจุบันของมึงหน่อย นิยามสไตล์งานของ Y? ในวันนี้ มึงจะเรียกหรือมองว่าเป็นอย่างไร

Y? : ก็นิยามว่าเป็นงานของ Y? เหมือนกูก็เป็น Thai Street อันนึง กูไม่รู้มันเป็น Neo Thai หรือเป็น Modern ก็ไม่รู้เหมือนกัน แล้วแต่นักวิชาการเขาจับกัน ก็จะประมาณนั้น เป็น Asian เป็น Traditional ดูโมเดิร์นขึ้นมาหน่อย

ULM : ถาม Input ของมึงหน่อย ปกติเสพอะไรเพื่อใช้ในการทำงานศิลปะของ Y?

Y? : กูจะเบสจากตัวเองซะส่วนใหญ่ว่ะ อาจจะเพราะเรียนฟิล์มด้วยมั้ง มันเลยกลายเป็นถูกฝังหัวมาว่า ‘จะไม่ทำเรื่องที่ตัวเองไม่รู้ ถ้าเรื่องไหนไม่รู้จริงอย่าไปแตะ’ อย่างตอนทำหนังคนดูจะรู้เลยว่ารีเสิร์ชมาหนักแค่ไหน จะถูกสอนมาแต่แรกแบบนั้น แล้วอาจารย์ที่สอนกูทำหนังแรก ๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นทำหนังค่อนข้างไปในทาง Experimental (งานทดลอง) เขาก็จะสอนไปในทางที่ว่ากูควรจะเริ่มจากตัวเอง ซึ่งกูรู้สึกว่าศิลปินมันจะวนกลับมาที่ตัวเองนี่แหละ กูก็เริ่มจากตัวเองไปเลยจะได้ไม่เสียเวลา เวลาทำอะไรก็จะเอาอินเนอร์หรือเอาแพสชั่นตัวเองมาใส่ไปเลย โดยที่ไม่ได้เบสจากคนอื่นนิยมอะไร มันคือการใส่เฉพาะสิ่งที่เราอยากเห็น หรือเราอยากพูดเท่านั้น โดยเป็นแอดติจูดแบบกู

ULM: ช่วยอธิบายเป็นรูปธรรมมากขึ้นให้หน่อย อย่างงานใส่กรอบที่อยู่บนกำแพงข้างหลังมึงตอนนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง

Y?: งานที่มึงชี้อยู่นี้กูเอามาจากสุภาษิตโบราณของญี่ปุ่น Three Wise Monkeys ที่มันเป็นลิงปิดตา ปิดหู ปิดปาก ซึ่งเอาจริง ๆ อันนี้มันไม่มีอะไรเลยนะ เกิดจากการที่กูไปเที่ยวภูเก็ตกับเพื่อนคนหนึ่ง เป็นช่างสักมาจากอเมริกา จู่ ๆ มันก็ชี้หุ่นตัวที่กูกำลังจับเล่นอยู่พร้อมกับถามว่ารู้ความหมายมั้ย ตอนนั้นกูคิดว่ามันเป็นความหมายที่เกี่ยวข้องกับมาเฟีย คือการแบบปิดหู ปิดปาก แต่ความหมายจริง ๆ คือประมาณว่าการ Say No To Evil ไม่ใช่หมายถึงการปกป้องความลับ 

กูก็เลยแตกออกมาเป็นสองภาพ ก็คือเป็นบริบทของ ‘ก่อนคนจะทำผิด’ กับ ‘หลังทำผิด’ ประตูนี้ก็เหมือนก่อนเข้า-ก่อนเข้าก็เหมือนการตัดสินใจ ตรงนี้มันก็จะมาเบสกับกูว่าในมุมมองของบริบทนี้กูคิดยังไง อย่างกูจะรู้สึกว่า เวลาจะทำอะไรสักอย่างอะ ก่อนทำมันจะมีแอคชั่นนึงแหละที่รู้ตัว แต่ส่วนใหญ่จะปล่อยประ เผลอเรอ แล้วค่อยไปแก้ทีหลังเอา กูเลยรู้สึกว่า Say No To Evil ของกูคือการดับตั้งแต่แรก 

ยกตัวอย่างเรื่องง่าย ๆ ในชีวิตเวลาคนกำลังจะเป็นมือที่สามกัน ในจังหวะแรกก็มีรู้แล้วแหละว่ามันมีหลุมนอกใจที่ไม่ควรลงไป แต่กิเลสก็จะดันมึงลงไป ทำเป็นไม่เห็นหลุ่มนั้นอยู่ดี ทุกคนมันหลับตาข้างนึงกับแอคชั่นแรกเสมอ กูเลยเป็นคนแบบตัดไฟตั้งแต่ต้นลม จะเชื่ออย่างนั้น ถ้าปล่อยไป 1 2 3 มันจะรันไปเรื่อย ๆ งานนี้เป็นเหมือนการเอาสุภาษิตมามองใมมุมตัวเอง เบสออนจากมุมมองของกู อยากพูดกับคนที่ดูว่ากูมองประมาณนี้นะ


ULM: เออเหมือนว่าจะยังไม่ได้คุยกันเรื่องนี้ DAY1 ที่ทำให้มึงมาเริ่มทำกราฟิตี้ มึงสตาร์ทสเปรย์กระป๋องแรกที่พ่นจากตรงไหน

Y?: จริง ๆ กูเริ่มจาก Street Art มาก่อน บางคนอาจจะมองว่าสองอย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ต่างกัน แต่กูจะค่อนข้างชัดเจนว่า Street Art กับ Graffiti เป็นสิ่งที่แยกจากกัน สตรีทอาร์ทเหมือนเป็นหมวดหมู่ที่กว้างกว่าเพราะมันมาทีหลัง แล้วมันมาจากการที่คนทั้งหมดไม่สามารถฟิตอินในกราฟิตี้ได้

จากที่กูสัมผัสมา กฏิกาสากลของกราฟิตี้คือการพ่นสเปรย์ในการสร้างผลงาน พ่นใส่กำแพง สมมุติเอาพู่กันมาเขียนบางที่เขาจะทรีทเป็นสตรีทอาร์ทหรือ Mural Painting เพราะมันใช้คนละเทคนิค สำหรับกูกราฟิตี้ไม่ได้แปลว่ารูปบนกำแพงอย่างเดียว แต่ถ้าเอารากศัพท์จริง ๆ มันก็คือรูปบนกำแพงแหละ เหมือนกูบอกว่า Painting มันก็มีหลายแบบ มันเป็น Tools อย่างนึง 

ที่กูบอกว่าสองสิ่งนี้มันต่างกัน เพราะกูค่อนข้างทรีทกราฟิตี้เป็นกีฬา มันมีความแข่งขันได้ มันต้องซ้อม มันจะมีกติกาของมันที่ค่อนข้างชัดเจน สตรีทอาร์ทจะฟรีกว่าตรงที่คุณจะทำอะไรก็ได้เพื่อเอาไปเผยแพร่บนถนนมันก็เป็นสตรีทอาร์ทแล้ว แต่ว่ากราฟิตี้มันไม่ใช่ มันจะมีกฎเพื่อให้แข่งกันได้ มันสามารถวัดกันได้ ซึ่งมันก็เป็นเบสของวัฒนธรรม Hip Hop เหมือนกัน เป็นศาสตร์ที่แข่งกันได้ เหมือน Rapper ที่ดิสใส่กัน ดีเจที่เป็นสาย Hip Hop ก็แบทเทิลกันได้ มีไวนิลสแคลชแข่งกัน ซึ่งกราฟิตี้ก็เหมือนกัน แต่คนอื่นอาจจะเห็นไม่ค่อยชัดเท่าไหร่

เหตุการณ์ตอนที่เริ่มทำ Street Art แรก ๆ มันก็อยู่ในช่วงเดียวกันกับที่กูเลิกจากการทำฟิล์มไปเริ่มวาดรูปแล้ว จะมีช่วงหนึ่งที่กูไม่รู้จะไปทำอะไร จังหวะนั้นเป็นช่วงที่ไปเยี่ยมบ้านแฟนที่ Melbourne เป็นช่วงชีวิตที่สุญญากาศของกู ทำร้านก็เจ๊ง กูก็เลยเริ่มรู้สึกว่า “เชี่ยไม่ได้แล้วว่ะ” มัน Lost อยากหาอะไรสักอย่างที่ทำได้ ก็เลยลิสต์สิ่งที่ชอบมาว่าทำอะไรได้บ้าง อะไรที่ชอบแล้วยังไม่ได้ทำตั้งแต่เด็กมาจนถึงตอนนี้ ก็ฆ่าทิ้งทีละอย่าง จนมันก็มาถึงอันที่ ‘ทำสติ๊กเกอร์’ ก่อนจะไปเมลเบิร์นกูเลยเขียนคาแรคเตอร์ตัวแรก กูก็เอาตัวนี้ไปสแกนสั่งเป็นสติ๊กเกอร์ออกมา 

เพราะว่าอยากลองแปะสติกเกอร์แบบที่เคยเห็นตอนเด็ก ๆ แต่ว่าตัวเองไม่เคยทำ ในเมลเบิร์นมันจะมี Street Art lane พอไปถึงก็ลองไปแปะตามเสา ไปตามที่โง่ ๆ เลย พอแปะเสร็จแล้วแม่งรู้สึกได้พลังดีว่ะ อาจจะเพราะมันปลดล็อคตัวเองด้วยว่าทำไมมึงไม่ทำสิ่งนี้มาตั้งนานแล้ววะ มึงอาจจะหายสงสัยเรื่องนี้ไปตั้งนานแล้วก็ได้ พอแปะแล้วชอบก็อยากขยับขึ้นมาเป็นกำแพง มันก็เลยเริ่มมีกำแพงแรกจากตรงนั้น

ULM : หมายถึงขยับมาจากแปะสติ๊กเกอร์มาเป็นพ่นกำแพงเลยรึเปล่า

Y? : กูเริ่มจาก Painting ก่อน กูค่อนข้างไม่ใช่คนพุ่งขนาดนั้นด้วยเลยคิดจากง่ายสุด เพราะจริง ๆ เคยลองสเปรย์มาแล้ว แต่ตอนนั้นไม่มีข้อมูล ไปเอาสเปรย์อุตสาหกรรมมาพ่น รู้สึกว่ามันยาก ตอนนั้นคิดว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้มันสวยได้ เพราะไม่รู้อะไรเลย ซึ่งศิลปินที่รู้จักในสายสตรีทคือต้องระดับโลกแบบแมสเหี้ย ๆ อย่าง Banksy ซึ่งพวกนี้แม่งก็ไม่ได้มาเขียนว่ามันทำงานยังไง เราก็ไม่รู้จะไปอ่านจากไหน บ้านเรากราฟิตี้ก็เป็นสิ่งที่ค่อนข้างลับแลสำหรับคนทั่วไปและค่อนข้างรุนแรงด้วย 

คือกราฟิตี้ไทยใน Gen กูอะ ส่วนใหญ่มันจะถูกฟูมฟักมากับเด็กโซนประมาณ ‘ช่างศิลป์’ เด็กที่เรียนศิลปะเหมือนดุริยางคศิลป์ เรียนตั้งแต่ม.ปลาย ส่วนเด็กสามัญอย่างกูที่อยู่ใน Element ดัง ๆ อย่าง MC หรือ B-Boy เราก็ไม่อินไง ส่วนการเขียน Tag มันก็เป็นการแค่เขียนเพื่อเป็นชื่อแก๊งค์ชื่ออะไร ซึ่งตอนนั้น เราไม่ได้อินกับการเขียนชื่อก็เลยมองว่าหาอย่างอื่นดีกว่า 

สุดท้ายเลยไปเขียนกำแพง แล้ววิธีการง่ายที่สุดคืออะไร ‘พู่กัน’ เพราะว่าวัตถุประสงค์แรกคืออยากให้มันสวย เริ่มจากสีทาบ้าน คิดง่าย ๆ เลย สีทาบ้านภายนอก สีน้ำ

ULM: ทีนี้ใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าจะไปพ่นกราฟิตี้

Y?: เริ่มจากแปะสติกเกอร์อันแรก พอแปะเสร็จกลับมาไทยก็ตั้งใจว่าจะเขียนกำแพง โดยใช้ตัวคาแรคเตอร์เดิมที่ใช้ทำสติ๊กเกอร์เอาไปขึ้นกำแพง ไซส์แค่เมตรคูณเมตรเองมั้ง แต่ว่าตอนนั้นคือแบบเหนื่อยและไม่สนุก อยู่กลางแดดที่ประจวบ สปอตนั้นคือกำแพงหน้าโรงงานของบ้านกู มันก็คือกำแพงแรกของทีม T-West ในเวลาต่อมานี่ล่ะ หันไปแต่ละทีคือสุดลูกหูลูกตาไม่มีใครเลย กูยืนอยู่คนเดียว กูก็มานั่งคิดว่า “เอ๊ะ  หรือมันต้องมีคนอื่นวะ มันถึงจะสนุก?” 

ทีนี้ก็นึกเลยว่ารอบข้างมีใครที่ทำศิลปะบ้าง ในคัลเจอร์นี้กูเริ่มมาจากการเป็น Outsider มาก ๆ ไม่รู้เลยว่าในไทยมีใครบ้าง ศิลปินตอนนั้นก็รู้จักแต่ MAMAFAKA คนเดียว 

สุดท้ายก็เลยนึกถึงเพื่อนสมัยมัธยม มันก็ชวนกันต่อ ๆ มา กูก็ไปเจอคนที่รู้สึกว่าเขาวาดเก่ง ถ้ามีคนเก่ง ๆ อยู่ด้วยมันน่าจะสนุกดี คือกูชอบอยู่กับคนเก่ง ๆ รู้สึกว่ามัน influence กันดี หลังจากนั้นพอไปอยู่กับเพื่อน ถึงเริ่มรู้หลาย ๆ อย่าง เพื่อนเราไม่ได้เซียนนะแต่มันรู้มากกว่าเรา มันก็เคยแข่งมาบ้าง เรียนอาร์ทมาบ้าง มันก็จะพอรู้ว่าต้องใช้อุปกรณ์ตัวไหน เลยเป็นช่วงที่ได้เริ่มรู้ว่ากูต้องใช้สเปรย์อะไร ถ้าจะใช้สเปรย์อุตสาหกรรมก็ต้องใช้ยี่ห้อนี้ สเปรย์สำหรับการพ่นจะเป็นอีกยี่ห้อหนึ่ง เทคนิคในการพ่นต้องทำยังไง อย่างเมื่อก่อนกูจะมีปัญหาว่าพ่นยังไงมันก็ใหญ่ จะไปจิกให้มันเล็กลงได้ยังไงวะ มันไม่เหมือนพู่กัน ก็เริ่มรู้ว่ามันมีเทคโนโลยีเปลี่ยนหัว (Caps) มันมีเทคนิคที่เรียกว่าการฝึก Hand Control การกดโดยการกะ Spray Pressure หรืออะไรทั้งหมดเนี่ยก็คือจะมาเรียนหลังจากที่มีทีมแล้ว

ULM: มึงตั้งทีม Temporarywest ขี้นมาเพื่อทำกราฟิตี้กันเลยใช่มั้ย

Y? : ไม่จำกัด ทุกวันนี้จริง ๆ T-West ไม่ได้จำกัดนะว่าจะเป็นกราฟิตี้

ULM: แล้วตอนแรกที่มึงตั้งทีมเพราะบอกว่าตัวเองพ่นคนเดียวไม่สนุก ตอนนั้นตั้งเป้าหมายอะไรเอาไว้ 

Y?: ตอนนั้นคิดใหญ่เลย พอพ่นปุ๊บแม่งโดนว่ะ เพราะฉะนั้นทำให้มันสนุกกว่านี้โดยการพ่นแม่งทั้งเมืองไปเลย เอาคนมาเยอะ ๆ ถ้ากูพ่นทุกวันก็จะมีคนเวียนมาพ่นกับกูเรื่อย ๆ แล้วชุดแรกที่มามันคือ Temporarywest จับผลัดจับผลูจนกลายเป็นทีม ก็เลยอยู่กับทีมนี้มาเรื่อย ๆ

ULM : มาคุยกันตอนที่มึงเข้าในวงการกราฟิตี้แล้ว เริ่มพ่นจริงจังแล้วดีกว่า ตอนนั้นทำอะไรบ้าง

Y? : กูเริ่มกราฟิตี้ด้วยการระวังตัวมาก ถ้าถามศิลปินในรุ่นก่อนกูจะพบว่าสตรีทอาร์ทกับกราฟิตี้มีดราม่าเยอะ อย่างยุคพี่ตั้ม MAMAFAKA จะเห็นได้ชัดสุด เพราะว่าเป็นสตรีทอาร์ทเจนแรกของบ้านเรา คือไม่ได้บอกพี่ตั้มเป็นคนแรกนะ แต่ในยุคนั้นก็จะมี P7 / NEVER / Rukkit หรือ TRK เจนแรกที่เป็นสตรีทอาร์ทยุคแรกที่เด็กไทยรู้จัก พร้อมกับติดภาพมาตลอดว่ากราฟิตี้ไรท์เตอร์แม่งดุ มันจะติดภาพอย่างนี้มาตลอด แม่งแบบ Conservative จะต้องเขียน letter (ชื่อตัวอักษร) เท่านั้น เป็น Wildstyle หรือไม่ก็ออกไปเป็น Vandalism ต้องทำ Throw Up  / Bubble บลา ๆๆๆ 

กูก็เลยพยายามศึกษาจากต่างประเทศค่อนข้างเยอะ จาก Source หลักต่างประเทศที่เราเห็น พอมาเจอในไทย เรารู้ว่ามันไม่เหมือนกัน แรก ๆ กูก็เลยจะไม่เรียกตัวเองว่าเป็นกราฟิตี้ ทุกวันนี้ถ้าถามกูว่าเป็นอะไร กูก็จะบอกตัวเองเป็น Street Artist แต่ถามว่าทำกราฟิตี้มั้ย ใช่ แต่กูไม่ได้จำกัดว่าจะต้องพ่นอย่างเดียว แต่คือถ้าเมื่อไหร่ที่ข้ามมาพาร์ทของการพ่น กูก็จะซีเรียสและจะใช้กฎเกณฑ์เดียวกันกับกราฟิตี้

ULM : ซึ่งก็คือ ?

Y? : คือการใช้สเปรย์ 100% มันจะมีกติกาบนถนนอยู่ กูเริ่มหัดจากการใช้สเปรย์ก่อน พอใช้สเปรย์เสร็จ ในตอนแรกก็จะมีผสมเอาพู่กันมาตัดเส้น พออยู่ไปสักพัก มันจะเหมือนมึงฟังเพลงอะ มึงก็ฟังเพลงลึกขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่กูเสพมันก็จะลึกขึ้นเรื่อย ๆ จากที่เราดู Character Design จนเริ่มอิ่ม ก็จะไปดูว่ามันมีแบบอื่นมั้ย มันก็จะมี Tag / Throw up เจอพวก Vandal เจอแบบบางคนเขาเป็น Bomber อย่างเดียว ทำผิดกฎหมายอย่างเดียวไปเลยก็มี 

เหล่านี้มันเกิดจากการที่เราดูตาม้าตาเรือไปเรื่อย ๆ จนวันนึงเราชัวร์แล้วว่านิยามของตรงนี้ที่เราเข้าใจเป็นแบบไหน ก็ค่อยเข้าไปเต็มตัว ฉันจะทำตามกติกาที่คุณมี เบสิคเลยก็คือ ‘สเปรย์ 100%’ การใช้ cap (หัวกดสเปรย์) 100% ไม่มีการใช้แปรง ที่เหลือมันก็จะเป็นสิ่งที่ตามมาทีหลัง 

เท่าที่กูสัมผัสมาคนส่วนใหญ่ที่เคยคุยเขาจะเริ่มจากการ Tag เขียนชื่อก่อน โดยที่เขาไม่รู้ด้วยว่ามันคือกราฟิตี้ เข้าก็แค่ Tag ไปเรื่อย ๆ ถ้าเป็นรุ่น Old School หน่อย เขาจะคัด ABC เหมือนเป็น Hand Style คิดลายมือของตัวเองขึ้นมา แล้วพอเขาเขียนจนอิ่มตัวก็จะไปพ่น พ่นเสร็จก็กลายมาเป็น Character Design แต่กูเริ่มแบบย้อนทางสวนเข้ามา เริ่มมาก็ Character Design เลย คลายฟอร์มมาตั้งแต่แรกเลย แล้วค่อยมาตามเก็บอันที่ยังไม่เคยลอง พอลองไปเรื่อย ๆ มันก็กลายเป็นว่ายิ่งเข้าถลำไปเรื่อย ๆ ยิ่งอินขึ้นเรื่อย ๆ หลัง ๆ ถ้าถามว่าชอบอะไร ก็จะชอบกราฟิตี้มากกว่าการทำสตรีทอาร์ท สัดส่วนก็จะอยู่ที่ 70-30

จริง ๆ กฎของกราฟิตี้มันก็ไม่มีอะไรอะมึง อย่างที่กูบอกว่ามันคือกีฬา อย่างกูโดนทับกำแพงกูก็จะเฉย ๆ เพราะมันเหมือนกูไปเตะบอล แล้ว Score กูดีมากเลย กูจะไม่ให้คนอื่นมาเล่นสนามนี้ต่อเหรอ เพราะกูไม่อยากให้เค้าล้าง Score ข้างบนอย่างงี้ นึกออกปะ มันก็ไม่ได้

ULM : มันเกี่ยวโยงกับเรื่องของการ Bomb งานคนอื่นด้วยมั้ย กฎของตรงนี้มีอะไรบ้าง

Y? : การ Bomb คือการ Dis กัน ตามกฎของกูเองคือกูก็จะไม่ไปทับใครมั่วซั่ว เพราะกูรู้ว่าผลของการทับคืออะไร ไม่ใช่มาหลับตาข้างนึงได้ เราวาดรูป เขาเขียนฟอนต์ เราทับได้ มันจะเป็นเรื่องพวกนี้ เหมือนทุกคนใช้กำแพงร่วมกัน

ULM : มึงศึกษาความรู้จากไหน ในยุคที่กราฟิตี้ตอน Day1 ของมึงหาความรู้ค่อนข้างยาก ตัวอย่างก็ไม่ค่อยจะมี มึงเริ่มจากอะไร คือศึกษาจากเพื่อน Temporarywest ที่เข้ามา หรือยังไง

Y? : เมื่อก่อนกูนั่งอ่าน Google อย่างของไทยกูก็อ่านจาก Google เพราะช่วงนั้นมันมีมีงานชื่อ ‘บุกรุก’ ที่เอาศิลปินขึ้นกำแพงดำของเยาวราชอะ อยู่รอบ ๆ เจริญกรุง มันจะมีช้างใหญ่ ๆ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่ถ้าไปแถวเจริญกรุง ตลาดน้อย มันจะมีพวกกำแพง Mural Art ใหญ่ ๆ เก่า ๆ พวกนั้นคืองานที่จัดในไทยที่เป็น Festival แรก ๆ ที่กูเคยเห็น

ULM : Festival Graffiti ?

Y? : เป็นของ Street Art เขาจะเรียกว่า Mural Festival

ULM : Mural หมายถึงอะไร

Y? : Mural คืองาน Paint โดยมีจุดประสงค์ เป็น Production ขนาดใหญ่ แต่ว่าก็แล้วแต่บางคนนะ อย่างบางทีกูก็เรียกงานจ้างว่าเป็น Mural Paint เหมือนกัน แต่แบบถ้าเป็นงานใหญ่ ๆ ส่วนใหญ่เค้าจะเรียกเป็น Mural ระดับตึก 3-4 ชั้น เหมือนไซส์ที่กูทำก้าวคนละก้าวงานพี่ตูน อันนั้นก็ถือเป็น Mural 

ซึ่งกูก็ไปศึกษากราฟิตี้จากตรงนั้นด้วย ก็ตอนนั้นคณะฟิล์มตอนเรียนมหาลัยมันอยู่ตรงตึก CAT ไง มันก็ดันอยู่ซอยข้างที่เป็น Main Stage ของงานบุกรุกพอดี จะมีพี่ Alex Face / Bonus TMC / TRK กูก็ไปจดชื่อที่เขา Tag แล้วก็ไปเสิร์ชหาว่าเป็นใคร เขาเป็นอะไร แต่มันก็จะเห็นแค่งาน เพราะคนพวกนี้ก็จะไม่ได้บอกวิธี

ULM : แล้วมึงทำยังไงทีนี้

Y? : ก็ไปเริ่มศึกษาจากคนที่เขารู้ อย่างที่บอกว่าพอเริ่มมีเพื่อนกูก็เริ่มถาม พอถามปุ๊ป เจอเพื่อนที่รู้มากกว่า ก็ถามเขาไปอีก แล้วพอเราเริ่มเข้าไปในวงการ กูก็จะรู้ว่าต้องตามข่าวจากตรงไหน แล้วยุคนั้นมันเริ่มเป็นยุคที่มี Instagram หลาย ๆ คนก็เริ่มที่จะ Public ตัวเองขึ้นมาเยอะขึ้น เริ่มเป็น Full Time Artist มากขึ้น มันก็เริ่มมีงานให้เราดูให้เราเสพให้เราเห็นไปเรื่อย ๆ แต่ส่วนใหญ่สิ่งที่รู้ถ้าไม่ได้มาจากอินเทอร์เน็ต กูจะหาจากเจ้าตัวเลย กูก็จะถามเขาเลยว่าสมัยก่อนเป็นยังไง สมัยนี้เป็นยังไง อันนี้ทำยังไงได้บ้าง แล้วเราก็เอามาประยุกต์ให้เข้ากับยุคของเรา


ULM? : เหมือนว่างานของมึงจะสัมพันธ์กับ Sub Culture เสมอ ไม่ว่าจะ Hip Hop / Street Art / Graffiti ตลอดเวลา มันหล่อหลอมมึงยังไง กูอยากให้มึงเล่าให้ฟังว่าตัวเองอินอะไรในสิ่งที่เรียกว่า Sub Culture 

Y? : เริ่มจากชอบ Hip Hop ก่อน ชอบมาก คงเพราะว่ากูเป็นเด็กต่างจังหวัดด้วยมั้ง กูไม่เคยได้ยินอะไรแบบนี้ คือกูอยู่ในจังหวัดที่มันค่อนข้างไม่มีอะไรในแง่ Entertainment แล้วต่างจังหวัดสมัยมึงย้อนไปเมื่อ 20 ปีก่อน ก็ฟังเพลงค่อนข้างแคบ พี่เบิร์ด / ต่าย-อรทัย กูก็ฟังตามแม่กู แล้วเราก็ไม่ชอบ คือกูจะเป็นคนไม่ชอบอะไรที่ดัง เป็นความโรคจิตอย่างหนึ่ง อะไรที่คนชอบเยอะ ๆ กูจะรู้สึกว่าแม่งมีปัญหาละ เดี๋ยวสักพักมันจะต้องมีอะไรแน่ ๆ กูจะเป็นคนรู้สึกอย่างงั้นตลอด 

กูก็เลยจะพยามขบถคนอื่นตั้งแต่เด็ก ๆ พยายามฟังเพลงไม่เหมือนคนอื่น แต่เด็กต่างจังหวัดมันก็ไม่มีอะไรให้เลือกเว้ย จนกูได้เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ช่วงประมาณ ป.6 เราก็จะพอรู้แล้วว่าเราชอบบีทประมาณนี้ แต่มันก็จะมีอะไรที่เรายังคงตามหาอยู่เรื่อย ๆ คือ แล้วมันมีคีย์เวิร์ดนึงที่อยู่ดี ๆ กูก็คิดขึ้นมาได้ 

“ทำไมเพลงต้องมีคำว่ารัก” ทำไมเพลงแม่งต้องบอกรักวะ หรือไม่ก็ต้องอกหัก คือกูพยายามหาเพลงที่ไม่มีคำว่ารักเลยในเพลง จนกูไปเจอ Hip Hop มันไม่มีเลยสักคำ กูก็ทึ่งสัส แล้วมันก็ยังพูดอะไรไม่รู้ออกมาที่แบบแม่งซีเรียสจัด จนกูรู้สึกว่าเพลง ๆ นึงต้องพูดอะไรเยอะขนาดนี้เลยหรอ แต่แบบมันโดนมาก แรก ๆ ที่ได้ฟังก็เริ่มจาก Hip Hop ไทยนี่แหละ 

หลังจากนั้นกูเลยเริ่มรู้แล้วว่ามันมีแนวเพลงแบบนี้ ก็ไปขุดต่อ จนคลั่งเลยตอนได้ฟังเพลงชื่อ Beautiful ของ Eminem คือแทรคนั้นเป็นเพลงที่ทำให้กูอิน Hip Hop มาก มันไม่เหมือนที่ฟัง Thaitanium กับโจอี้บอย มันมีความเพียวในแง่ความ Expression กว่า ต้องบอกว่าเพลงของไทเทยุคนึงมันก็จะเป็นเพลงมีความแบบปาร์ตี้ของ New York ตอนนั้นคือมันเข้ามาใน Phase ปาร์ตี้แล้ว กูก็จะเริ่มรู้สึกมันมีความ Hype ที่เกินเราไปหน่อย เหมือนกูต้องสนุกตลอดเวลา

แล้วกูก็ขุดลงไปเรื่อย ๆ จนพอมีโอกาสได้มาเรียนกรุงเทพฯ สังคมมันกว้างขึ้น เราเริ่มมีเพื่อนที่เต้นบีบอย แต่ก็ไม่ได้ไปทำด้วย ก็อิน Hip Hop มาตลอด อีกอย่างคือกูเป็นคนไม่ชอบฟังเพลงเก่า

ULM : เพลงเก่าคือ?

Y? : ไม่ชอบฟังเพลงเก่าวน ๆ เมื่อไหร่ที่ศิลปินเขาไม่ออกเพลงใหม่แล้ว คือเพลงมันเข้าสู่คำว่าคลาสสิกกูจะเลี่ยน จะรู้สึกฟังแล้วมันไม่มี Inspiration เท่าไหร่ มันจะได้แต่ในแง่ของการเอาความรู้สึกเก่า ๆ กลับมา วิธีการใช้เพลงของกูมันเลยจะตามอารมณ์กูนิดนึง ถ้าศิลปินแม่งหายไปละ ต่อให้เพลงมันเคยเพราะ หรือเคยดังขนาดไหน กูก็รู้สึกว่าต้องเปิดให้ถูกช่วง มันไม่ใช่เพลงที่กูจะตามไปได้ เพราะกูชอบตามข่าวสาร Hip Hop เป็นแนวเพลงเดียวที่ศิลปินที่กูตามตั้งแต่ต้น จนถึงตอนนี้มันก็ยังทำผลงานกันอยู่ แล้วก็เห็นพัฒนาการมากขึ้นไปเรื่อย ๆ คือกูชอบการเป็นส่วนหนึ่งของการตามอะไรแบบนี้ 

เมื่อก่อนกูก็ฟังอย่างอื่นมาก่อน ยุคมึงกับกูตอนเรียนมัธยมก็ต้อง Post Rock ใช่ปะ แม่งเท่มาก การฟัง Noise คือที่สุด คนกดเครื่องซินธิไซเซอร์แบบฟังไม่รู้เรื่อง คอน Stone Free กูก็ไปเมาอ้วกเหลืองชิบหายที่นั่น

ULM : เชี่ย เด็กแนวนี่หว่า

Y? : เออ กูไปหมดเลย แต่ว่าสุดท้ายแล้วถามว่ามึงยังเห็นสิ่งเหล่านั้นมาถึงตรงนี้ปะ กูไม่เห็นแล้วอะ หายไปหมดแล้ว แต่ Hip Hop แม่งแบบยืนหยัดผ่านกาลเวลา แล้วอีกสิ่งที่กูรู้สึกอินมากคือกูไม่ต้องมานั่งเซ็งเรื่องการแบบ Rock 80 ดีที่สุด Rock 90 ดีที่สุด หรือ Rock 70 ดีที่สุด แม่งเถียงกันอยู่นั่น ที่กูก็ไม่อินก็เพราะกูเป็นคนไม่เล่นดนตรีด้วย เลยทำให้รู้สึกว่าเพลงร็อคมันเหมือนเป็น Priority ชั้นสองของคนที่ไม่ได้เล่นดนตรีะ อย่างสมมุติเพื่อนกูฟังปุ๊ปเล่นกีตาร์ด้วย มันก็จะมีความตัวจริงกว่า อย่างเราฟังก็แค่เพราะกับไม่เพราะ กูเลยรู้สึกเหมือนตัวเองไม่เป็นส่วนหนึ่ง 

แต่เพราะ Hip Hop มันเพิ่งเริ่มสร้าง Culture ได้ไม่นาน อย่างตอนเริ่มฟังมันก็ 2000 แล้วใช่มั้ย แต่ 2000 มันคือช่วงปลายของ Golden Era ยังไม่ได้ถึงขั้นเริ่มใหม่ กูเลยรู้สึกว่าตัวเองได้เป็นส่วนหนึ่ง

ย้อนกลับไปนิดนึงก่อน Eminem มันก็จะเป็นยุคแดงน้ำเงินตีกัน 2pac กับ Biggie (The Notorious B.I.G.) มันยิ่งเห็นชัดว่าสิ่งที่ดนตรีแนวนี้เรียกร้องแม่งแบบไม่เหมือนแนวอื่นเลย มันจะเพื่อชีวิตอยู่แล้ว ยิ่งในยุคของ 2pac ก็มี Nas / Jay-z เชี่ยอย่างกับนักประพันธ์ กูก็เลยรู้สึกแม่งแปลกว่ะ เหมือนกลุ่มคนแปลกที่ชายขอบมาก ๆ กูฟิทอินกับสิ่งนี้ แล้วกูชอบเวลาฟัง Hip Hop เพราะว่ากูชอบคำคล้องจองด้วยมั้ง บางทีกูไม่ได้ฟังบีทนะ

ULM : เหมือนตรงส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับที่มึงชอบความเป็นไทยด้วยปะ กลอนอะไรอย่างงี้

Y? : ก็ส่วนหนึ่ง ตอนเด็กเคยชอบสุนทรภู่แบบอ่อน ๆ แต่โตมาแม่งเลี่ยนชิบหาย ยุคนึงก็ชอบที่มันมีความสัมผัส กูจะรู้สึกว่ากระแทกดีว่ะ บางทีฟัง Hip Hop กูจะเอาแค่เอเนอร์จี้ตรงนั้น ไม่ได้สนใจหรอกว่าบีทดีหรือไม่ดี


ULM : อยากคุยกันเรื่อง Temporarywest ต่อจากปี 2021 ที่ UNLOCKMEN เคยสัมภาษณ์เอาไว้หน่อยดีกว่า เพื่อเป็นการอัพเดท (แต่อันนั้นกูไม่ได้เป็นคนสัมภาษณ์มึงนะ) กูสนใจตรงที่บ้านเรายังมองกราฟิตี้เป็นสิ่งที่ขบถ / รุนแรง อย่างโคราชบ้านกูเองก็เพิ่งมีประเด็นกราฟิตี้ไปพ่นร้านคนอื่นโดยไม่ได้ขอก่อน มีเทศบาลออกมาเรียกร้องเป็นเรื่องใหญ่โต ก่อนหน้านี้หลายปีก็เคยมีเหตุการณ์พ่นรถที่จอดทิ้งไว้ แต่ กราฟิตี้ในแบบของ Temporarywest มีหน้าตาในแบบเดียวกันรึเปล่า แล้วตัวมึงเองในฐานะ Y? มองเรื่องความรุนแรงในวงการว่ายังไง

Y? : T-West มองกราฟิตี้เป็นแค่รูปแบบ เหมือนที่มองสตรีทอาร์ทนั่นแหละ กลุ่มเราจะใช้คำว่า Street Crew ไม่ใช้คำว่า Graffiti Crew กูจะมองว่ามันเป็นแค่วิธีการ แต่ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความเรียล อย่างกราฟิตี้ความรุนแรงมันก็มีรูปแบบของมัน เป็นความรุนแรงในการ Express ไม่ได้แปลว่าการที่มึง กล้าที่จะไป Throw Up ใส่ที่อื่นแล้วจะแปลว่ามึงเรียล กูมองอย่างงั้นนะ 

อย่าง T-West จะโฟกัสในการที่เราชอบทำกิจกรรมมากกว่าที่จะเอามาเป็นพร็อพ กูอยู่กับ T-West กูจะโฟกัสในการที่กูชอบพ่น กูอยากไปพ่นด้วยกัน กูอยากทำงาน Street Art ด้วยกัน มันจะเป็นไวบ์แบบนี้ มันจะไม่ใช่ “โหเ มึงโคตรเท่เลยว่ะ มึงทำอันนี้ ๆ” ไม่ได้เป็นการเช็คลิสต์เพื่อเป็นพร็อพว่าฉันต้องทำแบบนี้ ๆ ฉันถึงจะเรียล

แต่กูก็เข้าใจอย่างโคราชตอนนั้นนะ แต่กูกลับมองว่าเรื่องนั้นแม่งผิดประเด็นมากเลย สำหรับกูตอนนั้นกูคิดแค่ว่ามึงไปพ่น มึงโดนจับ มึงเกม มึงก็รับผิดไปดิ กูมองแค่นั้นเลย ถ้าเป็นกู ณ จุดนั้นก็คงไม่มานั่งอธิบายว่ามันเป็นวิถีของผม เพราะกูพลาด แล้วพลาดก็คือพลาดแค่นั้นเอง เดี๋ยวมึงก็ทำอีกอยู่แล้ว แต่ก็อย่างที่กูบอกมันก็เป็นการรับรู้ของคน ซึ่งกูมองว่ามันเป็นเรื่องของวุฒิภาวะมากกว่า แต่ของกู T-West จะไม่มีเรื่องพวกนี้

ULM : เหมือน Temporarywest จะเป็นเรื่องของเพื่อนได้ทำอะไรร่วมกันมากกว่าปะ

Y? : ใช่ แล้วการเกิดของกลุ่มก็มาจาก Project Community ด้วย คือเราเปิดหน้ามาตั้งแต่แรก วันนี้อาจจะมีบางคนปิด แต่ไม่ได้ปิดถึงขั้นแบบมึงหาไม่เจอ หลัก ๆ พอเราเปิดหน้าก็จะค่อนข้าง Concern ว่าอย่าไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน 

คือกูจะพยายามคุยกันว่าเราสามารถเพิ่มด้านดีให้กับ Culture นี้ได้ ก็เพิ่มไปดิ ทำหน้าที่ตัวเองไป คนที่เขาทำหน้าที่ในฝั่งผิดกฎหมายก็ทำไป กูไม่เคยบอกให้เขาหยุดนะ คือกูรู้สึกว่าพอมันเป็นงาน Street มันต้องมีทั้ง Underground และ Onground มันต้องมี Main Stream กับ Underground มันไม่สามารถแบบแยกออกจากกันได้ เพราะกูรู้สึกมันส่งผลดีต่อกันและกัน อย่างตอนนี้หลาย ๆ กลุ่มที่คลุกคลีด้วยกันก็ไม่ใช่ว่าถูกกฎหมายหมดนะ เออบางคนเราก็ยังต้องคอยเซฟเขาในแง่กฎหมาย สุดท้ายแล้วกูถึงบอกว่ามันอยู่ที่ Passion กับ Attitude มากกว่าว่าตรงกันรึเปล่า 

ULM : มึงไม่ได้มองว่าความขบถ ความรุนแรงฝั่ง Underground เป็นสิ่งไม่ดี

Y? : หึ (ส่ายหน้า)

ULM : ทำไมวะ ?

Y? : อ้าว ก็ถ้าทุกคนมาวาดรูปเซิร์ฟคนหมดเลยอะ มันจะเลี่ยนมากเลยนะ มึงก็จะเห็นแต่งานตุ๊กตุ่นตุ๊กตาเต็มกำแพงไปหมด การหยั่งขาสองข้างมันทำให้มึงได้รับมุมมองที่ไม่เหมือนกันไปเรื่อย ๆ แล้วกูก็เชื่อว่า Underground เป็นตัวกำหนด Mood&Tone ของ Culture ระดับนึง แต่การพรีเซนต์ภาพข้างนอกออกไปก็เป็นหน้าที่ของ Mainstream แต่ถ้าเมื่อใดที่เราไม่มีราก ไม่มีรูทอะ วันนึงมันก็จะมั่ว เหมือนวันนึงถ้าเพลง Hip Hop ไม่มีคำหยาบเลย มันอาจจะได้เพลงที่หวานจ๋อยจนอาจจะไม่ใช่ Hip Hop แล้วก็ได้

เหรียญมันต้องมีสองด้านไปเรื่อย ๆ มันถึงจะไม่ลืมว่ารูทของตัวเองมาจากอะไร กูค่อนข้าง Respect คนที่ทำผิดกฎหมายนะ จริง ๆ ในมุมนึงมันยากกว่ากูอีก แต่จุดประสงค์ในการออกไปมันไม่เหมือนกันอยู่แล้ว เขาต้องการสปอต ต้องการความเร็ว แต่ของกูจะเน้นที่ Piece กูเรียกเป็นสายทำ Piece คือเป็นงาน Production เราต้องการเวลา ต้องการ Take Time แต่มันก็คือการ Propaganda เหมือนกัน

ULM : เหมือน Street Art มันมีทั้งแบบในฝั่งที่ไม่ขอ ‘พ่นเลย’ กับ ‘ขอพ่น’ ซึ่ง Temporarywest ไม่ใช่แบบขโมยพ่น

Y? : T-West ส่วนใหญ่ขอ อันนี้กูไม่รู้มันไปตัดสินเพื่อนในกลุ่มได้เปล่านะ แต่กูจะมี Mindset แบบนี้ เวลากูคุยกับเพื่อนกูจะบอกว่ากำแพงมีจำกัด มันคือการเรียกเปิดสปอตใหม่ และ T-West จะเป็นการเปิดสปอตใหม่ซะส่วนใหญ่ ก็คือเราจะไม่ใช้ Free Public มันจะมีกำแพงฮอต ๆ ที่เวียนกันพ่น อะไรแบบนั้นพวกกูจะไม่เอา เพราะพวกกูจะรู้สึกว่ามันมีคนที่เขาขอกำแพงไม่ได้อยู่ ก็ให้เขาได้ทำไป ให้เด็กมันไปฝึก หรือให้คนรุ่นใหม่มันไปฝึกไปอะไรก็ได้ 

แต่กูก็มองว่าแบบอย่าง T-West งานส่วนใหญ่เราค่อนข้างขอได้เพราะเราวาดเป็นรูป แล้วเราจะไปแย่งกำแพงกับเพื่อนเรากลุ่มอื่นทำไม เราก็ไปเปิดกำแพงให้เขาสิ เราจะได้ไม่ต้องทับไลน์กัน T-West ไม่ได้ทรีทว่าใน Community นี้มีแค่เรา ก็ต้องคิดถึง Crew อื่น หรือกลุ่มอื่นที่เค้าไม่สามารถทำในสิ่งที่เราทำได้ เด็กบางคนมันไม่มีตังค์มันอดข้าวเพื่อซื้อสเปรย์กระป๋องละ 70 บาท หรือ 50 บาท มาพ่นชื่อมันเอง อยู่ดี ๆ กูจะไปทรีทว่าไม่มีค่า กูมองว่ามันใจร้ายว่ะ แล้ว T-West จะมอง Throw Up กับ Piece แบบให้เกียรติเท่ากัน แต่ต้องสุจริตกับมันนะ ตั้งใจทำนะ ไม่ใช่ทำแบบชุ่ย ๆ แค่เพื่อแบบความคึกคะนอง เพราะฉะนั้นมึงก็อย่ามาทับงานกู กูก็จะไม่เอารูปกูไปทับงานมึงโดยอ้างว่ารูปกูสวยกว่า เออมันจะเป็นตรรกะประมาณนี้ เรารู้สึกว่ามันเป็นงานแชร์กำแพงกัน

ส่วนงาน Community พอถ้าเรามองว่ามันเป็น Subset Community เดียวกัน มันเหมือนมึงถืออุปกรณ์อยู่ แล้วก็แค่เอาอุปกรณ์ที่เหมาะไปใช้ในจุดประสงค์ที่ตรงกว่า อย่างกูบอกว่าจะไปทำงานที่บางสะพาน โดยกูชวนเพื่อนปเพื่อที่จะไปเปลี่ยนมุมอับ ๆ ให้มันเป็นมุมที่สวยงามขึ้น แม่งก็มี Tools แบบเยอะมาก มึงจะหยิบ Vandal เข้าไปเหรอ ให้มันดูเถื่อนกว่าเดิมก็ไม่ใช่ มันก็อาจจะเป็นการที่ต้องครีเอทงานประเภท Character Design หรืองานที่เป็น Piece เข้าไปแทน กูก็มองว่ามันเป็นการหยิบใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ 

ULM : แสดงว่าแต่ละกำแพงเนี่ยมันมี Y? (Why) หมดเลย หมายถึงว่าทำไปทำไม และ Temporarywest มี Y? ร่วมกันมั้ย

Y? : ไม่มีนะ จริง ๆ T-West คล้าย ๆ กับ Collective Artist นิดนึง คือทุกคนค่อนข้าง independent ในของตัวเองมาก ๆ อย่างไอ้ฟิว (Freak) มันก็จะมี Attitude การนำเสนองานในแบบของมัน ที่บางทีมันอาจจะไม่ได้แคร์ตรรกะแบบกูเลย มันอาจจะไม่ได้สนเลยด้วยซ้ำว่ากูทำไปทำไม กูอาจจะตั้งคำถาม มันอาจจะช่างแม่ง หรือมันอาจจะไม่เห็นด้วยกับคำถามที่กูตั้งก็เป็นได้ หรือไอ้เติร์ก (Young Play) มันจะทำอีกแบบนึงก็เรื่องของมัน แต่ที่กูบอกไปอะ อยู่ร่วมกันมันมีกติการวม เราเคารพกติกาซึ่งกันและกันแค่นั้น

ULM : เป็นกติกาของกลุ่ม

Y? : ของทั้งกลุ่ม แล้วก็กติกาสากลด้วย คือ T-West จะยึดกติกาค่อนข้างสากล จะไม่ใช่แค่แบบทีมเราว่าอย่างงี้ว่ะ กูจะฟังด้วยว่าทีมอื่นเขาว่ายังไง

ULM : เพราะฉะนั้นมึงสามารถพูดได้มั้ยว่า Temporarywest อยู่ฝั่งขาที่เป็น Mainstream ของวงการ

Y? : จะเรียกว่าปิดหน้ากับเปิดหน้าก็ได้ T-West จะอยู่ฝั่งเปิดหน้า คือเราพร้อมให้มีคนมาถ่ายรูปตอนพ่นได้เราไม่กลัว มันก็เลยต้องมีวิธีของมัน อย่างเช่นการขออนุญาตก่อน

ULM : ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้คืออะไร เรื่องการเปิดหน้า ขอพื้นที่ชุมชน มันทำให้ชุมชนเข้าใกล้ศิลปะประเภท Graffiti หรือเด็กต่างจังหวัดที่มันไม่มีโลกนี้เลยได้รู้จักเหรอ ผลของการที่ทำพวกเนี้ยมันส่งผลต่อชุมชนและผู้คนยังไงบ้าง

Y? : ถ้าที่กรุงเทพฯ อาจจะเห็นไม่ชัดเท่าไหร่ เพราะความหนาแน่นมันสูง แต่ถ้าอย่างไปทำที่ประจวบหรือทำที่จังหวัดอื่น ๆ อย่างล่าสุดไปราชบุรี มันเห็นตรงที่ก็คนเขาไม่เคยเห็น แล้วเราให้เขาได้เห็น แต่เราไม่ได้ทำเพื่อไปเปรียบเทียบกับด้านไม่ดีนะ คือเราแค่พยามบอกเขาว่ามันมีด้านที่ดีและไม่ดีเฉย ๆ อย่างเวลากูเข้าไปในชุมชนกูก็พยามไปทำให้ชุมชนมันดูดีขึ้นด้วยงานของเรา

แต่สุดท้ายเราก็จะบอกว่าต้องยอมรับทั้งสองฝั่ง เพราะเราก็ทำแบบนั้นเหมือนกันในบางที กูก็พูดกับชุมชนไปเลย บางทีผมก็ทำผิด ๆ แบบที่ป้าไม่ชอบเหมือนกันครับ แต่แค่ว่าไม่ใช่ที่นี่ไง เราก็แค่รู้สึกว่าอยู่ที่จุดประสงค์ว่าตอนที่เข้าไปตั้งใจจะทำอะไร คือมันเหมือนตั้งต้นมาว่า Culture เรามันมาจากการต้องการเรียกร้องตัวเองให้เห็นตัวเองอะ ต้องการ Express ตัวเอง ต้องการ Call Out ให้คนอื่นเห็น งานกูแม่งเลยเป็นการไปขึ้นกำแพงใหญ่ ๆ แต่สุดท้ายแล้วพอเข้าไปในชุมชนอะก็ต้องมาดูว่าแล้ววัตถุประสงค์มันเป็นอะไร มันเป็นการที่คุณจะมาประกาศศักดาหรือเปล่า ซึ่งบางคนเขาอาจจะเข้าไปแบบนั้น ก็ไม่ได้ผิด คนก็อาจจะไม่ชอบ ซึ่งสำหรับกูรู้สึกว่าเอเนอร์จี้พวกนี้ส่งออกไปคนมันเห็นนะ เพราะฉะนั้นเวลาเราเข้าไป Community เข้าไปเพื่อเบลนด์กับชุมชน เราก็ต้องฟังเสียงเขาครึ่งหนึ่ง เราก็อาจจะลดตัวเราลงมานิดนึง

กูมองว่ามันเหมือนการทำงาน ไม่ต่างกันกับมึงทำงานจ้างที่เป็นคนสั่งให้วาดรูป กับการที่มึงทำงานไปโชว์ใน exhibition ตัวเอง ความส่วนตัวก็จะต่างกัน แต่ Community มึงเข้าไปมึงก็ต้องขอเขาปะวะ กูเข้าไปเพื่อทำทั้งเมืองอะ กูไม่ได้ไปทำกำแพงเดียว ต้องอยู่ตรงนั้นนาน วิธีการกับจุดประสงค์มันบอกมึงอยู่แล้วว่ามึงต้องทำอะ มึงจะแอบพ่นในเมืองงี้ไปเรื่อย ๆ อ่อ ต่างจังหวัดมันจำหน้ากันได้เว้ย มึงทำไม่ได้อยู่แล้วมัน impossible


ULM : อาจจะช้าไปหน่อย แต่เรามาเข้าสู่เนื้อหาหลักในการสัมภาษณ์นี้กัน พูดถึงห้องทำงานของมึงหน่อย คือมึงมีทั้งห้องแบบที่ ‘ออกไปพ่น’ แล้วก็ส่วนที่คิดงานทำงาน ‘ในห้อง’ กระบวนการเป็นอย่างไร เริ่มต้นห้องไหนแล้วไปจบห้องไหน

Y? : เบสิคเลยมันต้องเตรียมตัวก่อน อย่างสมมุติถ้าทำงาน Production มันต้องมี Sketch ก่อน ซึ่งกูทำที่บ้านนี้ โดยส่วมากจะทำงานที่บ้านแหละ แต่กูว่าศิลปินทุกคนจะตรงไหนมึงก็ทำงานได้ แต่อย่างกูคือรู้สึกว่ายังไม่ได้จำเป็นต้องไปทำข้างนอกแบบเป็นสตูดิโอ เพราะฉะนั้นกูก็ริ่มจากสิ่งที่กูมี กูยังไม่มีสตูดิโอ กูมีบ้าน กูก็เอาบ้านเป็นสตูดิโอ แล้วมันก็เป็นที่ที่กูเอาไว้ซ้อมทำงานก่อนที่จะออกไปข้างนอก

แต่กูมองว่าทุกคนมันต้องมีแหละสตูดิโอของตัวเองอะ แต่คำว่าสตูดิโอของกูมันอาจจะไม่ได้จำกัดความว่าจะต้องเป็นห้องที่มึงเดินเข้าไปมีแคนวาสวาง มีนู่นนั่นนี่ ซึ่งไอของพวกนั้นมันเป็นอุดมคติของสตูดิโอ สำหรับกูความเป็นจริงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่องานมึงเยอะมากจนเก็บในบ้านไม่ไหว แล้วมึงถึงต้องมีสตูดิโอขึ้นมาเป็นกิจจะลักษณะอะไรอย่างนี้

ULM : ถ้างั้นพูดถึงห้องทำงานในอุดมคติของมึงกันหน่อย ชอบห้องแบบไหน อยากมีห้องทำงานแบบไหน

Y? : กูเป็นคนชอบรวมคนมาอยู่ด้วยกัน เป็นนิสัยนึงที่แก้ไม่หาย แล้วก็รู้สึกว่าถ้าเป็นที่ทำงานสตูดิโอของกู ในฝันเลยนะ มันก็ควรจะเหมือนเป็น Hub มากกว่า เคยได้ยิน The Factory ของ Andy Warhol ปะ

ULM : อะ เคยๆ

Y? : จริง ๆ กูชอบมากเลยนะ The Factory กูแค่รู้สึกว่ากูชอบอยู่ใน Space ที่มันอาจต้องมีโซน private ที่กูใช้ทำงานเวลามีสมาธิ แต่ว่าหลัก ๆ พอเป็นงานสไตล์กู รู้สึกว่ามันเป็นการใช้ชีวิตไปกับงานด้วย หลัง ๆ กูจะรู้สึกอย่างนั้น แล้วกูจะชอบศิลปินแบบนั้นด้วย ไม่ใช่ศิลปินแบบที่เขาสามารถแยก Personal กับ Lifestyle คนละแบบไปเลย กูชอบคนที่งานกับชีวิตแม่งเหมือนกัน เพราะมันเรียลมากเลยว่ะ มันแสดงให้เห็นว่าเขาอยู่ไม่ได้หรอกถ้าไม่ทำงาน คนที่แยกออกมาเป็นอีกร่างหนึ่งได้จริง ๆ กูอิจฉานะ เพราะรู้สึกว่ามันสบายกับ Mental Health มากกว่า

แต่ว่างานแบบที่กูทำแม่งเป็นงานที่ต้อง Lifestyle นิดนึง อย่างสมมุติแม่งมีวงร็อคเกิดขึ้นที่ The Factory มันมีการทำงานชิ้นนี้เกิดขึ้นใน The Factory กูชอบโมเม้นท์ก่อนที่มันจะออกไปอะ เหมือนมึงได้เห็น Magic เกิดขึ้นก่อนที่มันจะสมบูรณ์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรามีอินสไปร์ไปด้วย กูไม่ชอบสตูดิโอที่มีแต่กู มันเหงาไป เออแล้วกูรู้สึกว่าอันนั้นมันคือไม่ค่อยสนโลกเท่าไหร่ว่ะ

ULM : ซึ่งหมายความว่ามึงชอบทำงานท่ามกลางผู้คน

Y? : กูชอบเจอคน เพราะกูรู้สึกว่าการแลกเปลี่ยนกับคนทำให้กูมีข้อมูล กูได้เห็นตัวเอง การอยู่คนเดียวมาก ๆ มันรู้จักตัวเองจริง แต่มันไม่ค่อยเห็นตัวเอง บางทีพอมึงรู้จักตัวเองแล้วมึงไปคุยกับคนอื่น มึงจะเอาข้อมูลที่มึงรู้จากตัวเอง เกิดการเทียบเคียงแล้วมันจะชัดเจนขึ้น

ULM : ในห้องทำงานที่เรากำลังนั่งคุยกันอยู่ตอนนี้ มึงใช้ในการทำอะไรบ้าง ?

Y? : ถ้าในห้องนี้ส่วนใหญ่จะเป็นงานประเภทที่มันเป็นงาน physical artwork ซะส่วนใหญ่ หรือไม่ก็เป็นงานดีไซน์ อย่างพวกงานแคนวาสงานอะไร คือปีหลัง ๆ ด้วยความพยายามทำให้มันเป็นอาชีพ มันก็วนกลับไปที่ว่าจะ Street Art จะอะไร ก็มาจบที่ Physical Artwork อยู่ดี คุณก็ต้องมีงานโชว์ หลัง ๆ T-West มันก็ทรีทตัวเองเป็น Artist Fulltime กันหมด เพราะฉะนั้นศิลปินมันก็ไม่ได้ทำแค่ Street Art แต่เราก็เบสว่ารูทมันมาจาก Street Art 

อย่างงาน Physical มันก็ไม่จำเป็นต้องออกไปที่อื่นกูก็ทำที่บ้าน เหมือนอย่างแคนวาสอย่าง มันก็ตั้งตรงนี้เลย แล้วจริง ๆ บ้านนี้มันก็จะเป็นที่แฮงค์เอาท์ส่วนใหญ่ของ T-West อยู่ช่วงนึง คือเวลามีอะไรเมื่อก่อนก็มาประชุมที่นี่ ตั้งแต่โปรเจคต์บางสะพาน แล้วมันก็จะเป็นที่อัพเดทรวมกัน จะแดกข้าว กินอะไรก็จะวนกันอยู่ในนี้ อัดกันอยู่ 10 กว่าคน 

ห้องนี้กูก็ยังใช้ทำงานอย่าง Digital Art หรือเป็นงานเขียน Sketch Design หรือไม่กูก็อาจจะใช้กำแพงหน้าบ้านเทสพ่นบางอย่างที่กูอาจจะขี้เกียจออกไปข้างนอก หรือว่ารู้สึกว่ายังไม่ไฟนอล กูจะซีเรียสว่าถ้ามันยังไม่ไฟนอลอะกูยังไม่อยากให้ใครเห็น ก็ลองที่นี่ก่อน ใช้ที่นี่เป็นเหมือนห้องทดลองนิดนึง แล้วกูก็รู้สึกว่ามันมีความ Cozy ดีอะ มันก็อยู่บ้านนึกออกปะ เวลาออกไปข้างนอกบางทีมันเจอคนเยอะ Personal ข้างในมันไม่ได้

ULM : แสดงว่ามึงก็ยังต้องการวันทำงานที่เป็น Personal มาก ๆ ด้วยเหมือนกัน ไม่ใช่แค่อย่างที่ The Factory ที่มึงบอก

Y? : ใช่ อย่าง The Factory มันก็ไม่ใช่มึงเดินเข้าทุกห้องของ Andy Warhol ได้นะ มันก็ต้องมีมุมห้องที่เขาทำงาน กูก็รู้สึกว่ามันก็มีช่วงทำงานแล้วก็ช่วงแฮงค์เอาท์ แต่กูก็จะสลับ ๆ กันเอา อย่างวันหยุดที่พักจากคนอื่นเราก็มาอยู่กับตัวเองที่บ้าน ซึ่งกูก็รู้สึกว่าการอยู่บ้านก็โอเค ก่อนหน้านี้กูเคยอยากไปเช่าข้างนอก แต่กูก็รู้สึกว่ามันก็จะเหมือนไม่มีวันหยุด แล้วกูก็ติดสันดานแบบ 7 วันไม่ค่อยหยุด ก็รู้สึกว่ามันเป็นนิสัยเสียอย่างนึง

ULM : วันที่เหมาะกับการทำงานของมึง ต้องมีหน้าตาแบบไหน อารมณ์อย่างไร ?

Y? : กูจะเตรียมตัวมาก่อน หมายถึงว่ากูเป็นคนที่ทำบางอย่างพร้อมกันตลอด เป็นนิสัยที่ไม่รู้ดีหรือเสียนะ แต่หลัง ๆ มันแก้ไม่หาย แรก ๆ พยามไม่ทำ แต่หลัง ๆ มันจะเป็นแบบนี้ อย่างเช่นแบบว่าขณะที่กูอยู่ที่แกลเลอรี่ หรือกูไปสตูดิโอเพื่อน ขณะที่กูทำงานเรื่องอื่นอยู่ ในหัวกูจะต้องคิดละว่ากูจะทำงานนั้นของกูวันไหน 

วันนี้จะเป็นวันที่ Relax ไม่อยากเจอใครเลย เพื่อที่แบบ Cool Down ลงมา ให้ดึงสติกลับมาโฟกัสอีกเรื่องนึง มันจะเป็นเหมือนแค่ช่วงเตรียมเพื่อสวิตช์โหมดเฉย ๆ เพราะงานบางอันเราไม่ได้ทำกับเพื่อนตลอดไง คือบางอันมันก็เป็นงานทีม บางทีเป็นงาน Manage อะไรอย่างนี้ หรือถ้าวันไหนที่กูต้อง Manage งานเยอะ ๆ ต้อง เคลียร์ Schedule ให้จบตั้งแต่ต้นวีค กูก็อาจจะฝังอยู่ที่บ้านไปเลย ทำทุกอย่างออนไลน์หมด แล้วหลังจากนั้นก็แค่ออกไปวิ่งตามแพลนที่วางเอาไว้ ก็เหมือนเป็นการสร้าง Routine แบบนึงของกู แต่ส่วนใหญ่ก็จะวน ๆ อยู่ในนี้ อยู่ในบ้านมันก็ตรียมนู่นเตรียมนี่ได้โดยที่ไม่ต้องไปยุ่งกับใคร แล้วพออยู่บ้านข้อดีคืออย่างน้อยมันมีความ Personal นิดนึง

ULM : ให้มีคำว่าบ้าน

Y? : เออยังมีคำว่าบ้านอยู่ เออแต่บ้านกูไม่มีผู้ใหญ่มันอาจจะฟรีตรงนั้น

ULM : งั้นก็คือเรียกที่นี่ว่าเป็นสถานที่ไว้ทำงานได้มั้ย

Y? : เรียกว่าเป็นที่ Cool Down บางทีการทำงาน Personal ของกูต้อง Cool Down กลับมาก่อนเพื่อที่เหมือนเริ่มลูปมาเป็นกู 100% เพราะอย่างเป็นงานทีมมัน 100% ไม่ได้ไง แล้วบางทีพอไปทำทีมอะ หัวเรามันก็ต้องโหลดเรื่องของคนอื่นเข้ามาด้วย บางทีมันก็ต้องมีสวิตซ์เปลี่ยน แล้วกูก็รู้สึกว่าบ้านก็โอเค เพราะกูเชื่อว่าถ้าเป็นสตูดิโอกูนะ ใครจะเข้าออกก็มาตลอด เออแบบมันสตูดิโออะ คนก็จะรู้สึกว่าคือที่ทำงาน แต่พอเป็นบ้านมันก็คัทตรงนี้ออกไปนิดนึง แล้วก็มีเวลาส่วนตัวด้วย


ULM : ช่วงสุดท้ายของคอลัมน์ Artist Room ละ เดี๋ยวให้มึงพูดถึง The Lost Wall Exhibition งานศิลปะที่จัดขึ้นโดยกลุ่ม Temporarywest  ที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมาหน่อย   

Y? : The Lost Wall Exhibition ก็เป็น Exhibition นึงของ T-West แล้วก็เหมือนเป็นการทดลอง คือมันเหมือนเราได้ Space จาก Red.cose มา เขาชวนเรามาทำคอลแลบ ก็เชิงเหมือนให้ Space เรามาจัดการแหละว่าเราอยากทำอะไร เป็น Exhibition แบบไหน Lost Wall มันเป็นการทดลองในมุมใหม่ที่ว่า พอ Partner มันเป็นแค่ Space เราเลยยึดว่าเราอยากทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องอยู่ใน Format ของ Gallery ที่เป็นการแขวนโชว์งานแบบปกติ

เราก็เลยทดลองด้วยการจัดเป็นกึ่ง Exhibition ไปเลย เน้นการโชว์งานบนกำแพงแล้วก็พยายามให้มันเป็นงาน Sub Culture ถ้าสังเกตงานนี้มันจะมี Guest เยอะมากในแต่ละวีค เราจะให้ศิลปิน 10 คนในแต่ละวีค เป็น Host งานตัวเองคนละวีคไปเลย แล้วเราก็ไปเอา Guest ที่รู้สึกว่าเป็นคนที่เราอยากร่วมงานด้วย หรือว่าเป็นคนที่ T-West นับถือหรือซัพพอร์ทกันมาตลอด มันก็เหมือน Circle ที่เราค่อนข้าง Respect คนเหล่านี้ โดยที่เอามาคอลแลบเป็นกิจกรรมในแต่ละวีค เพราะฉะนั้น Lost Wall ก็เลยเหมือน Project ทดลอง

ซึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นหรือไม่ค่อยทำอะไรอย่างนี้บ่อย ๆ อย่างตัว Physical Artwork เราก็ใช้เป็นก้อนหินหมดเลย ออกไปทาง Merchandise หรือ Decoration ที่เป็นอิฐล้วน ๆ ซึ่งจริง ๆ มันก็ไม่ได้ใหม่หรอกถ้าเทียบในระดับโลก คือด้วยความที่เราก็อินสไปร์มาจากที่อื่น 

อย่างล่าสุดเราไปญี่ปุ่นและได้มีโอกาสไปร่วมงานกับ Wallternative เป็นแก๊ง Street Art Graffiti เขาเชิญเราไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของเขาเอง แล้วเราก็รู้สึกว่าเราเห็นงานแบบนี้มาบ่อย ก็เลยอยากให้มันเป็นการ Educate แล้วก็เปิดโลกสำหรับคนที่สนใจงาน Street Art คุณจะได้ไม่ต้องมาเจอสตรีทที่เหมือนโดนจับใส่สูท แล้วก็เอ็นจอยกับมันได้โดยที่ไม่ต้องรู้สึกทางการขนาดนั้น โดยที่เราจะเน้นเรื่องที่ว่าเราอยาก ซัพพอร์ต Sub Culture ด้วยกัน Finger Board / DJ หรือเป็นการ Performance หรือ Party อะไรก็ได้ ที่เรารู้สึกว่าเออมาแชร์ร่วมกัน

ซึ่งมันก็จะออกมาเป็นงาน The Lost Wall เพราะเรารู้สึกว่ามันน่าจะมีการทำอะไรแบบนี้ได้แล้วในบ้านเรา แต่มันเหมือนมันหายไป คือในอดีตรุ่นก่อนมันคงมีการทำมาแล้วแหละ รุ่นพี่ ๆ เราเขาก็คงเคยทำคล้าย ๆ อย่างนี้มาแล้ว แต่เรารู้สึกว่ามันเป็นไวบ์ที่หายไป เลยอยากเรียกมันว่า The Lost Wall อีกความหมายนึงคือ สำหรับกูมันเหมือนกำแพงเรามันจะหายไปอยู่แล้ว เพราะตอนจบทุกกำแพงก็จะถูกกลบด้วยสีขาวทั้งหมด เราจะไม่มีการทิ้งงานเก็บไว้เลย ซึ่งเราก็เลยรู้สึกว่ามันเป็น Lost Wall เหมือนกันนะ พอวันนึงที่นึกย้อนกลับมาก็เหมือนว่าเคยมีกำแพงนี้อยู่ ยิ่งถ้าเป็นคนที่อยู่ใน Culture เรา ที่เป็นการพ่นด้วยกัน ให้เขามา Remind ว่านี่คือวิถีของ Culture เรา นึกถึงกำแพงที่หายไปของพวกเรา เพราะว่าทุกคนมีกำแพงที่หายไปทุกวัน แล้วงานก็เลยเล่นเป็นคอนเซปต์นี้ เป็นเหมือนคีย์ของคนทำสตรีท อย่างที่ว่างานของคุณจะไม่มีทางอยู่ไปตลอด จะไม่มีใครมารักษางานนั้น มันก็จะกลายเป็นเหมือน The Lost Treasure ที่แบบเหมือนกูทำภาพวาดของศิลปินคนนึงหายไป แต่อันนี้มันเป็นการบังคับให้หายไป

ULM : วีคที่ Y? เป็นโฮสต์ ซึ่งใช้ชื่อว่า Red in Peace มันแสดงถึงความเป็นตัวตนของ Y? อย่างไรบ้าง

Y? : ของกูก็จะทำออกมาเป็นปาร์ตี้ มันมีคอนเซปต์นึงที่คิดมาในหัวคือช่วงที่ผ่านมาแรปเปอร์แม่งตายเยอะมาก ก็เลยนึกถึงงานศพที่เป็นสีแดง แล้วเราเป็นคนชอบอะไรเกี่ยวกับเรื่องอย่างนี้อยู่แล้ว เลยกลายเป็นตั้งเป็น Red in Peace ล้อกับคำว่า Rest in Peace 

แล้วก็ลองคิดว่า Red in Peace มันจะออกมาเป็นรูปแบบไหน สรุปว่ากูแค่อยากเจอคนที่กูไม่ได้เจอมานานแล้ว แบบแค่มานั่งเจอกัน ทักทายกัน มาเดินดูงานกู อาจจะไม่ต้องอยู่ในปาร์ตี้กูจนจบก็ได้ แต่อย่างน้อยมาเจอกันมาคุยกัน มาแลกเปลี่ยนกันแล้วก็ได้มาฟังเพลงที่มันเป็นการ Tribute ของคนที่จากไปแล้ว มันก็เลยเกิดเป็น Red in Peace เป็นงานปาร์ตี้วันนั้น ซึ่งก็จะมีพี่โน้ต Dudesweet กับพี่เพชร Monster P ช่วยเปิดเพลงให้ ในคอนเซปต์ว่าเราจะเปิดเพลงของคนตายนะ หรือเพลงที่พูดถึงคนตายเท่านั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงว่าอย่างน้อยวันนี้ที่มึงยังอยู่ด้วยกัน 

ถามว่ามันเป็นตัวตนกูยังไง อันนี้อาจจะไม่ relate ว่ามันจะต้องเป็นกูขนาดนั้นว่ะ อาจจะเป็นสิ่งที่กูอยากเห็นมากกว่า สิ่งที่กูอยากทำก็คือกูอยากจัดปาร์ตี้สีแดงอยู่แล้ว Red in Peace มันเป็นสิ่งที่กูคิดตั้งแต่ก่อนมาทำ Lost Wall ว่ามันน่าจะมีปาร์ตี้แบบนี้ ปาร์ตี้ที่เปิดเพลงคนตายแม่งทุกปี เป็นงานประจำปี ไหนก็เป็นโปรเจคต์ทดลองอยู่แล้ว ก็เป็นการได้ทำอะไรที่ไม่ได้ปกติไม่ได้ทำ เพราะอย่างเช่นงานศพอะ หรืออาร์ต ที่เป็นการเขียนลงบนผ้าลงบนอะไร คือปกติมันไม่ค่อยมีโอกาสให้กูทำ คือทำได้แต่กูไม่รู้กูจะเอาไปไว้ที่ไหน ก็เลยเกิดมาเป็น Red in Peace

ULM : กูรู้สึกมันมีความเป็นมึงหลายอย่างมากนะ ความปาร์ตี้ ความได้เจอผู้คน

Y? : ก็อาจจะอย่างงั้น คือ หลัง ๆ อาจจะไม่ได้มานั่งคิดว่าแบบตัวกูต้องเป็นแบบไหนแล้วว่ะ นึกออกปะ คือกูรู้สึกว่าถ้ามันเป็นตัวกู กูต้องทำมันออกมาได้เลยโดยธรรมชาติ มันเป็นเรื่องนึงที่เหมือนเพิ่งมาเข้าใจตัวเองตอนหลังนะ ตอนเด็ก ๆ จะชอบ Keep Character จะรู้สึกว่ากูอยากเป็นแบบนี้ กูจะต้องเป็นแบบนี้ แต่สักพักแม่งเหนื่อย แล้วก็เลยรู้สึกว่าลายเซ็นต้องเหมือนลายมือดิ เซ็นกี่ทีก็ต้องรู้ว่าเป็นเรา

ULM : สรุปให้หน่อย The Lost Wall มึงอยากให้มันทำงานยังไงกับคนที่มา

Y? : จริง ๆ อาจจะดูแย่หน่อยนะ คือ ค่อนข้างอยากให้คนใน Culture เห็น

ULM : ใน Culture Street Art?

Y : เออ ให้เขาเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่ตัวเองทำได้ เพราะอย่างที่เห็นว่า Red.Cose ก็ไม่ใช่ตึกที่โลเคชั่นต้องดี คนต้องดี ต้องอย่างงู้นอย่างงี้ The Lost Wall แม่งจัดอีเวนต์ทุกเสาร์ เพราะเราคิดแค่ว่าเราต้องการให้คนมาดูงานเยอะที่สุด เราไม่ได้แคร์ว่าเราต้องการให้มัน success ทุกเสาร์ แต่ก็ขอให้คนมาแล้วได้อะไรกลับไป โดยเฉพาะคนใน Culture เราอยากให้เขาอินสไปร์ แบบมันไม่น่าเบื่ออย่างที่คิดนะกับการที่จะต้องมาแสดง Exhibition กับสายสตรีท มันไม่จำเป็นจะต้องแบบใส่สูทผูกไทด์ แล้วก็เข้าไปในแกลเลอรี่นะ คุณสามารถทำในแบบที่คุณอยากทำได้โดยที่ยังเป็นความสตรีทแบบเราอยู่ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องสนอะไรเลยก็ได้ เป็นแบบที่อยากเป็นเถอะ 

กูไม่รู้ว่างานนี้มัน Success ขนาดนั้นมั้ย ต้องให้คนที่ไปเป็นคนพูด แต่สำหรับกูคนจัดก็อิ่มระดับนึงแล้ว เราได้ลอง มันให้อินสไปร์เรากลับมา แล้วเราคาดว่าคนที่มาเขาก็น่าจะได้อินสไปร์กลับไปด้วย เขาได้ลองทำในสิ่งที่แบบเขาไม่มีโอกาสได้ทำหรือเค้าได้มีพาร์ทพื้นที่ที่เค้าสามารถมาลองได้ โดยที่เค้าไม่ได้เจ็บตัวอะไรสนุกดี รู้สึกว่าอยากส่งต่อเอเนอร์จี้มากกว่า เฮ้ย สตรีทมันมีมุมมองใหม่ ๆ โลกมันไปถึงตรงนู้นแล้วแล้วสตรีทบ้านเราไม่จำเป็นจะต้องโฟกัสอยู่กับแค่สิ่งเดิม เราทำ Exhibition แบบใหม่ ๆ ได้ ต่อไปคนอาจจะไม่ต้องทำแบบ  The Lost Wall ก็ได้ แต่อาจจะเป็นแบบใหม่ ที่มันคือนิยามเอกลักษณ์ของความสตรีทที่ไม่ใช่การ formal เพราะจริง ๆ ของพวกนี้มันอินสไปร์จากคนรอบตัว The Lost Wall มันก็คือการที่เราอยาก อินสไปร์เขา เพราะเราก็รับอินสไปร์มาจากคนอื่นเหมือนกัน แล้วเรารู้สึกการส่งต่ออินสไปร์มันสำคัญใน Culture หรืออุตสาหกรรมแบบนี้


Photographer : Krittapas Suttikittibuth

GEESUCH
WRITER: GEESUCH
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line