วินาทีนี้คงจะไม่มีซีรีส์เรื่องไหนจะร้อนแรงได้เท่ากับ Beef ของ Netflix อีกแล้ว ! ซีรีส์เรื่องนี้ผลิตโดย A24 ค่ายสุดไฮป์ผู้ขยันสร้างตำนานได้ทุกวัน กับเรื่องย่อสุดมินิมอลที่สามารถเล่าไว ๆ บรรทัดเดียวจบได้แบบนี้ “นี่คือเรื่องราวระหว่าง Danny Cho กับ Amy Lau คนแปลกหน้าที่ประทะอารมณ์กันบนท้องถนน บีบแตรรถใส่กัน ด่ากัน ชูนิ้วกลางให้อีกฝ่าย จนนำไปสู่ความวายป่วงของชีวิตเกินกว่าใครจะคิดฝัน” ถึงแม้ว่าเรื่องย่อของซีรีส์จะแสนสั้น แต่ซีรีส์เรื่องนี้อุดมด้วยรายละเอียดของประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างเข้มข้น ทั้งฉายภาพความเหนื่อยล้าของชนชั้นกลางที่ทำงานเพื่อคนอื่นตลอดชีวิตแต่ไม่มีใครเห็นค่า ความคิดชุ่ย ๆ ของ Privillage ที่มองคนเป็นคนไม่เท่ากัน และอีกหลายประเด็นที่ดูจบครั้งเดียวคงเก็บรายละเอียดไว้ไม่หมดแน่นอน สิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ อย่างแรกเกี่ยวกับ Beef คือการวางตัวของ Lee Sung Jin เดบิวต์ในฐานะ Creator และ Director เป็นครั้งแรก หลังจากที่เขาเป็นคนเขียนบทซีรีส์มาโดยตลอด ผลงานเด่น ๆ ก็จะมี Undone (2019) / Dave (2020) /
ต้องยอมรับว่าจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นปัจเจกบุคคลอาจยังไม่พอทุเลาสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 การกระตุ้นและรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์จึงเป็นอีกเครื่องมือช่วยเปลี่ยนปรับพฤติกรรมที่ใช้ได้ผล ทว่าบางครั้งข้อมูลที่ประชาชนได้รับเป็นทางการมากเกินไป ใช้ศัพท์วิชาการที่เข้าใจได้เฉพาะกลุ่ม หรืออัดแน่นเบียดเสียดไปด้วยตัวอักษรที่มักจะทำให้ใครหลายคนไม่อยากคลิกเข้าไปอ่าน งานดีไซน์เจ๋ง ๆ ที่ทำให้คนเข้าใจไวรัสง่ายกว่าเดิม ต่อให้ใช้ข้อมูลเดียวกันและส่งไปยังกลุ่มผู้อ่านที่ต่างกัน ก็ไม่อาจรับประกันว่าผู้รับสารที่เป็นทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดในทิศทางเดียวกันได้ เหล่าศิลปินและนักออกแบบจึงผลิตผลงานสุดสร้างสรรค์เพื่อรณรงค์และแนะนำวิธีการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องในช่วงที่ไวรัสแพร่ระบาด พวกเขานำความคิดสร้างสรรค์ผนวกเข้ากับสัญลักษณ์ รูปภาพ ตัวอักษร และการจัดองค์ประกอบเพื่อสื่อความหมายเชิงทัศนศิลป์ และช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาสาระทั้งหมดที่ต้องการสื่อได้ง่าย ๆ เพียงตาเห็น ภาพเคลื่อนไหวจำลองพลังของเชื้อไวรัส Harry Stevens จากหนังสือพิมพ์ The Washington Post จำลองภาพโมชั่นกราฟิกให้เห็นถึงพลังของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งประชาชนอยู่ใกล้ชิดกันในพื้นที่สาธารณะมากเท่าไร ยิ่งทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายง่ายขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นตามมาได้ นี่เป็นอีกหนึ่งผลงานดีไซน์ที่ตอกย้ำว่า Social Distancing หรือการเว้นระยะห่างจากสังคม ยังเป็นเรื่องสำคัญเสมอตราบเท่าที่เราไม่อาจมองเห็นเชื้อไวรัสด้วยตาเปล่า หรือยังไม่มีวัคซีนจำนวนมากพอจะยับยั้งไวรัสได้อย่างขาดรอย ภาพประกอบสุดกวนที่เล่าอาการของผู้ติดเชื้อ ผู้สื่อข่าวสายข้อมูลชาวอังกฤษ Mona Chalabi โพสต์ภาพวาดประกอบของเธอลงใน Instagram ส่วนตัวเพื่ออธิบายอาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบบเข้าใจง่าย เธอใช้ภาพวาดสุดกวนที่ดูตลกและสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกันสื่อความหมายว่าอาการผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ต่างจากผู้ป่วยโรคไข้หวัดอย่างไร แถมสีสัน สายเส้น และฟอนต์ตัวอักษรที่เธอเลือกใช้ก็ไม่ได้ดูหดหู่หรือเคร่งเครียดเกินไปด้วย ไม้ขีดไฟที่ไม่ถูกเผาไหม้
ไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่คดีดังถูกกล่าวขานไปทั่วประเทศ แล้วเราต่างวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างถึงพริกถึงขิง แต่เพียงไม่กี่วันเรื่องราวก็ถูกลบเลือนหายไป อาจหายไปกับกระแสข่าวอื่น อาจหายไปกับคดีใหม่ ๆ ที่เข้ามาแทนที่ หรือหลายทีก็หายไปกับความยิ่งใหญ่คับฟ้าของใครบางคน… กรณีการบุกรุกพื้นที่ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเพื่อล่าสัตว์ป่าสงวนของ นายเปรมชัย กรรณสูตร กรรมการและประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561 ก็เช่นกัน ความอึกทึกครึกโครมและความสะเทือนสังคมเมื่อแรกเริ่มอาจคุกรุ่นจนเราไม่คิดว่าเรื่องนี้จะจบลงได้โดยง่าย แต่ก็ตามประสาความเลื่อนไหลของสังคมที่วันหนึ่งข่าวมา ข่าวก็ต้องไป ไหนจะกระแสนายตำรวจใหญ่โค้งรับไหว้นายเปรมชัยอย่างนอบน้อม จนเราอดคิดไม่ได้ว่ากระแสนี้คงเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว เพียงแต่วันนี้ยังมีคนยืนยันว่า “เราไม่ลืม” โดยหนึงในวิธีการบอกว่าเราไม่ลืมเรื่องนี้ก็คือการสร้างสรรค์งานศิลปะ วันนี้ UNLOCKMEN นำผลงานกราฟิกบนโลกออนไลน์ และงานกราฟฟิตี้บนกำแพงจากสถานที่หลากหลายมาบันทึกไว้ว่า วันนี้เราคนไทยทั้งประเทศยังจดจำ กราฟฟิตี้รายแรกกระแทกใจให้ละอาย นี่ถือเป็นกราฟฟิตี้แรกสุดที่โผล่ขึ้นมาหลอกหลอนคนล่าเสือดำ โดยกราฟฟิตี้นี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นบริเวณจุดก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว บริเวณหน้าปากซอยพหลโยธิน 34 เรียกเสียงฮือฮาเป็นอย่างมาก โดยความพีคของกราฟฟิตี้นี้อยู่ที่การพ่นทับป้ายของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้อย่างแนบเนียน ความหมายก็แสบเหลือร้าย เป็นรูปเสือดำร้องไห้พร้อมรอยกระสุนแดงชัดจัดแจ้งที่หัว ถ้าเราเป็นล่าเสือดำเราคงอาย แต่ไม่รู้ว่าคนทำตัวจริงเขาละอายบ้างหรือเปล่า? Headache Stencil: ลบภาพผม แต่ไม่ลบภาพข้าง ๆ Headache Stencil ได้ยินชื่อนี้ก็การันตีได้เลยว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมากับภาครัฐ อะไที่ไม่ชอบมาพากลเขาต่อต้านด้วยศิลปะ