“นักสู้”ในจินตนาการคุณเป็นแบบไหน? ผู้ชายเจนโลกร่างกายแข็งแกร่งดุดัน บุรุษกล้ามหนาที่พร้อมบุกดะไม่ยั้ง หรือหนุ่มอายุน้อยปราดเปรียวว่องไวสักคน แต่น้อยคนนักที่จะจินตนาการ “นักสู้” ออกมาเป็นมนุษย์ผู้หญิง โดยเฉพาะมนุษย์ผู้หญิงหน้าตาชวนมองที่ใครต่อใครก็พาลตัดสินไปแล้วว่าเธอไม่เหมาะกับคำว่านักสู้ในความเข้าใจของคนทั่วไปเอาเสียเลย แต่หากการเป็นนักสู้ ไม่ได้วัดที่เพศ รูปร่าง หน้าตา หรือแม้แต่พละกำลัง แต่การต่อสู้วัดกันที่ “สมอง” และ “หัวใจนักสู้” ส่วนที่เหลือคือส่วนผสมของความพยายาม การฝึกซ้อมหนักหน่วง ควบรวมกับใจรัก ถ้าเช่นนั้นทำไม่ผู้หญิงหน้าตาสะสวยสักคนจะเป็นนักสู้ที่เก่งกาจไม่ได้? เราคงไม่ต้องพิสูจน์ให้มากความ เพราะบนโลกใบนี้มีผู้หญิงสวยและต่อสู้เก่งสมกับคำว่า “นักสู้” อยู่จริง โดยหนึ่งในนั้นที่เรายินดียกตำแหน่งนักสู้ให้อย่างภาคภูมิใจคือ “ริกะ อิชิเกะ” นักสู้แบบผสมหญิงชาวไทยคนแรกในสังเวียน MMA ระดับอาชีพ ที่ใครหลายคนอาจคุ้นกับฉายา Tiny Doll ของเธอ เธอคือนักมวย MMA ในรายการ ONE championchip ที่ไม่ได้ผ่านแค่การต่อสู้บนสังเวียนมาอย่างดุเดือดเท่านั้น แต่การต้องเป็นนักสู้หญิงอย่างเด็ดเดี่ยวท่ามกลางคำสบประมาทและการฝึกซ้อมที่มีข้อจำกัดนั้นก็ไม่ง่ายเลย แต่เธอทำได้ ทำได้ด้วยฝีมือ ความพยายาม การฝึกซ้อมล้วน ๆ นี่จึงเป็นบทสนทนาที่เราอยากชวนทุกคนมารู้จัก “นักสู้” ใจแกร่งอย่างเธอ ตั้งแต่จุดเริ่มต้น จุดเปลี่ยน จุดเดือด จุดแข็ง ไปจนถึงจุดต่อไปจากนี้ที่เธอกำลังมุ่งหน้าไป จุดเริ่มต้น:
พูดถึงแฟชั่นคุณนึกถึงอะไร? รันเวย์ นายแบบหน้าคม แบรนด์หรู หรือบางสิ่งบางอย่างที่ดูไกลตัวเราออกไป? แต่ถ้าเราบอกว่าแฟชั่นเกี่ยวกับโลกใบนี้ทั้งใบ ตั้งแต่ปัญหาขยะล้นโลกที่เรากำลังตื่นตัว เพราะขยะเสื้อผ้านั้นมีปริมาณมหาศาลมากกว่าที่เราคิด ไปจนถึงปัญหาสิทธิแรงงาน เพราะเบื้องหลังเสื้อผ้าที่เราใส่อยู่ทุกตัวมีใครบางคนในโรงงานที่ผลิตมันอยู่ หรือปัญหาการบริโภคแบบสุดขีดคลั่ง ที่เราอาจไม่รู้ตัวว่าการซื้อเสื้อผ้าราคาถูกมาก เพื่อเปลี่ยนบ่อยเท่าไรก็ได้ที่เราทำอยู่ก็เป็นปัญหา อุตสาหกรรมแฟชั่นสำหรับใครหลายคนจึงอาจมีภาพแบบหนึ่ง แต่กับเธอ “อุ้ง-กมลนาถ องค์วรรณดี” ผู้ประสานงานเครือข่าย Fashion Revolution Thailand พ่วงการเป็นนักออกแบบอิสระและอาจารย์พิเศษที่ภาคศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แฟชั่นไม่ใช่แค่เสื้อผ้าสวย ๆ บนรันเวย์ แต่หมายถึงเสื้อผ้า สไตล์ หมายถึงสิ่งที่เธอรัก และหมายถึงการที่เธออยากเห็นอุตสาหกรรมแฟชั่นดีขึ้นไปพร้อม ๆ กัน แล้วแฟชั่นจะไปกันได้กับสิ่งแวดล้อม สิทธิแรงงาน การบริโภคที่ช้าลงได้จริงไหม? ถ้าได้จริง มันลงมือทำได้ง่าย ๆ หรือเปล่า? เราอยากสปอยล์คำตอบตรงนี้ว่า “ทำได้จริง และง่าย ง่ายจนเริ่มลงมือทำทันทีที่อ่านจบก็ยังได้” แต่ทำอย่างไร? เราก็อยากชวนมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน ‘Fashion Revolution’ กลุ่มคนรักแฟชั่นที่อยากเห็นแฟชั่นดีขึ้น การอยากเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง ไม่ได้หมายความแค่ว่าเราไม่ชอบสิ่งนั้น แต่อาจหมายความว่าเรารักสิ่งนั้นมาก ๆ จนอยากเห็นสิ่งนั้นดีขึ้น
“ความรักทำให้คนตาบอด” คุณอาจเคยได้ยินประโยคนี้ ในขณะที่ “แหม่ม-วีรพร นิติประภา” นักเขียนดับเบิลซีไรต์ผู้เขียนนิยาย 2 เล่ม (ที่ล้วนพัวพันกับความรัก) อาจบอกคุณว่าความรักเป็นมายาคติ และมันทำให้คุณเพ้อฝัน “มายาคติความรักมันทำให้เราเพ้อ เพ้อฝัน ซึ่งก็ดีนะ ในนัยยะหนึ่งคุณก็ไม่ได้ฝันถึงอะไรมากมายเนอะในชีวิตจริง” เธอบอกกับเราแบบนั้น เราทุกคนล้วนจมอยู่กับมายาคติความรัก ละครหลายต่อหลายเรื่องที่มักบอกเราว่าความรักต้องจบลงอย่างสวยงาม นิยายหลายเล่มที่กระซิบกระซาบกรอกหูเราว่าความรักมีรสหวานลิ้น คนรอบข้างที่พากันทำให้เราเชื่อว่าความรักที่จบอย่างเป็นสุขคือจุดสูงสุดของชีวิต แต่เมื่อพ้นไปจากมายาคติฝันเพ้อแห่งรัก ความรักกลับปรากฏกายในหลายรูปแบบ มีความรักระยำหมา มีความรักที่เราอยากลืม มีความรักตัวเอง มีความรักแบบครอบครัว ฯลฯ รักอื่น ๆ นี่เองที่เรามองว่าช่างน่าหลงใหล และนั่นคือจุดเริ่มต้นที่เราอยากคุยกับ แหม่ม-วีรพร นิติประภา ว่าด้วยความรัก ทั้งรักที่เราฝันเพ้อ รักที่ทำให้เรารีบอยากปลุกตัวเองให้ตื่นไว ๆ ไปจนถึงรักรูปแบบอื่น ๆ รักคืออะไร?: เพราะครบทุกรสชาติ รักจึงสมบูรณ์แบบ “ความรักคืออะไร?” เราไม่พูดพล่ามทำเพลง ถามคำถามแรกกับวีรพรด้วยคำถามคลาสสิก คาดหวังคำตอบหวือหวาสวิงสวาย แต่ความรักสำหรับนักเขียนนิยายรักอย่างเธอกลับตรงไปตรงมาเกินคาด ความเป็นเพื่อน ผสมเข้ากับการรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร กลายมาเป็นความรักในนิยามของวีรพร นิติประภา “ความรักเหรอ? พี่คิดว่า พี่ยังยืนยันนะว่าความรักคือส่วนประกอบของมิตรภาพค่อนข้างเยอะ ความเป็นเพื่อน ความสัมพันธ์ที่มีความเป็นเพื่อน มีความห่วงใยกันระดับหนึ่ง
The Last Sitting ภาพถ่ายเซ็ทสุดท้ายก่อน Marilyn Monroe จะเสียชีวิต เป็นภาพถ่ายที่จะถูกนำออกประมูล ด้วยมูลค่าขั้นต่ำรูปละ 200,000 บาท