ต้องยอมรับว่าการใช้ชีวิตในแต่ละวันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย นอกจากต้องต่อกรกับการจราจรที่ติดแหง็กไปยันชาติหน้าแล้ว ผู้ชายเรายังต้องสู้รบฟาดฟันกับกองงานมหึมาที่หัวหน้าขยันโยนมาให้ไม่รู้จบ ที่ยากไปกว่านั้นคือต้องเคลียร์งานทั้งหมดให้เสร็จภายในเวลางาน 8 ชั่วโมงนี่สิ ไม่รู้ว่าจะโทษวัฒนธรรมองค์กรแสนยืดหยุ่นที่เอื้อประโยชน์ให้เรามาทำงานสายจนเคลียร์งานไม่ทัน หรือโทษตัวเองที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานกันแน่ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดว่าการบริหารเวลาในชีวิตเข้าขั้นวิกฤตหรือล้มเหลว UNLOCKMEN มีเทคนิคง่าย ๆ มาแบ่งปัน รับประกันว่าถ้าทำได้ ชีวิตการทำงานของคุณจะ productive ยิ่งขึ้นแน่นอน! ‘60-30-10’ เป็นทฤษฎีการแบ่งเวลายอดนิยมที่ทำให้ใครหลายคนประสบความสำเร็จมานักต่อนัก ทฤษฎีนี้ว่าด้วยการแบ่งเวลาทำงานเป็นสามส่วน คือ 60, 30 และ 10 เริ่มที่เวลา 60% แรกจะใช้สำหรับงานที่สำคัญหรือมีมูลค่าต่อบริษัท เวลา 30% ถัดมาจะใช้ไปกับงานเร่งด่วนที่มูลค่ารองลงมาจากงานแรก และจบลงที่เวลา 10% สุดท้ายสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ หรือการเตรียมพร้อมทำงานในวันต่อไป 60% เพื่องานสำคัญ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานของหนุ่ม ๆ หลายคนไม่สำเร็จลุล่วงตามที่หวัง อาจเป็นเพราะคุณใช้เวลาทั้งวันไปกับงานยิบย่อยหรืองานที่ไม่สำคัญ จนไม่มีเวลามากพอจะทำงานหลักที่สำคัญยิ่งกว่า เราแนะนำให้คุณแบ่ง 60% ของเวลาทำงานไว้สำหรับทำงานสำคัญหรืองานชิ้นใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้เวลาทำมากกว่างานอื่น แต่ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ว่างานไหนสำคัญที่สุด ลองพิจารณาดูว่างานนั้น ๆ สอดคล้องกับภาพรวมงานใหญ่หรือไม่ และมันเอื้อประโยชน์ต่อเป้าหมายเบื้องหน้าที่คุณตั้งไว้หรือเปล่า เช่น ถ้าคุณเป็นพนักงานขายและมีโจทย์ให้ปิดยอดให้ได้ 300,000 บาทต่อสัปดาห์
ถึง Magazine จะเริ่มตายไปจากตลาด แต่พลังของ Magazine สายข่าวอย่าง TIME ก็ยังได้รับความเชื่อถือเสมอ ส่วนหนึ่งมาจากวัตถุประสงค์ชัดเจนของการเป็น Magazine สายข่าวที่เน้นการนำเสนอประเด็นในโลกที่น่าจับตามอง รวมถึงการเฟ้นหาบุคคลสำคัญในทุกวงการทั่วโลกมานำเสนอและขึ้นปก เพียงการขยับของบุคคลเหล่านั้นก็ส่งผลกระทบมาหลายริกเตอร์ต่อสังคม สำหรับคนไทยในปก TIME เอเชียเอง เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นและคุ้นหน้าคุ้นตากันเพราะล้วนเป็นคนขับเคลื่อนประเทศของเราในระดับโลกทั้งนั้น กลางปีนี้นายกฯ คนปัจจุบันของเรา – พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาก็เพิ่งได้ขึ้นกับเขาไปหมาด ๆ นอกจากการเลือกบุคคลสำคัญตามมภูมิภาคสาขาเพื่อขึ้นปก TIME แล้ว หนึ่งในธรรมเนียมปฏิบัติที่ TIME ทำเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2470 คือการเลือก TIME’s person หรือการเลือกบุคคลแห่งปี ความน่าสนใจคือคนที่ TIME เลือกคือดาวเด่นของปีนี้ และคำว่า “ดาวเด่น” ก็หมายถึง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น โลกถล่มแผ่นดินทลาย “เขา” หรือ “เธอ” ผู้นั้นมีอิทธิพลสูงสุดในเหตุการณ์ปีนั้นเสมอ และนี่คือ Shortlist ทำเนียบสำหรับคนสุดเจ๋งที่ตัวเลือกขึ้นเป็น TIME’s person 2018 ในปีนี้ คนกลุ่มนี้บอกเลยว่าต่อให้ไม่โดนเลือกแต่ได้ลองไปรู้จักประวัติเขาไว้ก็ไม่ผิดหวัง
เวลาคือสิ่งที่เดินไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งแม้แต่วินาทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นวินาทีที่เรากำลังอ่านข้อความนี้อยู่ก็ตาม เราถือว่ามันเป็นอีกสิ่งที่มีค่าจนเราต้องใช้ชีวิตบนกลไกของมัน ทุกเช้าที่ต้องวิ่งขึ้นรถให้เข้างานได้ทันเวลา ทุกวันที่ต้องเร่งสปีดตัวเองให้ทำงานได้ทันเวลา ทุกวันที่ต้องรีบกลับให้ไว เพื่อจะได้มีเวลาพักผ่อนที่มากขึ้นอีกสักสิบนาทีหรือครึ่งชั่วโมงก็ยังดี ความสงสัยใคร่รู้ที่ดูจะยุกยิกอยู่ในตัวมนุษย์เรามาแสนนาน ทำให้เรามีเครื่องจับเวลา เพราะอยากเก็บสถิติที่แม่นยำมากกว่าการนับในใจ เราคงคุ้นเคยกับเครื่องจับเวลาทั้งในโทรศัพท์ วงการกีฬา หรือแม้แต่การทำอาหาร ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของการใช้งาน แต่สำหรับการนั่งทำงานออฟฟิศแม้จะดูเหมือนไม่ต้องแข่งกับเวลา แต่ถ้าหากเราอยากจะ Improve ตัวเองล่ะ UNLOCKMEN ขอแนะนำของเล่นเจ๋ง ๆ อย่าง Tiller ที่จะมาช่วยเก็บสถิติแบบมีฟังก์ชั่นที่ช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้นเยอะ Keep Time To Tracking ในแต่ละวันที่ทำงาน ลองมาจับเวลากันหน่อยมั้ยว่าใช้เวลาไปกับมันเท่าไหร่สำหรับงานแต่ละชิ้น วันนี้อาจจะช้ากว่าเมื่อวาน หรือพรุ่งนี้อาจจะไวกว่าวันนี้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ลองเก็บสถิติแล้วนำมันไปพัฒนาตัวเองหรือใช้ประโยชน์จากมันก็ยังได้ Tiller มันคือ Time Tracker นั่นแหละ แต่ความเจ๋งคือ เราสามารถ Customize ได้ตามเราต้องการ เก็บสถิติของรายการนี้ในแต่ละวัน มีกราฟเปรียบเทียบให้ดู การใช้งานก็แสนง่าย จะ Split แต่ละครั้งก็เคาะมันเบา ๆ เหมือนเวลาเราเคาะแป้นคีย์บอร์ดนั่นแหละ โดยผู้ออกแบบแนะนำให้วางใกล้ ๆ เมาส์ และเคาะมันทุกครั้งที่งานเสร็จ
เมื่อเกิดเหตุการณ์ดี ๆ จนอยากจะเก็บเอาไว้เป็นความทรงจำดี ๆ ให้ได้กลับมาสัมผัสมันได้ทุกครั้งที่นึกถึง หลายคนก็มีวิธีเก็บความทรงจำดี ๆ แตกต่างกันไปหลายรูปแบบ บางคนอาจจะชื่นชอบการบันทึกภาพตรงนั้นด้วยภาพถ่าย บางคนอาจจะชอบการเก็บของขวัญ ของที่ระลึก หรือบางคนชอบที่จะนับเวลาจากเหตุการณ์นั้นเป็นต้นมา ลองนึกถึงคนที่ชอบนับวันครบรอบสิ มันก็เป็นอีกความสุขที่ได้เห็นเหตุการณ์ดี ๆ ผ่านมาเป็นระยะเวลาที่เรายังคงนับและนึกถึงเสมอ หากคุณชอบทำแบบนั้น UNLOCKMEN ขอแนะนำ Time Since Launch นาฬิกาจับเวลาแต่มาในรูปแบบสุดคลาสสิก มันมีความเจ๋งยังไง มาดูกัน อย่าลืมเก็บช่วงเวลาสุดพิเศษของคุณ Time Since Launch ให้อธิบายง่าย ๆ มันคือนาฬิกาจับเวลาที่เป็นมากกว่านาฬิกา ไม่เหมือนกับนาฬิกาที่ใช้ในวงการกีฬา ที่ถูกนำมาจับสถิติ ความเร็ว อะไรทำนองนั้น มันไม่ได้แค่ทำหน้าที่จับเวลา แต่มันทำหน้าที่จับความทรงจำของคุณในช่วงนั้น ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นวินาทีแรก ด้วยนาฬิกาจับเวลาทรงกระบอกสุดคลาสสิก ที่สามารถจับเวลาได้แบบ Long-Scale อาจจะสงสัยว่านาฬิกาจับเวลามันจะนานได้แค่ไหนกัน คำตอบคือนานกว่าช่วงชีวิตของเราสิบคนรวมกันซะอีก เพราะมันสามารถจับเวลาได้นานถึง 2,738 ปี การใช้งานก็เท่ไม่แพ้กัน หากอยากจะเริ่มต้นเก็บความทรงจำของเราในรูปแบบเวลา เพียงแค่ดึงสลักแบบเดียวกับระเบิดนั่นแหละ ซึ่งทำได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น! เพราะถึงออกปุ๊บ เวลามันจะเริ่มเดินทันที ทำไมถึงต้องมี ?
“งานโคตรยุ่งเลยว่ะ ไม่มีเวลาทำอย่างอื่นเลย” นี่เป็นข้ออ้างอันดับต้น ๆ ของผู้ชายที่ Work Hard Play Hard ซึ่งข้ออ้างง่าย ๆ นี้ทำให้เราพลาดอะไรหลายต่อหลายอย่างในชีวิตแบบไม่รู้ตัว เราพลาดเวลาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี เราพลาดเวลาไปเฮฮากับเพื่อนฝูงเพื่อความสัมพันธ์ที่ดี เราพลาดเวลาทำสิ่งที่เราชอบเพื่อเติมเต็มความฝัน เราพลาดแทบทุกอย่างในชีวิตเพียงเพราะคำว่า “ไม่มีเวลา” เคยถามตัวเองบ้างไหมว่าที่ “ไม่มีเวลา” จริง ๆ หรือเราแค่ตัดโอกาสตัวเองออกจากสิ่งต่าง ๆ อย่างคนขี้แพ้กันแน่? UNLOCKMEN บอกได้เลยว่าหลังจากที่อ่านเรื่องราวการจัดสรรเวลา“กฎ 168 ชั่วโมงต่ออาทิตย์” นี้จบ เราจะมอง “เวลาในชีวิต” ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ประหยัดเวลาเพื่อมีเวลา? Laura Vanderkam คือนักเขียนผู้เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารเวลา เรื่องราวของเธอโคตรน่าสนใจ ตอนแรกเธอก็ดั้นด้นพยายามหาเวลาเพิ่มเหมือนเรา ๆ ทุกคนนี่แหละ โดยทริคที่เธอสนใจก็คือการประหยัดเวลาเพื่อเพิ่มเวลา สมมติว่าเราซื้ออาหารสำเร็จรูปมาอุ่นแล้วมันเขียนว่าอุ่น 3-4 นาที เราก็อุ่นมันแค่ 3 นาที เพื่อประหยัดเวลา 1 นาทีไว้ไปทำอย่างอื่น หรือถ้าเราติดละครสักเรื่องแทนที่จะดูมันฉายทางโทรทัศน์สด ๆ เราก็ดูย้อนหลังแทน เพราะจะประหยัดเวลาที่ต้องเสียไปกับการดูโฆษณาได้รวม ๆ
ผู้ชายอย่างเราล้วนแต่รู้สึกว่ามีงานล้นมือล้นหัวจนต่อให้มี 10 มืออย่างทศกัณฐ์ก็คงแอบบ่นว่าทำไม่หมดอยู่ดี ในทางกลับกัน CEO ระดับโลกอย่าง Elon Musk ล่ะ? งานผู้ชายคนนี้จะล้นมือขนาดไหน? เขาทำบริษัทอะไรบ้าง? โปรเจ็กต์กี่ล้านอย่างในหัว? แล้วเขาทำทั้งหมดนั้นในหนึ่งช่วงชีวิตได้อย่างไร? 85 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ คือเวลาชีวิตที่ Elon Musk มอบให้งาน ถ้าเรารู้สึกว่านักธุรกิจ CEO มหาเศรษฐีอย่าง Elon Musk จะใช้ชีวิตลูกผู้ชายอย่างสุขสบายบนกองเงินกองทองและบริษัทที่เขาก่อตั้งขึ้นมาอย่างสุขสบาย เห็นทีจะคิดผิดมหันต์ เพราะไม่ใช่แค่ทำงาน แต่เขาทำงาน 80-85 ชั่วโมงต่อสัปดาห์! จินตนาการถึงการทำงานประจำของคนทั่วไปอย่างเรา ๆ กันดูหน่อยไหม? เราทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ก็เท่ากับว่าในแต่ละสัปดาห์เราทำงานเพียง 40 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ใน 40 ชั่วโมงของเราก็เต็มไปด้วยความเหนื่อยล้า การรู้สึกว่าทำงานไม่ทันจนอยากจะลาออกจากความเป็นเราอยู่ร่ำ ๆ แต่ก็ทำไม่ได้ แล้ว Elon Musk ทำอย่างนั้นได้อย่างไร? นอกจากการนอนเป็นเวลาแค่ 6 ชั่วโมง
ไม่ว่าจะในฐานะคนทำงาน เจ้าของธุรกิจ หรือระดับหัวหน้างานที่ต้องดูแลการทำงานของคนอีกจำนวนมาก เราต่างแสวงหากลยุทธ์ของการจัดการเวลาทำงานที่จะทำให้คนทำงาน ทำงานได้ทรงประสิทธิภาพสูงสุด คงจะดีไม่น้อยถ้าเราสามารถจัดการเวลาทำงานได้เต็มที่ หนักหน่วง และเห็นผลได้เหมือนนักกีฬาโอลิมปิคฝึกซ้อมก่อนลงสนามจริง อย่ามัวคิดว่าเป็นเรื่องล้อเล่นหรือเป็นไปไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้เปิดใจทำความรู้จัก “Interval Training” เทคนิคการบริหารจัดการเวลาฝึกซ้อมสไตล์นักกีฬาโอลิมปิคที่จะทำให้คุณต้องทึ่งกับผลลัพธ์การทำงานของตัวเองอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษที่ 1930 Woldemar Gerschler โค้ชชาวเยอรมันมีความคิดว่าเขาอยากให้นักกีฬาวิ่งของเขาจัดการเวลาการฝึกซ้อมให้ดีขึ้นกว่าที่เป็น หลังจากการทดลอง เขาพบว่านักวิ่งจะสามารถบรรลุเป้าหมายการฝึกซ้อมได้ดีขึ้น ถ้าแบ่งการฝึกออกเป็นเซ็ต ๆ หากมีเวลา 60 นาที Woldemar Gerschler จะแบ่งการฝึกออกเป็น 6 เซ็ต โดยฝึกซ้อมเต็มที่ 7 นาที แล้วพัก 3 นาที ซึ่งการฝึกเต็มที่แล้วแบ่งเวลาให้พัก นักวิ่งจะสามารถวิ่งได้เร็วกว่า วิ่งได้ระยะไกลกว่า และฟอร์มการวิ่งโดยรวมทำได้ดีกว่าการซ้อมวิ่งติดกันรวดเดียว 60 นาที วิธีของ Gerschler ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายกับนักวิ่ง จนกระทั่งถูกนำไปใช้ในกีฬาประเภทอื่น ๆ และกลายเป็นระบบการฝึกซ้อมสุดทรงพลังที่ถูกเรียกว่า “Interval Training” ที่ได้รับการยอมรับมาถึงปัจจุบัน การฝึกไป พักไป ได้รับการยืนยันจาก K.
เมื่อเวลาเดินเร็วจนเราไม่ทันซึมซับอะไร เราทำให้เวลาเดินช้าลงได้นะ รู้ยัง?