Life

ดูกีฬาต้องระวังหัวใจ! งานวิจัยชี้ว่าเห็นทีมรักแพ้ไม่ใช่แค่เศร้า แต่อาจถึงขั้นหัวใจวายได้

By: unlockmen October 19, 2020

ผู้อ่านหลายคงเป็นแฟนทีมกีฬาฟุตบอลสักทีม ไม่ว่าจะเป็น chelsea liverpool ฯลฯ และคงเคยเชียร์ทีมที่ตัวเองชอบอย่างสุดใจเวลาชมการแข่งขันต่างๆ แต่รู้ไหมว่า การเชียร์กีฬาที่ลุ้นหนักๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อหัวใจของเราได้เช่นกัน และงานวิจัยหลายชิ้นก็พบว่า การได้เห็นทีมที่ตัวเองเชียร์แพ้อาจทำให้เรามีความเสี่ยงต่อหัวใจวายมากขึ้น

ในบทความนี้ UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการป้องกันตัวไม่ให้การเชียร์กีฬาทำร้ายหัวใจเรา เพื่อที่จเราจะได้ชมกีฬาที่เราชื่นชอบไปได้อีกนานๆ

ทำไมเราถึงใจเสียเมื่อเห็นทีมฟุตบอลที่ตัวเองเชียร์เล่นแพ้ ?

แม้การชมกีฬาจะเน้นความบันเทิงเป็นหลัก แต่ถ้าเราเป็นแฟนตัวยงของทีมฟุตบอลสักทีม และทีมนั้นเล่นแพ้ อารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นอาจส่งผลเสียต่อหัวใจของเราได้ ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการรับรองจากงานวิจัยหลายชิ้น เช่นมหาวิทยาลัย Medical University of Bialystok ที่พบว่า ความเครียดและผลกระทบทางจิตใจที่เกิดจากการเห็นทีมฟุตบอลพ่ายแพ้ สามารถกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจได้ ผ่านการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลงานการเล่นของทีมฟุตบอล Jagiellonia Bialystok และการแอดมิทภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

ซึ่งทีมวิจัยได้สำรวจผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และได้รับการแอดมิทที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย Medical University of Bialystok จำนวน 10,529 คน ในระหว่างปี ค.ศ.2007 – 2018 ซึ่งผู้ป่วยทั้งหมดมีอายุเฉลี่ยราว 66 ปี และ 62% เป็นเพศชาย

ในช่วงของการวิจัย ทีมฟุตบอล Jagiellonia Bialystok ได้ลงแข่งขันในรายการระดับประเทศ (national) และยูโรเปี่ยน (European) ทั้งหมด 451 รายการ และพบว่า วันหลังจากที่ทีมฟุตบอลทีมนี้แพ้คาบ้าน ผู้ป่วยเข้ารับการแอดมิทภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นถึง 27%!!! ซึ่งนักวิจัยไม่พบความเชื่อมโยงในกลุ่มผู้หญิง แสดงให้เห็นว่า อารมณ์ที่เกิดจากการเห็นทีมที่สนับสนุนพ่ายแพ้คาบ้านสามารถกระตุ้นให้แฟนคลับผู้ชายเกิดอาการหัวใจวายได้

ผลการวิจัยชิ้นนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford ที่ทำการทดสอบน้ำลายของแฟนคลับสโมสรฟุตบอลบราซิลเลียนในช่วงที่ทีมนี้พ่ายแพ้ครั้งประวัติศาสตร์ในการแข่งขัน World Cup ปี ค.ศ.2014 และพบว่า พวกเขามีระดับฮอร์โมนความเครียด (cortisol) สูงขึ้นในช่วงที่ทีมพ่ายแพ้คาบ้าน 7 -1 ในการแข่งขันรอบ semi-final แสดงให้เห็นว่า แฟนคลับฟุตบอลมีความเครียดสูงเวลาดูทีมที่ตัวเองสนับสนุนแข่งขัน จึงเสี่ยงโรคหัวใจวาย

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ก็พบว่าแฟนคลับฟุตบอลผู้ชายและผู้หญิงไม่มีความแตกต่างกันเรื่องระดับความเครียดในช่วงที่มีการแข่งขัน แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะผู้ชายหรือผู้หญิงก็อาจมีโอกาสเกิดโรคหัวใจวายจากการเห็นทีมฟุตบอลพ่ายแพ้ได้เหมือนกัน

แต่นอกจากเหนือจากเรื่องผลร้ายที่เกิดกับหัวใจ ผลงานของทีมที่เราเชียร์ยังส่งผลต่อจิตใจของเราได้ด้วยเหมือนกัน เพราะสมองของเราจะทำงานแตกต่างกันเวลาทีมที่เราเชียร์ชนะหรือแพ้ในการแข่งขัน โดยเมื่อทีมของเราชนะหรือเล่นได้ดี สมองของเราจะหลั่งโดปามีนซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้รางวัลและความสุข ส่วนเมื่อทีมของเราแพ้หรือเล่นไม่ดี สมองของเราจะหลั่งฮอร์โมนความเครียด (cortisol) และร้ายที่สุดอาจหลั่งเซโรโทนิน (serotonin) น้อยลงด้วย ส่งผลให้เราโกรธและซึมเศร้าง่ายขึ้น และอาจนำไปสู่ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตต่างๆ ตามมา


เชียร์กีฬาอย่างไรให้หัวใจปลอดภัย ?

ไม่ใช่แค่แฟนกีฬาฟุตบอลที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการเชียร์กีฬา แต่แฟนกีฬาอื่นๆ เช่น รักบี้ หรือ ซ๊อกเกอร์ ก็อาจมีความเสี่ยงเหมือนกัน งานวิจัยบางชิ้นบอกว่า การแข่งขัน เช่น World Cup soccer และ Rugby World Cup อาจทำให้แฟนกีฬาตัวยงเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) และบางเคสเกิดสามารถเกิดภาวะหัวใจวายได้

แต่สาเหตุที่ทำให้แฟนกีฬามีความเสี่ยงด้านสุขภาพ อาจไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาเชียร์มากเกินไป แต่เกิดจากการไม่ดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองมากกว่า สถานะทางสุขภาพที่ไม่ดี เช่น มีน้ำหนักเกิน ไม่ค่อยออกกำลังกาย ความดันเลือดสูง อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ชื่นชอบกีฬามีปัญหาหัวใจในระหว่างการชมการแข่งขันที่มีความดุเดือด

แฟนกีฬาต้องรู้ด้วยว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ถ้าเป็นคนที่ตื่นเต้นง่าย ก็ควรไปพบแพทย์ เผื่อดูว่าตัวเองมีความผิดปกติอะไรหรือไม่ จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องและดูกีฬาได้อย่างมีความสุขตามมา

พฤติกรรมการทานอาหารก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเช่นกัน จึงควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้ดีต่อสุขภาพ เฝ้าระวังระดับคลอเรสเตอรอลของตัวเองไม่ให้สูงเกินไป พร้อมกับควบคุมความดันเลือด และเช็คโรคเบาหวานอยู่เสมอ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แฟนกีฬามีความเสี่ยงเช่นกัน เช่น อากาศที่ร้อนจัด หรือ พายุหิมะ ซึ่งการจัดการแข่งขันในวันที่สภาพอากาศรุนแรง สามารถทำให้ผู้ชมกีฬาเกิดความเครียด มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายและโรคหลอดเลือด ผู้ชมกีฬาเลยจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวรับมือกับสภาพอากาศที่ย่ำแย่ด้วย

 


Appendixs: 1 / 2 / 3

unlockmen
WRITER: unlockmen
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line