

FASHION
อยากรู้ไหม ต้นทุนค่าผลิตรองเท้าสุดฮิตแห่งยุคราคาเท่าไหร่
By: unlockmen May 30, 2016 34378
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา UNLOCKMEN ได้มีโอกาสไปร่วมงานจับฉลากซื้อรองเท้าของค่ายสามขีดมา ซึ่งก็แห้วไปตามคาด แต่น่าตกใจก็คือหลังจากมัน Sold Out ราคาของมันก็ดีดขึ้นไป 4 เท่าทันที และก็เกิดดราม่ามากมาย สำหรับคนที่ไม่ได้ครอบครองมัน ว่าทำไมไม่ทำออกมาเยอะๆ ทุกคนจะได้มีสิทธิ์เป็นเจ้าของ
เรื่องนี้ทำให้เราต้องลงไปที่ต้นตอว่าจริงๆ จำนวนที่ทางแบรนด์ผลิต และจัดจำน่ายพวกเขาไม่ต้องการได้กำไรมากมายเพราะของที่เป็น Trend กระแสมันอยู่ได้ไม่นาน พอกระแสหมดของก็ขายไม่ได้ แต่พวกเขาต้องการสร้าง Story เป็นแผน Marketing ทำให้รองเท้ามันเป็น Rare Items ให้คนต้องการมากๆเพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ และความผูกพันทำให้เกิดการซื้อขายต่อไปในระยะยาว ซึ่งมันยากกว่า เพราะพวกเขาก็มีกำไรอยู่แล้วถ้าคิดเป็น Margin
ซึ่งวันนี้ UNLOCKMEN จะเอาราคาต้นทุนการผลิตของรองเท้า Runinng Sneaker ที่ฮิตๆ มาแชร์กันให้ดูเล่นๆ ว่ามีราคาเท่าไหร่
Yeezy Boost 750 ที่ราคา Resell ไปไกลจนเกือบจะถึงแสนบาท จริงๆ แล้วต้นทุนการผลิตของมันอยู่ที่แค่ 76 USD ( 2,5xx บาท ) และ Adidas ขายในราคา 350 USD ( 12,000 บาท ) แต่ด้วยค่าแบรนด์ และชื่อเสียงของ Kanye West แล้ว ทำให้เขาไม่มีความจำเป็นต้องทำออกมาให้เยอะเกลื่อนตลาด
Ultraboost รองเท้าวิ่งแห่ง พศ. นี้ ที่เขาบอกว่าเป็นรองเท้าวิ่งที่ดีที่สุด ใส่สบายสุดแถมดีไซน์สวยที่สุด ต้นทุนการผลิตของมันอยู่ที่ 43 USD ( 1,5xx บาท ) และขายในราคา 6,990 บาท ซึ่งราคา Resell ของมันก็จะโหดอยู่เพียงแค่สีขาว กับสีดำเท่านั้น
มาถึงรองเท้าบาสชูโรงของ Adidas นั้นคือ Adi-Rose 6 Boost ที่ราคาต้นทุนจะอยู่ที่แค่ 43 USD ( 1,5xx บาท ) แต่กลับขายในราคา 140 USD ( 5,xxx บาท ) ไม่มีการ Resell แต่อย่างใด
สำหรับ NMD ยอดฮิตที่เป็นรองเท้าที่มีการ Resell กันโหดที่สุดในขณะนี้ต้นทุนมันก็ไม่ได้ต่างจาก Ultraboost แถมถูกกว่าด้วยซ้ำ สำหรับต้นทุนเพียง 33 USD ( 1,2xx บาท ) และพวกเขาเอามาจัดจำหน่ายในราคา 170 USD ( 6,990 บาท ) แต่ถ้าน่าตกใจสุดคือ Resell มันขึ้นไปถึง 3 หมื่นบาทขณะนี้
เดี๋ยวจะหาว่ามาบรัฟแต่ Adidas สำหรับ Nike เราก็มีราคามาฝากกันเช่นกัน อย่างเช่นรุ่นเรือธง Air Max ที่อันแน่นด้วย Air และเทคโนโลยี Flynit ต้นทุนของมันอยู่ที่ 33 USD ( 1,2xx บาท ) และพวกเขาก็ขายด้วยราคาป้ายที่ 190 USD ( 7,xxx บาท )
และก็ยังมีรุ่นอื่นเช่น Free ,Air Zoom ,Lunar ซึ่งราคาก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ อยู่ที่ประมาณ 25- 26 USD จะเห็นได้ว่ารองเท้า Nike มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าคู่แข่ง ซึ่งอาจจะเป็นข้อได้เปรียบในเชิงธุรกิจยอดขายว่าทำไม Adidas ถึงยังเป็นรอง Nike
และเราก็จะมาโชว์กราฟคราวๆ ของรองเท้าคู่หนึ่งที่มีต้นสายมาจากโรงงานว่ากว่าจะมาถึง Shop มันต้องผ่านอะไรมาบ้าง จนเป็นราคาที่กล่าวไว้ข้างต้น เริ่มต้นจาก โรงงานผลิตเสร็จสมบูรณ์ Shipping ไปยังประเทศต่างๆ ผ่านค่าประกันภัย และเสีย Tax ตามอัตราของแต่ละประเทศจนออกมาเป็นราคา Production Cost ที่สมบูรณ์
หลังจากนั้นพวกร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั้งหลาย ก็จะรับรองเท้าจากแบรนด์ในราคาที่ตกลงกันเอาไว้ ซึ่งแบรนด์มักจะเซ็ตเอาไว้ตามขนาดของ Retailer และ Inventory size เพื่อเป็นราคาขายสากล จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมร้านเหล่านี้ถึงยังสามารถเอามาลดราคา On top 10% ได้โดยไม่ขาดทุน
และนี่ก็เป็นเรื่องราวของ Sneaker ที่เราเอามาฝากทุกท่าน แต่เราต้องไม่ลืมว่านี้เป็นเพียงต้นทุนการผลิตรองเท้าคู่หนึ่งเท่านั้น อย่าลืมว่านอกจากนี้ ยังมีต้นทุนอื่นๆ อีก อย่างพวกเช่น พวกค่าทำโฆษณา ทำ PR จ้างดารา Influencer หรือ Marketing Promotion ทางอื่นอีกเพียบ ซึ่งเงินจำนวนนี้แหละ ที่ทำให้มูลค่าแบรนด์ Nike หรือ Adidas เป็นสองค่ายกีฬาที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกนี้ และก็เป็นตัวกำหนดว่าจะสามารถตั้งราคาขายได้มากน้อยเพียงไหน
สุดท้ายเราก็อยากจะเตือนสติทุกท่านเกี่ยวกับการซื้อรองเท้าว่า อยากให้ซื้อในราคาที่เหมาะสมกับตัวคุณ มีเท่าไหนก็ซื้อเท่านั้น อย่าหลงไปตามกระแสเพียงเพราะแค่เห็นคนอื่นมี หรือสื่อพูดถึงเยอะแล้วเราต้องมี ยิ่งถ้าคุณยังเป็นคนที่ขอเงินพ่อแม่ หรือไม่ได้มีรายได้ที่มั่นคงด้วยแล้ว การซื้อรองเท้าผ้าใบราคา resell ที่ถูกบวกสูงแล้วควรต้องมีการพิจารณาเป็นอย่างดี ในทางกลับกัน ถ้าคุณสามารถหาเงินเองได้ บริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ การซื้อรองเท้าคู่ละเป็นหมื่น แพงกว่าป้ายสักหน่อยก็คงไม่มีปัญหาไปเดือดร้อนใคร แบบนี้ถึงจะเรียกได้ว่าเป็น sneakerheads ที่แท้จริงครับ