ถ้าพูดถึงนาฬิกาที่แข็งแรงทนทานและมีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายสิบปี คงจะลืมชื่อ ‘G-SHOCK’ ของ Casio ไปไม่ได้เลย นอกจาก G-SHOCK จะเป็นแบรนด์นาฬิกาจากแดนอาทิตย์อุทัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกแล้ว รูปลักษณ์ มาตรฐานการผลิต ตลอดจนงานดีไซน์เฉพาะตัวของแต่ละเรือนยังถูกใจหนุ่ม ๆ สายสตรีตอย่างเราเป็นที่สุด เมื่อปี 1995 แบรนด์นี้เคยเปิดตัวนาฬิการุ่น ‘DW-6900’ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วและถือเป็นหนึ่งในนาฬิการุ่นไอคอนิกของแบรนด์ไปโดยปริยาย เรือนนี้ได้รับฉายาว่า “triple graph dial” หรือที่เรียกติดปากกันในประเทศไทยว่า “ไอ้สามตา” บ่งบอกถึงประสิทธิภาพและรูปแบบจอแสดงผลทรงกลมสามชุดบนหน้าปัดที่เป็นเอกลักษณ์ของเรือน แถมรุ่น DW-6900 ยังถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์นาฬิกาเรือนอื่น ๆ ร่วมกับแบรนด์แฟชั่นอีกมากมาย ในปี 2020 นี้ บริษัท เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป จำกัด (CMG) เพิ่งเปิดตัวซีรีส์เรือนเวลา “Metal Face GM6900” จากตระกูลนาฬิกาต้านแรงกระทบกระเทือน (G-SHOCK) เพื่อฉลองครบรอบ 25 ปีของนาฬิการุ่น DW-6900 โดยนำโมเดลรุ่นเก๋ามาปรับโฉมใหม่ ดีไซน์วงกรอบตัวเรือนด้วยสเตนเลสสตีลขัดเงา ใช้หน้าปัดกระจกสุดแกร่ง และถอดแบบหน้าปัดทรงกลมสามชุดของรุ่น ‘DW-6900’ ในตำนานออกมาได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน นาฬิกาในซีรีส์นี้ถือเป็นสามรุ่นแรกที่ G-SHOCK นำวงกรอบตัวเรือนสเตนเลสสตีลมาประดับตกแต่ง
การออกแบบที่ดี ต้องมีทั้งความคิดสร้างสรรค์และสามารถใช้งานเพื่อยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น นี่คือไอเดียที่ Eisuke Tachikawa ดีไซน์เนอร์ชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้ง ‘Nosigner’ platform ที่มี Vision ชัดเจนในการออกแบบเพื่ออนาคตที่ดีกว่า ในสถานการณ์ที่หลายประเทศขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันตัวเองจากไวรัส SARS-CoV-2 อย่างหนัก เนื่องจากหน้ากากทางการแพทย์ต้องส่งไปให้บุคลากรแถวหน้าเช่น หมอ พยาบาล ในการรักษาผู้ป่วย Coronavirus ประชาชนปกติอย่างพวกเราที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า สามารถเลือกใช้หน้ากากผ้าหรือ Face Shields ที่มีความปลอดภัยรองลงมาได้ จึงเป็นหน้าที่ของ Designer หลายคนต่างระดมสมองเพื่อหาสารพัดวิธีในการออกแบบหน้ากากต่าง ๆ ออกมา ไอเดียล่าสุดที่เราหยิบมานำเสนอของ Eisuke Tachikawa นับเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีสำหรับทั้งพวกเราและเจ้าหน้าที่ที่ต้องการ Face Shields แบบเร่งด่วนและทำได้ง่าย โดยการแจก template ให้เอาไป DIY กันอย่างง่ายดาย เพียงแค่ใช้แฟ้มเอกสารและกรรไกร ตัดตามรอยเส้นที่ระบุเอาไว้ก็เรียบร้อยภายใน 1 นาที เข้าไป download template แบบ high-resolution ได้ที่ NOSIGNER GG
เชื่อไหมครับว่าภาพยนตร์หลายพันเรื่องที่เคยผ่านตาเรา ล้วนสอดแทรกโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจเอาไว้ และถ้าคุณหลงใหลงานดีไซน์มากพอก็คงจะรับรู้ได้ เนื่องจากสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อมนุษย์ แถมยังครอบคลุมตั้งแต่การพักอาศัยไปจนถึงการใช้ชีวิต การออกแบบสถาปัตยกรรมจึงนับว่ามีบทบาทไม่น้อยต่อภาพยนตร์ นอกจากจะเป็นฉากหลังประกอบเนื้อเรื่องที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสายตาผู้ชมแล้ว สถาปัตยกรรมในแต่ละฉากตอนยังสะท้อนถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงยุคสมัยที่ปรากฏในภาพยนตร์แต่ละเรื่องได้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นรายละเอียดเล็ก ๆ ของงานสถาปัตยกรรมยังช่วยเสริมแนวคิดตลอดจนเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ให้เด่นชัดขึ้นในเวลาเดียวกัน แล้วนี่คือภาพยนตร์ 5 เรื่อง 5 รสชาติที่ซ่อนความพิเศษทางสถาปัตยกรรมบางอย่างที่เราอยากให้คุณได้รับชม! PARASITE, 2019 ภาพยนตร์สัญชาติเกาหลีของผู้กำกับ Bong Joon-ho ที่นอกจากจะคว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและอีกหลายรางวัลใหญ่บนเวทีออสการ์ ยังซ่อนผลงานสถาปัตยกรรมสุดน่าทึ่งเอาไว้ด้วย เนื้อเรื่องของ Parasite เล่าถึงครอบครัวต่างฐานะของเกาหลีใต้ที่ฝั่งหนึ่งใช้ชีวิตสุขสบายในคฤหาสน์หรู แต่อีกฝั่งต้องกัดฟันสู้ชีวิตท่ามกลางสภาพสังคมที่เหลื่อมล้ำ ภาพยนตร์เรื่องนี้โดดเด่นด้วยการเสียดสีสังคมและเผยให้เห็นช่องโหว่ของคนรวยกับจนอย่างโจ๋งครึ่ม ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่ช่วยให้ผู้ชมซึมซับความต่างระหว่างชนชั้นคือผลงานสถาปัตยกรรมในเรื่องนี้ ผนังหน้าบ้านของครอบครัวคนรวยดีไซน์ด้วยกำแพงสูงทึบตัน ที่ช่วยแบ่งกั้นระหว่างภายในกับภายนอกอย่างชัดเจน ทางเดินเข้าบ้านยกระดับให้สูงขึ้นสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้พักอาศัย และเหมือนบอกโดยนัยว่าไม่ต้องการให้ใครเข้าถึงง่าย ภายในยังสร้างบันไดไว้บริเวณจุดศูนย์กลางบ้านช่วยแบ่งพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนมากขึ้น แม้จะใช้กระจกบานกว้างเพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติและบ่งบอกถึงรสนิยมหรูหรา แต่กลับเลือกเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นที่ดูเรียบง่ายมาตกแต่ง บวกกับโทนสีในบ้านและเปลือกนอกอาคารที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ราวกับบอกว่าบ้านหลังนี้ซ่อนความลับบางอย่างเอาไว้ BLACK PANTHER, 2018 แม้แต่ Black Panther ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ลำดับที่ 8 ในจักรวาลมาเวล ยังเต็มไปด้วยรายละเอียดยิบย่อยของสถาปัตยกรรมผังเมืองฝีมือ Zaha Hadid สถาปนิกหญิงชื่อก้องโลกผู้คร่ำหวอดในแวดวงสถาปัตยกรรม
การระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อผู้คนในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีอัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้โรงพยาบาลหลักหลายแห่งเริ่มไม่เหลือพื้นที่เพียงพอสำหรับรักษาและกักตัวผู้ติดเชื้อทั้งหมด สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทด้านสุขภาพอย่าง Jupe เร่งพัฒนาโปรเจกต์ “อาคารดูแลผู้ป่วยแบบติดตั้ง” เพื่อเตรียมนำมาใช้งานจริงในสถานที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล โดยตึกพยาบาลแบบ Standalone ทั้งหมดจะประกอบไปด้วยอะไรบ้างมาชมไปพร้อมกัน Jupe คือบริษัทด้านสุขภาพที่ก่อตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ชื่อ Jeff Wilson และนายแพทย์ Esther Choo โดยได้เงินสนับสนุนจากเศรษฐีผู้สนใจงานด้านมนุษยธรรมอย่าง Cameron Sinclair ซึ่งทั้ง 3 คนมีความเห็นตรงกันว่าอยากจะสร้างศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินเคลื่อนที่ ที่สามารถขนส่งและติดตั้งในสถานที่ไหนก็ได้ รวมถึงใช้เวลาประกอบเพียงชั่วข้ามคืนจนออกมาเป็นผลงานที่ชื่อว่า Jupe Health Jupe Health ประกอบไปด้วยสิ่งก่อสร้างทั้งหมด 3 ยูนิตด้วยกันคือ Jupe Plus, Jupe Care และ Jupe Rest ที่สร้างขึ้นมาตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่าง แต่สิ่งอำนวยความสะดวกในยูนิตต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน เริ่มกันที่ Jupe Plus อาคารดูแลผู้ป่วยหนักแบบ Stand-Alone ยูนิตแรกของโลก ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นห้องดูแลผู้ป่วย ICU
สาวก NIKE น่าจะหลงรักแบรนด์มากขึ้นไปอีก เมื่อได้รู้ว่า Nike Air Sole เทคโนโลยี Signature ใกล้ตัว กำลังถูกปรับเปลี่ยนเป็นชิ้นส่วนสำหรับผลิตหน้ากาก Face Shields ให้กับเหล่าแพทย์และพยาบาล เพื่อต่อสู้กับมือกับ Coronavirus Nike เป็นแบรนด์ล่าสุดที่ร่วมพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ โดยเปิดตัวพร้อมดีไซน์ Face Shields ที่ออกแบบโดยร่วมพัฒนาภายใต้คำแนะนำของ Oregon Health & Science University (OHSU) เพื่อให้ได้ design และ function ที่เป็นประโยชน์กับผู้กล้าแถวหน้าที่ใช้งานจริง ผลิตจากวัสดุที่ใช้ผลิตรองเท้าและเสื้อผ้าของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสายรัดปรับขนาดที่ดัดแปลงมาจากวัสดุผลิตเชือกรองเท้า และตัวล็อคปรับระดับที่เอามาจากไลน์เสื้อผ้า แต่ที่น่าสนใจกว่าคือการนำวัตถุดิบ TPU สำหรับทำพื้น Air ของรองเท้า Nike มาผลิตเป็นแผ่นกันลมและกระจกใสด้านนอกเพื่อป้องกันสารคัดหลั่งจากคนป่วย ออกแบบเป็น Polyurethane film Shields แยกชิ้น 3 ชั้น เพื่อการป้องกันเฉพาะส่วนที่รัดกุมกว่า ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยให้การถ่ายเทอากาศทำได้ดีขึ้น “Full-Face Shields เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการทำงานดูแลผู้ป่วย
บางคนซื้อ Supercar เอาไว้ขับ ในขณะที่คนอีกจำนวนมากซื้อ Supercar เอาไว้สะสมหรือทำกำไร ส่วนใหญ่รถ Supercar คันงามจึงถูกจอดเก็บมากกว่าจะถูกขับออกไปบนถนน ซึ่งโอกาสในการนำรถราคาแพงระยับออกไปใช้งานก็ค่อนข้างน้อยและมีความเสี่ยงสูง ยิ่งในประเทศไทยยิ่งต้องสำรวจเส้นทางกันให้ดีก่อนเสมอ แต่ไม่ว่าคุณจะซื้อ Supercar ด้วยเหตุผลข้อไหน สิ่งที่เรามีเหมือนกันคือความหลงใหลในความสวยงามของรูปลักษณ์ภายนอก ที่สวยจนสามารถใช้เป็นงานศิลป์ชิ้นใหญ่สำหรับตกแต่งบ้านได้ ซึ่งคงจะดีกว่าการจอดเก็บอยู่ในที่จอดรถแบบปิดที่ไม่มีใครมองเห็น แม้แต่เจ้าของรถเองด้วย และเสียงเรียกร้องของบรรดาผู้ครอบครอง Supercar ทำให้เกิดเทรนด์การออกแบบสถาปัตยกรรมที่กำลังมาแรง นั่นคือ Supercar Capsule และมีบริษัทมากมายที่เกิดขึ้นเพื่อการออกแบบที่จอดรถโดยเฉพาะ หรือแม้แต่ค่ายรถยนต์ผู้ผลิต Supercar เอง ก็มีบริการออกแบบที่จอดรถเพื่อความโดดเด่นของรถคันนั้นอีกด้วย หนึ่งในบริษัทเกิดใหม่ที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบที่จอดรถก็คือ Superfuturedesign สตูดิโอออกแบบใน Dubai ร่วมงานกับ ASZarchitetti Group จาก Italy นำเสนอ Interior design service ที่เน้นออกแบบจุดจอดรถ Supercars ทั้งภายในและนอกบ้าน ให้กลายเป็น Personal Showroom โดยดึงจุดเด่นจากคาแรคเตอร์ของรถ รวมถึงเจ้าของบ้าน และสิ่งแวดล้อมในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้แสงไฟ โทนสี วัสดุตกแต่ง จนกลายเป็นที่จอดรถที่คุณสามารถนั่งมองอย่างผ่อนคลายได้ทุกวัน
ในบรรดาค่ายรถผู้ผลิตยนตรกรรมระดับโลก คงต้องยอมรับว่า BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) เป็นหนึ่งในค่ายที่ให้ความสำคัญกับการขับขี่รถยนต์หรูหราล้ำสมัยไปพร้อมกับการขับเคลื่อนผลงานศิลปะที่เปี่ยมด้วยแรงบันดาลใจจากศิลปินผู้รังสรรค์ ตั้งแต่ปี 1975 ที่ Hervé Poulain นักแข่งรถและนักประมูลรถชาวฝรั่งเศสได้ริเริ่มโปรเจกต์ ‘BMW Art Cars’ เอาไว้ นับแต่นั้นบริบทของศิลปะก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ผลงานศิลปะไม่ได้จำกัดอยู่แค่บนผืนผ้าใบหรือในพิพิธภัณฑ์ชื่อก้องโลกอีกต่อไป หากสอดแทรกอยู่แทบทุกที่รอบตัว แม้แต่บนหลังคา ปีก หรือฝากระโปรงของรถยนต์ BMW ก็ตาม Hervé Poulain ชวนศิลปินหลากหลายแขนงทั่วโลกมาร่วมสร้างผลงานศิลปะเฉพาะตัว เนรมิตยานพาหนะเพื่อการขับขี่ให้กลายเป็นผ้าใบผืนใหญ่ และเปิดโอกาสให้เหล่าศิลปินใช้พื้นที่ว่างรังสรรค์ศิลปะที่สะท้อนเอกลักษณ์และตัวตนของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น Alexander Calder, Frank Stella, Roy Lichtenstein หรือแม้แต่ Andy Warhol ล้วนเคยสร้างผลงาน BMW Art Cars ในแบบฉบับของตัวเองมาแล้วทั้งนั้น พวกเขาระเบิดความคิดสร้างสรรค์และถ่ายทอดทักษะความสามารถลงบนโมเดลรถยนต์ค่ายใบพัดฟ้าจนเป็นตำนาน ซึ่งปัจจุบันมี BMW Art Cars รวมทั้งสิ้น 19 คันทั่วโลก ‘BMW Unbound World of
กลุ่มคาราวานขี่มอเตอร์ไซค์ไปตามที่ต่าง ๆ หรือนักดนตรีพังก์ที่ออกจากบ้านมาร้องเพลงในบาร์เล็ก ๆ ทุกคืนวันเสาร์ แก๊งยากูซ่าผู้ถูกเกลียดชัง ทั้งหมดคือกลุ่ม Subcultute หรือวัฒนธรรมย่อยที่ซ่อนตัวอยู่ในสังคม เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มผู้คนความชอบเดียวกัน แถมการรวมกลุ่มพวกเขามักโดดเด่นและมีเอกลักษณ์จนคนจำได้ เหตุผลที่ UNLOCKMEN พูดถึงชาวพังก์ แก๊งบิ๊กไบค์ และกลุ่มแยงกี้กับยากูซ่า ที่ดูแล้วไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องใด ๆ กันมากนักเป็นเพราะพวกเราได้เจอกับแบรนด์เครื่องหนังสัญชาติญี่ปุ่นชื่อว่า “Blackmeans” ที่ร่วมสืบทอดวัฒนธรรมย่อยเหล่านี้ให้ได้ไปต่อในกระแสสังคม ผ่านการออกแบบเครื่องหนังที่ถือเป็นไอเทมยอดฮิตสำหรับชาวแก๊งทั้งสาม แจ็กเกตหนังคือไอเทมประจำตัวของหนุ่ม ๆ ผู้ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์ระยะไกล อาจเป็นเพราะแจ็กเกตหนังแขนยาวสามารถกันแดด ป้องกันผิวหนังเวลาเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่าผ้าชนิดอื่น ๆ แถมยังสามารถสลักรูปประจำกลุ่มไว้กลางหลังได้เหมือนอย่างแก๊ง Hell Angels อันโด่งดัง ส่วนชาวพังก์ก็มักสวมเสื้อกั๊กหนัง ปลอกคอหนัง และกำไลข้อมือหนังออกไปพบปะกับคนคอเดียวกันในบาร์เหล้า ส่วนยากูซ่ากับแก๊งแยงกี้ก็มักมีเสื้อหนังประจำกลุ่มแบบเดียวกับกลุ่มบิ๊กไบค์ เครื่องแต่งกายคือสิ่งเติมเต็มความพึงพอใจทำให้ผู้คนจดจำพวกเขาได้ การให้ความสำคัญกับแฟชั่นจึงเป็นเรื่องสำคัญทำให้คนทั่วไปเข้าใจสิ่งที่พวกเขาพยายามจะสื่อ Yujiro Komatsu (ยูจิโร่ โคมัตสึ) เป็นชายที่ชื่นชอบเครื่องหนังมาก เขาไม่ได้บอกว่าตัวเองเป็นชาวพังก์ เป็นสมาชิกแก๊งยากูซ่า หรือว่าขี่บิ๊กไบค์แต่เขาเป็นแค่คนหลงรักเครื่องหนังและเห็นชาวพังก์มาตั้งแต่ 10 ขวบ แถมยังรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ความชอบของตัวเองตอบโจทย์ของคนหลายกลุ่มได้ในเวลาเดียวกัน นอกจากความชอบส่วนตัวยูจิโร่ยังได้แรงบันดาลใจที่ทำให้ก้าวสู่โลกแฟชั่นจากการเห็น John Lennon สวมเสื้อ “Sukajan” ในปี
แม้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้คุ้นชินกับการออกแบบเชิงตอบโต้ หรือ Interactive Design มากเท่าไรนัก แต่งานประเภทที่ผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับประสิทธิภาพทางเทคโนโลยี เพื่อรังสรรค์ประสบการณ์ตื่นเต้นตระการตาให้กับผู้ชมเช่นนี้ อาจไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร แถมงานสไตล์นี้ยังแทรกตัวอยู่ทั่วทุกมุมโลกด้วยซ้ำ แต่ในช่วงไม่กี่ปีให้หลังชื่อเสียงด้านงาน Interactive Design ของคนไทยก็เริ่มกลายเป็นที่โจษขานมากยิ่งขึ้น งานดีไซน์ที่ว่านี้ไม่ได้มีดีแค่ขับเน้นความงามให้กระทบต่อสายตาผู้ชม หากมอบความบันเทิง ขับเคลื่อนบริบทแวดล้อม และช่วยสร้างแรงบันดาลให้กับคนในเวลาเดียวกัน แล้ว “อะตอม-ติณห์นวัช จันทร์คล้อย” Creative Director ของบริษัท Eyedropper Fill คือหนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังงานออกแบบเชิงตอบโต้สุดสร้างสรรค์ที่เราหมายถึง งานออกแบบประสบการณ์ของอะตอม Eyedropper Fill “ถ้าจะให้อธิบายถึงสิ่งที่เราทำคร่าว ๆ น่าจะอยู่ในสามประโยคคือ เราสร้างพื้นที่ เราชวนคนมาเจอกัน และเราสร้างประสบการณ์ที่น่าจดให้กับพวกเขา Eyedropper Fill เริ่มต้นจากงานที่เป็นภาพเคลื่อนไหวซะส่วนใหญ่ แล้วค่อย ๆ เปลี่ยนจากภาพเคลื่อนไหวไปสู่งานบนพื้นที่จริง” ปัจจุบัน Eyedropper Fill เป็นสตูดิโอผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภาพเคลื่อนไหว ศิลปะติดตั้ง และการออกแบบเชิงตอบโต้ พวกเขานิยามตัวเองว่าเป็น ‘สตูดิโอนักออกแบบประสบการณ์’ ขยันครีเอตผลงานดีไซน์เจ๋ง ๆ ที่สอดรับกับความต้องการพวกเขา คล้องกับความต้องการของลูกค้า ตลอดจนขับเคลื่อนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนที่มาชมงาน “การเล่นสนุกคือน้ำเสียงในแบบคนไทยที่เราใช้สื่อสาร”
สำหรับแฟน ๆ Seiko รวมถึงผู้หลงใหลในเรือนเวลาอีกมากมาย หากเอ่ยถึงชื่อของ Seiko 5 Sports ขึ้นมา เชื่อว่าเข็มนาฬิกาแห่งความทรงจำ ต้องพาทุกคนย้อนวนกลับไปเป็นเวลากว่า 50 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาแรกเริ่มที่โลกได้รู้จักกับ Seiko 5 Sports นาฬิกาที่มอบความน่าเชื่อถือ ความทนทาน ประสิทธิภาพ และมูลค่า ให้กับผู้ที่ชื่นชอบนาฬิกาจักรกลทั่วโลกมาอย่างยาวนานจวบจนปัจจุบัน ซึ่งเรื่องราวของมันเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษของนาฬิกา Seiko 5 อย่าง Seiko Sportmatic 5 ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาในปี 1963 และครองตำแหน่งนาฬิการะบบอัตโนมัติที่มาพร้อมฟังก์ชั่นบอกวันและวันที่ เรือนแรกของ Seiko และเป็นเรือนแรกของประเทศญี่ปุ่น เรียกได้ว่าล้ำสมัยสุด ๆ ในยุคนั้น โดยเลข “5” ในชื่อรุ่นเป็นสิ่งแสดงถึงคำมั่นสัญญาว่านาฬิกา Seiko 5 ทุกเรือนจะมาพร้อมคุณสมบัติหลัก 5 ประการ ดังนี้ เครื่องระบบอัตโนมัติ, ฟังก์ชั่นวันและวันที่บริเวณ 3 นาฬิกา, ระบบกันน้ำ, เม็ดมะยมบริเวณ 4 นาฬิกา และ ตัวเรือนรวมถึงสายที่มีความแข็งแรงทนทาน เมื่อนำมาผสานเข้ากับเมนสปริงใหม่ล่าสุด และระบบป้องกันการกระแทก
สิ่งที่พรากความสุขไปจากชีวิตเรามีเพียงความสิ้นหวังเท่านั้น เพราะทุกความลำบากที่เคยเกิดและเผชิญ มนุษย์รุ่นต่อรุ่นก็ฝ่ามาได้ทุกครั้ง ขอแค่มีแสงแห่งความหวังเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นเครื่องชโลมความรู้สึกให้คลี่คลายและผ่านไปได้ จะทุกข์ทนหรือสุขสม ศิลปะมักจะมาในช่วงนั้น ทำหน้าที่เป็นทั้งกระบอกเสียงและเยียวยาหัวใจคนในสังคม นี่จึงสาเหตุที่ทำให้อีกซีกโลกเกิด Hashtag “#MuseumBouquet” หรือภาพดอกไม้ที่เป็นผลงานของศิลปินไม่ว่าจะเบอร์หรือใหญ่ ประติมากรรมหรือจิตรกรรมซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์เหล่านั้นออกมาให้เห็นในทวิตเตอร์ การเด็ดดอกไม้ทุกดอกที่มีในพิพิธภัณฑ์มาอยู่ในโลกออนไลน์แล้วจัดเป็นคอลเลกชันส่งถึงกัน เริ่มต้นจากบัญชีของ New-York Historical Society ที่แชร์ภาพจิตรกรรมดอกแอปเปิลเบ่งบานของจิตรกรอเมริกัน Martin Johnson Heade ให้ The Smithsonian ถัดมา The Smithsonian จึงส่งรูปวาดต้นกล้าสีสันสดใสของ H. Lyman Saÿen ไปให้ Akron Art Museum ต่อ จากนั้นการตามหาดอกไม้ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ จึงเหมือนเป็น Challenge ส่งกำลังใจถึงกันระหว่างพิพิธภัณฑ์ จากบัญชีของพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งสู่อีกแห่ง หลายที่ก็เป็นบัญชีทวิตเตอร์ของพิพิธภัณฑ์ที่คนออนไลน์ตามกันจำนวนมาก ทั้ง the Metropolitan Museum of Art, the Guggenheim,
ต้องยอมรับว่าจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นปัจเจกบุคคลอาจยังไม่พอทุเลาสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 การกระตุ้นและรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์จึงเป็นอีกเครื่องมือช่วยเปลี่ยนปรับพฤติกรรมที่ใช้ได้ผล ทว่าบางครั้งข้อมูลที่ประชาชนได้รับเป็นทางการมากเกินไป ใช้ศัพท์วิชาการที่เข้าใจได้เฉพาะกลุ่ม หรืออัดแน่นเบียดเสียดไปด้วยตัวอักษรที่มักจะทำให้ใครหลายคนไม่อยากคลิกเข้าไปอ่าน งานดีไซน์เจ๋ง ๆ ที่ทำให้คนเข้าใจไวรัสง่ายกว่าเดิม ต่อให้ใช้ข้อมูลเดียวกันและส่งไปยังกลุ่มผู้อ่านที่ต่างกัน ก็ไม่อาจรับประกันว่าผู้รับสารที่เป็นทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และผู้สูงอายุจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดในทิศทางเดียวกันได้ เหล่าศิลปินและนักออกแบบจึงผลิตผลงานสุดสร้างสรรค์เพื่อรณรงค์และแนะนำวิธีการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องในช่วงที่ไวรัสแพร่ระบาด พวกเขานำความคิดสร้างสรรค์ผนวกเข้ากับสัญลักษณ์ รูปภาพ ตัวอักษร และการจัดองค์ประกอบเพื่อสื่อความหมายเชิงทัศนศิลป์ และช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาสาระทั้งหมดที่ต้องการสื่อได้ง่าย ๆ เพียงตาเห็น ภาพเคลื่อนไหวจำลองพลังของเชื้อไวรัส Harry Stevens จากหนังสือพิมพ์ The Washington Post จำลองภาพโมชั่นกราฟิกให้เห็นถึงพลังของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งประชาชนอยู่ใกล้ชิดกันในพื้นที่สาธารณะมากเท่าไร ยิ่งทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายง่ายขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งนั่นทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นตามมาได้ นี่เป็นอีกหนึ่งผลงานดีไซน์ที่ตอกย้ำว่า Social Distancing หรือการเว้นระยะห่างจากสังคม ยังเป็นเรื่องสำคัญเสมอตราบเท่าที่เราไม่อาจมองเห็นเชื้อไวรัสด้วยตาเปล่า หรือยังไม่มีวัคซีนจำนวนมากพอจะยับยั้งไวรัสได้อย่างขาดรอย ภาพประกอบสุดกวนที่เล่าอาการของผู้ติดเชื้อ ผู้สื่อข่าวสายข้อมูลชาวอังกฤษ Mona Chalabi โพสต์ภาพวาดประกอบของเธอลงใน Instagram ส่วนตัวเพื่ออธิบายอาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบบเข้าใจง่าย เธอใช้ภาพวาดสุดกวนที่ดูตลกและสร้างสรรค์ในเวลาเดียวกันสื่อความหมายว่าอาการผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ต่างจากผู้ป่วยโรคไข้หวัดอย่างไร แถมสีสัน สายเส้น และฟอนต์ตัวอักษรที่เธอเลือกใช้ก็ไม่ได้ดูหดหู่หรือเคร่งเครียดเกินไปด้วย ไม้ขีดไฟที่ไม่ถูกเผาไหม้