หากพูดถึงร้านสเก็ตบอร์ดที่เป็นตำนานในบ้านเรา ต้องมีชื่อ Preduce Skate Shop อยู่ในนั้นแน่นอน ร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่นรวมถึงแผ่นกระดานสเก็ตบอร์ด (deck) จุดหมายปลายทางของเหล่า sk8er boy ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ซึ่งครั้งหนึ่งพวกเขาเคยเฟื่องฟูอย่างมากในยุคที่ Nike SB เป็นรองเท้าแรร์ไอเทม แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ร้านของพวกเขาอยู่ยงคงกระพัน เพราะความเจ๋งของ Preduce คือคาแรกเตอร์สุดชัดเจนที่ไม่เคยเอนเอียงไปตามกระแสโลก กระแสยี่ห้อไหนจะเด่นหรือดัง ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับสเก็ตบอร์ด ก็ไม่มีทางที่จะได้เห็นวางอยู่ในร้านอย่างแน่นอน วันนี้ UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปรู้จักกับ Preduce Skate Shop ให้มากขึ้น พร้อมแนะนำ Selected เสื้อผ้าเจ๋ง ๆ ภายในร้าน Preduce ว่ามีไอเทมไหนเหมาะจะกลายเป็นคอลเลคชั่นเสื้อผ้าใหม่ในตู้เสื้อผ้าของคุณ ซึ่งนับว่าโชคดีอย่างมากสำหรับการมาเยือนร้าน Preduce ในวันนี้ เนื่องจาก คุณ เต๋า กิจพูลลาภ โปรสเก็ตทีม Preduce แถมยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งร้าน Preduce ได้ให้เกียรติพาชมร้านด้วยตนเอง พร้อมเล่าถึงที่มาของร้านอย่างเป็นกันเอง จุดเริ่มต้นของ Preduce “ถ้าพูดถึงทีม Preduce เรารวมตัวกันมาร่วม 20 ปีแล้ว
ยังคงวนเวียนอยู่ในเรื่องของแฟชั่นที่มีกลิ่นอายมาจากสเก็ตบอร์ด เพราะปฎิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนอยู่รอบตัวเราเต็มไปหมด จนแยกแทบจะไม่ออกด้วยซ้ำว่าไอเท็มชิ้นไหนมีที่มาจากวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด แต่สำหรับคนที่เริ่มหลงใหลอาจเสพแฟชั่นการแต่งตัวให้ลึกแบบตัวจริง เราคงจะต้องศึกษาถึงแก่นโดยการไปส่องสไตล์สเก็ตเตอร์บอยจากเหล่าโปรมืออาชีพตัวจริงว่าใครมีลุคสุดเฉียบคูลจนชาว UNLOCKMEN ควรนำไปเป็นแบบอย่างตามบ้าง Riley Hawk ลูกชายของสุดยอดโปรสเก็ตบอร์ด Tony Hawk ที่มีวิญญาณความเป็นสเก็ตเตอร์อย่างเต็มตัว ซึ่งแม้ว่าเส้นทางของ Riley อาจจะไม่ได้สวยหรูและประสบความสำเร็จเฉกเช่น Tony ผู้เป็นพ่อ แต่สไตล์การแต่งตัวของเขารับรองว่ากินขาดแน่นอน โดยเขาจะมีความเซอร์ดิบ ๆ แบบอเมริกัน สเก็ตเตอร์ มักจะสวมเสื้อวินเทจหรือไม่ก็ลาย tartan จับคู่กับกางเกงยีนส์ง่าย ๆ แต่ดูคูลไม่ธรรมดาเลยทีเดียว Instagram : rileyhawk Curren Caples จัดว่าเป็น Style God ของชาวสเก็ตบอร์ด เพราะไม่ว่าชายคนนี้จะสวมเสื้ออะไรล้วนดูดีไปหมด ลุคที่เรามักจะได้เห็นหนุ่มผมสวยผิวแทนคือมินิมอลสเก็ตเตอร์ เขาไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อผ้ากราฟฟิคลวดลายเยอะเหมือนคนอื่น ของแค่เสื้อเรียบ ๆ กับกางเกงยีนส์ และรองเท้า Vans สักคู่ก็ทำให้ Curren Caples เท่เหนือใครไม่ยากแล้ว Instagram : currencaples Lucien Clake
เรายังคงวนเวียนอยู่กับวัฒนธรรม skateboard ซึ่งในวันนี้เราจะมาถอดรหัสความเท่ ของชาว skater กันว่าพวกเขาแต่งตัวกันอย่างไร และหากอยากมีสไตล์เหมือนพวกเขา แต่ติดที่เล่นสเก็ตไม่เป็น แต่งแล้วจะมีใครว่าอะไรหรือเปล่า? ก่อนอื่นเลยต้องบอกว่าคนที่แต่งตัวแบบสเก็ตบอร์ด เดิมทีมาจากรากเหง้าของวัฒนธรรมดนตรี ดังนั้นมันจึงถูกผสมผสานด้วยกลิ่นอายของสไตล์หลายประเภทเข้าด้วยกัน แม้จะเริ่มจากการเป็นคนกลุ่มน้อย คนนอกคอกที่ออกแนวต่อต้านสังคม รักอิสระ การแต่งตัวตามความคิดของตัวเองจึงเป็นแกนไอเดียหลักสำหรับ Skateboarding Fashion ซึ่งมีความใจกว้างพอสมควร แต่ทว่าไป ๆ มา ๆ คนส่วนใหญ่กลับต้องการแต่งตัวเหมือนคนกลุ่มน้อยซะงั้น นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งแยกกีดกัน มึงมันมาทีหลัง มึงมันรุ่นเล็ก ไอ้นี่มันของปลอม และอื่น ๆ อีกมากมาย ก็แน่ล่ะ การที่คนส่วนใหญ่หันมาแย่งชิงสิ่งที่คน Skater สร้างขึ้นมา ย่อมสร้างความไม่พอใจบ้างอยู่แล้ว แต่ถ้าเรามองไปที่จุดเริ่มต้น ความอิสระเสรีทางความคิด นั่นแปลว่าตัวสไตล์เองไม่ใช่คนใจแคบ แต่เป็นผู้คนต่างหากที่สร้างกรอบมันขึ้นมา ปัจจุบันเราก็ได้เห็น Skaterboard Brand ออกมาจับมือกับไลฟ์สไตล์แบรนด์ หรือแม้แต่ Luxury Brand ชนิดรายวัน แม้บรรดาตัวจริงรุ่นใหญ่จะไม่ค่อยพอใจ แต่เรากลับมองว่ามันคือต้นตอหลักที่สไตล์นี้ถือกำเนิดขึ้น ดังนั้นแม้เราจะไม่ได้เล่นสเก็ตบอร์ดจริง ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องไปซีเรียส ขอแค่รู้สึกมั่นใจกับสไตล์ที่แต่งออกมาเท่านั้นเป็นพอ อย่าได้แคร์คนแซะคนแซว
สำหรับใครที่ยังไม่มีแผนจะเดินทางไปไหนในช่วงวันหยุดสงกรานต์นี้ ทีมงาน UNLOCKMEN มีช่องทางลัดหาเงินด่วนมาแนะนำคือการไปแคมป์รองเท้าพร้อมรอกดออนไลน์ เนื่องจากในวันที่ 14 เมษายนนี้จะมีสนีกเกอร์รุ่นโหด ๆ ที่สายคอลเลคเตอร์ต้องตกตะลึงวางจำหน่ายพร้อมกันถึง 4 รุ่นด้วยกัน หรือถ้าคุณสายสะสมต้องบอกว่าห้ามพลาด เพราะแต่ละคู่ที่กำลังจะวางขายล้วนโหดจนจิ้มไม่ถูกอยากจะคว้ามาไว้เสียแทบทุกคู่ #1 โดยคู่แรกจะเป็นการเปิดตัวรองเท้ารุ่น Air Jordan III “Free Throw Line” ซึ่งถือเป็นการครบรอบ 30 ปีของแบรนด์ ที่สำคัญโมเดล III ยังจัดว่าเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับสายนักสะสม เพราะมันมีเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยว่าเป็นรองเท้าคู่ที่ทำให้ราชาดังค์ Michael Jordan สามารถคว้าแชมป์ Slamdunk Contest สมัยแรกได้ สำหรับหน้าตาของรองเท้าคู่นี้ หลายคนที่เป็นแฟน Jordan อาจจะสงสัยว่าทำไมมันช่างคล้ายกับรุ่น White/Cement เสียเหลือเกิน ไม่ต้องตกใจไปเพราะมันคือรุ่นเดียวเพียงแต่แบรนด์ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเล็กน้อย ๆ เพื่อสื่อถึงการเฉลิมฉลองการคว้าแชมป์ของ Michael Jordan ไม่ว่าจะเป็นบริเวณลิ้นรองเท้าที่ใส่ตัวเลข 147 หรือสกอร์รวมการดังค์สามครั้งของ MJ รวมไปถึงบริเวณส้นเท้าที่จะมีปริ้นเลข 3.51 หรือเวลาที่ Jordan กำลังค้างตัว air
ในวาระพิเศษของการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งในปีนี้ ทาง Mido นำเสนอความพิเศษโดดเด่นของเรือนเวลาผ่านทางนาฬิการุ่นที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์และผ่านการพิสูจน์ถึงความคลาสสิคมาแล้วผ่านทางระยะเวลาแห่งการทำตลาดที่ยาวนานมากกว่าครึ่งศตวรรษ และด้วยโดดเด่นที่มีความแตกต่างออกไป ทำให้ Commander Shade กลายเป็นสิ่งที่สามารถสร้างความน่าตื่นตาตื่นใจได้เป็นอย่างดีเมื่อมีการอวดโฉมด้วยหน้าปัดใหม่ ที่ถูกจัดวางอยู่บนตัวเรือนทรงดั้งเดิมที่เปิดตัวออกสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อปี 1959 ตัวนาฬิกามาพร้อมกับตัวเรือนแบบชิ้นเดียว (Monocase) ทรงกลมพร้อมด้วยแนวทางการออกแบบที่ฉีกแนวและเปิดกว้างทางความคิด และด้วยการได้รับอิทธิพลโดยตรงกับรุ่นที่เปิดตัวในปี 1979 หน้าปัดสีรมควันถูกขัดซาตินเป็นลายซันเรย์ สามารถดึงดูดสายตาทุกคู่ได้เป็นอย่างดี และจากการเลือกใช้การตกแต่งในแบบทูโทนด้วยโทนสีดำ-เงินในทุกรายละเอียด ทำให้ Commander Shade เป็นเรือนเวลาที่มีความโดดเด่นและชวนให้หลงใหล โดยตัวสายเป็นแบบสายเหล็กถัก Milanese พร้อมกับขัดแต่งด้วยลายซาติน ช่วยทำให้สวมใส่สบายและแนบไปกับข้อมือ และสำหรับการสดุดีต่อจิตวิญญาณของการออกแบบนาฬิกาในยุคทศวรรษที่ 1970 ตัว Commander Shade ถือเป็นอีกตำนานที่จะได้รับการตอบรับจากผู้ที่หลงใหลในเรือนเวลาที่มีรูปแบบโดดเด่นไม่เหมือนใคร และมีดีไซน์ที่อยู่เหนือกาลเวลา ไม่แตกต่างจากหอไอเฟลที่เป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีส ตัวเรือนแบบทรงกลมและผลิตจากเหล็กคือเอกลักษณ์ของคอลเล็กชั่น Commander และเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็นึกถึงและทราบได้ทันทีแม้ว่าจะมองแบบผ่านๆ และด้วยโครงสร้างของตัวนาฬิกาที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร Commander ยืนหยัดและท้าทายกาลเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง โดยที่ยังคงสัมผัสและความรู้สึกถึงความเยาว์วัยและพลังแห่งวัยหนุ่ม-สาวได้เป็นอย่างดี และสิ่งที่ยืนยันถึงเรื่องนี้คือ การที่ Commander เป็นนาฬิกาเพียงคอลเล็กชั่นเดียวของ Mido ที่ยังมีการผลิตและทำตลาดอย่างต่อเนื่องมานับตั้งแต่ถูกเปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1959 และแม้ว่าเวลาจะผ่านไปเกือบๆ 6 ทศวรรษแล้ว
ด้วยความเชื่อ “แฟชั่นมีชีวิต ไม่มีวันหยุดนิ่ง ไม่มีที่สิ้นสุด และไร้รูปแบบ” เป็นแรงขับเคลื่อนแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ มาประดับวงการแฟชั่นโลก เมื่อโลกหมุนเร็วขึ้น การแข่งขันก็รุนแรงและรวดเร็วขึ้นเป็นทวีคูณ หลายแบรนด์ถอดใจไปกลางทาง แต่หนึ่งแบรนด์สัญชาติไทย อย่าง “Jaspal“ (ยัสปาล) ยังคงฝ่าฟันจนสามารถยืนหยัดเคียงคู่ความสำเร็จยาวนานถึง 46 ปี ด้วยเพราะไม่เคยหยุดรีเฟรชตัวเองให้ทันเทรนด์โลกเสมอ จนปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นโลกอย่างน่าภูมิใจ โดยล่าสุดขึ้นแท่นเป็นแบรนด์แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้ร่วม Collaboration กับดีไซเนอร์ระดับโกลเบิล “Karl Lagerfeld” (คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์) สร้างสรรค์คอลเลกชั่นสุดพิเศษแห่งปี ภายใต้ชื่อ “Karl Lagerfeld for Jaspal” เอาใจแฟชั่นนิสต้าผสานกับความชิคสไตล์ใหม่ ตอบโจทย์เออร์เบิร์นไลฟ์สไตล์แบบตรงใจ หากย้อนเวลาไปสู่จุดเริ่มต้นของ บริษัท ยัสปาล จำกัด อายุยาวนานถึง 4 ชั่วอายุคน เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490 โดย ยัสปาล ซิงค์ ชาวอินเดียเดินทางเข้ามาเริ่มต้นชีวิตใหม่ ทำมาหากินด้วยความมุ่งมั่นอดทนจนสามารถตั้งรกรากและสร้างครอบครัวเป็นปึกแผ่น และเจริญรุ่งเรืองบนแผ่นดินไทย ด้วยความช่างสังเกตและหัวการค้าทำให้ติดต่อค้าขายผ้าขนหนูจากอเมริกามาในประเทศไทย นำเข้าแบรนด์ที่ชาวอเมริกันนิยมเข้ามาจำหน่าย ต่อมาขยายไปเป็นสินค้าเครื่องนอน จนมีโรงงานผลิตสินค้าเป็นของตัวเอง ภายใต้แบรนด์
Errolson Hugh ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ ACRONYM เคยร่วมออกแบบรองเท้ากับไนกี้มาแล้ว 3 รุ่น คือรุ่น Lunar Force 1 (ปี 2015) รุ่น Presto ที่แฟนๆ ต่างชื่นชอบ (ปี 2016) และรุ่น AF 1 Downtown (ปี 2017) ซึ่งรองเท้าทั้ง 3 รุ่น นำเสนอแนวคิด การแก้ปัญหาของรองเท้าที่หลายๆ คนอาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน (เช่น รองเท้ารุ่น Lunar AirForce 1 มีการใช้ซิปเพื่อให้สวมใส่ได้ง่ายกว่าที่เคย) สำหรับ NIKE AIR VAPORMAX MOC 2 รองเท้ารุ่นที่ 4 ที่ Hugh ร่วมสร้างสรรค์กับ Nike นั้น เขาตั้งใจจะใช้แนวคิดที่แตกต่างออกไป “รองเท้ารุ่นนี้จะล้ำสมัยมากๆ ไม่มีกลิ่นไอของอดีตเลย ผมใช้แถบรัดที่ยืดหยุ่นสูงแทนการใช้เชือกรองเท้า และรูปแบบของรองเท้าที่เกิดขึ้นนั้นยอดเยี่ยมมากจนเราไม่อยากเสริมแต่งคุณสมบัติพิเศษใดเพิ่มเติมอีก” ในขั้นตอนการออกแบบ Hugh
สำหรับแบรนด์แฟชั่นและไลฟ์สไตล์สุดครีเอทคุณภาพระดับโลกจากญี่ปุ่นแล้วก็คงไม่พลาด BEAMS อย่างแน่นอน จากการที่สร้างความประหลาดใจให้แฟน ๆ เสื้อผ้าสไตล์เฉพาะตัวในแบบฉบับญี่ปุ่นได้อย่างลงตัวแบบที่เราคาดไม่ถึงมาโดยตลอด แน่นอนว่าคอลเลคชั่นใหม่จาก BEAMS ใน SPRING SUMMER 2018 ไม่ทำให้สาวกที่รอคอยต้องผิดหวัง กับการออกแบบในแนวคิดหลักของคอลเลคชั่นสปริงซัมเมอร์ 2018 นี้ ในแต่ละไลน์สินค้าเสื้อผ้าคุณภาพจากแบรนด์ระดับแนวหน้าอย่าง BEAMS ในแต่ละแบรนด์มีแนวคิดอย่างไรบ้างสำหรับคอลเลคชั่นนี้ BEAMS แนวคิด “TOO MUCH” ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1976 มุ่งเน้นการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายผู้ชายสวมใส่สบายสำหรับทุกวัน ภายใต้แนวคิด “Basic & Exciting” โดยนำเทรนด์ที่หลากหลายจากทั่วโลกมาใช้ในการออกแบบเสื้อผ้าลำลองชิ้นเบสิคในสไตล์ชุดกีฬา ชุดทำงาน และชุดทหาร ผสมผสานกับสไตล์ไอวี่ ร็อค เซิร์ฟและสเกต เพื่อสร้างสรรค์ลุคลำลองที่ดูทันสมัย แนวคิดหลักของคอลเลคชั่นสปริงซัมเมอร์ 2018 นี้ คือ “TOO MUCH” ซึ่งหมายถึง มากเกินไป โดยนำสไตล์การแต่งกายที่ทันสมัย ชุดกีฬา ชุดทหาร และชุดอเมริกันดั้งเดิม มาผสมผสานกัน ทำให้เกิดลุคใหม่ที่ประกอบไปด้วยกลิ่นอายของแต่ละสไตล์ผสมกัน อีกทั้งยังมีการใช้ไอเท็มขนาดโอเวอร์ไซส์และการเติมเทคโนโลยีลงในเนื้อผ้า ควบคู่กับแบบและสีสันต่าง ๆ โดยไม่มีการแบ่งประเภท
อาจจะเพราะ Louis Vuitton และ Supreme เคยร่วมงานกันมาก่อน แล้วประสบความสำเร็จทั้งด้านชื่อเสียงและยอดขาย ทำตัวเลขกำไรเพิ่มขึ้นเบา ๆ 23% จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นแบรนด์ในเครือ LMVH ออกมาจับมือ Collab กับ Supreme กันมากขึ้น โดยล่าสุด LVMH (Louis Vuitton Moet Hennessy) บริษัทที่มีแบรนด์ Luxury อยู่ในมือมากที่สุด ส่งแบรนด์ลูกรัก Rimowa กระเป๋าเดินทางสุดหรูที่ LVMH จ่ายเงินเป็นจำนวนถึง $719,000,000 หรือ 22,500,000,000 (สองหมื่นสองพันห้าร้อยล้านบาท) แลกหุ้น 80% จากมือ Mr. Dieter Morszeck, CEO ของ Rimowa และหลานของผู้ก่อตั้ง Mr. Paul Morszeck ในปี 1989 *FYI: หลายคนยังไม่รู้ นึกว่า LVMH จ่าย $500,000,000 ซื้อ Supreme
เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายท่านน่าจะเป็นวัยรุ่นยุค ’90s – 2000 กันมาก่อน… เปิดเรื่องมาแบบนี้เราไม่ได้มีเจตนาแซวว่าคุณกำลังเข้าสู่ช่วง ‘วัยรุ่น(ใหญ่)’ แล้ว แต่ทีมงาน UNLOCKMEN ตั้งใจจะบอกว่าถ้าใครที่เป็นวัยรุ่นยุคนั้นก็น่าจะเติบโตมาพร้อมกับเพลงแนว Disco, Soul, Funk จากผู้ชายที่ cool ที่สุดคนหนึ่งซึ่งก็คือ ‘บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์’ หรือ บุรินทร์ Groove Riders ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งเขาแจ้งเกิดในทันทีนับตั้งแต่อัลบัมแรกของวงที่ใช้ชื่อว่า DiscoVery ปล่อยออกมาเมื่อปี 2544 ทั้งงานเดี่ยวของเขา และกับวง Groove Riders ทำให้เราดิ้นกระจายมานาน และไม่ได้มีแต่เพลงแดนซ์มันโคตรเท่านั้น เพลงซึ้ง ๆ ก็ถูกนำไปใช้ในงานวิวาห์กันเป็นว่าเล่น ส่วนเพลงเศร้าทำน้ำตาร่วงก็ทำงานได้ดีเหลือเกิน ซึ่งเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่เป็นเสน่ห์ติดหูทุกคนก็คือเสียงร้องของคุณบุรินทร์ที่มีทั้งความนุ่มลึก mood & tone ที่เข้ากับแนวเพลง ยังไม่รวมลีลาบนเวทีและสไตล์การแต่งตัวที่จัดจ้าน สำหรับผลงานทางด้านดนตรีของเขากับ Groove Riders มีสตูดิโออัลบัม 3 ชุด ไล่มาตั้งแต่ DiscoVery (2544) , DiscoVery2 (2545) และ The Lift (2550)
นับว่าเป็นข่าวอิมแพคในวงการ High-Fashion เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดการโยกย้ายข้ามไปมาของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและกำหนดทิศทางของแฟชั่นโลกหลาย ๆ คน เริ่มจาก Hedi Slimane ผู้ที่นำความเป็นไลฟ์สไตล์ดึงความเป็น youthful ใส่กลิ่นอายอารมณ์วัฒนธรรมร็อคลงไปจนทำให้แบรนด์ Saint Laurent โดดเด่นทั้งรันเวย์และท้องถนน แต่แล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Hedi Slimane ก็ได้ประกาศอำลาตำแหน่ง และย้ายไปนั่งแท่น artistic creative director ของ CÉLINE ดังนั้นคาดว่าทิศทางของแบรนด์น่าจะได้ความเป็น grunge rock aesthetic ของ Slimane มาเต็ม ๆ อย่างแน่นอน มาต่อกับอีกแบรนด์ที่น่าจะเสียศูนย์พอสมควรหลังจาก Riccardo Tisci ผู้ชุบชีวิตแบรนด์ GIVENCHY ให้กลับมาผงาดคืนชีพอีกครั้งด้วยซิกเนเจอร์ส่วนตัวสตรีทลักซ์ชัวรี่อย่าง Dark Romantic และ Animal Spirits ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Rottweiler ประกาศลาออกเมื่อปีกลายก่อนจะไปจับโปรเจคกับ Versace อยู่แวบหนึ่งและเพิ่งได้ตอบตกลงรับตำแหน่ง chief creative officer
หากพูดถึงวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของโลกในปัจจุบันอย่าง Skate Culture ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นจากกีฬาเอ็กซ์ตรีมธรรมดา เพราะแต่เดิมมันเป็นเพียงการเล่นผาดโผนที่แม้แต่ผู้ปdครองเองยังไม่ค่อยจะอนุญาต ก่อนที่จะค่อย ๆ ขยายตัวฝังลึกเข้าไปถึงแก่นสารของวัฒนธรรม ซึ่งแสดงออกผ่านทางการแต่งกาย รสนิยมการฟังเพลง รวมไปถึงสถานที่เที่ยว และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมาก ยิ่งในตอนนี้มันได้หลอมรวมกลายเป็น mainstream culture ชนิดที่เราเองยังแทบจะไม่รู้ตัว โดยหากต้องแตกประเด็นของเรื่องสเก็ตบอร์ดออกมาให้พูดเป็นวันก็คงจะไม่จบ แต่เพื่อให้ชาว UNLOCKMEN ได้เข้าใจที่มาวัฒนธรรมกระดานสี่ล้อเพื่อเป็นการวอร์มอัพก่อนสกู๊ปใหญ่ประจำเดือน เราจึงสรุปเรื่องราวความเป็นมาแบบคร่าว ๆ ของวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ดมาเล่าให้ฟังในวันนี้ ย้อนกลับไปในปี 1950 กีฬา surfing ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับวัยรุ่นชาว California แต่นั้นไม่เพียงพอต่ออะดรีนาลีนที่พุ่งพล่านพยายามหาอะไรที่สนุกสุดเหวี่ยงและต้องการความมันส์บ้าบิ่นในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงเกิดไอเดียนำเอากล่องไม้มาดัดแปลงมาติดล้อโรลเลอร์สเก็ตลงไปและใช้ไถไปมาตามถนน ซึ่งในเวลานั้นยังคงไม่มีคำว่า skateboard ทว่าคนทั่วไปจะเรียกกลุ่มเด็กเหล่านี้ว่า sidewalk surfing ความนิยมของเจ้ากระดานล้อลื่นมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งบริษัททำกระดาน surf ใน California ได้ติดต่อกับ Bill Richard เจ้าของธุรกิจ Chicago Roller Skate เพื่อประกอบกระดาษสเก็ตบอร์ดสำเร็จรูปขึ้น มาเป็นครั้งแรก โดยผู้เล่นต้องถอดรองเท้า แต่ในเวลาต่อมาได้เกิดโรงงานผลิตอีกนับไม่ถ้วน อาทิ