DESIGN
รู้จัก Alex Trochut Designer ระดับโลกถึง New York กับเบื้องหลังผลงานชิ้นล่าสุดในไทย
By: Chaipohn March 6, 2017 53436
ถ้าพูดถึง Graphic Designer ตอนนี้ คงไม่มีใครจะมาแรงไปกว่า Alex Trochut, Designer มือทองประจำมหานคร New York ที่เราเคยแนะนำไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ สำหรับคนที่อาจจะยังไม่คุ้นกับชื่อนี้ Alex Trochut คือ World-Class Designer ทั้งด้าน Graphic Design, illustration และ Typography ด้วยแนวความคิดว่า การออกแบบที่ดีต้องสามารถถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้ครบถ้วน และสามารถสื่อสารความหมายที่ต้องการให้คนดูสามารถเข้าใจได้ ไม่เว้นแม้แต่ตัวหนังสือ ซึ่งไม่ใช่แค่การอ่านข้อความ แต่ยังถ่ายทอดอารมณ์ผ่านรูปแบบตัวอักษรได้ด้วย
ผลงานของ Alex Trochut การันตีด้วยรางวัลระดับโลกมากมายตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 ปี ไม่ว่าจะเป็นรางวัลศิลปินรุ่นใหม่ที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกอันดับที่ 4 และผลงานร่วมกับแบรนด์สินค้าระดับโลกมากมาย ไปจนถึงการทำงานในด้าน Entertainment กับการออกแบบปกระดับโลก ที่ได้รางวัล 58th Grammy Awards สาขา Best Recording Packaging กับวง ALAGOAS, ปก single “Roar” ของ Katy Perry และปกวงร็อครุ่นเก๋า The Rolling Stones อัลบั้ม Rolled Gold : The Very Best of The Rolling Stones มาจนถึงผลงานล่าสุด ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ Alex Trochut ได้ร่วมงานกับแบรนด์ไทย กับการออกแบบ Limited Edition Package ให้กับแบรนด์ช้าง ภายใต้แรงบันดาลใจจาก มิตรภาพ ซึ่งหลายคนน่าจะเคยเห็นดีไซน์กันไปเรียบร้อยแล้ว
ล่าสุดแบรนด์ช้างบุกไป studio ที่ทำงานของ Alex Trochut ถึงย่าน Brooklyn ในมหานคร New York เกี่ยวกับแรงบันดาลใจ และเบื้องหลังวิธีการทำงาน ที่เจ้าตัวได้นำมาปรับใช้ในการออกแบบผลงานชิ้นล่าสุดกับแบรนด์ช้างของไทย เพื่อทำความรู้จัก และคำแนะนำในการทำงานดีไซน์ให้ประสบความสำเร็จถึงระดับโลกได้
โต๊ะทำงานของ Alex Trochut มีภาพความเรียบง่ายของการตกแต่ง โทนสีขาวที่ดูเข้ากันเป็นอย่างดี แต่ยังคงมีความยุ่งเหยิงตามสไตล์ Creative Studio และมีผลงานของ Alex Trochut เพื่อเป็นการเข้าประเด็นที่หลายคนอยากรู้มากที่สุด นั่นคือคำถามว่า “What it takes to be a world-class designer?” เคล็ดลับในการทำงานของ Alex Trochut เพื่อให้ designer รุ่นเก่าใหม่ ได้นำไปปรับใช้กันบ้าง
“ผมทำงานฟรีแลนซ์เป็นกราฟิกดีไซเนอร์มาประมาณ 10 ปีแล้ว โดยมีโอกาสทำงานกับลูกค้าระดับโลกหลากหลายแบรนด์ ซึ่งผมคิดว่าเคล็ดลับที่ทำให้ประสบความสำเร็จของผม และน่าจะของทุกอาชีพ คือการพัฒนาฝีมือตัวเองตลอดเวลา คุณต้องทำงานหนัก และต้องมีความสามารถในการปรับตัว ใช้ skill ต่าง ๆ เพื่อดัดแปลงผลงานให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และความต้องการที่ลูกค้าต้องการจะสื่อสารในแต่ละโปรเจกต์ โดยจุดแข็งหรือสไตล์การทำงานของผมคือความสามารถในการปรับตัว ดัดแปลง และผสมผสานสิ่งที่ลูกค้าต้องการกับความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองเข้าไปในงานนั้นๆ ถือว่าเป็นความท้าทายที่ต้องเจอในทุกๆ วัน”
“ปัจจุบันนี้ผมทำงานอยู่ในสตูดิโอที่เป็น co-working space มีเพื่อนศิลปินร่วมใช้ด้วย 6 คน เราใช้เวลาอยู่ด้วยกันแทบทุกวัน รวมทั้งช่วยกันแชร์ไอเดียใหม่ ๆ สำหรับงานแต่ละโปรเจกต์ ซึ่งสำหรับผมมันเป็นเหมือนระบบที่ลื่นไหล และยืดหยุ่น พร้อมที่จะเป็นทั้งฝ่ายให้ และฝ่ายรับ สำหรับผมแล้ว “เพื่อน” เป็นเสมือนพลังของการแบ่งปันไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ เพราะคนที่อยู่รอบตัวคุณจะส่งผลต่อการทำงานของคุณ”
เช่นเดียวกับนักออกแบบในบ้านเรา หลังจากทำงานอย่างหนัก ก็ต้องมีช่วงเวลาพักผ่อนให้สมองได้ผ่อนคลาย Alex Trochut มักจะใช้เวลาอยู่กับเพื่อนศิลปินเกือบตลอดทั้งวัน คุยเล่นพร้อมระหว่าง Beer Time กับคนสนิท ก็แน่ล่ะ ใครจะไม่ชอบช่วงเวลาแบบนี้ เมื่อถามถึงเบื้องหลังการทำงานกับแบรนด์ช้าง ซึ่งเป็นครั้งแรกของ Alex Trochut ได้ทำงานกับคนไทย มีที่มาที่ไปอย่างไร?
“สำหรับการออกแบบ Limited Edition Package ให้กับแบรนด์ช้างในครั้งนี้ ได้มีการนำมู้ด (Mood) ที่สื่อถึงแบรนด์ช้าง โดยความหมายของคำว่าเพื่อนของผมคือ ข้อตกลงของความไว้ใจ และความเคารพที่เพื่อนมีให้กัน”
“ผมจึงเริ่มต้นด้วยการใช้โลโก้ของช้างเป็นจุดเด่นของลายนี้ เพราะตัวโลโก้นั้นบ่งบอกถึงความเป็นแบรนด์แห่งมิตรภาพของช้างได้อยู่แล้ว แล้วเพิ่มเส้นสายเข้าไปเพื่อให้กลมกลืนไปกับพื้นหลัง ซึ่งการใช้ลวดลายนี้เป็นสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับแบรนด์ในประเทศแถบเอเชีย”
“จากนั้นจึงใช้เส้นสายในแนวตั้งเพื่อให้ตัดกับตัวโลโก้ที่ทอดตัวเป็นแนวนอน เป็นการนำองค์ประกอบที่มีอยู่แล้ว อย่างโลโก้ และพื้นหลัง มาผสมผสานกันเพื่อสร้างความสอดคล้องกันอย่างกลมกลืน โดยใช้สีที่เป็นเอกลักษณ์ของช้างอยู่แล้ว คือ สีเขียว สีทอง และสีแดง ซึ่งผมคิดว่าลวดลายลิมิเต็ด เอดิชั่น จะสามารถสื่อสาร และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ที่มีความชื่นชอบงานด้านการออกแบบสร้างสรรค์ มีไลฟ์สไตล์สนุกสนาน และชอบแบ่งปันเวลาอยู่กับกลุ่มเพื่อนได้เป็นอย่างดี”
บทความครั้งก่อน เราได้ให้คนอ่านตีความ ก่อนที่เราจะเฉลยความหมายของกราฟิกลายเส้น พบว่ามีหลายคนเข้าใจสิ่งที่ Alex Trochut ตั้งใจจะสื่อสารได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Sense of Connectivity และ Feeling of Energy and Movement ซึ่งเราดูจากสีหน้าของเจ้าตัว ที่ได้เห็นผลงานของตัวเองบนเบียร์ช้างขวดแชมเปญ 1.5 ลิตร ก็ถึงกับยิ้มอย่างอารมณ์ดี จากช่วงแรกที่บรรยากาศดีอยู่แล้ว กลับดียิ่งขึ้นไปอีก นับว่าเป็นการออกแบบที่มีอิทธิพลกับความรู้สึกตามสไตล์ที่ตัวเองถนัดอย่างแท้จริง