DESIGN

THE PROFILES: I.M. PEI ราชาสถาปัตยฯ ร่วมสมัย แม้ตัวจากไปแต่ผลงานจะตั้งตระหง่านตลอดกาล

By: TOIISAN May 17, 2019

ในวันนี้โลกอบอวลความเศร้าอีกครั้งกับการสูญเสียยอดสถาปนิกที่สร้างผลงานสะเทือนวงการสถาปัตยกรรม เมื่อ I.M. Pel ชายผู้หลงใหลในรูปทรงเรขาคณิตจากไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยวัย 102 ปี เพราะเขาถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ต่อยอดแนวคิดของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่และมีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนงานสร้างสรรค์ไม่น้อยเลยทีเดียว

Ieoh Ming Pei (เป้ย์ ยวี่ หมิง) หรือชื่อในวงการ I.M. Pei สถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ผู้โด่งดังเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่เน้นรูปทรงเรขาคณิตกับความเกลี้ยงเกลาของโครงสร้างที่ไม่นิยมตกแต่งมากนัก ซึ่งเป็นเทคนิคที่เริ่มใช้กันช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และแพร่หลายมากหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 

I.M. Pei ได้รับการยอมรับว่าเป็นปรมาจารย์ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่ชูเรื่องเรขาคณิตและความงามที่สะอาดสะอ้านของตึก เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพีระมิดแก้วจากผลงานที่ทำให้โลกต้องจดจำอย่าง Louvre Pyramid ที่ทำจากเหล็กกับกระจกทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนจำนวน 603 แผ่น และกระจกทรงสามเหลี่ยม 70 แผ่น ประกอบกัน ก่อร่างเป็นรูปทรงดั่งพีระมิด 

The solid is for the dead, but the transparent is for the living – I.M. Pei

 

นอกจาก Louvre Pyramid ที่โด่งดังแล้ว เขายังเคยออกแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างโดยการเล่นกับรูปทรงเรขาคณิตจนรูปทรงตึกสไตล์นี้กลายเป็นลายเซ็นของเขาไปแล้ว และเพื่อระลึกถึงความยิ่งใหญ่ที่ไม่มีวันสูญหายไปจากความทรงจำ UNLOCKMEN จะพาไปดูสถาปัตยกรรมแห่งอื่นที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลกซึ่งสร้างสรรค์โดย I.M. Pei

 

JFK Presidential Library, USA

 

Suzhou Museum, China

 

 

Rock and Roll Hall of Fame, USA

 

Bank of China, Hong Kong

 

 

Miho Museum, Japan

สถาปัตยกรรมของเขาสามารถคว้ารางวัลทรงเกียรติมากมายและโด่งดังในวงการสถาปนิก AIA Gold Metal (1979) รางวัล Pritzker (1983) ที่เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลของวงการสถาปัตยกรรม และเป็นนักออกแบบคนแรกที่ได้รับรางวัล Praemium Imperiale (1989) 

I.M. Pei สร้างผลงานมากมายให้กับหลากหลายประเทศก่อนที่จะวางมือในปี 1990 แต่ถึงแม้เลิกทำงานแล้วแต่ก็ยังสามารถคว้ารางวัลเหรียญทอง Royal Gold Meda ของ RIBA ในปี 2010

จะเห็นว่าผลงานการออกแบบของ I.M. Pei เน้นรูปทรงเรขาคณิตทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม แต่ไม่ได้ใช้แค่ชอบแล้วก็ออกแบบเพื่อสร้างเลย I.M. Pei มักมององค์ประกอบร่วมอื่น ๆ ด้วย เช่น สถานที่ สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ วัตถุประสงค์ของตึกว่าสร้างไว้สำหรับอะไร เพื่อขับให้ตึกของเขาโดดเด่นแต่เข้ากับบรรยากาศรอบข้างอย่างลงตัวด้วย ตามคอนเซ็ปต์หลักที่เขายึดมั่นอย่าง

“stand the test of time” ยืนหยัดเพื่อกาลเวลา

ถึงแม้ร่างกายจะจากไปแต่จิตวิญญาณของ I.M.Pei จะยังคงอยู่ตลอดไปในรูปแบบของสถาปัตยกรรม

SOURCE 1 2

TOIISAN
WRITER: TOIISAN
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line