“งานโคตรยุ่งเลยว่ะ ไม่มีเวลาทำอย่างอื่นเลย” นี่เป็นข้ออ้างอันดับต้น ๆ ของผู้ชายที่ Work Hard Play Hard ซึ่งข้ออ้างง่าย ๆ นี้ทำให้เราพลาดอะไรหลายต่อหลายอย่างในชีวิตแบบไม่รู้ตัว เราพลาดเวลาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี เราพลาดเวลาไปเฮฮากับเพื่อนฝูงเพื่อความสัมพันธ์ที่ดี เราพลาดเวลาทำสิ่งที่เราชอบเพื่อเติมเต็มความฝัน เราพลาดแทบทุกอย่างในชีวิตเพียงเพราะคำว่า “ไม่มีเวลา” เคยถามตัวเองบ้างไหมว่าที่ “ไม่มีเวลา” จริง ๆ หรือเราแค่ตัดโอกาสตัวเองออกจากสิ่งต่าง ๆ อย่างคนขี้แพ้กันแน่? UNLOCKMEN บอกได้เลยว่าหลังจากที่อ่านเรื่องราวการจัดสรรเวลา“กฎ 168 ชั่วโมงต่ออาทิตย์” นี้จบ เราจะมอง “เวลาในชีวิต” ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ประหยัดเวลาเพื่อมีเวลา? Laura Vanderkam คือนักเขียนผู้เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารเวลา เรื่องราวของเธอโคตรน่าสนใจ ตอนแรกเธอก็ดั้นด้นพยายามหาเวลาเพิ่มเหมือนเรา ๆ ทุกคนนี่แหละ โดยทริคที่เธอสนใจก็คือการประหยัดเวลาเพื่อเพิ่มเวลา สมมติว่าเราซื้ออาหารสำเร็จรูปมาอุ่นแล้วมันเขียนว่าอุ่น 3-4 นาที เราก็อุ่นมันแค่ 3 นาที เพื่อประหยัดเวลา 1 นาทีไว้ไปทำอย่างอื่น หรือถ้าเราติดละครสักเรื่องแทนที่จะดูมันฉายทางโทรทัศน์สด ๆ เราก็ดูย้อนหลังแทน เพราะจะประหยัดเวลาที่ต้องเสียไปกับการดูโฆษณาได้รวม ๆ
ผู้ชายอย่างเราล้วนแต่รู้สึกว่ามีงานล้นมือล้นหัวจนต่อให้มี 10 มืออย่างทศกัณฐ์ก็คงแอบบ่นว่าทำไม่หมดอยู่ดี ในทางกลับกัน CEO ระดับโลกอย่าง Elon Musk ล่ะ? งานผู้ชายคนนี้จะล้นมือขนาดไหน? เขาทำบริษัทอะไรบ้าง? โปรเจ็กต์กี่ล้านอย่างในหัว? แล้วเขาทำทั้งหมดนั้นในหนึ่งช่วงชีวิตได้อย่างไร? 85 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ คือเวลาชีวิตที่ Elon Musk มอบให้งาน ถ้าเรารู้สึกว่านักธุรกิจ CEO มหาเศรษฐีอย่าง Elon Musk จะใช้ชีวิตลูกผู้ชายอย่างสุขสบายบนกองเงินกองทองและบริษัทที่เขาก่อตั้งขึ้นมาอย่างสุขสบาย เห็นทีจะคิดผิดมหันต์ เพราะไม่ใช่แค่ทำงาน แต่เขาทำงาน 80-85 ชั่วโมงต่อสัปดาห์! จินตนาการถึงการทำงานประจำของคนทั่วไปอย่างเรา ๆ กันดูหน่อยไหม? เราทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ก็เท่ากับว่าในแต่ละสัปดาห์เราทำงานเพียง 40 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ใน 40 ชั่วโมงของเราก็เต็มไปด้วยความเหนื่อยล้า การรู้สึกว่าทำงานไม่ทันจนอยากจะลาออกจากความเป็นเราอยู่ร่ำ ๆ แต่ก็ทำไม่ได้ แล้ว Elon Musk ทำอย่างนั้นได้อย่างไร? นอกจากการนอนเป็นเวลาแค่ 6 ชั่วโมง
ไม่ว่าองค์กรเล็กใหญ่หรือใครก็ล้วนเคยผ่านวิกฤตดราม่าจากคำพูดกันแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าคำพูดจะออกมาด้วยความตั้งใจ ไม่ตั้งใจ หรือคนตีความผิดไปเองจนงานเข้าเรื่องราวบานปลาย แต่เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเรารับมือและจัดการกับวิกฤตดราม่าจากคำพูดครั้งนั้นได้อย่างไรบ้างต่างหาก UNLOCKMEN จึงเล็งเห็นแบบชัดแจ้งเต็มตาว่าในโลกที่โซเชียลมีเดียถูกสุมไฟดราม่าให้คุกรุ่นได้ง่าย เราทุกคนล้วนต้องการหาทางลงให้กับดราม่าที่เกิดขึ้นอย่างเท่ ๆ ซึ่งเรารับรองว่า 5 วิธีนี้ใช้ได้ทั้งองค์กรธุรกิจและคนธรรมดา 1.รุ่นใหญ่ใจต้องนิ่ง การโต้ตอบหรือจัดการวิกฤติที่เกิดขึ้นแบบรวดเร็วทันใจมันก็ดูเหมือนจะดีในโลกที่ทุกอย่างวิ่งไวในโลกออนไลน์ไปเสียหมดอย่างนี้ แต่มันจะดีกว่าถ้าเราได้นั่งนิ่ง ๆ ตรวจสอบสถานการณ์ทั้งหมดให้ถี่ถ้วนในเวลาที่เร็วที่สุดแต่ก็รอบคอบที่สุดว่าวิกฤตเกิดจากอะไร กรณีที่บุกเดี่ยวมาแต่แรก ก็นิ่งไว้ก่อนดีที่สุด ยิ่งตอบโต้ในช่องทางออนไลน์ ทุกอย่างจะมีแต่แย่ลง ๆ ในขณะที่ถ้าเป็นระดับองค์กรก็ควรบอกให้ทุกคนนิ่งเข้าไว้ รู้ว่าหัวร้อนแต่อย่าให้ใครไปโต้ตอบในช่องทางออนไลน์เด็ดขาด ควรปล่อยให้ฝ่ายสื่อสารองค์กรลุยเท่านั้น 2.รวมทีมอเวนเจอร์ซะ! ซุปเปอร์ฮีโร่เขายังไม่สู้คนเดียว เพราะคนเดียวหัวหาย หลายคนมีแต่ดี หลังจากวิกฤตการณ์เกิดขึ้นแล้ว ให้รีบรวบรวมทีมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรทั้งหมดให้เร็วที่สุดเพื่อช่วยกันปรึกษา ขอความคิดเห็นหลากหลายแบบในการรับมือ หรือร่างข้อความที่จะสื่อสารกลับไป ไม่ว่าจะเป็นการขอโทษ การชี้แจงในส่วนของเรา หรือการโต้ตอบในกรณีที่จำเป็น นอกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กรแล้ว ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่กำลังดราม่านั้นมาด้วย แต่ถ้าเป็นกรณีที่บุกเดี่ยวก่อดราม่าคนเดียวมาแต่แรก ก็อาจปรึกษาเพื่อน คนใกล้ตัว หรือผู้ใหญ่ที่เราเชื่อถือควบคู่กันไปแทน 3.อย่ารีบด่วนสรุป ท่องจำให้ขึ้นใจว่าทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึก! โดยเฉพาะเมื่อทุกคนกำลังหัวร้อน คันไม้คันมืออยากโต้ตอบ แต่ข้อสรุปแรก ๆ ที่เราได้และวางแผนจะจัดการมักจะผิด (ไม่เสมอไป แต่บ่อยครั้ง) ดังนั้นคิดให้ครบสองสามรอบก่อนตัดสินใจลงมือชี้แจงอะไร 4.ให้คนคนเดียวออกมาพูด
ไม่ว่าจะในฐานะคนทำงาน เจ้าของธุรกิจ หรือระดับหัวหน้างานที่ต้องดูแลการทำงานของคนอีกจำนวนมาก เราต่างแสวงหากลยุทธ์ของการจัดการเวลาทำงานที่จะทำให้คนทำงาน ทำงานได้ทรงประสิทธิภาพสูงสุด คงจะดีไม่น้อยถ้าเราสามารถจัดการเวลาทำงานได้เต็มที่ หนักหน่วง และเห็นผลได้เหมือนนักกีฬาโอลิมปิคฝึกซ้อมก่อนลงสนามจริง อย่ามัวคิดว่าเป็นเรื่องล้อเล่นหรือเป็นไปไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้เปิดใจทำความรู้จัก “Interval Training” เทคนิคการบริหารจัดการเวลาฝึกซ้อมสไตล์นักกีฬาโอลิมปิคที่จะทำให้คุณต้องทึ่งกับผลลัพธ์การทำงานของตัวเองอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษที่ 1930 Woldemar Gerschler โค้ชชาวเยอรมันมีความคิดว่าเขาอยากให้นักกีฬาวิ่งของเขาจัดการเวลาการฝึกซ้อมให้ดีขึ้นกว่าที่เป็น หลังจากการทดลอง เขาพบว่านักวิ่งจะสามารถบรรลุเป้าหมายการฝึกซ้อมได้ดีขึ้น ถ้าแบ่งการฝึกออกเป็นเซ็ต ๆ หากมีเวลา 60 นาที Woldemar Gerschler จะแบ่งการฝึกออกเป็น 6 เซ็ต โดยฝึกซ้อมเต็มที่ 7 นาที แล้วพัก 3 นาที ซึ่งการฝึกเต็มที่แล้วแบ่งเวลาให้พัก นักวิ่งจะสามารถวิ่งได้เร็วกว่า วิ่งได้ระยะไกลกว่า และฟอร์มการวิ่งโดยรวมทำได้ดีกว่าการซ้อมวิ่งติดกันรวดเดียว 60 นาที วิธีของ Gerschler ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายกับนักวิ่ง จนกระทั่งถูกนำไปใช้ในกีฬาประเภทอื่น ๆ และกลายเป็นระบบการฝึกซ้อมสุดทรงพลังที่ถูกเรียกว่า “Interval Training” ที่ได้รับการยอมรับมาถึงปัจจุบัน การฝึกไป พักไป ได้รับการยืนยันจาก K.