

Business
UNLOCK CORP: เมืองของเรา เมืองเพื่อใคร? ส่องริเน็น AP THAILAND ที่รับต้นฉบับความยั่งยืนจากญี่ปุ่น
By: unlockmen September 28, 2019 162181
คุณเบื่อไหม เมื่อพูดถึงความยั่งยืน?
คุณเบื่อเพราะคิดว่ามันเป็นคำพูดสวย ๆ คำนึงเพื่อใช้ขายของอะไรสักอย่าง
แต่เพราะคุณมัวแต่เบื่อ เยาวชนอย่าง Greta Thunberg ถึงลุกขึ้นมาเริ่มพูดว่าคุณควรจะสนใจมันได้แล้วนะ คุณอย่ามัวเอาแต่พูดว่าใส่ใจห่าเหวอะไรในโลกใบนี้ คุณต้องทำอะไรสักอย่างกับมันสักที ไม่ใช่เอาแต่ฝากความหวังให้คนรุ่นหลังโดยไม่แม้แต่จะพยายามทำอะไรสักอย่าง
ความเดือดดาลของเด็กสาวคนนึงที่พูดประโยคตีแสกหน้าในเวทีการประชุมสหประชาชาติต้นอาทิตย์ทำให้เราเริ่มคิดถึงเรื่อง Core Corporate หรือ Core Business ที่อยู่รอบตัวคนเมืองอย่างพวกเราในไทย มีใครบ้างที่คิดถึงเรื่องความยั่งยืน มีใครบ้างที่เขาคิดถึงคุณภาพชีวิต
ถึงเราจะพูดว่าคุณภาพชีวิตและความยั่งยืน แต่อย่าเหมาเอาว่าเราจะพูดถึงองค์กรการกุศลเด็ดขาด การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีมันไม่ใช่ให้ควักเนื้อทางธุรกิจ เรื่องนี้ต้องเคลียร์ให้ขาดจากกัน เพราะการทำแบบนั้นมันไม่ได้ยั่งยืน ไม่มีคนซื้อพวกเขาจะเอารายได้จากไหนมาพัฒนาให้นิเวศสมดุล? ทุกอย่างล้วนต้องลงทุนทั้งนั้น
เอาเป็นว่าเราจะไปอ่าน Vision ไม่ใช่ตัวเลข และบอกก่อนว่า คอนเทนต์นี้ไม่ได้มีไว้เพื่อขาย แต่เอาไว้เป็นกรณีศึกษา หลังจากที่เรามีโอกาสได้รับฟังและรู้เรื่องข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของการสร้างโครงการใหม่ ๆ กับเบื้องหลังปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเท่านั้น
ครั้งนี้ UNLOCKMEN เลยเริ่มคิดถึงที่แรกอย่างคอนโดก่อน เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเมืองที่เราอยู่มันต้องเริ่มจากรากที่เรานอน เราจึงเลือกพูดถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เขากล่าวกันว่าจะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้เราเป็นประเภทแรก
คำว่าดีมาจากไหน คำว่าดี ดีอย่างไร ?
เราขอเริ่มต้นเจาะริเน็นจากที่ AP THAILAND เป็นที่แรก เพราะเรารู้มาว่าเขาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับมิตซูบิชิ เอสเตท เรสซิเดนซ์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวคิดการทำอสังหาฯ แบบญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบของการสร้างคอนโด และได้ไปร่วมทริป AP Open House 2019 ที่ญี่ปุ่นเพื่อฟังและเห็นภาพเบื้องหลัง
ที่ญี่ปุ่นจะมีคำนึงที่เขาเรียกว่า “ริเน็น” แปลว่า “ปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ” ซึ่งแต่ละแห่งก็จะยึดถือไว้ต่างกัน มันก็คือ Core หรือ Spirit ของธุรกิจนั้น สำหรับ AP THAILAND เขาก็ใช้ริเน็นที่ชื่อว่า “Grow มาสเตอร์แพลนแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” ปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับการสมดุลของระบบนิเวศระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับเมือง
ถ้าเราเปรียบเทียบว่าเมืองอย่างกรุงเทพฯ หรือเมืองอื่นที่ผู้คนอยู่อาศัยเยอะคล้ายคนสูบบุหรี่ มลพิษเยอะก็เลยปอดไม่สวยเหมือนชานเมืองที่ธรรมชาติยังครบ ๆ คงไม่เกินจริงนัก แต่ทำแบบไหนเมืองที่ปอดกำลังช้ำอยู่จะมีนิเวศที่สมดุลได้บ้าง AP เขาพาเราไปดู 2 เมืองต้นแบบที่น่าสนใจ และเราต้องยอมรับว่าด้วยแนวคิดนี้ หากมันถูกต่อจุดไปเรื่อย ๆ จนสำเร็จได้ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ หรือเมืองไหน ๆ การพัฒนาอสังหาฯ รูปแบบนี้จะสร้างเมืองในฝันให้ลูกหลานได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเราได้ไปลองย่ำเท้าบนสองเมืองที่ใช้คอนเซ็ปต์การออกแบบอย่างยั่งยืนนั้นแล้ว ในรูปแบบรูปธรรมไม่ใช่แค่ไอเดียสวยหรูแต่เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ในญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในการดูแลของ MEC
สำนักงานใหญ่ MEC บริเวณรอบอาคารออกแบบโดยคำนึงถึงปรัชญา Biodiversity
สำหรับตัวอย่างสถานที่ 2 แห่งที่ MEC พัฒนาโครงการในญี่ปุ่นที่เราไปเยี่ยมชม ได้แก่ DIMARUYU DISTRICT กับ IZUMI PARK TOWN ทั้ง 2 แห่งนี้ใช้แนวคิดการพัฒนาแบบ BIODIVERSITY คือการให้ความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เมืองจึงไม่ได้มีแค่เมือง แต่ยังมีสีเขียวและมีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมากมายที่เขาให้ความสำคัญ ไม่เว้นแม้แต่หนอนและไส้เดือนในดิน!
ความแตกต่างของ 2 เมืองนี้ เมืองหนึ่งคือย่านเมืองที่ไม่ได้ออกแบบพื้นที่ 100% มาตั้งแต่ต้น แต่ออกแบบเป็นบางส่วน บางบริเวณเท่านั้น ส่วนอีกเมืองคือเมืองที่ระเบิดภูเขาสร้างใหม่ นับหนึ่งวางระบบแผนผังอย่างเป็นระเบียบ
DAIMARUYU DISTRICT: ไดมารูยู ใครที่ไปที่นี่ก็รู้กันดีว่าที่นี่เป็นย่านเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางธุรกิจสำคัญของญี่ปุ่นในตอนนี้ แต่ก่อนย่านไดมารูยูเป็นที่ทำงานเงียบ ๆ ไม่ใช้ย่านเศรษฐกิจที่คนออกมาจับจ่ายซื้อของ แต่หลังจากการพัฒนาพื้นที่โดย MEC (บริษัทในเครือ มิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอสังหาฯ TOP3 ของญี่ปุ่น) ที่นี่ก็มีชีวิตชีวา กลายเป็นเมืองที่คึกคัก มีพื้นที่กิจกรรม ที่ช้อปปิ้ง และการท่องเที่ยว แต่ที่น่าสนใจคือการพัฒนาความเจริญพื้นที่เหล่านี้ควบคู่มากับการคิดเรื่องความสมดุลของระบบนิเวศ เช่น โครงการที่พักอาศัยที่อยู่ใน Daimaruyu District จะปลูกพันธ์ุไม้สำหรับเป็นจุดพักบินของนก อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า ถ้านกจะบินในเมืองยาว ๆ นกก็สามารถร่อนพักตามพื้นที่อาคารต่าง ๆ ที่เตรียมปลูกต้นไม้เหล่านี้ไว้ได้
The Parkhouse คือโครงการที่อยู่อาศัยที่มิตซูบิชิ เอสเตท เป็นผู้ออกแบบและพัฒนา โดยตั้งใจสร้างระบบ Biodiversity เพื่อให้นก ผีเสื้อ สามารถบินเดินทางไปมาระหว่างแต่ละแห่งได้
The Café by Aman in Tokyo ร้านคาเฟ่ที่ออกแบบให้เห็นทิวทัศน์รอบข้างที่เขียวขจี เหมือน Forest Park in the city
เหตุผลที่เขาลงรายละเอียดลึกไปถึงพรรณไม้ หญ้า ผืนดิน นก หนอน ระบบนิเวศต่าง ๆ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเพราะคุณภาพชีวิตของเราไม่ได้อยู่ที่ “คน” เพียงอย่างเดียว ตราบใดที่คุณภาพชีวิตของระบบนิเวศอื่น ๆ ดีด้วย ความอุดมสมบูรณ์นี้แหละคือบ่อเกิดของความยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนนั้นหลังจากสร้างเสร็จทุกคนที่อยู่ในบริเวณเดียวกันยังออกกฎเพื่อทำความเข้าใจและช่วยกันดูแล หวงแหนพื้นที่ที่ตนอยู่ด้วย
IZUMI PARK TOWN : อิซูมิ ปาร์คทาวน์ เมืองที่เกิดขึ้นโดยออกแบบและดูแลโดยเอกชนทั้งหมด (MEC) ห่างจากสถานีเซนไดประมาณ 50 นาที สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 ต้องบอกว่าที่นี่คือเมืองแห่งอุดมคติอย่างแท้จริง เพราะเขาออกแบบผังเมืองทุกส่วน ครอบคลุมทุกกิจกรรม เรียกได้ว่าเป็นเมืองใหม่ที่ควบคุมไลฟ์สไตล์และพื้นที่ให้อยู่อย่างเป็นระเบียบ ทำให้เมืองทั้งเมืองมีคุณภาพตั้งแต่จุดเริ่มต้นการออกแบบ แบ่งเป็น 4 โซน ดังนี้
การออกแบบถนนเน้นเป็นสามแยก เพื่อลดอุบัติเหตุ
จากพิมพ์เขียวที่ญี่ปุ่นจะไปอยู่ที่ไหนในเมืองไทย? หลายคนคงสงสัยว่าแนวคิดนี้เกิดขึ้นหรือยัง ทาง AP THAILAND เขาเผยว่าลงมือทำโปรเจ็กต์ที่ใช้แนวคิด BIODIVERSITY แล้ว คือ ‘LIFE สาทร เซียร์รา’ โครงการระดับไฮเอนด์ที่ลงทุนโครงการด้วยมูลค่าสูงถึง 6,300 ล้านบาท เพื่อสร้างนิเวศที่สมดุลลงตัวทั้งความเจริญ ธรรมชาติ และผู้คน ให้ค่อย ๆ ขยายและเติบโตไปพร้อมกัน
ใครที่อยากรู้รายละเอียดว่าเขาจัดสรรพื้นที่ใน LIFE โดยใช้ BIODIVERSITY จะเป็นอย่างไร เราสรุปรายละเอียดคร่าว ๆ ไว้เป็น Bullet ด้านล่าง แต่ใครที่อยากเห็นภาพก็ลองกดเข้าไปลองดูกันได้ที่นี่
ทั้งหมดนี้คุณสามารถใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ ความจริงเราเองก็มองว่าบางอย่างประเทศไทยเราคงไม่สามารถนำสูตรสำเร็จจากญี่ปุ่นมาใช้ได้ 100% เพราะนอกจากความพร้อมของพื้นที่แล้ว ปัจจัยอื่น ๆ อย่างความพร้อมของคน วินัย หรือขอบเขตกฎหมายที่จำกัดก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความยั่งยืนอยู่
แต่การที่ธุรกิจหันมาโฟกัสสิ่งนี้มากขึ้นถึงขนาดนำมาเป็นปรัชญา เตรียมพร้อมในวันที่ยังไม่พร้อม เพื่อให้ผู้คนค่อย ๆ ค่อย ๆ ซึมซับ ก็ยังดีกว่าการรอความพร้อมที่ไม่มีวันมาถึง “รากของอนาคต” อยู่ที่การเตรียมตัวและไม่ใช่การโหมโยนอารมณ์ใส่โดยไม่ลงมือ
UNLOCKMEN คิดว่าการเลือกคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสิทธิ์ของทุกคน ถ้า “ริเน็น” ธุรกิจของ AP THAILAND ที่เราเผยแพร่จะสามารถนำไปประยุกต์หรือต่อยอดการใช้ชีวิตของทุกคน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี หรือเพื่อโลกใบนี้ได้ก็จะยินดีอย่างยิ่ง
ครั้งหน้าจะมีธุรกิจไหนที่มี Core Corporate น่าสนใจ หรือมีเบื้องหลังความคิดดี ๆ ให้แบ่งปัน เราจะนำมาเล่าสู่กันฟังต่ออย่างแน่นอน