Featured

ZERO TO HERO: ‘เกตุวดี MARUMURA’ จากเด็กสาวผู้อ่านชินจังสู่นักเล่าเรื่องไลฟ์สไตล์ญี่ปุ่น

By: anonymK November 28, 2019
ความสำเร็จอาจจะเกิดจากใครสักคนมีชีวิตที่ดีขึ้นเมื่อเขาได้มาเจอเรา

นี่คือความสำเร็จที่ทั้งแปลกและมักน้อยที่สุดตั้งแต่เราเคยคุยด้วย เพราะมันไม่ได้วัดผลจากคุณภาพชีวิตของคนทำ ไม่ได้มุทะลุจะไปในระดับโลก และไม่น่าเชื่อว่าการตั้งเป้าหมายก้าวเล็ก แบบนี้จะเป็นเบื้องหลังเหตุผลของการขับเคลื่อนชีวิตในหัวใจใครได้

จากนี้ไปเป็นเรื่องราวที่เราพูดคุยกับอดีตเด็กหญิงวัย 17 ปีที่ไม่ชอบเรียนเลข มีการ์ตูนเล่มโปรดและไกด์บุ๊กการอยู่ต่างแดนเล่มเดียวกันคือเครยอนชินจังเธอฝันอยากเป็นนายกหญิงคนแรกของประเทศไทยจนเป็นจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจเรียนต่อและใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นนานถึง 10 ปี

ถ้าพูดแบบนี้หลายคนคงเดาไม่ถูกแน่ แต่ถ้าสโคปให้สั้นลงว่าเด็กสาวในวันนั้นคือคอลัมนิสต์ที่เล่าเรื่องไลฟ์สไตล์ญี่ปุ่นจัดจ้านในวันนี้ เธอเป็นคนแรก ที่ทำให้เรารู้ว่าญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ภูเขาไฟฟูจิและโตเกียวบานาน่าผ่านเว็บไซต์มารุมุระ และปัจจุบันยังเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตอนนี้คุณอาจจะเริ่มคิดออกแล้วว่าเธอคนนั้นคือใคร

นี่คือเกตุวดี มารุมุระ แต่วันนี้เราจะพาคุณมารู้จักตัวตนแท้ ของเธอในชื่อที่คุณอาจยังไม่คุ้น “ดร. กฤตินี พงษ์ธนเลิศ (เกด)


 เป้าหมายของการเรียนต่อญี่ปุ่นคือการเป็นนายกหญิงคนแรก

กว่าจะเป็นคนที่คุ้นเคยกับญี่ปุ่นดี วันที่เป็นแค่คนแปลกหน้าสำหรับกันและกัน เป้าหมายของเกดที่ตั้งใจไปเรียนต่อญี่ปุ่นคือการมีโปรไฟล์เรียนจบด้านเศรษฐศาสตร์ก่อนสมัครเป็นนักการเมือง เธอยิ้มอย่างอารมณ์ดีและเล่าเรื่องความฝันชิ้นโตวันวานที่ล้มกระดานไปแล้วอย่างไม่อาย

สมัยเด็ก ฝันใหญ่มาก อยากจะเป็นนายกหญิงคนแรกของประเทศไทย อยากพัฒนาประเทศค่ะ ตอนนั้นตัวเองไม่ใช่คนที่เก่งเลขเลย แต่ก็ตัดใจ เลือกเรียนเศรษฐศาสตร์เดินตามทางปณิธานอันยิ่งใหญ่ เพราะรู้สึกว่าถ้าเราเป็นนักการเมืองขึ้นชื่อโปรไฟล์ว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์มันต้องดูเท่มาก

พอเรียนไปได้ 4 ปีแล้วรู้สึกว่าด้วยความรู้ระดับเราที่ไม่ได้เข้าใจเศรษฐศาสตร์เท่าไหร่ คงสร้างนโยบายช่วยประชาชนไม่ได้แน่ เลยกลับมานั่งทบทวนตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่เราชอบ เราอินกับอะไร เราล้มกระดาน ล้มความฝันทุกอย่างใหม่หมดเลยค่ะ ไม่คิด ไม่วางแผนอะไรยิ่งใหญ่แล้ว คำตอบตอนนั้นคือการตลาด ตอนปริญญาโทก็เลยเปลี่ยนจากเศรษฐศาสตร์มาเรียนเรื่องการตลาดแทน เราเรียนรู้จากตอนนั้นว่าความฝันสร้างใหม่ได้ และไม่จำเป็นต้องฝันใหญ่ฝันยาวก็ได้ ค่อย ฝันทีละนิด แล้วค่อย ก้าวเดินไปก็ดีเหมือนกันนะ

ชีวิตที่ได้เริ่มฝันใหม่ ไม่ได้ยากเกินไป แต่การอยู่ต่างแดนเพื่อเรียนต่อก็ไม่ง่าย เพราะแม้เป็นประเทศเอเชียด้วยกันแต่ญี่ปุ่นไม่ได้ต่างจากประเทศฝั่งยุโรปที่ผู้คนเลือกไปเรียนต่อ เกดเล่าว่าความลำบากตอนนั้นคือเธอต้องเริ่มเรียนรู้ภาษาใหม่ทั้งหมดเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทุกวันรอบตัวมีแต่ตัวหนังสือคันจิแปะเต็มฝาห้อง ไม่ได้มีเครื่องมือทางอินเทอร์เน็ตมาช่วยเหมือนวันนี้ พอจบจากปริญญาตรี เธอเลือกเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอกที่ญี่ปุ่น ต้องเจอความคาดหวังอีกระดับของสังคมการทำงาน ในสังคมที่ทุกคนให้ความสำคัญเรื่องการทำงานเอามาก ทุ่มเทจริงจังก็สร้างความรู้สึกกดดันเล็ก ให้ต้องเตรียมพร้อมเสมอ

เมืองไทยเราจะเน้นความสบาย เป็นกันเอง สนุกสนาน แต่ว่าญี่ปุ่นเขาจะตั้งเป้า มีเป้าหมาย เห็นคุณค่าของงาน แม้แต่การทำอาหารก็ตาม เขาก็เชื่อว่างานทำอาหารคือการส่งความรัก แม่บ้านญี่ปุ่นทุ่มเทกับสิ่งที่ทำ แค่แกงกะหรี่อย่างเดียวไม่ได้ ต้องโรยผักชีนิดนึงจะได้สวยงาม มีจัดช้อนจัดส้อมให้เข้าคู่กัน มันก็เลยจะมีดีเทลจากความตั้งใจมุ่งมั่นมากกว่านั้น ซึ่งไม่ว่างานอะไรเขาเป็นหมดค่ะ


จากนักเรียนสู่นักเล่า นักส่งต่อแรงบันดาลใจ

ระหว่างผู้มาอยู่ กับผู้มาเยือนแน่นอนว่าต้องต่างกัน เห็นไม่เหมือนกัน รู้สึกไม่เหมือนกัน นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเล่าถ่ายทอดเรื่องราวไลฟ์สไตล์ญี่ปุ่นที่พบให้คนรอบข้างฟัง เพื่อให้ทุกคนรู้ว่า

ญี่ปุ่น ไม่เท่ากับ ภูเขาไฟฟูจิ
ญี่ปุ่น ไม่เท่ากับ โตเกียวบานาน่า

เหตุผลที่อยากจะเล่าไลฟ์สไตล์คนญี่ปุ่นให้ฟังเพราะว่าตอนที่เริ่มเขียนเพจ ตอนนั้นเรายังไม่มีตั๋วไปญี่ปุ่นราคาถูก เรายังไม่มีการยกเว้นวีซ่า ทำให้คนไม่ค่อยได้มีโอกาสไปญี่ปุ่น

เรารู้สึกว่าประเทศที่เราไปอยู่มันมีอะไรมากกว่านั้น เราก็พยายามจะบอกให้คนไทยรู้จักญี่ปุ่นดีขึ้นและเห็นความงามของญี่ปุ่นในระดับที่ไม่ใช่แค่ของฝากหรือแค่ภูเขาไฟฟูจิ อยากเอากลับมาเล่าให้คนไทยฟังว่าเป็นยังไง เช่น คนญี่ปุ่นมองคนไทยยังไง หรือพฤติกรรมแบบไหนที่เราทำแล้วผิดมารยาทญี่ปุ่น

เรื่องบางเรื่องที่เธอยกตัวอย่างมีทั้งการตักข้าวให้พ่อแม่ที่คนไทยทำเป็นปกติ แต่ญี่ปุ่นปลื้มแทนคนไทยเป็นพิเศษเพราะบ้านเขามีวัฒนธรรมดูแลตัวเอง หรือการแยกตะเกียบของคนญี่ปุ่นที่คิดเพื่อไม่ให้ต้องกางแขนชนคนรอบข้าง ทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดที่เราไม่รู้จักแต่เพิ่งได้ฟังจากเธอ

ทำไป ตั้งใจจะให้ใครอ่าน ? เราถามเธอเพราะกว่าตัวเลข follower จะถึงแปดหมื่นกว่าคนวันนี้ แน่นอนว่ามันต้องเริ่มมาจาก 0 ก่อน

ตอนแรกคนที่ตั้งใจให้อ่านคือคนที่เริ่ม สนใจญี่ปุ่นอยู่แล้ว หรือว่าคนที่อยากจะไปญี่ปุ่นแต่ยังไม่มีโอกาสได้ไป เราก็จะเอาโลกตรงนั้นมาถ่ายทอดให้คนไทย หรือคนที่อาจจะยังเข้าใจญี่ปุ่นไม่ตรงความจริงนักอ่าน เช่น ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีธรรมชาติสวยงามก็จริงแต่ความจริงเทคโนโลยีใหม่ เขาก็มีนะ ห้องน้ำเข้าไปแล้วฝาเปิดอัตโนมัติก็มี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าเขาไม่ได้เจอบทความของเราเขาอาจจะไม่ได้สังเกต เราอยากให้เขาเห็นหลาย ด้าน อยากให้เขาได้เห็นความงดงามของญี่ปุ่นมากขึ้น

พอมีคนติดตามมากขึ้น หลายคนบอกว่าหนูคบกับแฟนญี่ปุ่นได้เพราะบล็อกอาจารย์ หนูไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วสนุกมากเลยเพราะเอาหนังสือเล่มนี้ไปอ่านพอดี มันทำให้เขาเข้าใจคนญี่ปุ่นมากขึ้น ก็รู้สึกดีใจที่ได้ทำบล็อกแนวไลฟ์สไตล์แบบนี้ค่ะ

 

ยิ่งมากยิ่งกลัว ยิ่งถนัดยิ่งกดดัน

แค่เขียนเรื่องที่เจอทุกวัน เล่าเรื่องไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน บางคนอาจจะมองว่าง่าย แต่การเขียนไลฟ์สไตล์ติดต่อกันมาหลายปีและได้ผลตอบรับที่ดีกลับมาตลอด มันกลายเป็นกับดักเล็ก ในชีวิตจริงที่คุณไม่เคยคิดว่าเกตุวดีเจ้าของตัวอักษรลื่นไหล สนุก เฮฮา จะเคยเจอ

เรื่องแรก: เขียนเยอะจนตัน

หลังจากเริ่มเขียนแนวไลฟ์สไตล์ตั้งแต่ปี 2012 ไปเรื่อย พยายามเล่าเรื่องตลกขำขันเพราะคิดว่าธรรมชาติของคนไทยชอบเรื่องสนุกจนหมดเรื่องราวจะเล่า วันหนึ่งเธอบังเอิญเห็นรุ่นน้องที่รู้จักไปอยู่ที่ญี่ปุ่นและนำเสนอญี่ปุ่นในมุมไม่น่ารัก เธอจึงอยากแชร์มุมอื่นให้เห็นบ้าง หันมาเล่าเรื่องธุรกิจและผู้คนในมุมดี แม้มันจะเป็นเรื่องหนักที่ไม่มีทางรู้ว่าเรื่องนั้นคนไทยจะชอบไหม

แต่ผลลัพธ์ตอนนั้นกลับมาดีเกินคาด เปลี่ยนมุมมองของเธอที่คิดว่าคนไทยต้องชอบเฉพาะเรื่องสนุกสนานและเปิดโลกมุมมองของเธอที่ได้จากคนตัวเล็ก พอศึกษาไปเรื่อย อินกับแนวธุรกิจญี่ปุ่นยิ่งขึ้น การเขียนจากแนวไลฟ์สไตล์จึงเปลี่ยนเป็นแนวธุรกิจและการตลาดแบบยั่งยืนอย่างที่เราได้อ่านในวันนี้

เราเล่าเรื่องคนญี่ปุ่นที่สร้างแรงบันดาลใจ ไม่ต้องเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ ไม่ต้องประสบความสำเร็จรวดเร็วก็ได้ แต่ค่อย สร้างชีวิตของตัวเองขึ้นมาแล้วก็ตั้งใจในสิ่งที่ตัวเองทำ เช่น คุณลุงที่เปิดร้านซัก อบ รีด ถ้ามองในแง่บ้านเรา เจ้าของร้านซักอบรีดเป็นคนที่ตัวเล็กมากเลย แต่ลุงตั้งใจ ลุงบอกว่าเสื้อทุกตัวมีความทรงจำ ถ้าเขาไม่ประทับใจหรือไม่ได้รักเสื้อตัวนี้เขาคงไม่ส่งมาให้เราซักหรอก เพราะฉะนั้นเราต้องตั้งใจซักนะ เพราะการซักผ้าคือการซักความทรงจำ มันเปิดโลกเรามาก เพราะเราไม่เคยคิดแบบนี้มาก่อนเลย

 

เรื่องที่สอง: ติดไลก์จนไม่กล้าเขียน

มีค่ะ มีภาวะติดยอดไลก์มาก ตอนที่เขียนมารุมุระ ได้ประมาณ 1 ปี ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไร สนุกสนานเฮฮา เขียนอะไรไปก็ฮา เขียนอะไรไปก็ปัง เราก็ไม่เคยแคร์เรื่องยอดไลก์ เรารู้สึกว่ามันสนุก แต่พอเขียนมาจนปีที่สอง เรารู้สึกว่าเริ่มตันมุก ไอ้นั่นก็เคยเขียนแล้ว มันเริ่มคิดเยอะ เอ๊ะ เขียนแบบนี้ไปแล้วคนจะชอบไหมนะ มันเริ่มกลัว…แต่ปีที่สาม กลัวอย่างเดียวมันไม่พอ มันไม่กล้าเขียน

จากบทความที่เคยส่งถี่ พอเขียนไม่ออกก็เริ่มขยายเวลาไปเรื่อย จนกลายเป็นส่งบทความไตรมาสละครั้ง แต่สิ่งที่เข้ามาช่วยคือคอมเมนต์ของคนอ่าน ที่ทำให้เชื่อมั่นว่าตัวหนังสือของเธอทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น บางคนไปสร้างธุรกิจใหม่ บางคนรักญี่ปุ่นมากขึ้น กระทั่งในที่สุดเธอก็เจอรูปแบบการแก้ปัญหาที่เหมาะกับตัวเอง แค่ใช้หัวใจเล่าเรื่อง ไม่เน้นปริมาณ ความกดดันก็ต่ำลง สนุกขึ้นและทำให้เธอไม่สนว่ายอดที่กลับมาจะเป็นแบบไหน

แต่ถ้าเกิดบทความไหนมันมีต้องส่งจริง เราก็จะกลับมาถามตัวเองว่าอยากให้คนแบบไหนอ่าน กวาดตาดูในเฟซบุ๊กว่าใครกำลังเข้าใจอะไรบางอย่างผิดอยู่ แล้วพยายามเขียนบทความให้คน ๆ นั้นอ่าน สุดท้ายเราก็ยังอยากให้คนอ่านสักคนได้อ่านอะไรจากเราไปแล้วเขามีความสุข

 

JAPAN SOLUTIONS

ต่างวัฒนธรรม ต่างการพัฒนา ย่อมต่างวิธีการแก้ปัญหา เกดที่อยู่มาถึง 10 ปีคงเห็นภาพนั้นได้ดี เราจึงขอให้เธอแบ่งปันประสบการณ์ว่าอะไรที่อยู่เบื้องหลังการรับมือสถานการณ์ต่าง อย่างมืออาชีพของชาวญี่ปุ่นที่ทำให้เจอผลกระทบน้อย ฟื้นฟูได้รวดเร็วทั้งที่เป็นเมืองเกาะซึ่งมักพบภัยพิบัติใหญ่ เสมอ

เมืองที่ครูอยู่คือเมืองโกเบค่ะ เป็นเมืองที่เคยเจอแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ประมาณ 7 ริกเตอร์ ปี .. 1995 ผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นหลักพันคน ทางด่วนล้มทับมาที่ถนน

ตอนนั้นครูไม่ได้อยู่ที่ญี่ปุ่นแต่สิ่งที่ครูเซอร์ไพรส์มาก คือเขาสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาสองแห่ง ที่หนึ่งอยู่ที่เกาะที่โดนแผ่นดินไหว เขาเอาอาคารแก้วไปครอบพื้นดินที่มีรอยแยกเก็บความเสียหายไว้ไม่ให้โดนฝน แล้วก็บอกทุกคนว่า นี่ไง! นี่คือแผ่นดินไหวนะ ส่วนห้องข้าง จะจำลองให้เราลองเข้าไปอยู่ แล้วดูว่าตอนที่เกิดแผ่นดินไหวจริง ในบ้าน มันน่ากลัวแค่ไหน

ก่อนไปที่ศูนย์นั้นครูยังตื่นเต้น เฝ้ารอแผ่นดินไหว แต่พอไปถึงที่นั่น เขาให้เราเข้าไปนั่งในบ้านแล้วก็เปิดเครื่องจำลองสถานการณ์แผ่นดินไหวปุ๊บเนี่ย มันสั่นแรงจนแวบนึงเราฮวบแบบตกใจว่า เฮ้ย ชีวิตเราจะเป็นอะไรหรือเปล่า ตอนนั้นไม่ต้องมีใครอธิบายว่าแผ่นดินไหวอันตราย คือเข้าใจจากก้นบึ้งของหัวใจว่ามันอันตรายจริง แล้วเราต้องเตรียมตัวจริง ซึ่งอันนี้ครูรู้สึกว่า เวลาเขาเกิดปัญหาปั๊บ เขาพยายามหาทางป้องกัน และป้องกันเท่านั้นยังไม่พอค่ะ ยังให้ความรู้คนเพื่อให้เห็นความสำคัญของแผ่นดินไหวและความอันตรายตรงนั้นด้วย

ล่าสุดที่ครูเพิ่งเห็นคือญี่ปุ่นมีบ้านที่กันน้ำท่วมแล้วนะ คือพอน้ำท่วมสูงระดับหนึ่งเขาเริ่มทำการทดลองแล้วค่ะ น้ำจะไม่ซึมเข้าหน้าต่างหรือประตูบ้านได้เลย ซึ่งพอเขาทำขึ้นมาได้ มันเป็นการป้องกันปัญหาที่ยั่งยืนกว่า นึกภาพว่าทุกปีเราต้องยกเฟอร์นิเจอร์ออก ต้องคอยก่อคอนกรีต คอยก่อกระสอบทราย ถ้าเราเอาความเหนื่อยตรงนั้นทั้ง 10 ปีที่เราต้องแบกของไปมา มาทุ่มเทคิดอะไรบางอย่างเพื่อช่วยเหลือคน มันก็ง่ายกว่าไหม เหนื่อยไปเลยแต่เหนื่อยครั้งเดียวแล้วมันเกิดผล นั่นคือวิธีคิดแบบญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจะแก้ไปถึงที่รากแล้วก็แก้เป็นระบบมากกว่าค่ะ

 

ก้าวเล็กได้ ก้าวช้าได้ ฝันใหม่ได้ไม่เป็นไร

วันนี้เราเสียนายกหญิงคนแรกของประเทศที่ชอบอ่านการ์ตูนเครยอนชินจังไป แต่ได้ครูคนใหม่และนักเขียนดี ที่ส่งต่อแรงบันดาลใจกลับมา

หลังจากที่ครูล้มเหลวกับการเป็นนายกหญิงคนแรกของประเทศไทยนะคะ ครูก็รู้สึกว่า แล้วแต่คนนะ บางคนชอบตั้งเป้าหมายก็ดี แต่สำหรับครูรู้สึกว่าพอตั้งเป้าใหญ่ไปแล้วมันไม่ใช่ตัวเรา มันไม่มีความสุข แล้วเราไม่ได้สนุกกับวิธีการไปถึงเป้านั้นเลยเปลี่ยนใหม่มาเป็นตั้งเป้าเล็ก เช่น ตอนนี้ครูทำงานสอน ทำงานบรรยาย จะคิดทำอย่างไรให้คนรักญี่ปุ่นและเข้าใจญี่ปุ่นมากขึ้น พอมีผู้ประกอบการคนหนึ่งบอกว่าเขาทำธุรกิจได้ดีขึ้น มีความสุขขึ้นเพราะได้มาเจอครู ครูก็ตั้งเป้าหมายใหม่ อยากให้ผู้ประกอบการมีความสุขขึ้นอีกจัง ไม่ได้มองว่าธุรกิจเป็นการสร้างกำไรหรือเป็นเรื่องเครียด ครูเชื่อว่าในอนาคตมันก็คงมีเป้าใหญ่ หรืออาจมีเป้าใหม่ที่ใหญ่ขึ้นได้

ความฝันของครูตอนนี้คือการทำให้ผู้ประกอบการไม่ได้มองธุรกิจเป็นแค่เครื่องจักรผลิตเงิน แค่หาเงิน รวย แล้วจบ แต่มันคือการสร้างประโยชน์และสินค้าดี ให้เกิดขึ้นจริง ส่วนในอนาคตเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ ถ้าเกิดมีโอกาสอะไรเข้ามาก็ยินดี อยากจะช่วยให้ทุกคนแฮปปี้ในสิ่งที่เราทำได้ค่ะ

แล้วถ้าเราไม่เคยเสียความฝันเพราะไม่มีความฝันล่ะ

คนที่ไม่มีความฝันครูว่าอย่าไปมองเทียบกับเพื่อนเลย ครูเองก็มีช่วงที่ไม่มีความฝันเลยค่ะ แต่สิ่งที่อยากให้ทุกคนลองก็คือทำไปเลย ลงมือทำอะไรสักอย่าง ตั้งอกตั้งใจทำสิ่งนั้นแล้วลองสนุกกับผลลัพธ์ที่กลับมา เช่น สมมติครูเป็นคนที่ไม่เคยนึกว่าตัวเองจะมาเป็นนักเขียนหรือคอลัมนิสต์ ก็แค่ลองเขียนบล็อกแล้วบังเอิญมีคนชอบ รู้สึกว่าอยากให้คนคนเหล่านี้แฮปปี้ขึ้นก็เลยเขียนบล็อกมากขึ้น ทำงานล่ามก็แฮปปี้ เห็นคนญี่ปุ่นทำงานจับมือกับไทยก็มีความสุขแล้วอยากทำงานล่ามอีก มันเป็นความสัมพันธ์แบบนี้ค่ะ

เพราะฉะนั้นอย่ามองตัวเองเยอะ ว่าฉันต้องมีความฝันอย่างไร ฉันต้องดูเท่ไหม ฉันจะลง IG ว่ายังไง แต่ให้มองว่างานเราได้ไปช่วยใครบ้างแล้วหรือเปล่าวันนี้ แล้วชีวิตของเขาดีขึ้นอย่างไร ถ้าเราซึมซับหรือเห็นตรงนี้ได้ เราจะค่อย เป็นคนที่มีคุณค่า ค่อย สร้างเกียรติและคุณค่าให้กับตัวเอง ไม่ว่าคุณจะจบอะไร หรือว่ามีประสบการณ์หรือความรู้ด้านไหนมาก็ตาม

ไม่ว่าคุณจะอยากเป็นอะไรหรือไม่อยากเป็นอะไรเลยในวันนี้ เชื่อว่าคำตอบที่เธอฝากไว้จะทำให้คุณเห็นคุณค่าและมีความสุขกับก้าวเล็ก ที่ลงมือทำ

ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตาม…อย่างแน่นอน

Photographer: Warynthorn Buratachwatanasiri

anonymK
WRITER: anonymK
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line