Featured

ZERO TO HERO: “ลุงรีย์” เกษตรกรฮิปปี้ที่เปลี่ยนป่าคอนกรีตเป็นฟาร์มโดยไม่รอวันเกษียณ

By: anonymK April 8, 2020

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนเจ๋ง หลายคนหันไปทำเกษตร

เรียกว่าเป็นกราฟที่สวนทางกับยุคที่เรายังเด็กแบบกลับหัวกลับหาง

แม้ไม่อยากจะเรียกว่าเป็นเทรนด์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าปลายทางการเกษียณที่หลายคนมองไว้วันนี้ มันเป็นความรู้สึกพอเพียงที่ไม่ได้เน้นตัวเลขในบัญชี เปลี่ยนมาเน้นการได้ออกไป มีที่สักที่ ให้ไปเดินรดน้ำ เก็บผักเก็บไข่ที่มีคุณภาพกินอย่างมีความสุขและอยู่ท่ามกลางอากาศบริสุทธิ์

ทว่าฝันส่วนใหญ่มันเริ่มต้นใกล้ วัยเกษียณที่มีเงินก้อน กระทั่งเรามีโอกาสแวะมาที่และได้พูดคุยกับรีย์ชารีย์ บุญญวินิจ เกษตรกรหนุ่มเมืองพันธุ์แท้ ที่ล่อแหกทุกกฎการทำเกษตร เฮี้ยนหาหนทางเลี้ยงไส้เดือน ปลูกผักบนปูน แถมในฟาร์มยังมีไก่มากกว่า 5 ตัวแน่ เท่าที่มองเห็น นี่ยังไม่นับรวมเป็ด เต่า ไปจนถึงหมูขนาดยักษ์อีก 2 ตัว

ชีวิตเขาเนี่ย คนจะว่าบ้า ก็คงได้ เพราะถ้าใครยืนยันว่าจะสร้างฟาร์มในกรุงเทพฯ จากพื้นที่ขนาดเล็กที่เคยเริ่มต้นจากโรงรถ เกษตรบนพื้นปูน มันก็แปลกจริง

เราใช้ข้อดีของกรุงเทพฯ  แต่ว่าเราก็รู้ว่าข้อเสียของกรุงเทพฯ มันคืออะไร ความวุ่นวาย ฝุ่น โน่นนี่นั่นทุกอย่าง เราก็อยู่กับมัน เราไม่มีต่างจังหวัดให้กลับ อยู่กรุงเทพฯ ไปทั้งชีวิต

ไม่งั้นทำยังไงอะ ? ต้องรอเกษียณ 60-70 ไปซื้อที่ต่างจังหวัด แล้วค่อยทำ ค่อยเริ่มหรอ เราก็อยู่กับไส้เดือนตั้งแต่วันนี้เลยดีกว่า

7 ปีที่เขามองเห็นความเป็นไปได้ 7 ปีที่เขาค่อย เปลี่ยนจากอาชีพดีไซเนอร์ อาชีพเชฟ มาเลี้ยงไส้เดือนและต่อยอดจนกลายมันเป็นงานหลักในวัย 32 วัยที่เราว่าคะนองเกินกว่าจะเป็นลุง

คุณเริ่มเป็นเกษตรกรตั้งแต่ตอนไหน?

เราจับผักปลูกลงดินวันนี้เราก็เป็นเกษตรกรแล้ว

คำตอบโคตรเอาเออจริง ปลูกผักลงไปในดินก็ได้เป็นเกษตรกรจริง แต่เริ่มต้นง่ายไม่ได้แปลว่าจะกลายเป็นมืออาชีพได้ง่าย เพราะเขาก็ผ่านขั้นตอนต่าง มามากมายเหมือนกัน

 

เกษตรกร อาชีพไร้ใบสมัครที่ต้องซ้อมก่อนเป็น

รีย์ (ขอไม่เรียกเขาว่าลุงแล้วกันเพราะอายุเราไม่ห่างกันเท่าไหร่) เรียนจบด้านเซรามิก ต่อโท Interior Design ทำงานมาหลากหลายทั้งงานออกแบบที่เขามองว่ามันปวดหัว จนเปลี่ยนใจไปทำงานเชฟ แต่ก็ไม่แคล้วเจอปัญหาใหม่เรื่องสภาพร่างกายที่ปวดตัว เขาจึงพยายามหาบาลานซ์จนวันนี้ค้นพบว่างานเกษตรกรนี่แหละตอบโจทย์

เส้นทางการเข้าสู่วงการเลี้ยงไส้เดือน เริ่มต้นจากการอิทธิพลงานครัวที่เขาคลุกคลีจนเห็นว่ามันคือต้นทางของขยะมากมาย ประกอบกับองค์ความรู้สมัยบวชด้านการเลี้ยงไส้เดือนที่เรียนรู้จากพระนักพัฒนา เมื่อนำมาผสมผสานกันแล้วจึงได้วิธีลดขยะจากการทำปุ๋ย จากนั้นก็ค่อย ฝึกซ้อมเปลี่ยนจากงานอดิเรกเป็นงานจริงอย่างมืออาชีพ

ผมซ้อมตั้ง 5 ปีนะ กว่าจะออกมาเต็มตัว ระหว่างทำเกษตรเนี่ย เมื่อเรารู้สึกว่างานที่เราทำมันไปเบียดเบียนงานหลัก เราต้องพิจารณาตัวเองแล้วว่างานอดิเรกที่เราทำ หรือมันไปได้ดี ก็ต้องให้น้ำหนักกันไป ค่อย เฟดออกมา แต่ก็ทำจริงจังนะ คือตอนแรงเยอะ 27-28 เนี่ย ทำ 200-300% ก็เหนื่อยกว่าคนอื่น 2-3 เท่า แต่มันก็สนุก

มันไม่ได้อยู่กับคนเยอะ แต่ว่าอยู่กับผัก กับดิน กับไส้เดือน มันก็ไปเรื่อย เสร็จแล้วความชำนาญก็เกิดขึ้นมันก็เริ่มมั่นใจ พอมั่นใจแล้วก็ลงมือทำ ทำเท่า กับคิด ส่วนใหญ่คิดแล้วมักจะไม่ได้ทำ บางคนทำแล้วก็ไม่ได้คิดอะไรเลย

 

เล่นเพื่อรู้จริงในสิ่งที่ทำ เรียนรู้เพื่อได้เส้นทางเฉพาะตัว

ผมไม่ได้รู้นะไส้เดือนมีกี่ปล้อง ผสมพันธุ์ตรงไหนยังไม่ค่อยแน่ใจเลย แต่รู้ว่ามันเอาไปทำประโยชน์อะไรได้บ้าง มันไปสุดอะไรได้บ้าง แล้วไส้เดือนแต่ละพันธุ์ มันมี 3,000 กว่าชนิด เรารู้แค่ไม่กี่ชนิดที่เอาไปใช้งานได้จริง

บทสนทนาที่ค่อย น่าสนใจขึ้นเรื่อย หัวเราะดังขึ้นเรื่อย มาจากคำพูดและท่าทีที่รีย์ไม่ได้แสดงออกว่าเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้าถึงยากหรือต่างจากคนธรรมดายังไง สิ่งที่เขาเรียนรู้หรือเก่งอาจจะไม่ใช่ทุกรายละเอียดแต่เป็นการเข้าใจภาพรวม บางทีการทำเกษตร รวมทั้งงานอื่น ถ้าเราไม่ลงลึกระดับนักวิชาการบนหิ้ง แต่ รู้และเข้าใจ ว่าสิ่งนี้หากลงมือทำผลลัพธ์ที่ตามมาคืออะไร เราเรียกว่ามันคือ “wisdom” หรือภูมิปัญญา” ซึ่งถ้าปรับใช้ได้ย่อมเป็นประโยชน์และเข้าถึงคนหมู่มากได้มากกว่า

ทุก wisdom ที่มีล้วนสั่งสมจากความเข้าใจและประสบการณ์ สำหรับคนที่ไร้ความรู้และขาดประสบการณ์ด้านเกษตรกรรมแบบเขา เขาตัดสินใจใช้วิธีของตัวเองวันนั้นด้วยการลุยตามแผนที่คิด แม้พอทดลองแล้วมันจะไม่ตรงตามที่คิดไว้ แต่ก็ได้พบทางออกที่เป็นตัวเองมากขึ้นเรื่อย

รีย์เคยตั้งต้นจากจะผลิตปุ๋ยให้ร้านต้นไม้ ร้านต่าง แต่พอลงไปทดสอบ ไปเปิดรับจัดสวน ซื้อเหมาก็ติดปัญหาเรื่องการลงปุ๋ยที่มีคู่แข่ง เจอเรื่องเครดิตได้เงินช้า เมื่อเทียบแล้วก็ไม่คุ้มราคาต้นทุนเวลาและราคาของปุ๋ยจึงหันมาทำเอง ใช้งานเอง โดยมองจุดเริ่มต้นง่าย ที่ได้อินไซต์คนเมืองอย่างการลดปริมาณขยะที่เราทุกคนก่อ

จะดีแค่ไหนถ้าเราทำให้มันลดลงจนเหลือ 0 ได้อย่างครบวงจร

อะไรที่คิดทั้งหมดน่ะมันต้องลงไปเล่นดู พอลงไปเล่นก็จะรู้ว่าทำแล้วเอามาใช้เองน่าจะเป็นหนทางที่ถูกต้องที่สุด เพราะมันตันละหมื่น โลละสิบบาท ทำเกือบตายอ่ะ แล้วไม่เอามาใช้ ไปเน้นขายปุ๋ย ไม่มีความรู้เกษตรต้องไปนั่งขายปุ๋ยทีละคนอีกเหรอ

เพราะฉะนั้นจะรวยกับไส้เดือนด้วยการขายปุ๋ยทำฟาร์มไส้เดือนไม่น่าจะเป็นความสามารถที่ทุกคนทำได้ ผมเลยกลับมาสนใจเรื่องเล็ก ว่าไส้เดือนกำจัดขยะได้ ชวนคนเมือง ชวนคนที่อยู่บ้านกำจัดขยะประจำครัวเรือน เรื่องเล็ก แต่มันมีคนอยากรู้เกิดใหม่เรื่อย

เครื่องผลิตปุ๋ยและน้ำ EM จากขยะและเศษอาหารขนาดใหญ่

หลังจากประสบการณ์เพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง ปัจจุบันรีย์เริ่มปรับตัวและเล่นธุรกิจอย่างมีแบบแผนขึ้น เขาเลือกถอยบางงาน ไม่ได้ลงไปชกทุกแมตช์เหมือนเก่า แต่เลือกตั้งรับและลงในเฉพาะในจังหวะที่เห็นสมควร

มันไม่ได้ศึกเดียวหนิ ออมกำลังไว้ตอนนี้ ทำตัวเองให้ดี อีกสักพักก็อาจจะเป็นเวลาที่เหมาะกับเรา แทนที่เราจะมาตะบี้ตะบันทำ ป่วย หาย ตะบี้ตะบันทำ ทำปกติแต่ทำได้ทุกวันแล้วมีความสุข แล้วไม่เล่นศึกไหนกับใคร มันก็อาจจะเป็นทางสำหรับคนบางคน

เราก็ไม่ได้ยอมแพ้นะ แต่เราแค่ถอยออกมาดูก่อนว่าคนเขาทำอะไรกัน ในมุมที่เราทำแล้วฟาร์มดีขึ้น คนรอบตัวดีขึ้น เราก็ทำ

 

วิธีคิดธุรกิจสไตล์ลุงรีย์

การทำเกษตรฉบับรีย์ เขาอธิบายเนื้องานว่ามันไม่ต่างจากการเป็น CEO คนหนึ่ง อาจจะต่างที่เล่นกับหมาได้ แต่ด้านอื่น เขาก็ทำมันอย่างเป็นระบบระเบียบ เป็นนักวิทยาศาสตร์กัน มีวิจัยมีการทดลอง มีการจดบันทึก มีการพัฒนา มีแผน มีเป้า เราจึงขอยก 3 หลักการทำงานของเขามาแบ่งปันกันต่อไปนี้

1. ทำธุรกิจส่วนตัวต้องมีวินัย: รีย์เป็นเกษตรกรที่ทำงานบนพื้นที่ของครอบครัว แต่เขายืนยันว่าทุกตารางนิ้วที่เขาใช้พื้นที่ของที่บ้าน เขาต้องจ่ายค่าเช่า คำนวณต้นทุน และทำทุกอย่างอย่างมีระบบและวินัย รวมทั้งหากตัดสินใจขยายพื้นที่ ควรต้องแน่ใจว่าสิ่งที่ทำไปจะสามารถหาประโยชน์ให้ได้มากกว่าการใช้เดิม

ถ้าเราคิดว่า เฮ้ยทำไมที่ตัวเองแล้วต้องเสียตังค์อีกวะ เมื่อไรจะได้ฟรีวะ เราอาจจะล่มไปแล้ว เพราะเราติดกับการได้ฟรีแล้วเราไม่รู้ต้นทุนที่ที่มันทำงานอยู่ มันมีรถจอดอยู่ ถ้าเราไปใช้งานเราก็ควรจะหาเงินให้มากกว่าไอ้รถที่มาจอด มันมีคนนอนอยู่ในห้อง ถ้าเราจะใช้งานเราก็ต้องหาเงินให้มากกว่าคนที่มันอยู่ในห้อง ถ้าเราทำได้ เราก็มีสิทธิ์จะเพิ่ม

 

 2. เกษตรกรยังมีตลาดใหม่เสมอ: คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตลาดสินค้าเกษตรถูกผูกขาดด้วยเจ้าใหญ่ หมดแล้ว แต่ถ้าศึกษาให้ดีเราจะพบว่ามีตลาดใหม่ที่มีพื้นที่เหลืออยู่ เพราะขาใหญ่กับรายย่อยครองตลาดและผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมต่างกัน

เราก็ต้องศึกษา Supply Chain เราต้องมีความรู้ เราจะสร้างตลาดใหม่ โอ้โห ขาใหญ่เขาขายผักกันเป็นตัน เราขายผักเป็นอะไร? เป็นต้นไหมล่ะ ถ้าเราบอกว่าเราขายเป็นต้นมันก็คนละตลาดแล้ว มันไม่เหมือนกัน

เขาบอกว่าขาใหญ่เขาขายเป็นปิ๊กอัป เราขายฝาก Lineman ขาใหญ่เขาจะเล่นไหม หรือถ้าเขาลงมาเล่นเขาจะชำนาญเท่าเราไหม ขาใหญ่บอกตัดผัก วัยรุ่นบอกขายผักเป็นกระถาง ตลาดเดียวกันหรอ คนละตลาดกัน ไม่เกี่ยวกันเลย ตลาดใหม่มีช่องว่างอีกเพียบ

 

3. ใช้นวัตกรรมอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด: เกษตรกรไม่ได้จำเป็นจะต้องเดินไปรดน้ำเหมือนเก่า หากรู้จักการวางระบบนวัตกรรมช่วยควบคุม ฟาร์มลุงรีย์วันนี้มีระบบสมาร์ตฟาร์มช่วยดูแล แต่เขาก็ยังต้องเรียนรู้และปรับเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยถือคติว่าเรารู้ว่าขอบโลกเขาฉลาดกันแค่ไหน เราเลยคิดว่าตัวเองโง่อยู่ตลอด และเปิดรับสิ่งใหม่

สมาร์ตฟาร์มยังใช้ประสิทธิภาพของมันออกมาได้ 20% เอง ยังตั้งระบบของมันไม่เก่ง ยังใช้น้ำไม่คุ้มทุกจุด ยังต้องมายืนรดน้ำอยู่ เพราะเราไม่รู้นี่หว่า ตรงนี้ต้องค่อย ไป ไม่งั้นมันก็จะเป็น Over Technology คุณใช้เทคโนโลยีเยอะ แต่ผลผลิตของคุณไม่เห็นจำเป็นเลย เราต้องหาสิ่งที่มันแมตช์กัน จำเป็นต้องทำ

 

อุปสรรควันหมดไฟ การขุดแพสชั่น

ฉากหน้าวันนี้อาจจะเป็นความสำเร็จที่มองเห็น แต่เบื้องหลังความล้มเหลวที่ผ่านมายังคงจารึกในความทรงจำของคนที่เคยเผชิญอุปสรรคคือบทหนึ่งของความสำเร็จวันนี้ที่เขาไม่เคยลืม

ไอ้เรื่องทำผิดพลาดพังเนี่ยสุดยอด ทำพังเยอะ เอาอะไรจะมาสร้างให้มั่นใจ รายได้เหรอ? การอยู่รอดเหรอ? เฮ้ย ขาดทุนเละเทะ ปีสองปีแรก เราไม่ได้ไปบอกใคร

แต่มันขาดทุนในเนื้องานที่มันอาจจะแปรมาเป็นของ อาจจะแปรมาเป็นสิ่งก่อสร้าง มันอาจจะแปรมาเป็นฟาร์ม ซึ่งมันไม่ได้ขาดทุนเสียทีเดียว มันคือความรู้อะไรต่าง ที่เราสะสมแล้วเราค่อยมั่นใจ

เมื่อ 7 ปีที่แล้ว การเลี้ยงไส้เดือนก็เหมือนกิ้งกืออ่ะ มันก็ต่อสู้กับทัศนคติของคนว่าไส้เดือนน่าเกลียดน่ากลัว จนเดี๋ยวนี้พ่อแม่ซื้อไส้เดือนให้ลูกไปฝึกเลี้ยง โรงเรียนอนุบาลมีหลักสูตรต่าง มีเป็นปุ๋ยไส้เดือน

งานวิจัยสิ่งมีชีวิตใหม่ในระบบนิเวศป่าที่เหมาะแก่การย่อยสลายเศษพืช เศษอาหาร ฯลฯ

มันอาจจะเป็นตรงนี้หรือเปล่าที่เราเหนื่อย แต่เรารู้ว่ามันดี ไอ้จังหวะนั้นน่ะที่ไม่ได้มีใครมาบุกตะลุยด้วยกัน ใครจะรู้ว่ามันเหนื่อยขนาดไหน ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็เป็นเหมือนชุดความรู้ติดตัว เออ ถ้าคุณจะเปลี่ยนทัศนคติจากสัตว์ที่น่ากลัวแต่มีประโยชน์ มันก็จะใช้หลักคิดคล้าย กัน บอกเขาให้เขาลองทำตาม เขาได้สัมผัสแล้วเขาก็จะรู้ว่าประโยชน์มันกลบความน่ากลัวไปหมดเลย

แล้วเฟลบ้างไหม?

ไม่มีเฟล ต้องบิ๊วตัวเองได้ดิ ต้องเติมไฟให้แพสชั่น ก็ต้องไปกินแพสชั่น (กินแพสชั่นยังไง) อ้าว ไม่บอก ไปหาเอาเอง แต่ละคนมันมีวิธีไม่เหมือนกันหรอก (หัวเราะ)

ผมมีลูกศิษย์เกิน 1,000 คน เก่งกว่าผมอีก ทำได้ดีกว่า ทำงานส่งออก สารพัด เราก็ดีใจ ตรงนั้นอาจจะเป็นแพสชั่น หรือเปล่า ความรู้โง่ ของเรา เลี้ยงไส้เดือนเป็น สอนเขาเป็นทำฟาร์มเจ๋งขนาดนั้นเลยหรอครับ’ ตื่นเต้นที่เขามาบอกเรา นี่หรือเปล่าแพสชันแลกเปลี่ยนกัน

ทั้งหมดนี้คือเรื่องของ รีย์ หรือลุงรีย์ ผู้ชายฮิปปี้ ฮา ภูมิลำเนากรุงเทพฯ 100% คนหนึ่งที่ไม่ได้มีมาด ไม่ได้เป็นเกษตรกรลุคสวมยูนิฟอร์มลอกมาจากหนังสือเรียน แต่ยังเป็นผู้ชายเมืองที่ชอปปิงยูนิโคล่ แม้จะผลิตอาหารเองได้และเป็นเชฟ แต่ก็เป็นคนปกติที่ยังสั่งอาหารมากินในช่วงเวลานี้ จะต่างก็แค่เขารู้เท่าทันเพราะอยู่ในกระบวนการผลิต

ส่วนใครที่อยากเริ่มต้นวันนี้ เพราะอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 ข้าวของแพง อยากผลิตอาหารเอง เขาฝากทิ้งท้ายด้วยข้อแนะนำว่า จงเริ่มจากในครัวเรือน เมื่อทำได้ดีมันจะเติบโตต่อไปจนอาจกลายเป็นรายได้หลักของคุณเอง

มือใหม่อย่าใจร้อน เริ่มจากการปลูกกินเองก่อน เดี๋ยวงามคนก็มาขอซื้อปุ๋ย เราปลูกเอาให้มะนาวมันงามสักต้นนะ คนเขาก็มาขอแล้ว ผักงามน่ะคนเขาก็กินรอบ บ้านแหละไม่มีใครอยากเดินไกลหรอก

 

Photographer: Warynthorn Buratachwatanasiri & Krittapas Suttikittibut

anonymK
WRITER: anonymK
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line