Life

“Cinematographer” ทำงานยังไง? แล้วผลงาน “Cinematography” ระดับโลกมันเป็นแบบไหน? มาดูกัน!!

By: HYENA December 13, 2017

ในเวลานี้ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่นนักศึกษามหาวิทยาลัย เด็กจบใหม่ หรือแม้กระทั่งคนที่กำลังทำงานหลายต่อหลายคนนั้น มีแผนการวาดฝันอนาคตของตัวเองเอาไว้อย่างชัดเจนว่า วันหนึ่งจะต้องกลายเป็น “Cinematographer” ระดับเทพให้ได้

แต่กว่าที่คนคนหนึ่งจะกลายเป็น “Cinematographer” แบบเต็มตัว แถมยังมีฝีมือฉกาจจะมีงานล้นกระจาย สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำได้อย่างที่เห็นเขาเป็นกันนั้น มันต้องผ่านการฝึกฝน ลองผิดลองถูก ศึกษามุมกล้องหลากหลายจนพบกับสไตล์ที่เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองออกมาให้ได้ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ประสบการณ์ที่สะสมเอาไว้ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เองที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จ

และในวันนี้ หากใครที่วางแผนอนาคตไว้ว่า วันหนึ่งคุณจะต้องเป็น  “Cinematographer” ที่ดีให้ได้ในอนาคต หรือใครที่กำลังศึกษาว่า “Cinematographer” ที่ว่านี้มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะทำให้ทุกคนได้รู้จักกับคำคำนี้กันมากขึ้น รวมไปถึงการที่เราได้นำเอาคลิปรวม “Best Cinematography” ระดับ Oscar จากเหล่านักถ่ายภาพระดับเทพทั้งหลายมาให้คุณชม เพื่อศึกษา และดูกันด้วยว่า การเป็น  “Cinematography” ระดับเทพนั้น มันเจ๋งขนาดไหน

The Difference: Videographer vs Cinematographer

หลายคนไม่รู้ว่าอะไรคือ ความแตกต่างระหว่าง Videographer และ Cinematographer กันแน่ เราจะอธิบายให้คุณเข้าใจแบบง่าย ๆ เลยละกันว่า จริง ๆ แล้วมีหลายคนที่กำลังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ 2 อาชีพนี้เป็นจำนวนมาก นั่นอาจจะเป็นเพราะว่า Videographer และ Cinematographer ทั้งคู่ต่างก็มีหน้าที่ใช้กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวเหมือน ๆ กัน เพียงแต่ว่า คนที่เป็น Cinematographer จะมีความละเอียด และซับซ้อนกว่า ไม่ใช่แค่ว่าใช้กล้องอะไรก็ได้มาถ่ายภาพเคลื่อนไหวเก็บเอาไว้ แต่มันเป็นการบันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบที่ใช้กระบวนการของการทำภาพยนตร์ ละคร หรือ มิวสิควีดีโอ เพื่อหลีกหนีความน่าเบื่อของการถ่ายวีดีโอในรูปแบบเดิม ๆ หรือที่มันธรรมดาทั่ว ๆ ไป

How Cinematoghaper Work?

ขั้นตอนการทำงานของ Cinematoghaper โดยทั่วไปแล้ว จะมีลำดับดังนี้คือ ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนของการ Creative Idea หรือการวางแผน เพื่อให้ได้ภาพรวมของเรื่องราวที่การจะเล่าออกมาว่า จะมีแนวทางแบบไหน มู้ด และโทนของวีดีโอที่จะออกมานั้นเป็นอย่างไร

ต่อไปคือการทำ Scriptwriting หรือพล็อตเรื่อง ซึ่งเป็นขึ้นตอนการนำเอาภาพในหัวมากำหนด และสานต่อกันเป็นเรื่องราวให้ออกมาได้น่าสนใจ และยังคงสามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อเอาไว้ได้อย่าชัดเจน และไม่น่าเบื่อ  ขึ้นตอนนี้ โดยส่วนใหญ่จะมีการคิดมุมกล้องที่จะถ่ายในช็อตต่าง ๆ ควบคู่กันไปด้วย

และสิ่งที่ขาดไปไม่ได้เมื่อทำการ Scriptwriting เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นก็คึอ การทำ Storyboard โดยการทำ Storyboard นั้น เป็นการนำเอาเรื่องราวทั้งหมดที่เราได้ทำ Scriptwriting มาแตกช็อตออกเป็นฉาก ๆ เพื่อจะได้วางแผนการถ่าย และเลือกใช้อุปกรณ์กล้อง หรือเลนส์ในการถ่ายทำได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น Dolly, Jib Crane, Stabilizer ที่จะเข้ามาช่วยให้ภาพที่ถ่ายนั้น ดูมีมิติ มีลูกเล่นอะไรที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้นไปอีก

การทำ Storyboard นอกจากจะทำให้วางแผนว่าจะถ่ายอย่างไร ช็อตไหนก่อนหลังได้เป็นอย่างดีแล้ว มันยังทำให้สามารถถ่ายภาพได้อย่างที่คิดไว้ในหัวมากที่สุด และทำให้ไม่ลืมเก็บช็อตที่อาจจะเป็นเพียงช็อตสั้น ๆ แต่มีความสำคัญต่อการเล่าเรื่องไปได้อีกด้วย

ต่อมาคือขั้นตอนที่เรียกว่า Production หรือ พูดง่าย ๆ ก็คือ การถ่ายจริงหลังจากที่วางแผนมาเป็นอย่างดีนั่นเอง เมื่อทำขั้นตอน Production ได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์เป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็จะไปต่อที่ขบวนการ Post Production หรือขบวนการการตัดต่อ ที่จะทำให้ภาพที่บันทึกมาไม่ขาดไม่เกิน เลือกช็อตที่ดี และสมบูรณ์แบบที่สุดมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวอย่างที่ตั้งใจไว้

โดยขั้นตอน Production ยังมีการแบ่งย่อยออกไปอีกประมาณ 4 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ 1. Editing (การตัดต่อ) 2. Color Grading (การฟอกสี) 3. Music&Sound (การใส่เสียง) และขั้นตอนที่ 4. Computer Graphic (การใส่กราฟฟิค) อย่างเช่น การทำ Title การทำ Transition จากฉากหนึ่งไปสู่อีกฉากหนึ่งเป็นต้น

It’s Good To Be A Cinematographer?

สำหรับคนที่ถ่าย VDO เป็นอยู่แล้ว และคิดว่าการสร้างงาน Cinematography นั้น เป็นเรื่องที่ง่าย และไม่แตกต่างจากที่ทำมาเป็นปกติล่ะก็ คุณอาจจะกำลังเข้าใจผิด การเป็น Cinematographer ชั้นเลิศ นั้นเรียกได้ว่าไม่ต่างอะไรกับ Artist หรือศิลปินที่สร้างผลงานศิลปะอีกหลาย ๆ ประเภทเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะทุกองค์ประกอบสำคัญในการสร้างผลงานให้ออกมามีคุณภาพได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝน ความชำนวน เทคนิค ประสบการณ์ จินตนาการ ไอเดียว และอารมณ์ในการสื่อสารออกมาแทบทั้งหมด

การเป็น Cinematographer เป็นสิ่งที่พิเศษถ้าหากใครก็ตามที่สามารถทำมันได้อย่างยอดเยี่ยม มันไม่ใช่เพียงแค่การคว้ากล้องมาแล้วก็กดบันทึกภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้ แต่ทุก ๆ ช็อตที่ถูกเก็บมาใช้งานนั้น มันจะต้องมีความหมาย สื่ออารมณ์ได้ และไม่มีคำว่า ไร้สาระออกมาจากมุมมองของภาพที่ถูกเก็บมา

These are Amazing Cinematography That Won The Academy Award for The Best Cinematography, from 1927 to 2016.

และทั้งหมดที่เราได้นำมาให้ชาว UNLOCKMEN ได้อ่านเกี่ยวกับ Cinematographer จะได้รู้จัก และได้เห็นตัวอย่างการสร้างผลงาน Cinematography ดี ๆ ระดับที่ชนะรางวัลประกวดไปดูกัน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจ หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปปรับใช้กับตัวเองบ้างไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน  สำหรับใครที่ชอบ หรือฝันอยากที่จะเป็น Cinematographer ระดับเทพให้ได้ในอนาคต ทีมงาน UNLOCKMEN ก็ขอเป็นกำลังใจมาให้ทุกท่านด้วย ณ ที่นี้นะครับ

SOURCE1, SOURCE2

 

HYENA
WRITER: HYENA
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line