Life

เจ็บตรงนู้น ปวดตรงนี้ เจ็บแบบไหน ต้องบรรเทาอย่างไร ข้อเท็จจริงที่ไม่ควรมองข้าม เพราะปล่อยไว้อาจเป็นเรื่องใหญ่

By: NTman August 23, 2017

เมื่อพูดถึงความเจ็บปวด มนุษย์ผู้ชายอย่างเรา ๆ ต่างก็มีกิจวัตรประจำวันอันหลีกหนีไม่พ้นที่จะก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บแก่ร่างกาย แม้ไม่ใช่นักสู้ นักรบ ที่ต้องใช้ร่างกายปะทะฟาดฟันกันแบบตรง ๆ แต่ก็ยังต้องพบเจอสาเหตุของความเจ็บปวดได้จากกิจกรรมเล็กน้อยทั่วไปในชีวิตที่ดูเหมือนไม่น่าจะมีอะไร ไม่ว่าจะนั่งขับรถฝ่ารถติดอย่างยาวนาน นั่งทำงานผิดท่า หรือในวันหยุดอยากฟิตเฟิร์มออกไปเล่นกีฬา เข้ายิม จ็อกกิ้ง เตะบอล หากออกแรงผิด บิดไม่ถูกองศา อาการปวดกล้ามเนื้อก็ถามหาได้ง่าย ๆ หรือแม้กระทั่งในโมเม้นต์หล่อ ๆ ช่วยถือของให้สาวขณะช้อบปิ้ง เข้าร้านนั้น ออกร้านนี้ ก็พาลจะทำให้ปวดแขน ปวดไหล่ ปวดหลังได้ไม่ใช่น้อย

แม้ว่าร่างกายจะส่งสัญญาณความเจ็บปวดออกมาเตือน แต่ผู้คนส่วนใหญ่มักมองข้ามอาการปวดเหล่านั้นไป เพราะคิดว่าแค่ปวดเมื่อยเล็กน้อยปล่อยไว้เดี๋ยวก็หายเอง อย่างดีก็หยิบยาหม่อง ยานวดใกล้ตัว มาทาๆ ถูๆ แล้วก็ปล่อยผ่าน ซึ่งจริง ๆ แล้ว อาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้ หรือเลือกรักษาบรรเทาอาการอย่างผิดวิธี นอกจากจะต้องทนรำคาญกับอาการปวดเรื้อรัง แล้วยังมีแนวโน้มที่จะลุกลามบานปลายถึงขั้นต้องผ่าตัดรักษา หรือที่เลวร้ายยิ่งกว่า คือกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ เสียหายรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมทั้งหลายที่เคยทำในชีวิตประจำวันได้อย่างปกติอีกต่อไป

และในวันนี้ UNLOCKMEN จะมาให้ข้อมูลสาเหตุ รวมถึงอาการปวดหลัก ๆ ที่มักพบเจอในผู้คนวัยทำงาน รวมถึงวิธีที่ใช้บรรเทาอาการเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้หมั่นสังเกต และดูแลร่างกายให้พร้อมลุยในทุกสถานการณ์ กับไลฟ์สไตล์ที่ไม่หยุดนิ่งของคนเมืองในปัจจุบัน

คำจำกัดความของอาการปวด

ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าอาการปวดนั้นเป็นอะไรที่มีความซับซ้อน และยากที่จะหาคำนิยามความปวดของแต่ละคนให้ตรงกัน เราจึงต้องขอยึดเอาคำจำกัดความอาการปวดที่กำหนดโดย สมาคมนานาชาติเพื่อการศึกษาความปวด (IASP) เป็นหลัก นั่นก็คือ “ความปวดเป็นประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งทางด้านประสาทสัมผัส (ร่างกาย) และอารมณ์ (ความรู้สึก) ที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ หรือเมื่อเนื้อเยื่อมีโอกาสบาดเจ็บ หรือ เสมือนหนึ่งว่ามีการบาดเจ็บ”

 

Cool Facts : การจำแนกความเจ็บปวดมีอยู่หลายวิธี แต่โดยทั่วไปจะระบุประเภทของอาการปวดดังนี้

 

•Nociceptive pain – เป็นอาการเจ็บปวดแบบฉับพลันที่ร่างกายส่งสัญญาณเตือนเพื่อปกป้องภยันตราย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ หรือเกิดจากสิ่งเร้าที่อาจสร้างความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ ไปกระตุ้นตัวรับความเจ็บปวด (nociceptor) หรือปลายประสาท (free nerve ending)

•Somatic or Inflammatory pain – หนึ่งในอาการเจ็บปวดแบบฉับพลัน โดย Somatic pain คือการเจ็บปวดทางร่างกายที่รู้สึกได้ชัดเจน ด้วยมีอาการปวดแปล๊บ เช่นเมื่อโดนมีดบาด เข็มตำ น้ำร้อนลวก หรือเป็นอาการปวดหน่วง ๆ หากเป็นการบาดเจ็บของเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หรือกระดูกภายในร่างกาย ส่วน Inflammatory pain คือการเจ็บปวดเนื่องจากการอักเสบ

•Neuropathic pain – มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ หรือความผิดปกติของระบบประสาทรับความรู้สึก หรืออาการปวดที่เกิดขึ้นโดยการบาดเจ็บหรือ โรคที่กระทบต่อส่วนใดก็ตามของระบบประสาท อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง, พาร์กินสัน และงูสวัด มักจะมีลักษณะอาการปวดแบบ ปวดร้อน ปวดชา ปวดเสียวแปลบร้าว หรือปวดแสบ (ปวดแบบผึ้งต่อย)

ซึ่งสิ่งที่เราอยากให้ทุกคนโฟกัสคือการเจ็บปวดทางร่างกายประเภท Somatic or Inflammatory pain ที่เป็นอาการการบาดเจ็บ รวมถึงอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อต่าง ๆ ซึ่งพบเจอได้บ่อยจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แต่ส่วนใหญ่ผู้คนมักจะละเลยการดูแลรักษา เพราะรู้สึกได้ไม่ชัดเจนเท่ากับตอนที่โดนมีดบาดเป็นแผลต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อสามารถมีได้ตั้งแต่ ปวดเล็กน้อย ปวดรำคาญ (รู้สึกอึดอัดเฉพาะที่) จนถึงขั้นเจ็บปวดจนทนไม่ได้ (ทุกข์ทรมาน) สามารถเป็นแบบเฉียบพลัน และชั่วคราว หรือกลายเป็นปัญหาเรื้อรังระยะยาว โดยอาการปวดที่เรามักจะพบเจอได้บ่อยในผู้คนวัยทำงาน ที่เน้นลุยงานเต็มที่ พอ ๆ กับใช้ชีวิตเต็มเหนี่ยว ก็คือ

อาการปวดตามข้อ

อาการนี้เกิดจากข้อต่อชนิดซินโนเวียล (Synovial) ซึ่งเป็นข้อต่อเคลื่อนไหวหลักในร่างกาย ต้องแบกรับกับแรงกระแทกต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และมักจะถูกทำให้สึกหรอเป็นผลให้เกิดอาการปวดข้อ โดยประเภทของข้อต่อที่มักจะได้รับผลกระทบจากอาการปวด คือ ข้อต่อบริเวณกระดูกก้นกบกับกระดูกเชิงกราน เข่า สะโพก และหัวไหล่

โดยข้อเข่าจะมีอาการปวด และสึกหรอได้ง่ายเป็นพิเศษ เนื่องจากมันทำหน้าที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย และแรงกระแทกที่เพิ่มขึ้นขณะวิ่ง หรือกระโดด คนเราจะมีโอกาสปวดเข่ามากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น และคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือเล่นกีฬาเยอะ ๆ มีโอกาสเสี่ยงต่อการทำร้ายหัวเข่าตัวเองสูง ยกตัวอย่างเช่น นักวิ่งที่มักจะมีอาการปวดเข่า และข้อเท้าให้พบเห็นได้บ่อย และที่พบเจอได้บ่อยไม่แพ้กันคือ อาการปวดข้อไหล่ ที่เป็นการปวดจากอาการอักเสบ หรืออาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณหัวไหล่ รวมไปถึงความตึงของกล้ามเนื้อระหว่างคอ และไหล่ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาการยอดฮิตของ Office Syndrome

อาการปวดหลัง

ปวดหลัง ถือเป็นอาการปวดหลัก ๆ ที่คนส่วนใหญ่น่าจะเคยได้รับผลกระทบจากอาการปวดหลังมาแล้วในชีวิตประจำวัน ลักษณะการปวดหลังสามารถเป็นได้ตั้งแต่ การปวดแบบเรื่อย ๆ (ไม่รุนแรง) อย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน ปวดเสียวแปล๊บ (ปวดจี๊ด ๆ) ซึ่งทำให้ยากต่อการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเดินขึ้นบันได ยกของหนัก หรือมีความรู้สึกปวดเสียวคล้ายเข็มทิ่ม (ยิบ ๆ ซ่า ๆ) รวมถึงรู้สึกชา ๆ บริเวณแผ่นหลังในขณะเคลื่อนตัว หรืออยู่กับที่

สาเหตุของอาการปวดหลังเกิดได้จากหลายปัจจัย เริ่มตั้งแต่ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง แต่ที่พบได้บ่อยมักจะเป็นอาการปวดที่ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นโดยกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และเกิดขึ้นได้โดยฉับพลันเมื่อบิดหลังผิดท่า หรือค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเรื่อย ๆ สะสมจากการนั่ง ยืน เดิน ออกแรงยกของไม่ถูกวิธี หรือแม้กระทั่งการนั่งขับรถเป็นเวลานานโดยไม่หยุดพัก ซึ่งจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดเนื่องจากการอักเสบของกล้ามเนื้อหลัง

ซึ่งอาการปวดข้อ และปวดกล้ามเนื้อหลัง เราสามารถหายามาทาเพื่อบรรเทารักษาอาการปวดเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง แต่สิ่งจำเป็นคือต้องใส่ใจในการเลือกชนิดยาที่ใช้เพื่อบรรเทารักษาอาการปวดเหล่านั้น เพราะแค่การทายาหม่อง ยานวด แปะแผ่นประคบร้อน – เย็น อาจทำได้แค่บรรเทาให้อาการปวดลดลงชั่วคราว แต่ไม่ได้มีตัวยารักษาอาการอักเสบซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวด จนทำให้อาการปวดยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนาน จนลุกลามเป็นอาการปวดแบบเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษา

ยาทาบรรเทาปวดแบบเจล ที่มีตัวยาไดโคลฟีแนก 1%

สำหรับยาทาบรรเทาปวดที่เหมาะสำหรับรักษาอาการบาดเจ็บจากการปวดเอ็น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ควรเป็นตัวยาที่มีคุณสมบัติในการบรรเทาปวด และลดอาการอักเสบควบคู่กัน เช่น เจลบรรเทาปวดที่มีตัวยาไดโคลฟีแนก 1% ซึ่งทำงานแตกต่างจาก ยาหม่อง ยานวด เจลเย็น และแผ่นประคบร้อนทั่วไปที่ออกฤทธิ์เฉพาะเส้นประสาท ให้ความรู้สึกร้อน เย็นบนผิวเท่านั้น โดยไม่ได้ช่วยลดอาการอักเสบ

แต่ยาไดโคลฟีแนกแบบเจล  สามารถซึมซาบลงสู่ผิวหนังได้รวดเร็วกว่า ด้วยตัวยาที่มีความเป็นอิมัลชั่นเจล ไม่เหนียวเหนอะหนะ ช่วยให้สารไดโคลฟีแนกออกฤทธิ์ได้ลงลึก บรรเทาอาการปวดบวมจากการอักเสบของข้อ เอ็น กล้ามเนื้อ ได้ตรงจุด กับการทำงาน 3 ขั้นตอน ทั้งการบรรเทาอาการปวด ลดอาการอักเสบ และเร่งการฟื้นตัว

รู้แบบนี้แล้วเมื่อมีอาการปวดเกิดขึ้น เราเชื่อว่าชาว UNLOCKMEN จะสามารถเลือกดูแลบรรเทารักษาอาการปวดเบื้องต้นด้วยตัวเองได้อย่างถูกวิธี ด้วยการทาเจลบรรเทาปวดที่มีตัวยาไดโคลฟีแนก 1% ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่ถ้าอาการปวดยังคงเป็นอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 6 สัปดาห์ อาจเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากกระดูกผิดรูป หรือบาดเจ็บร้ายแรง ซึ่งเราแนะนำว่าควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการโดยละเอียดคือทางออกที่ดีที่สุด ส่วนใครที่อยากได้ข้อมูลความรู้เรื่องอาการเจ็บปวดประเภทต่าง ๆ และวิธีดูแลรักษาเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ TheJoyofMovementThailand

NTman
WRITER: NTman
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line