CARS

คุ้มสุดในตระกูลดีเซล…แรง มั่นใจ แถมถูกกว่า ‘ดีเซล B10’ น้ำมันสูตรใหม่ที่จะมาแทนดีเซล B7

By: anonymK December 20, 2019

หลายครั้งที่มีน้ำมันสูตรใหม่เกิดขึ้นแต่เราไม่รู้ว่ามันดีกว่าอย่างไร พอเข้าไปในปั๊มทั้งชื่อและรหัสไม่ได้แตกต่างกันมากนัก เปลี่ยนแค่เลขหลัง ชั่วโมงเร่งด่วนเข้าปั๊มเราเลยมักจะเลือกแบบเดิม ๆ ที่คุ้นไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย

แต่สำหรับการใช้รถยนต์ น้ำมันสำคัญเสมอ เวลามีเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับรถมา เราจึงตื่นเต้นและศึกษามันก่อนเพื่อสำรวจความเจ๋ง วันนี้เราจะไปเจาะลึกน้ำมันน้องใหม่ตระกูลดีเซล “PTT UltraForce Diesel B10” จาก PTT Station ดูว่ามันดีแค่ไหน เพื่อเป็นทางเลือกให้คนที่ใช้รถซดดีเซลพิจารณากันก่อนเติม

ทำไมต้องมีนวัตกรรมน้ำมันในบ้านเรา ?

ก่อนอื่นเราอยากให้เริ่มต้นจากที่มาที่ไปก่อน น้ำมันดีเซลแต่ละรุ่นที่เห็นว่าพัฒนาเพิ่มมาเป็นทางเลือกวันนี้เป็นความไฮเทคที่ได้แนวคิดมาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องพัฒนาประสิทธิภาพเพิ่มคุณภาพการเผาไหม้ให้เครื่องยนต์สึกน้อยลง ขับขี่แรงขึ้น เพื่อสร้างความสะดวกสบายปลอดภัยด้านการขับขี่สูงสุด แต่อีกส่วนคือต้องตอบสนองเหตุผลด้านนโยบายประเทศและสังคมโลกในยุคนั้น

เดิมทีบ้านเราก็นำเข้าน้ำมันดิบมาเรื่อย ๆ ทำให้เงินก็ไหลออกนอกประเทศเต็ม ๆ จนกระทั่งมีแนวคิดเรื่องลดนำเข้าน้ำมันดิบเข้ามา ประกอบกับกระทรวงพลังงานกำหนดให้ผสมไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลทุกประเภทที่ขายในประเทศไทยและออกเป็นกฎข้อบังคับ ฟาก กลุ่ม ปตท. โดยสถาบันนวัตกรรม ปตท. จึงวิจัยและเอาผลผลิตปาล์มน้ำมันในบ้านเรามาสกัดเป็นไบโอดีเซลบริสุทธิ์หรือ B100 ในปี 2543 นี่ เลยเป็นที่มาของน้ำมันดีเซลที่มีสัดส่วนไบโอดีเซล หรือ ต่างๆ ที่มาขายในสถานีบริการน้ำมันในปัจจุบัน

Timeline น้ำมันดีเซลจาก B2 – B10

สิ่งหนึ่งที่บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจคือ แล้วแต่ละรุ่นมันต่างกันอย่างไร เหมาะกับรถยนต์ที่เราใช้ไหม ยิ่งผสมไบโอดีเซลเยอะจะยิ่งมีปัญหาหรือเปล่า เอาเป็นว่าเรามาล้างอคติแบบเดิม ๆ ออกก่อน แล้วมาดูทีละตัวตาม Timeline ไปพร้อมกัน

2548 : กระทรวงพลังงานกำหนดให้ ‘B2’ เป็นน้ำมันดีเซลมาตรฐานไทย 

2548 : PTT Stations ‘B2’

ตัวนี้คือต้นตระกูลน้ำมันดีเซล “B” หลังจากที่สกัดน้ำมันไบโอดีเซลบริสุทธิ์ได้ในปี 2543 เขาต้องใช้เวลาถึง 5 ปีมาผสมกับน้ำมันดีเซลและเพิ่มสารเผาไหม้ จนในที่สุดได้ตัวนี้เป็นตัวนำร่องจำหน่ายดีเซล B2 (ผสมไบโอดีเซลดีเซลจากปาล์มบริสุทธิ์ 2 เปอร์เซ็นต์) ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของน้ำมันดีเซลในช่วงนั้นเลย

2551 : PTT Stations ‘B5’

พอได้ตัวแรกมา 3 ปีถัดมา B5 (ผสมไบโอดีเซลดีเซลจากปาล์มบริสุทธิ์ 5 เปอร์เซ็นต์) ก็เกิดขึ้นตามมาติด ๆ ด้วยราคาต่อลิตรที่ถูกลง แต่ได้คุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานอย่างครบถ้วน ข้อดีที่เด็ดกว่าตัวแรกคือตอบโจทย์เรื่องลดการสึกหรอเครื่องยนต์ เพราะตอนนั้นดีเซลตัวแรกจะเน้นเรื่องสมรรถนะการใช้งานก่อนค่อยมาคิดถึงเรื่องสภาพรถ จุดนี้คนใช้รถยนต์น้ำมันดีเซลเลยค่อนข้างวางใจมากขึ้น

2553 : กระทรวงพลังงานกำหนดให้ ‘B3’ เป็นน้ำมันดีเซลมาตรฐานไทย 

2555 : กระทรวงพลังงานกำหนดให้ ‘B5’ เป็นน้ำมันดีเซลมาตรฐานไทย 

2557 : กระทรวงพลังงานกำหนดให้ ‘B7’ เป็นน้ำมันดีเซลมาตรฐานไทย 

2557 : PTT Stations ‘B7’

ถึงสูตรน้ำมันดีเซล B5 จะดีขึ้นแล้ว แต่นักวิจัยก็ยังไม่หยุดคิดให้ดีขึ้นกว่าเดิม ตอนช่วงน้ำมันดีเซล B7 (ผสมไบโอดีเซลจากปาล์มบริสุทธิ์ 7 เปอร์เซ็นต์) ที่พัฒนาต่อจากนั้น 6 ปี นำร่องจำหน่ายก็พิสูจน์ประสิทธิภาพของตัวเองได้ดีเยี่ยม จึงกลายเป็นรุ่นตำนาน เพราะตอบโจทย์หมดทั้งมาตรฐานทั้งเรื่องความแรงและลดความสึกของเครื่องยนต์ รวมทั้งการเสียดสีกันในระบบเผาใหม่ น้ำมันดีเซลรุ่นนี้จึงได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานที่น้ำมันดีเซลของทั้งประเทศต้องผสมไบโอดีเซลด้วยสัดส่วนร้อยละ 7 มาตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา แน่นอนว่ารุ่นพี่ก่อนหน้านี้ที่พัฒนาก็ต้องยกเลิกไป

2562 : PTT Stations ‘B10’

แล้วก็มาถึงตัวน้ำมันดีเซล PTT UltraForce Diesel B10 (ผสมไบโอดีเซลจากปาล์มบริสุทธิ์ 10 เปอร์เซ็นต์) ล่าสุดที่เราพูดถึงว่าเป็นน้องใหม่ ต้องยกนิ้วให้นักวิจัยเพราะหลังจากเจอตัว B7 ไปแล้วเขายังเดินหน้าพัฒนาต่อให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น

เหตุผลที่ PTT UltraForce Diesel B10 คุ้มกว่า เพราะทีเด็ดที่เขาคำนวณมาแล้วทั้งเรื่องสัดส่วนและมาตรฐาน โดยน้ำมันรุ่นนี้เป็นน้ำมันดีเซลผสมไบโอดีเซลบริสุทธิ์เกรดสูงตามสเปคของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่น (JAMA) ในสัดส่วน 10 เปอร์เซ็นต์ และได้นวัตกรรมสารเติมแต่งสูตรเฉพาะ (PTT UltraForce) ที่ช่วยเพิ่มค่าซีเทน จึงเร่งได้แรงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเรื่องนี้เราว่าดี เพราะบางคนคงกังวลที่มีข่าวมาว่าน้ำมันยิ่งผสมไบโอดีเซลแล้วอัตราเร่งจะต่ำลง คงเบาใจได้เรื่องนี้

นอกจากนี้น้ำมันดีเซล B10 ยังผสมสารทำความสะอาดหัวฉีดที่ช่วยป้องกันการอุดตันของหัวฉีด และลดอาการสึกหรอต่อชิ้นส่วนเครื่องยนต์ด้วยเลยทำให้สมรรถนะดีไม่มีตก

แล้วถ้าเทียบกับน้ำมันดีเซล B7 ที่เคยใช้จะต่างกันอย่างไร ? เรื่องนี้หลายคนต้องสงสัยอยู่แล้ว เราเลยลองไปเทียบกันดูตามข้อมูลสเปคน้ำมันที่ได้มา พบว่า

  1. สมรรถนะ ใช้งานได้ดีไม่แตกต่าง
  2. ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ไม่ได้รับผลกระทบ เมื่อเทียบกับดีเซลปกติ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่ทำจากโลหะ พลาสติก และยาง
  3. กำลังและแรงบิด ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญถ้าเทียบกับน้ำมันดีเซล B7 จากการทดสอบ Dyno Test (เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบหากำลังงาน แรงม้า แรงบิด และอื่นๆ ของเครื่องยนต์ )
  4. กินน้ำมันใกล้เคียงกับน้ำดีเซล B7 ที่ 12 ก.ม./ลิตร
  5. ราคาต่ำกว่าน้ำมันดีเซล B7 2 บาทต่อลิตร และต่ำกว่าน้ำมันดีเซล B20 ลิตรละ 1 บาท จากการกำหนดของคณะกรรมการบริหารพลังงาน กระทรวงพลังงาน
  6. ลดควันดำได้ถึง 42% และลดฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 300 ตันต่อปีเมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซล B7 (ทดสอบ ณ วันที่ 28 ม.ค. 2019 ด้วยวิธี NEDC Cold Test)

มองภาพรวมจากมุมมองของเรา ถ้ากินน้ำมันพอ ๆ กัน ใช้ได้ดีไม่ต่าง แต่ราคาต่ำกว่าก็เป็นเหตุผลที่ทำให้น้ำมันตัวนี้เป็นน้ำมันทางเลือกที่เราอยากแนะนำให้ลอง เพราะระหว่างตัว B7 ที่เร่งดี กับ B20 เพื่อสายรถบรรทุก แต่เร่งได้ไม่เท่ากัน ตัวนี้ก็เป็นน้ำมันรุ่นกลางที่น่าสนใจกว่า

ที่จริงนอกจาก PTT Station ปั๊มอื่น ๆ ก็ต้องวางจำหน่ายดีเซล B10 แต่ PTT Station นำร่องจำหน่ายน้ำมันดีเซล B10 เป็นรายแรกตั้งแต่ช่วงกลางปี โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า PTT UltraForce Diesel B10 ดังนั้น ใครที่ขับขี่รถยนต์ดีเซลขนาดกลางและขนาดเล็กที่ใช้น้ำมันดีเซลธรรมดาอยู่ตอนนี้ อยากลอง PTT UltraForce Diesel B10 น้ำมันดีเซลคุณภาพ ราคาประหยัดกว่า มีนวัตกรรมแห่งความแรงก่อนใคร ลองไปเติมใช้ก่อนคนอื่นได้ที่ PTT Station กว่า 300 แห่งทั่วทุกภาคของประเทศ ภายในวันที่ 1 มกราคม 2563

ที่สำคัญถ้าเติมแล้วยังได้รับคะแนน PTT Blue Card 10 เท่าจากปกติ หรือคิดเป็นส่วนลดสูงสุด 50 สตางค์/ลิตร ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2562 – 31 มกราคม 2563 ด้วย ส่วนเดือนมกราคม 2563 จะมีสถานีบริการ PTT UltraForce Diesel B10 ครอบคลุมทุกจังหวัดกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ นวัตกรรมพลังงานอย่าง PTT UltraForce Diesel B10  จึงเป็นคำตอบดี ๆ  สมบูรณ์แบบที่สนองความต้องการของผู้บริโภคและสังคมครบถ้วนอย่างเราทุกด้าน! เจาะลึกครบ อธิบายละเอียดแล้ว ใครไปเจอ PTT UltraForce Diesel B10 ที่ PTT Station สาขาไหนก็สามารถไปลองกันได้

anonymK
WRITER: anonymK
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line