การระบาดไวรัสของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลกในหลายด้าน ทั้งความเสียหายด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว รวมถึงชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันควบคุมการระบาด ด้วยความหวังที่ว่ามันจะไม่ลุกลามขยายวงกว้างไปกว่านี้จนความเสียหายลุกลามใหญ่โตเกินกว่าจะควบคุม ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกมีรวมกันมากกว่า 93,000 คนและเสียชีวิตไปแล้วถึง 3,198 (ข้อมูลวันที่ 4 มีนาคม 63 เวลา 11.00 น.) ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาประกาศให้การระบาดครั้งนี้เป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่ออีเวนต์จำนวนมาก แต่ที่ได้รับผลกระทบแบบทั่วถึงคงหนีไม่พ้นการแข่งขันกีฬาระดับโลกหลายรายการ โดยเฉพาะสัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีแรงกระเพื่อมชัดเจนขึ้นกว่าเดิม มาดูกันว่าในสถานการณ์ปัจจุบันไวรัส COVID019 ได้แช่แข็งโลกกีฬาไปแค่ไหนบ้างแล้ว วงการลูกหนัง เริ่มกันที่ฟุตบอลกีฬายอดนิยมของมวลมนุษยชาติที่ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะกัลโช่ เซเรียอาและลีกต่าง ๆ ในอิตาลีประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกด้วยจำนวน 2,502 คน การระบาดในอิตาลีทำให้สมาคมฟุตบอลอิตาลี ต้องเลื่อนการแข่งขัน Italian Cup semi-final เลกที่ 2 ระหว่าง Juventus และ AC Milan ออกไป รวมถึงการแข่งขันอีก 5 นัดในเซเรีย
ตอนนี้ข่าวเรื่องโควิด-19 หลั่งไหลเข้ามาเยอะมาก ทั้งวิกฤตของการระบาด มาตราพระราชบัญญัติการควบคุมโรคที่มีบทลงโทษ เศรษฐกิจขาลง ราคาแอลกอฮอล์กับหน้ากากในท้องตลาด ไปจนถึงคนที่คิดจะฉวยโอกาสจากสถานการณ์เสี่ยงต่อชีวิต เอาหน้ากากเดิมมาซักบ้าง ทำแบบไม่มีคุณภาพบ้าง เพื่อหวังจะขายเอาเงินอย่างเดียว แต่สิ่งที่เรายังไม่ค่อยเห็นคนคิดต่อหลังจากรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการกักกันโรค คือการจัดการกับหน้ากากอนามัยเหล่านั้น เพราะการจัดการที่ไม่รัดกุมอาจจะทำให้เชื้อจากหน้ากากแพร่กระจายต่อโดยที่เราไม่รู้ตัว จนนำไปสู่การติดเชื้อของบุคคลอื่นต่อ และสุดท้ายวงจรระบาดก็อาจจะกลับมาถึงเรา UNLOCKMEN นำคำแนะนำจากเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไปและข้อมูลที่เผยแพร่ของกรมอนามัย รวบรวมมาเผยแพร่ต่อเพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการต่อได้อย่างถูกวิธี ปลอดภัยกับตัวเองและผู้คนรอบข้าง ก่อนอื่นจำไว้ว่าหน้ากากอนามัยใช้แล้วแบบใช้แล้วทิ้ง ต้องแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. หน้ากากของคนติดเชื้อ 2. หน้ากากของคนสบายดี ซึ่งจะมีดีเทลต่างกันตอนท้าย แต่จุดเริ่มต้นหลังจากเราปลดออกจากหูตัวเอง เพื่อความปลอดภัยต่อสังคมโดยรวม วิธีจัดเก็บที่ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุดคือการ “พับหรือม้วนก่อนทิ้ง” เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อของสารคัดหลั่งที่อยู่ภายในหน้ากาก พับก่อนทิ้ง (เหมาะกับหน้ากากสี่เหลี่ยมผืนผ้า) 1. จับขอบพับครึ่งแนวยาว (ด้านที่โดนปากเราเอาไว้ด้านใน) 2. จับขอบพับครึ่งแนวยาวอีกทบ 3. พับครึ่งตามแนวขวาง เพื่อให้เชือกอยู่ฝั่งเดียวกัน 4. ใช้เชือกด้านข้างรัดให้แน่น 5. ใส่ถุงพลาสติกหรือห่อกระดาษให้มิดชิด ม้วนก่อนทิ้ง (เหมาะกับหน้ากากแข็ง ทรงแนบใบหน้า) ถ้าสังเกตให้ดีหน้ากากแบบแข็ง ๆ จะไม่เหมาะกับการพับครึ่งแนวยาวเพราะมันไม่ได้สมมาตรกันขนาดนั้น แต่เหมาะกับการม้วนแนวขวางมากกว่า
ต้องยอมรับว่าสื่อทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเรื่องโควิด – 19 (Coronavirus 2019) กันจริงจัง หลายประเทศเปิดมาตรการป้องกัน ตรวจสอบ และกักกันคนที่มีอาจเกี่ยวข้องกับเชื้อนี้ แต่เจ้าที่เราเห็นชัดว่าตอนนี้กลายเป็นที่จับตาไปทั่วโลกอีกประเทศคือ “ญี่ปุ่น” หลังพบการระบาดจากเรือสำราญที่เข้าเทียบ จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลุกลามทำให้หลายประเทศเริ่มแจ้งระวังการเดินทางไปญี่ปุ่น และพิจารณานักเดินทางที่ต้องการเข้าประเทศหากเดินทางมาจากญี่ปุ่น ซึ่งจะเรียกว่าเป็นโชคร้ายหรือคราวซวยก็ว่าได้ เพราะระยะเวลาการระบาดดันไปประจวบเหมาะกับช่วงจัด Tokyo Olympic 2020 ปีนี้พอดิบพอดี กลายเป็นจุดตั้งสังเกตว่า สรุปแล้วงานครั้งนี้จะล่มหรือรอด ระหว่างที่ยังไม่ถึงเดือน 7 ตามกำหนดการจัดการของโตเกียว จู่ ๆ Shaun Bailey ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของลอนดอน (ตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับเลือก) ก็ดันจับเรื่องนี้ไปเป็นหนึ่งในนโยบายการหาเสียงของตัวเองในทวิตเตอร์ส่วนตัวโดยกล่าวว่า ใจความง่าย ๆ ก็คือสามารถรับเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกปีน้ีแทนได้ เพราะเราเคยมีประสบการณ์มาแล้ว และถ้าผมได้เป็นนายกเทศมนตรีแล้วล่ะก็ ผมจะทำให้มั่นใจเลยว่าลอนดอนรับเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง (หลังเคยเป็นมาแล้วในปี 2012) ได้อย่างแน่นอน แถมยังบอกว่าอยากให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) พิจารณาเรื่องนี้ด้วย ฝั่งผู้ว่าการกรุงโตเกียว ยูริโกะ โคอิเกะ ก็ตอกกลับเบา ๆ ว่า “ไม่เป็นไร” แต่ให้เหตุผลเจ็บหนักที่ฟังแล้วไม่รู้ว่าทางลอนดอนจะเจื่อนแค่ไหนว่า “เหตุผลที่ทำให้ปัญหานี้กลายเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกก็เพราะเรือสำราญลำนั้น แต่นั่นเป็นเรือสัญชาติสหราชอาณาจักร ฉันเข้าใจได้ดี
ช่วงต้นปี 2020 มีเรื่องราวที่สะเทือนไปทั่วโลกเกิดขึ้นหลายเรื่อง โดยเฉพาะโรคไวรัสโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019) ที่มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนและกระจายตัวไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เราเฝ้าดูรายชื่อของผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตกันแบบรายวัน โดยเฉพาะกับประเทศทางฝั่งเอเชียที่มีผู้ติดเชื้อเยอะมากจนบางประเทศต้องออกมาขอความร่วมมือว่าช่วงนี้อย่าเพิ่งออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศเลยจะดีกว่า เกาหลีใต้ถือเป็นประเทศที่มีมาตรการรับมือกับไวรัสโควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม เป็นประเทศที่ออกนโยบายรับมืออย่างรัดกุมก่อนใคร พวกเขาระแวดระวัง ถึงขั้นที่ร้านอาหารส่วนใหญ่ติดป้ายไม่ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประชาชนใส่แมสก์กันอย่างเคร่งครัด แต่กลายเป็นว่ามาตรการป้องกันตัวเองของเกาหลีใต้กับต้องสั่นสะเทือนจากการพบปะของประชาชนชาติตัวเองที่มีความเชื่อเดียวกันเสียอย่างนั้น ลัทธิชอนจี กรณีศึกษาจากอาจุมม่าผู้มีศรัทธา จากประเทศมาตรการเข้มงวดที่ช่วงแรกมีรายชื่อผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 น้อยกว่าหลายประเทศ ตอนนี้เกาหลีใต้กลับมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสแซงหน้าประเทศอื่น ๆ ไปแบบทิ้งห่างหลายร้อยคนภายในไม่กี่วันได้อย่างไร? เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นโดยคุณป้าจากเมืองแดกูผู้เข้าลัทธิในโบสถ์ร่วมกับคนนับพัน ภายในเวลา 4 วัน เกาหลีใต้มีผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้น 6 เท่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากแดกู เมืองใหญ่อันดับ 4 ของเกาหลีใต้ มีประชากรอยู่ราว 2.5 ล้านคน และเป็นที่ตั้งของลัทธิชอนจี (Shincheonji) โดยพาหะแพร่เชื้อให้คนจำนวนมากมาจากคุณป้าอายุ 61 ปี เธอนับเป็นคนไข้รายที่ 31 ของเกาหลีใต้ แต่เมื่อเธอไปเข้าประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในโบสถ์เมืองแดกูร่วมกับคนอื่น ๆ พบคนนับพัน จาก 31 จึงกลายเป็น 346 อย่างรวดเร็ว