ตอนนี้หลายประเทศเริ่มทยอยได้ฉีดวัคซีน COVID-19 กันแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ อังกฤษ หรือ รัสเซีย และในอนาคตอันใกล้คนไทยก็จะได้ฉีดวัคซีนแล้วเช่นกัน แต่พอพูดถึงเรื่องวัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้มันก็มีอยู่หลายแบรนด์ เราเลยอยากมาพูดถึงความคืบหน้าของวัคซีนแต่ละตัวว่ามันไปถึงไหนแล้ว โดยได้หยิบยก 6 แบรนด์วัคซีนที่อยู่ในความสนใจของคน ณ ตอนนี้ เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจถึงประสิทธิภาพ และมีความเข้าใจในเรื่องวัคซีนอย่างถ่องแท้ Pfizer-BioNTech วัคซีนตัวแรกที่เราอยากพูดถึงชื่อว่า ‘BNT162b2’ หรือ ‘Tozinameran‘ ซึ่งเป็นวัคซีนประเภท m-RNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์แบบใหม่ที่ใช้การส่งสารเคมีที่ชื่อว่า Messenger RNA เช้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรตีนและภูมิคุ้มกัน วัคซีนตัวนี้เป็นผลงานร่วมของสองบริษัท ได้แก่ Pfizer บริษัทด้านเภสัชกรรมสัญชาติอเมริกัน และ BioNTech บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากเยอรมัน หลังจากมีการเปิดตัววัคซีน เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาคนทั่วโลกก็ฮือฮากับมันมาก เพราะมีการเคลมว่า วัคซีนตัวนี้มีประสิทธิภาพในการหยุดยั้ง COVID-19 ได้สูงถึง 95% เลยทีเดียว (ข้อมูลจากการทดลองในเฟส 3 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการทดลองราว 4 หมื่นคน) เรียกได้ว่าเป็นวัคซีนแห่งความหวังของใครหลายคน สำหรับข้อมูลจำเพาะของวัคซีนนี้คือเหมาะกับผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ต้องมีการฉีดถึง 2
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการรุกรานของ COVID-19 ทำให้เราทั้งหลายได้พบเจอกับข้อดีมากมายจากการทำงานอยู่บ้าน หรือ Work From Home แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อเสียอีกไม่น้อยซ่อนอยู่ ยกตัวอย่างเช่นการไม่ต้องรีบเดินทางไปทำงานตั้งแต่เช้าก็ถือเป็นเรื่องดีที่ทำให้มีเวลาให้นอนต่ออีกนิด แต่เวลานอนมากขึ้นนั้นทำให้หลายคนกลับต้องประสบปัญหาการนอนหลับเนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังจาก Work From Home ด้วยเหตุที่ว่าเตียงนอนดูดวิญญาณมันดันอยู่ในระยะทำการ ที่พร้อมให้พุ่งตัวไปนอนเมื่อไหร่ก็ได้ โดยที่มีคำว่า ‘Power Nap’ หรืองีบเอาแรงสักหน่อยเป็นข้ออ้าง จนทำให้งีบไปงีบมาสุดท้ายกลายเป็นว่ากลางวันก็ไม่สดชื่น แถมกลางคืนก็ไม่สามารถข่มตาหลับได้ซะอย่างนั้น จากปัญหานี้ทำให้หลายคนกลับมาตั้งคำถามกันอีกครั้งว่าจริง ๆ แล้วการงีบหลับช่วงกลางวัน มันคือการ Power Nap ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หรือเป็นตัวทำลายนาฬิกาชีวิตจนส่งผลให้เกิดปัญหานอนไม่หลับกันแน่ ซึ่งข้อสงสัยนี้ถูกไขให้กระจ่างโดย Dr. Roxanne J Prichard, Professor of Neuroscience and Psychology จาก University of St. Thomas ที่ได้เปิดเผยถึงประโยชน์ของการงีบหลับว่า “ความเหนื่อยล้าอันหนักหน่วงจนร่างกายส่งสัญญาณอาการง่วงออกมานั้น ไม่มีวิธีแก้วิธีไหนที่จะดีไปกว่าการนอนหลับให้รู้แล้วรู้รอดไป” “และสำหรับใครที่ไม่มีเวลานอนหลับมากมาย เพราะยังมีงานอีกหลายชิ้นให้ต้องเคลียร์ การงีบหลับถือเป็นทางออกที่น่าสนใจ แม้มันจะไม่ได้ประสิทธิผลเท่ากับการนอนหลับตามปกติในเวลากลางคืน แต่การหาเวลา Nap Sleep คือวิธีฟื้นฟูสมองและร่างกายให้กลับมา
เมื่อไม่มีใครรู้ว่าการระบาดของ COVID-19 จะจบลงเมื่อไหร่ หลายคนคงใช้ชีวิตแบบไม่มีความสุขกัน เพราะในสภาวะไม่ปกติแบบนี้ หลายคนต้องอยู่บ้านเป็นเวลานาน อยากไปเที่ยวที่ไหนก็ไปไม่ได้ แถมยังต้องระมัดระวังสิ่งรอบข้างตลอดเวลา การต้องใช้ชีวิตด้วยความอดทนและอยู่ภายใต้ความกลัวโรค จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สภาพจิตใจของเราจะแย่ลงทุกวัน ๆ แม้สถานการณ์จะบั่นทอนความสุขของเราเหลือเกิน แต่การสิ้นหวังก็ไม่ได้ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น มาลองดูวิธีรับมือกับอารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤต COVID-19 ก่อน ซึ่งเราเชื่อว่า หากทุกคนทำตามแล้ว จะมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นอย่างแน่นอน เช็คข่าวให้ดีก่อนเชื่อ ยุคนี้ข่าวปลอมเยอะมาก ซึ่งบางข่าวก็เน้นไปที่การสร้างความตื่นตระหนกด้วย แถมพอเราเชื่อและนำข่าวนั้นไปบอกคนอื่นต่อ ความตื่นตระหนกมันก็จะยิ่งแพร่กระจายในวงกว้างมากขึ้นอีก เราเลยต้องเลือกเสพข่าวกันหน่อย พร้อมกับเช็คความถูกต้องของข้อมูลด้วย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราได้รับข่าวจากคนในทวิตเตอร์ เราก็อาจนำข้อมูลนั้นไปเช็คกับแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เช่น สำนักข่าวใหญ่ หรือ มีเดียของหน่วยงานรัฐบาล เพื่อให้เราได้รับข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด และป้องกันความแพนิคที่เกิดขึ้นจากการเชื่อข่าวปลอม รวมถึง การส่งต่อความแพนิคไปยังคนอื่นด้วย ควบคุมปริมาณการเสพข่าวของตัวเอง แม้การตื่นตัวเรื่อง COVID-19 จะเป็นเรื่องดี แต่เราไม่จำเป็นต้องเสพข่าวเรื่อง COVID-19 ตลอดเวลา เพราะพวกข้อมูลที่บอกว่าโรคระบาดแพร่เร็วแค่ไหน ? คนป่วยและตายมีจำนวนเท่าไหร่ ? สามารถเพิ่มความวิตกกังวลให้กับเราได้ การเสพข่าวประเภทนี้ตลอดเวลา จึงทำให้จิตใจเกิดภาระอย่างหนักได้เช่นกัน ดังนั้น จำกัดเวลาในการเสพข่าว และเอาเวลาที่เหลือมาทำในสิ่งที่เราชอบดีกว่า เช่น
‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องอัตราการฆ่าตัวตายสูงติดอันดับโลกเสมอ จนถูกนับเป็นเมืองที่มีความเครียดสูงที่สุดเมืองหนึ่งของโลกไปแล้ว ด้วยเหตุผลหลายอย่างทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ การแข่งขันทางธุรกิจ การทำงาน รวมถึงพื้นที่ที่จำกัด และค่านิยมหลายอย่างที่อาจส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เกิดความเครียด เมื่อเครียดจนไม่รู้จะทำอย่างไร คนบางส่วนจึงเลือกที่จะจบชีวิตตัวเองเพื่อปิดกั้นการรับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ไปตลอดกาล การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลกก็แวะเวียนไปยังญี่ปุ่นเช่นกัน ในตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้ากับการระบาดระลอกสองที่ยากจะควบคุม แม้ตอนแรกจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศจะยังไม่สูง ซ้ำผลสำรวจของสื่อแทบทุกสำนักยังระบุตรงกันว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในญี่ปุ่นช่วงแรกที่รัฐบาลต้องสั่งล็อกดาวน์ สามารถลดความเครียดของชาวญี่ปุ่นได้อย่างน่าตกใจ แต่ตอนนี้ความเครียดที่หายไปได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นจนน่าใจหาย ช่วงต้นปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการฆ่าตัวตายของชาวญี่ปุ่นช่วงเดือนเมษายนว่าลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ๆ ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมษายนคือช่วงเวลาเดียวกับที่โควิด-19 ระบาดหนัก รัฐบาลขอความร่วมมือประชาชนให้อยู่แต่ในบ้านและอย่าออกจากเคหสถานหากไม่มีความจำเป็นจริง ๆ รวมถึงการปิดเทอมของเหล่านักเรียน ส่งผลให้ทุกคนได้อยู่บ้าน และมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น ประชาชนญี่ปุ่นถูกสั่งให้อยู่แต่บ้าน เหล่ามนุษย์เงินเดือนที่เดิมทีต้องตื่นแต่เช้าแต่งตัวออกไปทำงาน ยืนเบียดเสียดบนรถไฟ แล้วค่อยเดินกลับบ้านแบบหมดเรี่ยวหมดแรง แปรเปลี่ยนเป็นนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน หักเวลาเดินทางไป-กลับ มาเป็นเวลาที่จะได้นอนมากขึ้นกว่าเดิมสักนิดหน่อย บางคนมีครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา แม่บ้านได้นั่งคุยกับสามีและลูกที่อยู่ในช่วงปิดเทอม ส่วนเด็ก ๆ ก็ไม่ต้องออกไปเผชิญกับไวรัสที่กระจายอยู่ทั่ว สมาชิกในครอบครัวร่วมชายคาเดียวกันมีโอกาสพูดคุยมากขึ้น ทั้งหมดส่งผลให้มวลความเครียดของชาวญี่ปุ่นลดลง แต่ข่าวน่ายินดีนี้เป็นเพียงแค่ช่วงแรกของการระบาดเท่านั้น ภาพในระดับครอบครัวชนชั้นกลางจนถึงสูงทั้งในเมืองและต่างจังหวัดเป็นเพียงส่วนเล็กของสังคมใหญ่ ภาพรวมในระดับประเทศช่วงการระบาดของไวรัสไม่น่าดูเท่าไหร่นัก
มนุษย์เงินเดือนหลายคนคงต้องใช้ขนส่งสาธารณะกันเป็นประจำ และหลังจากเกิดวิกฤต COVID-19 ก็คงต้องระวังตัวมากขึ้น เพราะมันเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน เมื่อ COVID-19 น่าจะอยู่กับเราไปอีกสักพัก UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำวิธีการเอาตัวรอดจากโรคระบาดเมื่อต้องใช้งานขนส่งสาธารณะ เช่น รถเมล์และรถไฟฟ้า มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่เราควรทำ วางแผนเวลาเดินทางให้ดี ก่อนที่เราจะออกจากบ้าน หรือ ที่ทำงาน เพื่อใช้ขนส่งสาธารณะเดินทางไปที่ไหนสักแห่ง เราต้องวางแผนการเดินทางกันสักหน่อย เพื่อให้เราสามารถหลีกเลี่ยงการเดินทางในเวลาที่คนใช้งานกันเยอะ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ทำให้การรักษาระยะห่าง และการป้องกันการติดเชื้อจากคนสู่คนทำได้ยาก พยายามวางใช้ขนส่งสาธารณะในเวลาที่ไม่ค่อยมีคน หรือ คนน้อยที่สุด เพื่อให้เราปลอดภัยจากการติดเชื้อมากขึ้น แต่ถ้าหลีกเลี่ยงการใช้งานในเวลานั้นไม่ได้ ลองคิดถึงวิธีการเดินทางแบบอื่นที่จะทำให้เราปลอดภัยมากขึ้นดูจะดีกว่า เตรียมของให้พร้อม สิ่งที่เราควรเตรียมให้พร้อมก่อนออกเดินทางไปที่ไหนก็ตาม คือ ผ้าเช็ดทำความสะอาดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว รวมถึง เจลล้างมือแอลกอฮอล์ 60% ไว้ใช้สำหรับกรณีที่เราหาที่ล้างมือไม่ได้ และที่สำคัญอย่าลืมพกหน้ากากอนามัยสำรอง สำหรับใช้ในกรณีที่ทำหน้ากากหายหรือหน้ากากเสื่อมสภาพ เช่น เปียกหรือสกปรก และถุงพลาสติกสำหรับใส่หน้ากากที่เสียแล้วด้วย รักษาระยะห่าง ถ้าอยู่ในที่ที่มีคนแน่นอนว่าการรักษาระยะห่างเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะยิ่งเราอยู่ห่างจากคนมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิดมากเท่านั้น เพราะฉะนั้นพยายามรักษาระยะห่างระหว่างคนอื่นราว 6 ฟุต หรือ 1 ช่วงแขน หรือ เวลานั่งก็พยายามเว้นที่นั่งด้านข้างไว้ เพื่อเป็นการเซฟตัวเอง แต่ถ้าวันนั้นคนเยอะมากจริง
หันมองคนรอบตัวเราตอนนี้ ถ้ามีใครสักคนที่งานยังรุ่ง การเงินยังพุ่งแรง ธุรกิจยังทะยานไปข้างหน้าได้แบบไม่ตก คงต้องคารวะอย่างสุดจิตสุดใจ แต่ข้อเท็จจริงคือคนเหล่านั้นไม่ใช่คนส่วนใหญ่ สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคง ส่งผลต่อสภาพธุรกิจที่ไม่แข็งแรง จนหลายองค์กรต้องปรับตัวขนานใหญ่ (และปรับอยู่บ่อย ๆ เพื่อตามสถานการณ์ให้ทัน) สภาวะคับขันแบบนี้องค์กรจึงยิ่งต้องการคนทำงานที่ประสิทธิภาพมากพอที่จะพาองค์กรเติบโตหรือยังไปต่อได้ ดังนั้นใครที่ยังมีงานประจำ ยิ่งต้องกอดงานตัวเองไว้ให้แน่น เพราะการปรับเปลี่ยนพนักงาน ปรับโครงสร้างก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่องค์กรเลือกปรับ ถ้าคนทำงานไม่ตอบโจทย์ความท้าทายใหม่ ๆ ขององค์กรได้ คำถามก็คือในสภาวะที่ไม่มั่นคงแบบนี้ เราจะรักษามาตรฐานอย่างไรถึงจะเป็นคนทำงานที่องค์กรต้องการตัวเราอยู่เสมอให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่เราทำงานอยู่ หรือเผื่อต้องหางานใหม่ในอนาคต? มาตรฐานสูงเข้าไว้ (และอย่าให้มาตรฐานตก!) สิ่งที่ต้องจำให้แม่นมั่นในสถานการณ์อันยากลำบากแบบนี้คือเราต้องเป็นคนที่ดีที่สุด ต้องเป็นคนที่มีมาตรฐานที่สูงที่สุดในพื้นที่การทำงานของเรา หมั่นรักษาทักษะและศักยภาพที่มีให้สดใหม่และรักษาความแข็งแกร่งเดิมไว้ให้ได้ เพราะในขณะที่ตลาดงานหดตัวลง (คนต้องการทำงานเยอะ องค์กรมีอัตราการจ้างต่ำ) นายจ้างยิ่งมีทางเลือกมากขึ้นดังนั้นองค์กรมักเลือกคนที่ดีที่สุดมากกว่าเลือกคนที่ทำงานไปวัน ๆ อย่างไรก็ตามคำว่า “มาตรฐานสูง” ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราเป็นระดับจูเนียร์แล้วจะข้ามไปซีเนียร์ ไปทำงานบริหาร แต่หมายความว่าเราต้องทำดีที่สุดในพื้นที่ของเรา ( เช่น ถ้าพูดถึงตำแหน่งนี้ของจูเนียร์ เราต้องเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ผู้บริหารพูดถึง) ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในระดับไหนของตำแหน่งที่เราทำ เป็นระดับปฏิบัติการ เป็นระดับบริหาร เป็นะดับอาวุโส ฯลฯ เราต้องรักษามาตรฐานให้สูงที่สุดในพื้นที่ของเรา ด้วยการเรียนรู้อยู่เสมอ พัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่สำคัญต่องานที่เราทำอยู่
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 นั้นเป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกเป็นวงกว้าง ครอบคลุมในทุกมิติทั้งทางด้านการสาธารณสุข เศรษฐกิจ และที่เห็นได้ชัดและใกล้ตัวที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงไปของวิถีชีวิตสู่รูปแบบ New Normal หรือปกติวิถีแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดผลกระทบของโรคติดต่อ ซึ่งก่อให้เกิดมาตรการ Lockdown กับความจำเป็นที่ต้องปิดสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างค้าปลีก ร้านอาหาร สถานบันเทิง ฯลฯ ทำให้หลากหลายอาชีพต้อง “ว่างงาน” แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 ทุกคนน่าจะรู้อยู่แก่ใจว่าการใช้ชีวิต การทำมาหากิน คงจะยังไม่คล่องตัวเหมือนยุคก่อน COVID ไปอีกสักพัก และที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ หากจะให้พูดถึงอีกหนึ่งกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบไปแบบเต็ม ๆ คงหนีไม่พ้นอาชีพ “นักร้อง นักดนตรี ดีเจ” ในร้านอาหาร ผับ บาร์ ที่ในช่วงต้นของมาตรการ Lockdown จำต้องอยู่ในภาวะไร้เวทีในการส่งมอบเสียงเพลง ความมันส์ รวมถึงความสุขให้ผู้ฟัง ซึ่งอีกแง่หนึ่งมันหมายถึงการขาดรายได้ในการหล่อเลี้ยงชีวิตเช่นกัน แต่สุดท้ายในวิกฤติที่ดูมืดมน ก็ได้มีโปรเจ็กต์ “เราไม่ทิ้งกัน มันส์กว่า” จาก LEO ผุดขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสการสร้างรายได้ให้กับนักดนตรี นักร้อง ดีเจ
‘BURNOUT’ ไม่ใช่อาการใหม่ อาการหมดไฟนั้นเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทำงานอย่างเรา ๆ และเราต่างหาวิธีรับมือกับอาการหมดไฟที่มาเยือนอยู่ตลอดเพื่อให้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หลายคนเคยผ่านอาการหมดไฟมาได้หลายหน ราวกับได้เกิดใหม่ท่ามกลางเถ้าถ่านมอดดับ แต่หลายคนก็ไม่เคยเผชิญอาการหมดไฟมาก่อนในชีวิต จนกระทั่ง COVID-19 มาเยือน บรรยากาศการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน การย้ายสถานที่ทำงานจากออฟฟิศสู่พื้นที่พักอาศัย การต้องทำงานอย่างเดียวดายปราศจากเพื่อนร่วมงานรายล้อม หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัวที่ไม่เข้าใจเวลาทำงานของเรา สิ่งเหล่านี้นำพาอาการ BURNOUT มาเยือนใครหลายคนที่ก็เคยมีไฟมาตลอด แล้วเราจะรับมือกับมันอย่างไรได้บ้าง? BURNOUT ใช่ไหม? หรือแค่เหนื่อยใจธรรมดา? ก่อนจะไปถึงวิธีการรับมืออาการหมดไฟเพราะการ Work From Home เป็นเวลานาน ๆ เราอยากชวนคุณมาสำรวจตัวเองไปพร้อมกันก่อนว่าสิ่งที่คุณเป็นนั้นคือความเหนื่อยในแต่ละวันที่พอจะคลี่คลายไปได้ถ้าได้พักผ่อนเพียงพอ หรือคืออาการ BURNOUT หลีกเลี่ยงงานขั้นหนัก: ความเหนื่อยล้าเกิดขึ้นได้ แต่ทันทีที่ได้พักผ่อนก็จางหายไป แล้วกลับมามีพลังเพื่อทำงานใหม่ให้ดีดังเดิม แต่หากคุณคือคนหนึ่งที่ทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงงาน อาจสังเกตว่าไม่อยากตอบอีเมลเจ้านายหรือเพื่อร่วมงานจนกล่องข้อความค้างเติ่งจำนวนมาก เข้าประชุมสายเสมอ หรือถ้าเป็นไปได้ก็จะหาข้ออ้างที่จะไม่เข้าประชุม รวมไปถึงอาการผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย ๆ งานนี้ยังไม่ต้องทำหรอกน่า งานนี้ขอเลื่อนส่งไปก่อนได้ไหม ความพยายามหลีกเลี่ยงงานอย่างหนักนี้เป็นอาการของการ BURNOUT ที่รุกคืบเข้ามา ทำงานแค่ให้รอด ไม่ได้ทำเพื่อคุณภาพ: วันนี้คุณทำงานเพื่ออะไร? ถ้าคำตอบของคุณคือก็ทำเพื่อให้รอดไปอีกวัน ทำเพื่อให้หัวหน้าเห็นว่าคุณยังมีงานในหนึ่งวัน คุณอาจเข้าข่าย BURNOUT ได้เช่นกัน เพราะงานที่มีคุณภาพ
ก่อนหน้านี้ UNLOCKMEN เคยเล่าเรื่องราวการต่อสู้และความทะเยอทะยานจากดินสู่ดาวของแก๊งยากูซ่าที่สุดของเกาะญี่ปุ่น ยามากูจิ-คูมิ (Yamaguchi-Gumi) ไว้ใน NIHON STORIES: YAMAGUCHI GUMI จากอัธพาลย่านคันไซสู่ยากูซ่าผู้ทรงอิทธิพลของญี่ปุ่น ทำให้เห็นความโหด ความเด็ดเดี่ยว กล้าได้กล้าเสีย ระบบองค์กรยากูซ่าอันซับซ้อนมีลำดับขั้นไม่ต่างกับสำนักงาน แต่วันนี้ความยิ่งใหญ่ทุกอย่างของแก๊งกลับต้องชะงักอย่างเลี่ยงไม่ได้ สำนักข่าวในญี่ปุ่นพากันตีข่าวใหญ่เกี่ยวกับยากูซ่าอันดับหนึ่งของประเทศ พวกเขาไม่สามารถจัดการประชุมสำคัญซึ่งเป็นธรรมเนียมทำกันมาเป็นประจำทุกปีได้สาเหตุสำคัญ เหตุผลหลักที่ต้องยกเลิกเป็นเพราะสมาชิกระดับหัวหน้าล้วนมีอายุมาก บอสใหญ่ไต่เต้าจากแก๊งสาขานาโกย่ามาเป็นผู้นำสูงสุดรุ่นที่ 6 ของแก๊ง ชิโนดะ เคนอิจิ (Shinoda Kenishi) และเบอร์สองของแก๊งอย่างนายน้อยทากายามะ คิโยชิ (Takayama Kiyoshi) มือขวาที่เปรียบเสมือนคู่หูคู่คิดของชิโนดะ แม้ทั้งสองจะลุยมาทุกสมรภูมิเดือด แต่ปัจจุบันสองคนมีอายุมากทำให้เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผลจากการศึกษาไวรัสโควิด-19 ของศูนย์วิจัยหลายแห่งต่างลงความเห็นไปในทางเดียวกันว่า ชายสูงวัยมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส จนทำให้เสียชีวิตง่ายกว่าผู้หญิงหรือคนอายุยังน้อย รวมถึงชายจากยุค 70-80 ที่มีรอยสักเต็มตัวและมีประวัติใช้สารเสพติดจะยิ่งเพิ่มโอกาสติดเชื้อไวรัสมากขึ้นกว่าคนอื่น ๆ เพราะตับที่ทำงานหนักจากรอยแผลทั่วร่าง (รอยสัก) ควบคู่กับการดื่มเหล้าใช้ยาจนร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงให้ยากูซ่าระดับบิ๊ก ๆ เข้าใกล้ความตายได้ง่ายขึ้น ผลคือตอนนี้งานประชุมใหญ่ที่สร้างความตื่นตระหนกให้ผู้คนแถวสำนักงาน สื่อญี่ปุ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องมาคอยเฝ้าระวังทุกปีต้องพับแผนการเดิมทั้งหมดทิ้ง นอกจากนี้ สำนักข่าวญี่ปุ่นยังรายงานอีกว่า สมาชิกของแก๊งทั้งระดับสูงไปจนถึงระดับล่าง ต่างแสดงความกังวล พวกเขารู้สึกอ่อนไหวกับเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ยุคสมัยที่ผู้นำส่วนใหญ่บนดาวเคราะห์ดวงนี้มีแต่ผู้ชายสุดแข็งแกร่งนั้นอาจเลือนรางลงไปนานแล้ว ความเท่าเทียมในหลายมิติทำให้มนุษย์ไม่ว่าเพศสภาพไหน ๆ ก็สามารถขึ้นกุมบังเหียนเพื่อบริหารองค์กรหรือประเทศได้ แม้ภายนอกคล้ายจะเป็นแบบนั้น แต่การเป็นผู้นำผู้หญิงนั้นกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากผู้นำผู้หญิงมักถูกกล่าวหาด้วยภาพเหมารวมความเป็นหญิงบางอย่าง เช่น ผู้หญิงนั้นเจ้าอารมณ์ ไม่มั่นคง ไม่เด็ดขาด ผู้หญิงไม่แข็งแกร่งพอ ผู้หญิงไม่มีความรู้เรื่องการบริหารดีเท่าผู้ชาย ฯลฯ รวมไปถึงความกดดันที่ผู้นำผู้หญิงต้องพยายามพิสูจน์ตัวเองมากกว่าผู้นำผู้ชาย เพื่อให้ทุกคนในองค์กร (หรือแม้แต่ระดับประเทศ) ยอมรับ Abbie Griffith Oliver ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก Georgia State University ทำงานวิจัยสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันพบว่าเมื่อพูดถึง “ผู้นำที่พวกเขาชื่นชม” คนจำนวน 80% จะนึกถึงผู้ชาย และเมื่อ Abbie Griffith Oliver ถามนักศึกษาในชั้นเรียนว่าคิดอย่างไรกับผู้นำผู้หญิง มีเพียง 5% เท่านั้นที่พอจะนึกถึงผู้นำหญิงออกสักคน แน่นอนว่ามีผู้นำหญิงในหลายองค์กรที่ทำให้เห็นว่าผู้หญิงเองก็สามารถบริหารจัดการได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย แต่เมื่อ COVID-19 ที่ถือเป็นวิกฤตการณ์สำคัญระดับโลกมาเยือน ทั้งโลกต่างได้เห็นบทบาทของผู้นำหญิงชัดเจนขึ้น เนื่องจากหลายประเทศที่มีผู้นำหญิงเป็นผู้บริหารนั้นสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือแม้แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ผู้นำหญิงจากหลายประเทศถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง ทั้ง Angela Merkel จาก Germany, Jacinda Ardern จาก