Business

ทำงานแทบตาย สุดท้ายจ่ายภาษีหมด

By: Lady P. March 15, 2015

พูดถึงภาษี ทุกคนมีหน้าที่ที่ต้องชำระตามกฎหมาย การจ่ายภาษีเป็นอีกหนึ่งวิธีแสดงความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง แต่เกือบเป็นลมเมื่อรู้ว่าต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีกหลายหมี่นบาท ทั้งที่ตอนแรกคิดว่าจะได้คืนภาษีจากค่าลดหย่อนต่างๆ

หากคุณเป็นคนที่มีรายได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานประจำและเป็นฟรีแลนซ์รับงานนอกด้วย เรามีประสบการณ์ความผิดพลาดจากการไม่ได้วางแผนการจ่ายภาษีมาแชร์ เพื่อให้คุณระวังและเตรียมพร้อมวางแผนการจ่ายภาษีล่วงหน้า จะได้ไม่ต้องหน้ามืดเวลาที่รู้ว่า การโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ไม่ใช่จบแล้ว  แต่คุณอาจต้องยื่นเสียภาษีเพิ่มอีกถ้ารายได้สูงเกินแต่ละฐานเงินเดือนที่ระบุตามกฎหมาย

เรื่องของภาษีต้องโดนกับตนเอง ถึงจะเริ่มกระตือรือร้นศึกษาวางแผนการเงิน ต้องเกริ่นก่อนว่า  จากการทำงานประจำและทำฟรีแลนด์หารายได้พิเศษจึงทำให้ฐานภาษีไปตกอยู่ที่ฐานอัตราร้อยละ 25% โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากการไม่มีการคำนวณและวางแผนการลดหย่อนภาษี  จนในที่สุดต้องโดนยื่นจ่ายภาษีเพิ่มโดยที่ไม่ได้เตรียมใจไว้

บทความนี้ขอแชร์เป็นอุทาหรณ์ให้คนที่ตั้งใจหาเงินจนลืมวางแผนการเงินนะคะ   ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่อยากแบ่งปันให้ทุกท่านได้ระวังและเตรียมการวางแผนการเงินของตนเองให้ดี เพื่อไม่ให้ต้องช๊อคกับการยื่นจ่ายภาษีเพิ่มโดยที่ไม่ได้เตรียมใจไว้ค่ะ

“อย่าลืมหมั่นคำนวณรายรับที่เราจะได้จากการทำงานทั้งปี”

หากคุณเป็นคนที่มีรายรับหลายทาง  หมั่นคอยอัพเดทรายรับ และยอดหักภาษี ณ ที่จ่ายของคุณให้ดี  แนะนำให้ทำเป็นตารางเก็บไว้ เพื่อง่ายต่อการคำนวณภาษี และเพื่อเป็นการจัดระเบียบการวางแผนการเงินของตนเองด้วย

taxRemark: ตารางนี้เป็นตัวอย่างรายรับเพื่อประกอบการเล่าเรื่องเท่านั้น ท่านสามารถปรับตารางการเงินตามลักษณะงานและการเงินให้เหมาะสมกับท่านเอง

 “มีรายรับทั้งเงินเดือน และเป็นฟรีแลนซ์ด้วย”

เมื่อคุณมีรายรับทั้งเงินเดือนและจากการเป็นฟรีแลนซ์การยื่นภาษี  สามารถยื่น ภงด 90/91 โดยแบ่งค่าใช้จ่ายเป็น 2 ช่อง ตามมาตรา 40(1) เช่นเงินเดือน จะถูกหักภาษีตามอัตราก้าวหน้า และ 40(2) เช่น งานฟรีแลนด์ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%  หากคุณยังมีรายได้อื่นๆอีกลองตรวจสอบเรื่องรายได้พึงประเมินของคุณให้ดีด้วยนะคะ

tax2

 

“หมั่นเช็ครายรับและคำนวณฐานภาษีของคุณให้ดี”

หากคุณเป็นฟรีแลนซ์ มีรายรับหลายทาง อย่าลืมทำตาราง รายรับ ของคุณให้ดีๆ เพราะคุณอาจมีรายรับมากจนคุณอาจลืมคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมด  โดยคุณสามารถหาข้อมูลเรื่องภาษีได้ที่ กรมสรรพภากร

โดยจากตัวอย่างรายรับด้านบน  ฐานภาษีจะไปตกอยู่ที่ร้อยละ 25% ซึ่งยอดภาษีที่ต้องยื่นจ่ายกรมสรรพภากรอยู่ที่ประมาณ 250,000 บาท

tax11

“หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะไม่โดนหักอีก”

คิดมาตลอดว่า หักภาษี 3% แล้ว ก็สบาย รอดตัว ไม่ต้องโดนหักภาษีอีกแล้ว  ผิดค่ะ เพราะ 3% นี่เป็นการหัก ณ ที่จ่ายเบื้องต้นเท่านั้น  หากฐานภาษีเราสูง เราก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มนะคะ

“ย่ิงลดหย่อนได้มาก ภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มจะลดลง”

เอาหล่ะจากตอนแรกที่คิดว่าจะได้คืนภาษีจากการซื้อพวก LTF  ตอนนี้เราต้องเอาลองคำนวณเงินที่จะลดหย่อนภาษีทั้งหมดที่มี  เพื่อมาลดจำนวนภาษีที่ต้องยื่นจ่ายเพิ่ม

หลังจากเจอกรณียื่นจ่ายภาษีเพิ่ม ทำให้ปีนี้ต้องมีการวางแผนการลดหย่อนภาษีให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น LTF/RMF, เงินบริจาค Profident Fund, เงินประกันสังคม ซื้อให้เต็มแม๊คที่เขากำหนดเพื่อการลดหย่อนที่คุ้มค่า

ตามตารางด้านล่างจะบอกว่าคุณสามารถหักลดหย่อนค่าอะไรได้บ้าง

tax6

“ยื่นจ่ายคือภาษี มีระบบผ่อนชำระด้วยนะ”

เป็นความโชคดีที่มีรายการหักค่าลดหย่อนภาษีจึงไม่ต้องจ่ายคืนภาษีถึงเกือบสองแสน  หลังจากหักค่าลดหย่อนจะเหลือเงินที่ต้องจ่ายคืนภาษีให้กับรัฐบาลอีกจำนวนหกหมื่นกว่าบาท  จากกรณีนี้ทำให้รู้ว่าเราสามารถให้ผ่อนชำระภาษีได้ 0% 3 เดือน ด้วยนะคะ

tax10

 

สุดท้ายนี้  อยากบอกทุกท่านว่าหน้าที่การเสียภาษีเป็นของเราประชาชนคนไทยทุกท่าน อย่างไรก็ต้องชำระตามกฎหมายนะคะ

สิ่งที่เราควรทำให้ดีที่สุดคือการวางแผนการเงินของตนเองไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องภาษี การออมเงิน เพราะหากคุณไม่วางแผนการเงินของตนเอง  เวลาเกิดปัญหาเงินช๊อต หรือต้องเสียเงินอย่างไม่ได้เตรียมใจอาจทำให้คุณต้องทุกข์ใจทำอะไรไม่ถูกได้  อย่างกรณีนี้เป็นอีกกรณีที่ทำให้เรารู้เรื่องภาษีมากขึ้น และหวังว่าบทความนี้จะเป็นทำขึ้นเพื่อเป็นอุทาหรณ์แด่ฟรีแลนด์ คนขยันหางานพิเศษตั้งใจทำงานนะคะ

อ่านความรู้เพิ่มเติมเรื่องภาษีได้ที่ ความรู้เรื่องภาษีจากกรมสรรพภากร

ติดตามเรื่องการลงทุนได้ที่ งงหุ้น 

Lady P.
WRITER: Lady P.
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line