Featured

ART OF ARS: คุยกับภัทร ‘EXAGGERATE’ ศิลป์บนเรือนร่างผ่านเลนส์ที่รอคนพิสูจน์โดยไม่ “พูดเกินจริง”

By: anonymK March 16, 2020

ไม่รู้ว่าตั้งแต่เมื่อไรที่สิทธิในเรือนร่างเรากลายเป็นของสังคม แม้ไม่ใช่ด้วยกฎหมายกำหนดแต่ก็ด้วยไม้บรรทัดอีกชิ้นจากสายตาผู้คนรอบข้าง สำหรับผู้หญิงคงมีเรื่องโป๊เปลือยกำกับส่วนผู้ชายมักเป็นเรื่องรอยสักที่นำมาตีตราว่าเป็นคนไม่น่าวางใจ เป็นนักเลงหัวไม้ สารพัดความหมายเชิงลบมาผสมกัน

“Exaggerate” คือ Solo Exhibition หนึ่งที่กำลังจัดแสดงที่ Green Lantern Gallery ใกล้ BTS ทองหล่อ เล่าเรื่องราวของศิลปะบนร่างกายทั้งหญิงและชายผ่านภาพถ่าย เพื่อดึงให้เรากลับมาคิด

คิดถึงความหมายที่แท้จริงผ่านศิลปะบนร่างกายที่เปลือยเปล่า

คิดถึงลวดลายสักยันต์โบราณและความคิดคำนึงที่แท้จริงของชายคนหนึ่งที่มีอักขระจารทั่วร่างไปจนถึงกระหม่อม บันทึกช่วงเวลาเปิดเผยเนื้อหนัง ไร้เสื้อผ้าและเส้นผมปิดบังผ่านชัตเตอร์

เรื่องราวเหล่านี้มีความหมายอย่างไร แบบไหนที่ว่าเกินจริง (Exaggerate)” แบบไหนที่เป็นของจริง คงไม่มีใครพูดถึงมันได้ดีกว่าเจ้าของผลงานชิ้นนี้ ภัทร – พงศ์ธวัช พยุงชัยธนานนท์ ชายที่มีอาชีพช่างภาพอิสระจบการศึกษาด้านศิลปะการถ่ายภาพจากวิทยาลัยเพาะช่าง ที่หลายคนอาจคุ้นเคยหน้าตาของเขาจากการจำหน่ายกล้องฟิล์ม เพราะเขาคือเจ้าของ House of Film Camera

 

สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น ศิลปะที่รอการพิสูจน์

เราบุกมานั่งคุยกับภัทรถึงสตูดิโอส่วนตัวของเขา หลังจากดูงานนิทรรศการเดี่ยวของเขาจบลง ภาพผู้ชายท่าทีสุภาพที่มีรอยสักหลายจุดบนเนื้อตัว ทั้งท่อนแขนและขา ชวนให้เราคิดถึงภาพที่จัดแสดงในห้องสีแดงอีกครั้ง จนเราต้องเอ่ยถามคอนเซ็ปต์งานที่เขาต้องการสื่อในนิทรรศการครั้งนี้

คอนเซ็ปต์คือ Exagerate หรือว่าเกินจริง’ เกินจริงที่แปลว่าพูดเกินความจริงที่เห็น และเกินจริงที่เป็นเรื่องเหนือจริงผสมกัน อย่างหนึ่งในผลงานนั้นจะเป็นงานสักยันต์สมัยโบราณ แม้สมัยนี้ก็คนจะสักกันแพร่หลายแล้ว และคนส่วนมากอาจมองเฉพาะเรื่องแฟชั่นอยู่ อีกมุมยังมีคนบางกลุ่มเขาก็มองด้วยความศรัทธาของเขา

ผมเห็นว่ามีคนเชื่อมั่นและศรัทธาเรื่องนี้ เราอยากนำเสนอผลงานอีกด้านว่าบางคนมีความเชื่อความศรัทธาในการสักที่มากถึงขนาดสักได้ทั้งตัว หรือสักได้ถึงศีรษะเลย มันใช้ความอดทน ทนเจ็บ ทนกับสิ่งต่าง มามากมาย และความเชื่อ เชื่อในรอยสัก เชื่อในศาสตร์ไสยศาสตร์ เชื่อในศิลปะอาคม วิชาอาคมต่าง โดยนำมาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ศิลปะสักยันต์รูปแบบโบราณยังมีให้เห็นตลอดตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ต่อไปในอนาคตผมเชื่อว่าศิลปะสักยันต์นี้ก็จะยังอยู่

พอดูแล้วมันก็ไม่ใช่เรื่องงมงาย บางกลุ่มเขายังมีความเชื่อในเรื่องน้ีจริง ๆ  แม้มันจะคลุมเครือด้วยเรื่องราว มันยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าลายสักยันต์จะช่วยคุ้มครองให้เราอึด คงกระพัน หรือทำอะไรไม่ผิดพลาดเลยในชีวิต แต่อีกแง่อาจจะทำให้เรามีสติก็ได้ เมื่อเรามีสิ่งที่ยึดมั่นมาก แล้ว เวลาเราทำอะไรผิดไป พอเรามาเห็น มันจะเตือนใจ ทำให้รู้สึกว่าเราอย่าทำอะไรผิด ตามความเชื่อส่วนบุคคลของคนที่สัก

ด้านคอนเซ็ปต์ศิลปะบนเรือนร่างเริ่มต้นจากความหลงใหลด้านกายวิภาคของเขาตั้งแต่สมัยเรียนที่เพาะช่าง ภัทรชอบภาพสรีระของคน กล้ามเนื้อต่าง เขาถ่ายภาพนู้ดมาหลายปีแต่รูปแบบการนำเสนอที่ยากต่อกรอบสังคม เพราะภาพนู้ดเหล่านั้นมักถูกตีความว่าเป็นภาพลามก อนาจารเสมอ ทำให้ยากต่อการเผยแพร่

ภาพบอดี้เพนต์ของหญิงสาวร่างเปลือยเปล่าที่อยู่นอกสถานที่ ความรู้สึกสดใสคือสิ่งแรกที่เราสัมผัสทันทีที่มองเห็น

เขาจึงท้าทายเรื่องว่าเกินจริงที่ผู้คนพูดถึงเกี่ยวกับผลงานเหล่านั้นด้วยการนำเสนอความงามอีกด้าน ที่ไม่ใช้อาภรณ์คลุมตามร่างกายแบบ แต่เป็นศิลปะการเพนต์บนร่างกายเปลือยเพื่อเล่าเรื่องความงามอีกด้าน เขาทุ่มเทเพนต์ Texture ต่าง ทั้งกากเพชร สี ฯลฯ ให้มันดูแปลก ดูเด้ง ดูสว่าง ดูเปล่งขึ้นมา สร้างประสบการณ์ใหม่ให้คนที่ชม จากนั้นก็นำมันมาผสมรวมเข้ากับภาพถ่าย จัดแสงและกดชัตเตอร์เพื่อนำมาเผยแพร่อีกครั้งในที่สาธารณะ

เราก็นำภาพนู้ดมาประยุกต์เป็นบอดี้เพนต์ เพราะว่าภาพนู้ดบางคนอาจจะเห็นว่ามันดูเปลือยมันดูลามก และเผยแพร่ได้ยากในสังคมครับ ภาพเปลือยล้วน บางทีถ้าถ่ายมาแล้วผิดจุดประสงค์นิดนึงมันจะโดนตีค่ากันแบบผิด เราเลยสนใจนำแบบที่เป็นนู้ดมาทำบอดี้เพนต์ เอาวัตถุดิบ เช่น สี กากเพชร หรือสิ่งที่ทำเอฟเฟ็กต์กับเรือนร่างให้สร้างสีสันขึ้นมา

ผมนำกากเพชร มาประยุกต์กับเรือนร่าง มาถมบนเรือนร่างลงไปให้ทึบหมดเลย แล้วพอมาเจอแสงเงามันก็ดูสวยงามขึ้นมา น่าดูมากขึ้น เพิ่มอารมณ์โรแมนติกหรือสดใสสวยงามได้หลายแบบในภาพขึ้นอยู่กับคนมองครับ

ทุกอย่างที่ผมนำเสนอเป็นศิลปะบนเรือนร่าง แต่มีกลิ่นของความเหนือจริง จึงถอดมาเป็น Exaggerate ‘ว่าเกินจริง’ ที่หมายถึง มันคือเกี่ยวกับความเกินจริงที่หลายคนยังไม่ได้เข้าใจ ไม่ได้พิสูจน์ อาจจะเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ก็ได้ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์บนเรือนร่างที่ผมกำลังนำเสนออยู่ แล้วพอเป็นเรื่องของภาพนู้ด ภาพเปลือย ที่เราเอามาพัฒนาเป็นบอดี้เพนต์ เวลาคนเห็นนู้ด ก็ตีความหมายไปในเรื่องโป๊ เป็นลามก เขาก็ยังไม่ได้พิสูจน์ว่ามันมีหลายกระบวนการนำเสนอว่าทำอย่างไรให้ภาพนู้ดมีความหมายขึ้นมา

 

กามารมณ์ผ่านเลนส์ เปลื้องผ้าตรงหน้าไม่ได้แปลว่าจะมีอารมณ์ร่วม

เวลาถ่ายนางแบบนู้ดนี่เราจัดการกับอารมณ์อย่างไร เรามีอารมณ์ระหว่างทำงานหรือเปล่า ?”

คำถามนี้จะว่าเสียมารยาทสำหรับคนทำงานก็ได้ แต่คงเป็นประเด็นที่ทั้งพวกเราทั้งชายและหญิงเวลาเห็นภาพนู้ดทีไรต้องรู้สึกสงสัยเสมอว่าหน้าเซตการทำงานมันเป็นอย่างไรกันแน่ และคำตอบที่ภัทรให้เราค่อนข้างน่าสนใจ เพราะแม้เขาจะถ่ายภาพนู้ดมาไม่น้อย แต่ก็ยืนยันว่าความเชิญชวน อารมณ์กระตุ้นกำหนัด มันถูกกำหนดไว้แล้วตั้งแต่ก่อนกดชัตเตอร์

จริง พูดถึงเรื่องแบบนี้ ถ้าเป็นงานของผม ผมเห็นแล้วไม่เกิดอารมณ์ ถึงจะเป็นนู้ดที่อยู่ตรงหน้า แต่ถ้ามีจุดประสงค์ว่าเราจะทำอะไร ผมเห็นแล้วผมก็อยากจะทำงานให้มันเสร็จอย่างที่ผมคิด แล้วก็ถ่ายไป

ส่วนภาพ อย่างเราอยากสื่อให้เห็นความเป็นศิลปะมาก่อนความเปลือยที่ทำให้เกิดอารมณ์ ตั้งใจสื่อสารภาพตรงนั้นให้ชัดกว่า ให้ดูมีอะไรมากกว่าภาพนู้ดปกติ เราก็เลือกถ่ายทอดตรงนั้นออกมาให้คนรับรู้ ซึ่งมันต่างจากการถ่ายแบบ sexy ที่จะมีเรื่องทางอารมณ์เข้ามาเกี่ยวเยอะแล้ว หรือถ่ายแบบอีโรติก ที่เขาโชว์ความเป็นศิลปะ แต่ว่าเปลือยให้เห็นเต็ม ต่างจากของเราที่ใช้โพสต์หลบมุม หรือท่าโยคะให้มันเห็นบอดี้ เห็นเรือนร่างในรูปทรง ถึงแม้มีเห็นบ้าง แต่พอเห็นแล้วก็แทบไม่ทำให้คิดถึงอะไรเก่า บนเรือนร่างอยู่เลย 

การนำเสนอภาพนู้ดด้วยการประยุกต์กลิ่นอายประติมากรรมเข้ามาผสมผสาน แม้เปลือยแต่เมื่อจัดวางก็ไม่ได้รู้สึกถึงความลามก

ดังนั้น เมื่อคนมอง เขาอาจจะไม่ได้มองว่ามันเป็นนู้ดลามก หลายคนก็มองเห็นว่ามันสวย เออว่ะ มันเป็นนู้ดแต่ว่ามันดูมีอะไรที่ทำให้เราไม่มองว่ามันเป็นโป๊ เปลือย หรือทำให้เรามีอารมณ์ทางเพศ

 

BENEATH HIS SKIN

ปลายทางมักมาจากจุดเริ่มต้น เราถามความรู้สึกของเขาในฐานะของเจ้าของผลงานไปแล้ว จึงถามต่อในฐานะของคนที่เคยผิวเกลี้ยงกับการมีรอยสักบนร่างบ้างว่าเขารู้สึกอย่างไร แตกต่างจากทัศนคติที่เขาตั้งใจเล่าบ้างหรือเปล่า ?

1. ก่อนจะมีรอยสักเคยกลัวคนมีรอยสักบ้างหรือเปล่า

ไม่กลัว ไม่กลัวรอยสักเลย ก็เห็นว่าสวยดีครับผม ตอนแรก สมัยยังไม่สักเรารู้สึกว่ามันสวยดีนะ เท่ดี

2. ที่มาของรอยสักรอยแรกและรอยสักอื่น บนร่างกาย

รอยสักรอยแรกที่ผมทำน่าจะช่วง 15-16 มั้งครับ สักเล่น สักกับเพื่อน ตอนแรกเราเห็นว่ามันเท่ ยังไม่ได้คิดถึงความหมายอะไรมาก สักเล่น สักเพื่อสวยงาม เพื่อนสักให้ เหมือนจิ้มกันเล่น แล้วพอตอนหลังก็ไปสักดี ตามร้านเป็นเรื่องเป็นราว

ช่วงหลังที่มาสักเพิ่มมากขึ้นในสมัยที่โตขึ้น ประมาณวัยรุ่น 17-18 ก็มาสักเพิ่มขึ้น เราเริ่มชอบ เพราะมันสวย แต่พอผ่านไปเรื่อย ก็มีลายต่อ มา มันเริ่มมีความหมายมากขึ้นเรื่อย กลายเป็นสักรูปที่เราชอบ หรือสิ่งที่เราศรัทธาลงไปบนร่างกาย

3. การสักกับการปกปิด ลวดลายที่ขยายพื้นที่ในร่มผ้าให้กว้างขึ้นกับมุมมองของผู้ใหญ่และสังคมรอบข้าง

แรก ที่สักจะใส่เสื้อแขนยาวบ่อย แต่บางทีมันร้อนมาก ผมก็ใส่แขนสั้นบ้าง เดินแบบไม่แคร์ใคร บางคนเขาก็ไม่สนใจอะไรครับ ถ้าเราโฟกัสคนอื่นว่าทำไมเขามอง ทำไมเขามองเราแปลก เห็นว่าเราไม่ดีหรือเปล่า เราก็เครียดเอง

ตอนแรก ก็มีบ้าง เฮ้ย! มองอะไร ทำไมมองแปลก บางคนผวาก็มี แต่เราไม่ใส่ใจกับคนรอบข้าง เขามอง เขารู้สึก ก็ช่างเขา ผมก็ไม่ได้แคร์ ไม่ได้รู้สึกอะไร หลัง มาก็สบายใจขึ้นเพราะว่าเราก็ไม่ได้คิดว่าเขามองเราไม่ดีหรอก เขาแค่มองว่าไอ้นี่สักด้วยเว้ย ไม่เกร่อแบบคนปกติคนทั่วไปแต่สมัยนี้มันก็เยอะแล้ว ใครก็สักกันทั้งนั้น เยอะมาก แพร่หลาย ผมว่าผู้ใหญ่ก็น่าจะยอมรับกันได้มากขึ้นนะครับ

4. รอยสักที่เรามี มีกี่จุด และมีความหมายอย่างไร

ประปรายครับ แขน ขา ที่หลังก็มีบ้างเหมือนกันครับ ก่อนหน้านั้นมีสักเล่นกับเพื่อน ปี 2 ก็สักรูปกล้องเป็นกล้องถ่ายรูปเพราะผมชอบแล้วก็สักรูปพ่อแก่ สักรูปเสือ ปีเกิดผมปีขาล ก็มีความหมายขึ้นมา (นี่จะใช่รอยสักสุดท้ายไหม?) ยังหรอกครับ ก็ยังไม่เสร็จเดี๋ยวก็ไปทำอีกครับผม เดี๋ยวก็มีไปสักอีก

 

Don’t Judge Their Souls by Their Skin

พื้นผิวมันฉาบฉวย บางอย่างเคลือบน้ำผึ้งน้ำตาล แต่ข้างในยังรสเฝื่อนฝาดกินไม่ลง หนังสือดี หน้าปกเละเทะไม่สวยสมก็มีถมไป ดังนั้นการตัดสินเนื้อในของคนด้วยผิวหนังและลวดลายที่เขาสลักบนเรือนร่างอาจจะเป็นความคิดปัจจุบันที่เราไม่ทันย้อนดูเกินไปหน่อย

เราคิดว่าสุดท้ายแล้ว สิ่งที่ได้จากนิทรรศการนี้คือการมองให้ลึก มองศิลปะและความสวยงามของมนุษย์ที่เราเดินผ่านและสัมพันธ์ด้วยอย่างเข้าใจ ถึงจะเลี่ยงไม่ได้ที่อดกำหนดความรู้สึกจากการเห็นรูปลักษณ์ภายนอกและความแตกต่างของคนที่ต่างจากเรา แต่ทันทีที่รู้ ถ้าเราแยกความรู้สึกออกจากอคติ เราจะมองเห็นเนื้อแท้ด้านในของความเป็นมนุษย์ที่ไม่แตกต่างกัน

จริง แล้วรอยสักหรือศิลปะบนร่างกายมันไม่ได้ดูเลวร้ายหรือโหดร้ายอะไรครับ มันก็เป็นเหมือนภาพวาดภาพเขียน แต่เราเปลี่ยนจากบนกระดาษมาบันทึกบนร่างกายได้ เปลี่ยนเป็นศิลปะบนเรือนร่างเรา ให้มันดูมีความหมายในแต่ละอย่างที่เราอยากจะได้ ที่เราคิดไว้

มันไม่ได้สร้างผลกระทบอะไรกับสังคมมาก มันก็แค่เป็นรอยสักที่ไม่ได้ทำร้ายใคร

เรื่องนี้มันไม่มีผลกระทบอะไรกับคนที่ชอบสักเท่าไร นัก แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบรอยสักอาจจะมีความคิดเคลือบแคลงนิดนึง เอ๊ะคนนี้ต้องน่ากลัว ต้องทำผิดอะไรมาสักอย่าง ชอบความรุนแรงอะไรมาหรือเปล่า ทั้งที่จริง เขาอาจจะแค่มีความชอบส่วนตัว หรือมีความศรัทธา

ถึงเวลาพิสูจน์ความรู้สึก ศรัทธา และความเข้าใจด้วยสายตาของคุณเอง

 

นิทรรศการ “Exaggerate” จัดแสดงระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ – 29 มีนาคม 2563

สถานที่: Green Lantern Gallery ใกล้ BTS สถานีทองหล่อ

เปิดปิด เวลา: 13.00 – 22.00 .

ภาพประกอบผลงาน: Pongtawat Paeungchaitananont

PHOTOGRAPHER: Warynthorn Buratachwatanasiri

 

anonymK
WRITER: anonymK
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line