Life

พกหมอนกันได้เลย!! การงีบยามบ่ายช่วยให้เพิ่งพลังสมอง และความคิดสร้างสรรค์ได้

By: HYENA June 30, 2016

หลังจากผ่านการทานอาหารเที่ยง และกลับมานั่งทำงานที่โต้ะทำงานของคุณ คุณเคยรู้สึกเริ่มสูญเสียสมาธิกับสิ่งที่คุณทำอยู่รึเปล่า? คุณอาจจะรู้สึกเวลามันช่างผ่านไปช้า และเริ่มที่จะรู้สึกเบื่อหน่ายอะไรบางอย่าง อย่างไม่รู้สาเหตุจนอาจจะทำให้คุณเริ่มง่วงจนนั่งสับผงก จริงๆ แล้ว คุณรู้หรือไม่ว่า อาการง่วงนอนในตอนบ่ายนั้นเป็นเรื่องที่ดีอย่างนึง ที่ร่างกายกำลังจะบอกให้ไปนอนงีบสักหน่อย

160630-napping-boosts-brain-power-1

วันนี้เราจึงจะมาพูดถึงการ “งีบหลับ” ที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิด และคิดว่าการงีบเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์กัน เพราะว่าที่จริงการงีบนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายอย่างที่คุณคิดไม่ถึง ยกตัวอย่างเช่นการงีบหลับสามารถช่วยบำรุงรักษาระดับฮอร์โมนในร่างกาย ซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ และยังช่วยทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นอีกด้วย การงีบหลับในตอนบ่ายยังทำให้คุณมีอายุไขที่ยาวนานขึ้น มีใบหน้าที่ดูอ่อนกว่าวัย ที่สำคัญมากที่สุดสำหรับคนทำงานก็คือว่า มันจะช่วยเติมพลังสมองของคุณ ซึ่งจะทำให้สมองคุณตื่นตัวมากขึ้น เก็บความจำได้ดีขึ้น และมีความคิดสร้างสรรคืมากขึ้นหลังจากที่คุณเพิ่งตื่นขึ้นมาจากการงีบหลับในยามบ่าย

160630-napping-boosts-brain-power-2

ศาสตราจารย์ Jim Home จากมหาวิทยาลัย Loughborough เคยกล่าวไว้ว่า “แท้จริงแล้วร่างกายมนุษย์ถูกออกแบบให้มีการนอน 2 ครั้งใน 1 วัน ครั้งแรกก็คือตอนบ่าย และครั้งที่ 2 คือตอนกลางคืน” นอกจากนี้ยังมีบทความจากหนังสือพิมพ์ชื่อดังอย่าง The New York Times ก็เคยสังเกตุการงีบเอาไว้เหมือนกันว่า “ประชากรส่วนใหญ่ในโลกมักจะมีอาการง่วง หรือมักจะงีบหลับในเวลาเดียวกัน นั่นคือตอนหลังอาหารเที่ยงประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้งๆ ที่ในแต่ละประเทศมีเวลาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นอย่างนี้แทบจะทุกประเทศตั้งแต่จีน อินเดีย หรือแม้กระทั่งประเทศในทวีปยุ
โรป”

160630-napping-boosts-brain-power-3

หลังฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า แม้จะเป็นการงีบในระยะเวลาสั้นๆ ก็มีส่วนสำคัญที่จะเพิ่มพลังปัญญาให้กับคน คนนั้นได้จริงๆ”  Jonathan Friedman แพทยศาสตรบัณฑิต และผู้อำนวยการของสถานบัน  The Texas Brain and Spine Institute ได้อธิบายข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเอาไว้ว่า “การเข้าใจหลักการทำงานของการงีบหลับที่ส่งผลกับสมองนี้ ในวันนึงเมื่อเราเข้าใจมันจริงๆ อย่างถ่องแท้แล้ว เราอาจจะสามารถนำการศึกษานี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมาย และไขความลับการทำงานของสมองได้อีกหลายอย่างเลยทีเดียว” ทีนี้เรามาดูกันว่า การ “งีบหลับ” นั้นมีประโชยน์อะไรต่อร่างกายของเราบ้างดีกว่า

160630-napping-boosts-brain-power-5

การงีบหลับช่วยเพิ่มพลังสมองได้

การงีบหลับเป็นช่วยเวลาที่สมองจะเคลียร์พื้นที่ และข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อให้พร้อมที่จะรับ และจัดเก็บข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ ตามที่นักวิจัยในประเทศ สหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า Dr Matthew Walker ซึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่ University of California เคยได้ทำการวิจัยนี้เอาไว้ เค้าได้เสนอแนวคิดที่ว่า การนอนหลับ 1 ชั่วโมง สามารถฟื้นฟูสภาพจิตใจ และเรียกคือพลังสมอง อีกทั้งยังทำให้คุณฉลาดขึ้นได้จริงๆ

 

“Sleep not only rights the wrong of prolonged wakefulness but, at a neurocognitive level, it moves you beyond where you were before you took a nap.” – Dr. Matthew Walker

160630-napping-boosts-brain-power-4

การงีบหลับ และ ความคิดสร้างสรรค์

งานวิจัยล่าสุดที่ถูกนำเสนอขึ้นในที่ประชุมของ การประชุมประจำปีของนักประสาทวิทยา แสดงผลจากการทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 15 คน จากทั้งหมด โดยใน 15 คนที่ถูกแบ่งมานี้ทุกคนงีบหลับในช่วงบ่าย และเมื่อตื่นขึ้นมา นักวิจัยจึงได้ทำการตรวจสอบการทำงานของสมอง ผลปรากฏว่า สมองซีกขวาซึ่งเป็นส่วนที่เป็นแหล่งกำเนิดความคิดสร้างสรรค์นั้น ถูกกระตุ้น และมีทำงานที่อย่างดีเยี่ยม แตกต่างจากคนที่ไม่ได้งีบหลับซึ่งสมองไม่มีการทำงานในด้านของความคิดสร้างสรรค์เลยแม้แต่นิดเดียว โดยผู้ทำการวิจัยนี้ก็คือ Andrei Medvedev Ph.D. ซึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ใน Georgetown University นั่นเอง

“The right side of the brain was better integrated” –  Andrei Medvedev Ph.D.

 

ผลสรุปแล้ว การงีบหลับมีผลบวกกับสมอง และส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกหลายที่ แต่ที่จะเห็นผลได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือ เรื่องของความจำ เรื่องของสมาธิ และความคิดสร้างสรรค์ ที่จะกลับมาทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดหลังจากที่คุณตื่นขึ้นมาจากการงีบหลับในช่วยบ่ายที่ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ถ้าคุณเริ่มรู้สึกอึน ไม่มีสมาธิ และง่วงนอนในตอนบ่าย เราอยากให้คุณลอง “งีบหลับ” เป็นช่วงเวลาสั้นๆ สัก 1 ชั่วโมง แล้วให้คุณลองสังเกตุดูว่า มีอะไรบ้างในร่างกายของคุณที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น กว่าก่อนหน้านี้ที่คุณไม่เคยงีบหลับตอนบ่ายบ้างรึเปลา?

SOURCE

 

HYENA
WRITER: HYENA
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line