หลังห่างหายจากการส่งผลงานเข้าประกวดมา1 ปีเต็มๆ ลีโอเบอร์เนทท์ ประเทศไทย กลับมาผงาดอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง คว้ารางวัลเอเจนซี่ยอดเยี่ยมแห่งปี (Agency Of The Year) พร้อมรางวัลดิจิตอลเอเจนซี่ยอดเยี่ยม (Digital Agency of The Year) และอีก 39 รางวัลบนเวทีประกวดแอดแมน อวอร์ด ตอกย้ำภาพความสำเร็จจากโซลูชั่นธุรกิจที่ ‘สงกรานต์ เศรษฐสมภพ’ ประธานกรรมการบริหารเคยประกาศไว้เมื่อปี 2015 ว่าลีโอเบอร์เนทท์ คือ ‘นักแก้ปัญหาทางธุรกิจ’ หรือที่เรียกว่า Creativity for Business Solution นำเสนอพลังความคิดสร้างสรรค์จากคนคุณภาพ ตอบโจทย์ทุกปัญหาธุรกิจลูกค้าอย่างครบวงจร นายสมพัฒน์ ทฤษฎิคุณ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายสร้างสรรค์ เดอะ ลีโอ เบอร์เนทท์ กรุ๊ป ประเทศไทย (The Leo Burnett Group Thailand) เปิดใจถึงเบื้องหลังความสำเร็จจากงานประกวด แอดแมน อวอร์ด แอนด์ ซิมโปเซี่ยม 2018” (Adman Awards
ผู้ชายอย่างเราลืมตาตื่นขึ้นมาในแต่ละวันต้องเผชิญกับการงานที่เรารัก แถมพ่วงมาด้วยปัญหา อุปสรรคไม่ค่อยน่ารักทุกรูปแบบ แม้จะเป็นแบบนั้นเราก็พร้อมตื่นมาพุ่งชนฟันฝ่าทุกปัญหาเรื่องงานไม่หยุด ตัวเนื้องานก็หนักหนาสาหัสมากพออยู่แล้ว แต่หลาย ๆ ครั้งอุปสรรคก็มาในรูปแบบคำหวานหรือคำพูดจากคนในองค์กรที่เหมือนจะดี แต่จริง ๆ มันคือยาพิษที่กัดกร่อนเราจากภายในอยู่ทุกวันโดยที่เราไม่รู้ตัว อย่าปล่อยให้คำพูดจากคนในองค์กรเหล่านี้ค่อย ๆ ปลิดชีวิตและบ่อนทำลายพลังในการลุยงานของเรา รู้เท่าทันตั้งแต่วันนี้ แล้วหาทางรับมือให้ดี เพราะบางทีคำพูดหวานหู แต่ใครจะรู้ว่าเบื้องหลังมันร้ายกว่าที่คิด “เอาน่า ช่วยกันไว้ ที่นี่เราอยู่กันแบบครอบครัว” คำว่าครอบครัวคือคำพูดเชิงบวกสำหรับชาวไทยเป็นอย่างมาก เพราะมันหมายถึงความรัก ความอบอุ่น ความผูกพันแบบที่ความสัมพันธ์รูปไหนก็ไม่อาจเทียบเทียม ถ้าเป็นการช่วยเหลือกันไปตามภาระหน้าที่รับผิดชอบของเรา มนุษย์ผู้นั้นก็คงไม่ต้องอ้างคำว่า “ครอบครัว” เพื่อให้เราลงแรงช่วยเหลือ รู้ไว้เลยว่าเมื่อไหร่ที่องค์กรเริ่มอ้างคำว่าครอบครัวนั่นแปลว่าเขากำลังเรียกร้องอะไรที่นอกเหนือจากความรับผิดชอบเรานั่นเอง เมื่อเกิดวิกฤตหรือช่วงงานหนักเป็นครั้งคราวแล้วเราต้องทำงานเกินเวลานั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ แต่ถ้าองค์กรไหนอ้างคำว่าครอบครัวพร่ำเพรื่อเพื่อละเมิดเวลาและความรับผิดชอบของเราโดยไม่มีการตอบแทนอย่างเป็นระบบ เมื่อนั้นคำหวานหูอย่างครอบครัว อาจจะเป็นยาพิษโดยไม่รู้ตัวก็ได้ “อย่าบ่นไปเลย ทุกคนก็เหนื่อยมากเหมือนกัน” เมื่อไหร่ที่เราเริ่มท้อ วิพากษ์วิจารณ์ปริมาณงานและเวลางานที่ดูไม่สมดุลออกมา หรือบางทียังไม่ทันบ่นเพราะมือเป็นระวิงกับทุกอย่างที่ทำตรงหน้า แล้วมีคนในองค์กรพยายามมาให้กำลังใจด้วยการบอกว่า “ทุกคนก็เหนื่อยมากเหมือนกัน” เราเองอาจจะหลงคิดว่า เออ ดีสิ บริษัทงานเยอะ ทุกคนเหนื่อยขนาดนี้ ผลประกอบการดีแน่นอน! แต่อย่าลืมว่าการทำงานยาวนาน หรือปริมาณงานที่จัดการเท่าไหร่ก็ไม่ลดลงสักที มันอาจไม่ได้หมายถึงผลประกอบการที่ดีมาก ๆ แต่อาจเป็นระบบงานที่ไร้ประสิทธิภาพ แต่คนในองค์กรไม่ยอมรับฟัง ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง
คงต้องมีสักครั้งที่เราเคยไปงานอีเวนต์ หรือเห็นฟีดในหน้าโซเชียลมีเดียโชว์งานอีเวนต์สุดเจ๋งในเมืองไทยของแบรนด์ต่าง ๆ แล้วอุทานออกมาให้กับงานคอมเมอร์เชียลเหล่านั้นว่า “เฮ้ย อย่างนี้ก็ได้เหรอ เจ๋งอ่ะ คิดได้ไงวะเนี่ย” เชื่อเถอะว่า หนึ่งในงานเหล่านั้นเป็นผลงานที่ “เบียร์-พันธวิศ ลวเรืองโชค” พ่อมดแห่งวงการอีเวนต์จากอาณาจักร Apostrophys Group เป็นผู้สร้างสรรค์อยู่เบื้องหลังแน่นอน เขาไม่เพียงเป็นนักสร้างสรรค์ประสบการณ์ชั้นยอดไม่รู้จบเท่านั้น แต่ยังเป็นเจ้าของบริษัทอื่น ๆ อีกถึง 4 แห่ง ได้แก่ Sense.S (บริษัทด้าน New media และ Interactive Media), Synonym (บริษัทตกแต่งภายในสำหรับส่งเสริมธุรกิจหรือบุคคลที่ต้องการสร้างโปรไฟล์จากที่พักอาศัย), Happening Design (บริษัทร่วมทุนรับเหมาก่อสร้าง เพื่อส่งเสริมภาคการผลิต) และ SOURCE บริษัทด้านดิจิทัล เอเจนซี่น้องใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นปลายปีนี้ ท่ามกลางยุคที่พวกเราพยายามวิ่งตามหาบางสิ่งมาต่อไฟฝัน เพิ่มพลังการทำงานที่พร้อมจะมอดดับตลอดเวลาของตัวเอง UNLOCKMEN เชื่อว่าไม่บ่อยนักที่เราจะเจอนักสร้างสรรค์ที่มีไอเดียใหม่ไม่รู้จบอยู่ในสมอง และเหลือพลังมากพอที่จะทำงานสร้างสรรค์งานด้านอื่นด้วยอย่างเขาคนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาทิ้งน้ำเสียงสบาย ๆ ว่า “ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา ผมไม่เคยคิดงานไม่ออกเลยครับ” มันก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เราบุกเข้าไปถึงออฟฟิศใหม่ Apos the HQ เพื่อพูดคุยค้นหาที่มาของไอเดียความคิดสร้างสรรค์ไม่รู้จบเหล่านั้น วัยเรียน วัย Real : จุดเริ่มต้นอาณาจักรนักสร้างประสบการณ์
“ถ้าคุณอธิบายมันให้เข้าใจง่ายไม่ได้ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ” นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกอย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เคยพูดประโยคนี้ไว้และ UNLOCKMEN ก็ขออนุญาตเห็นด้วย เพราะในโลกที่การสื่อสารคือเรื่องสำคัญไม่แพ้กับความเก่ง ความฉลาด ถ้าเราเก่งสุด ๆ หรือเข้าขั้นอัจฉริยะในทางใดทางหนึ่ง แต่ไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจสิ่งที่เรากำลังทำหรือสิ่งที่เราอยากถ่ายทอดได้ ความเก่งของเรานั้นก็อาจต้องเก็บไว้เชยชมเพียงลำพังหรือเฉพาะในกลุ่มคนที่สนใจ แต่ถ้าก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน และองค์กรของเราไม่ได้พึ่งพาแค่ความเก่งกาจของเราคนเดียว การอธิบายเรื่องยาก ๆ หรือเรื่องที่เราทำให้คนอื่นในองค์กรเข้าใจก็เป็นอีกสกิลสำคัญที่เราควรมีติดตัวไว้ เพราะแค่เก่งเพื่อบุกเดี่ยวอย่างเดียวมันอาจไม่พออีกต่อไป แต่มันต้องสามารถพูดเรื่องยาก ๆ ที่เราทำให้คนอื่นในทีมเข้าใจไปพร้อม ๆ กับเราด้วย พูดรายละเอียดเหมือนเราไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน บ่อยครั้งที่เราเชี่ยวชาญงานด้านที่เราทำแบบสุดลิ่มทิ่มประตู เมื่อถึงคราวได้รับเชิญให้ไปบรีฟ หรือพูดในที่ประชุมที่มีคนมาจากหลาย ๆ ฝ่าย เราจะเผลอพูดอะไรแบบรวบรัดเพราะเคยชินกับการพูดแบบนี้กับคนในทีมที่ทำงานด้วยกัน เช่น ถ้าเราเป็นทีมดิจิทัล มาร์เก็ตติงขององค์กร เราอาจเผลอพูดเรื่องที่ทีมมาร์เก็ตติงรู้อยู่แล้ว แต่อย่าลืมว่าในห้องประชุม อาจมีฝ่ายบัญชี ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายครีเอทีฟ ฝ่ายบริหาร ฯลฯ อยู่ด้วย ซึ่งพวกเขาอาจไม่เข้าใจขั้นตอนที่เรารวบรัดไป ดังนั้นทุกครั้งที่เราพูดอะไร อย่าคิดว่าทุกคนจะต้องรู้ทุกอย่างเหมือนที่เราและทีมเรารู้ ต่อให้มีแค่หนึ่งคนในห้องที่ไม่รู้ เราก็ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ อาจไม่จำเป็นต้องละเอียดยิบ แต่ไม่ควรข้ามขั้น ลองจินตนาการว่าถ้าเราไม่ใช่เราคนนี้ แต่เป็นเราที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องนี้มาก่อน จะฟังตัวเองเข้าใจไหม ? ถ้าไม่ก็ลองหาวิธีพูดให้ตัวเองคนที่ไม่เชี่ยวชาญเข้าใจให้ได้ ใช้คำง่าย
ไม่ว่าจะมีงานวิจัยชิ้นแล้วชิ้นเล่าออกมาพูดถึงอันตรายจากแสงสีฟ้ามากน้อยแค่ไหนก็ตาม แต่เรารู้ดีกว่าพฤติกรรมเหล่านี้คงไม่สามารถแก้ได้ทันที เพราะช่องทางสำหรับตามข่าวสารให้ทันของเราส่วนใหญ่ก็มาจากสมาร์ตโฟน แท็บเล็ตหรือจอคอมพิวเตอร์อยู่ดี ดังนั้น แทนที่จะมานั่งพูดเรื่องเดิม เรามามองอีกด้านหนึ่งอย่างพฤติกรรมการอ่านที่เปลี่ยนไปกันดีกว่า ในยุคที่คนเปิดหนังสือน้อยลง เปิดจอมากขึ้น แล้วพฤติกรรมการอ่านของเรามันเปลี่ยนไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน GO-Gulf บริษัท Web Agency ของ Dubai เขารวบรวมและนำเสนอสถิติออกมาในรูปแบบ Infographic ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ แล้ว ลองเดาตัวเลขในใจเล่น ๆ แล้วไปดูพร้อมกัน ผู้เขียนบอกได้เลยว่าข้อมูลนี้มันเป็นประโยชน์กับ Online Marketing และคนที่เขียน Content online มาก 8 วินาทีมาตรฐาน เกิน 15 วินาทีขึ้นไปถึงได้ใจ จากปี 2000 เราเคยใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 12 วินาที แต่ผ่านมา 18 ปีเราทำสถิติลดลงไปอีก 4 วินาที เหลือการใช้งานอยู่ที่ราว 8 วินาทีแล้ว และจำนวนนักท่องเว็บ 55% ใช้เวลาไม่ถึง 15 วินาทีเท่านั้นในหน้าเว็บไซต์ แต่ถ้าเว็บไซต์ไหนสามารถสร้าง
เรานั่งทำงานเดิมซ้ำ ๆ ปีแล้วปีเล่าอย่างภักดี เพื่อวันหนึ่งเจ้านายจะบอกว่า “จากนี้นี่คือตำแหน่งของปัญญาประดิษฐ์” แม้ประโยคนี้ฟังแล้วจะบัดซบมาก ๆ แต่ก็ช่วยไม่ได้ที่ความจริงมันไล่ล่าเราทุกวินาที ทั้งที่ครั้งหนึ่งเทคโนโลยีเคยทำหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยคนสำคัญของเราแท้ ๆ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 มันกลับต้อนเราทุกทิศทาง ใครที่ยังคิดภาพไม่ออกเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้เห็นง่าย ๆ ว่าระยะห่างที่เคยเว้นช่วงระหว่างความสามารถของเรากับปัญญาประดิษฐ์เหมือนกระต่ายกับเต่า เราคือกระต่ายที่โดนเต่าไล่ตามท้าทายเรื่อยมา จนวันนี้สิ่งที่มันมาท้าทายเราคือความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่การทุ่นแรงงานเหมือนที่เคย เอาเป็นว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดก็คงต้องปล่อยให้เกิด สิ่งสำคัญคือเมื่อเราเลี่ยงไม่ได้แล้วเราจะทำอย่างไรกับสิ่งที่รู้ต่อไป และ 3 สิ่งนี้ที่ UNLOCKMEN นำมาบอกเล่าต่อเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่บอกได้เลยว่ามีทั้งข้อมูลที่ชวนใจชื้นและทำให้ต้องใจหาย ใครพร้อมแล้วไปดูกัน 1. แรงคนหลบไป แรง AI สิชัวร์กว่า เรื่องแรงของมนุษย์เชื่อว่าพวกเราคงเปิดโหมดเจอไฟไหม้ ทำงานหักโหมคุ้มทุนแบบยอดมนุษย์ไม่ได้ทุกวัน ความเสถียรเรื่องแรงของ AI จึงเป็นเรื่องที่เราต้องยอมยกธงขาวให้ และเรื่องแรงนี่แหละที่มันจะส่งผลกับการปรับรูปแบบขององค์กรหลายองค์กร ด้านการลดจำนวนพนักงานวันนี้พวกเราคงเห็นแล้วว่ามีหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ ไม่ว่ามันจะเป็นงานฝืมือหรือไม่ ถ้าเขียนโปรแกรมได้ ก็มีแนวโน้มโดนเลื่อยขาเก้าอี้อย่างแน่นอน ล่าสุดมีสถิติเรื่องตัวเลขที่เห็นได้ชัดจากการสำรวจเรื่อง Future of Job 2018 ของ World’s Economic กล่าวว่า แรงงานของมนุษย์ลดลงจากเดิมถึง 23% หากนับจากวันนี้จนถึงปี 2025 (จาก
ไม่ว่าคุณจะนั่งทำงานอยู่ที่ไหน กำลังจิบกาแฟร้านดังอยู่หรือชงกาแฟกินเอง หากคุณก้าวเท้าออกจากบ้านย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่คุณจะต้องปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ไม่เราต้องเข้าไปติดต่อเขา พวกเขาก็เป็นคนเดินเข้ามาหาเราเอง และส่ิงเหล่านี้คือตัวแปรที่คุณควบคุมไม่ได้ ซึ่งบางคนในนั้นคือคนสำคัญที่จะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตของคุณไปตลอดกาล หลายครั้งที่เรานั่งฟังคนประสบความสำเร็จเล่าเรื่องราวชีวิตแล้วพบว่า นอกจากการต้องเผชิญหน้ากับปัญหาจากการลงมือทำงานด้วยตัวเองนับครั้งไม่ถ้วนเพื่อปีนป่ายจนถึงยอดเขาแห่งความสำเร็จแล้ว ผู้คนระหว่างทางก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เขาเติบโตขึ้นเช่นกัน คำพูดของใครบางคนจึงเป็นจุดเริ่มต้นของ Mind set ที่ยิ่งใหญ่หรือทำให้เขาสามารถก้าวสู่ความสำเร็จได้ และนี่คือ 4 คนดังคุ้นหน้าที่เป็น Iconic ของความสำเร็จและบทสนทนาที่เปลี่ยนชีวิตของพวกเขา 1st World Billionaire: Jeff Bezos ถ้าพูดถึงความสำเร็จระดับโลกจะลืมผู้ชายคนนี้ไปไม่ได้ เพราะเขาคือเจ้าพ่อเว็บ E-commerce ชื่อดังอย่าง Amazon และได้รับการจัดอันดับจากสื่อใหญ่หลายเจ้าไม่ว่าจะเป็น Forbes และ Bloomberg ให้เป็นมหาเศรษฐีที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงที่สุดของโลกในปีนี้ แน่นอนว่าเรื่องสัญชาตญาณและความเป็นอัจฉริยะของเขาจากการขึ้นตำแหน่งสำคัญตั้งแต่อายุยังน้อยนั้น เป็นเรื่องที่ทุกคนรู้ดี แต่จุดเปลี่ยนหนึ่งของเขาคือการได้พูดคุยกับหัวหน้าในครั้งที่เขาจะเสนอการ E-commerce ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองเห็นการเติบโตของธุรกิจกว่า 2300 % ในวันนั้น เจ้านายมาบอกว่าไม่มีวันทำได้สำเร็จ: “นายมีงานที่ดี ๆ ทำอยู่แล้วนะ ทั้งรายได้และเงินโบนัส คิดดี ๆ นะ” จากคำพูดนั้นที่เขาคุยด้วยทำให้เขาตัดสินใจลาออกและเลือกเดินหน้าทำตามฝันของตัวเอง โดยได้รับแรงสนับสนุนจาก Mackenzie ผู้เป็นภรรยาให้ลงมือทำ เขาจึงเดินหน้าบุกเบิกและตะลุยมาเรื่อย
“รู้ไหมก่อนหน้านี้พี่ได้เงินเดือนแค่ 9,000 เราน่ะสบายแล้ว เงินเดือนตั้ง 15,000” เราเชื่อว่าชาว MILLENNIAL ที่เกิดมาในวันที่ความไฮเทคมากมายรายล้อม คงอยากเถียงแทบขาดใจกับคำสบประมาทบางอย่างของรุ่นพี่ยุคก่อน ทั้งคำกล่าวหาเรื่องความอดทน วุฒิภาวะการทำงาน หรือที่ร้ายกาจกว่านั้นคือเรื่องการจัดการเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ว่าเป็น Generation แห่งความฟุ้งเฟ้อ ใช้เงินไม่เป็น เพราะทุกวันนี้ชาว MILLENNIAL จำนวนไม่น้อยกำลัง Run The World ด้วยการเป็นนักช้อปขาใหญ่ของตลาด ถ้าคุณคือคนหนึ่งที่มีอายุนอกช่วงระหว่าง พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2539 เราขอให้คุณเปิดใจมาอาบน้ำเย็น รับความต่างเผชิญหน้าเพื่อสร้างความเข้าใจกับปัญหาหนี้สินของเหล่ารุ่นน้องที่อาบ “น้ำเย็น” มาทีหลังจาก 6 เหตุผลเหล่านี้ แล้วคุณจะรู้ว่าชีวิตของพวกเขามันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ไม่ต่างจาก “น้ำร้อน” ที่คุณอาบมาก่อนที่ก็ไม่ง่ายเช่นกัน ส่วนชาว MILLENNIAL ถ้าคุณได้อ่านแล้ว จะออกมาให้ความเห็นหลังอ่านจบก็ได้ว่าสิ่งที่คุณเจอมันเป็นแบบนี้จริงไหม ผู้เขียนหวังว่านี่จะเป็นพื้นที่ปะทะทางความคิดเพื่อความเข้าใจ เพราะ “เงิน” ไม่เคยเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าคุณจะเกิดมาในยุคไหนก็ตาม เด็กที่เกิดในยุคข้าวยากหมากแพง ตั้งแต่เกิดมา ชาว MILLENNIAL แทบไม่เคยได้สัมผัสกับคำว่า
ในบ้านเรา การพิมพ์อะไรมั่ว ๆ บนโลกออนไลน์ถือเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่นัก แต่สำหรับในต่างประเทศที่ซีเรียสในเรื่องผลกระทบจากการ Post อะไรมั่ว ๆ นั้นถือว่าจริงจังและรุนแรงมาก ไม่มีตัวอย่างไหนจะอธิบายความอันตรายของ Social Media ได้ดีเท่ากรณีของ Elon Musk แล้ว หลังโดนลงดาบจาก Securities and Exchange Commission (SEC) ปรับเงินจำนวนมากถึง $20,000,000 (660 ล้านบาท) และลาออกจากการเป็น Chairman ในบอร์ดบริหาร Tesla เป็นเวลา 3 ปี ทั้งหมดเป็นผลพวงจากการ Tweet แบบไม่คิดหน้าหลังเพียงครั้งเดียว “Sorry pedo guy, you really did ask for it,” ชื่อของ Elon Musk น่าจะถูกนำไปใช้เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาด้าน Management Study ได้ดีมาก ในมุมนึง Musk เป็นเหมือนซูเปอร์ฮีโร่ราวกับ
“THE FIRST STEP IS THE HARDEST.” ก้าวแรกยากที่สุด ยังเป็นประโยคที่ใช้ได้จริงกับคนที่อยู่ในทุกวงการเพราะไม่ว่าพวกเราจะแตกต่างกันแค่ไหน สุดท้ายเราทุกคนต้องเผชิญหน้ากับสิ่งเดียวกันคือการตัดสินใจเพื่อ “เลือก” ที่จะ “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” อะไรบางอย่างเสมอ เช่นเดียวกับการตัดสินใจสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนฝันไว้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะไปถึงเพราะต้องผ่านขั้นตอนยุ่งยากมากมายโดยเฉพาะเรื่องการเงิน ครั้งนี้ UNLOCKMEN ขอชวนทุกท่านมาร่วมพูดคุยกับกลุ่มคนที่มีส่วนสำคัญต่อการทำธุรกิจของเราทุกคนอย่างธนาคาร ที่ล่าสุดสามารถคว้าความสำเร็จระดับโลกในวงการธนาคารมาครองจากการสร้างสรรค์ “Start Biz” นวัตกรรมแอปพลิเคชันชวนทึ่ง! ล้างระบบการทำธุรกรรมจากปึกเอกสารมาใช้ลายเซ็นแค่ลายเซ็นเดียวลงบน iPad (อย่าเซ็นเยอะ กลัวนิ้วล็อก) ความยิ่งใหญ่ครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ แต่เกิดจากความกล้า บ้าพลัง ใส่ใจลูกค้า และกัดไม่ปล่อยของทีมงาน ซึ่งก่อตัวขึ้นจากแนวคิดที่เราทุกคนต้องหลงรัก นี่คือโฉมหน้าของเสาหลักทีมผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ทางการเงินครั้งแรกในระดับโลกที่เรามีโอกาสร่วมพูดคุยด้วยทั้ง 5 คน ทีมที่รวมตัวกันจากต่างฝ่ายเพื่อร่วมงานด้วยคอนเซปต์ Agile และสร้างความสำเร็จระดับโลกที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้ในครั้งนี้จาก SCB 1. คุณอาทิตย์ ศรีอัมพร (ตี้) – Commercial Banking Solutions Team 2. คุณบุณณพัฒน์ แก้วสถิตย์ (จอม)