ต้องยอมรับว่ากลุ่มคนมิลเลนเนียล (Millenials) หรือกลุ่มคนที่เกิดในช่วงยุค 1980s ไปจนถึงช่วงก่อนยุค 2000s ที่เรียกได้ว่ามีชีวิตเติบโตขึ้นมาในช่วงเปลี่ยนผ่านสหัสวรรษ คือกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญ เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมเมืองในปัจจุบัน ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในภาพใหญ่ของประชาคมโลก นอกจากภาพลักษณ์ของคนรุ่นใหม่มากความสามารถซึ่งค้นหาลู่ทางสร้างความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง กลุ่มคนมิลเลนเนียลเหล่านี้ยังได้ทำให้นิยามของความสำเร็จเปลี่ยนไปจากอดีต จากที่คนยุคก่อนเคยให้ความสำคัญกับรายได้ รวมถึงตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นหลัก แต่กลุ่มคนมิลเลนเนียลที่แม้จะมีจุดเด่นในเรื่องของการเลือกทำอะไรด้วย Passion มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง และพร้อมจะทุ่มเทเพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จ แต่ก็ยังคงให้ความสำคัญกับการมี Work-Life Balance ที่ดี มากกว่าการมีชื่อเสียงและเงินทอง อ้างอิงได้จากผลการศึกษาแนวคิดอุปนิสัยใจคอของกลุ่มคนมิลเลนเนียล โดยสถาบัน INSEAD Emerging Markets Institute, HEAD Foundation ร่วมกับ Universum ที่ได้ทำแบบสอบถามประชากรกลุ่มเป้าหมายกว่า 16,000 คน จาก 43 ประเทศทั่วโลก จนได้ข้อสรุปที่ว่า 73% ของกลุ่มคนมิลเลนเนียล เลือกที่จะมีสมดุลระหว่างการทำงาน และการใช้ชีวิตที่ดีมากกว่าเลือกมีรายได้สูง ๆ (Source : http://bit.ly/2gtlg3j) ข้อมูลข้างต้นถือเป็นสิ่งสะท้อนมุมมองความสำเร็จที่เปลี่ยนไปของคนกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะจริง ๆ แล้ว ความสำเร็จที่พวกเขาต้องการไขว่คว้านั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ความสำเร็จทางธุรกิจ แต่มันคือความสำเร็จในการได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ถ้าพูดถึงแฟชั่น เรานึกถึงแบรนด์ฝรั่งเศส ถ้าพูดถึงรถยนต์ เรานึกถึงประเทศเยอรมนี ในด้านงาน Craft ของสินค้า กระบวนการผลิต และความสวยงาม ประเทศไทยของเรานั้นถือว่ามีความโดดเด่นไม่แพ้ใครในโลก เรามีของดี จากวัตถุดิบที่ดี แต่น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่จะอยู่แค่ในระดับ OTOP หรือสินค้าพื้นบ้าน ในขณะที่เรานั่งมองสิ่งเหล่านั้นจนชิน แบรนด์ฝรั่งต่างชาติ ต่างขวนขวายเอาของดี ไอเดียสินค้าจักสานของไทยไปปรับเปลี่ยน สร้างมูลค่าให้แบรนด์เหล่านั้นกันเป็นว่าเล่น เพียงเพราะเราขาดการทำ branding ที่ดี ขาดการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเหล่านั้น แต่ข่าวดีคือตอนนี้เราได้รู้จักกับ StartUp น้องใหม่ ที่คว้ารางวัลชนะเลิศบนเวทีการประกวดมาแล้วมากมาย โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การผลักดันให้สินค้างาน Craft ของไทย มีการออกแบบที่ทันสมัย มี branding ที่ดี รวมถึงการทำ packaging ที่สร้างมูลค่าได้มากมายทวีคูณ จักสานไทยสู่ตลาดสากล website น้องใหม่ในนาม VT THAI หรือวิถีไทย เกิดขึ้นริเริ่มด้วยคุณจิรโรจน์ ได้มีโอกาสเดินทางไปตามต่างจังหวัดของไทยในแต่ละพื้นที่ซึ่งเห็นว่างานจักสานของไทยนั้นเป็นงานฝีมือภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีความสวยงาม มีคุณค่าและใช้เวลาในการทำ หากแต่ราคาของมันนั้นช่างสวนทางกับมูลค่าและคุณค่าที่ควรจะเป็น นอกจากนั้นยังได้เห็นถึงปัญหาในด้านต่าง ๆ อาทิ การออกแบบสินค้าที่ไม่มีการเปลี่ยนไปตามยุคสมัย หรือความรู้ในด้านภาษาต่างประเทศ ไปจนถึงการทำการตลาด ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการที่จะผลักดันสินค้าไทยสู่ตลาดสากล
ทำไมคนบางคนถึงกลายเป็นคนที่มั่งคั่งร่ำรวยจนเราโคตรอิจฉา ในขณะที่ทำไมอีกหลายคนถึงเป็นได้แค่คนธรรมดาทั่วไป? หลายครั้งที่เราตั้งคำถามนี้กับตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่าการเป็นคนมั่งคั่งร่ำรวยบางครั้งก็ไม่ได้มาเพราะโชคช่วยอย่างที่เราเข้าใจ แต่คนที่ประสบความสำเร็จทางการเงินนั้นมีนิสัยที่ทำให้เขาแตกต่างจากคนอื่น นิสัยเหล่านี้ก็ไม่ใช่นิสัยที่พิเศษจนเกินความสามารถคนธรรมดาอย่างเรา แต่เป็นนิสัยที่เราสามารถเอามาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน อยู่ที่ว่าเราจะอยากทำมันหรือเปล่า ถ้าสนใจ UNLOCKMEN ก็เอา 5 นิสัยที่คนมั่งคั่งระดับโลกมาเสนอให้คุณลองพิจารณาดูแล้ว ค้นหาแพสชั่นในการทำงาน คนมั่งคั่งร่ำรวยระดับโลกมักร่ำรวยมาจากการมีบริษัท การเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง ผู้ประกอบการเหล่านี้ สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนกันหมดก็คือมีแพสชั่นในสิ่งที่พวกเขาทำ แม้งานที่พวกเขาทำจะน่าเบื่อแค่ไหน แต่มันเป็นกระบวนการหนึ่งในการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่พวกเขาก็จะทำมันอย่างมีความหลงใหลไม่หยุดหย่อนเพื่อให้มันออกมาดีที่สุด ไม่ใช่แค่ดีพอผ่าน ๆ เงินไม่ใช่ความฝันที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถ้าถามคนที่รวยระดับโลกว่าสิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดคืออะไร คำตอบที่เราได้ยินจะไม่ใช่การมีเงินล้นมือ (ถึงแม้ว่าเขาจะมีมากอยู่แล้วก็เถอะ) เพราะเงินเป็นเพียงตัวขับเคลื่อนรองลงมา สิ่งที่พวกเขาอยากมีคือการขับเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ถ้านึกไม่ออกลองนึกถึงมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งโซเชียลเน็ตเวิร์คชื่อดังก้องโลกดู เขาไม่ได้ต้องการเงิน แต่เขาต้องการเปลี่ยนวิธีสื่อสารของคนในโลกต่างหาก! โฟกัส! คนที่ประสบความสำเร็จหรือคนที่ร่ำรวยระดับโลกมักมีความสามารถในการโฟกัสไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนกว่าพวกเขาจะแก้มันให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ต่างจากคนอื่น ๆ ที่อาจจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา อันไหนพอทำไม่ได้ก็ปล่อยให้หลุดมือไป ลองเสี่ยงดู คนรวยจำนวนมากไม่ได้เกิดมาพร้อมทางเดินที่ปูให้เขาด้วยความมั่นคงเสมอไป ยังมีเศรษฐีระดับโลกจำนวนมากที่เติบโตจากการไม่มีอะไรก่อนจะกลายมาเป็นคนร่ำรวยอย่างที่เป็นทุกวันนี้ การลงไปเสี่ยงหรืออยู่ในสภาวะที่เราอาจจะต้องแลกกับหลายสิ่งที่มีอยู่ในมือหลายครั้งก็เป็นเรื่องที่ทำให้เราเติบโตขึ้นได้อย่างคาดไม่ถึงเช่นกัน อย่ากลัวความล้มเหลว คนจำนวนมากกลัวความล้มเหลว พวกเขากลัวที่จะเผชิญหน้ากับความล้มเหลวนั้นและกังวลว่าความล้มเหลวนั้นจะทำให้ชีวิตพวกเขามีประสบการณ์ที่ไม่ดี แต่คนที่มั่งคั่งร่ำรวยมักทำตรงกันข้าม พวกเขายอมรับความล้มเหลวของตัวเอง และมักมาแยกองค์ประกอบของมันเป็นส่วน ๆ ว่าพวกเขาทำอะไรผิดพลาดตรงไหน ดังนั้นการยอมรับและประเมิณความล้มเหลวเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่สำคัญที่คนร่ำรวยมักทำอยู่เสมอ อ่านดูแล้ว UNLOCKMEN
คงไม่มีใครชอบการทำงานอืดเอื่อยสุดล่าช้าของคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นคนในทีมด้วยกัน หรือลูกน้องที่คอยรับคำสั่งจากเรา เพราะการทำงานต้องการการเคลื่อนไปข้างหน้าอยู่เสมอ จะให้มานั่งรอคนคนเดียวคงไม่ส่งผลดีแน่ แต่ในทางกลับกันคนในองค์กรที่ทำงานอย่ารวดเร็ว ฉับไว เพื่อให้ได้ชื่อว่า ‘ทำงานเสร็จรวดเร็ว’ ทั้ง ๆ ที่การทำงานนั้นบางครั้งเกิดข้อผิดพลาด หรือสร้างความบกพร่องรุนแรงไว้ให้กับองค์กรอย่างไม่ทันรู้ตัวก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน ปัญหาก็คือผู้คนในองค์กรต่างชื่นชมการทำงานอย่างเร่งด่วนรวดเร็วราวกับคนคนนั้นเป็นฮีโร่ขององค์กรอยู่เสมอ แม้ผลที่ออกมาจะมีความผิดพลาดตามมาก็ตาม แต่เราก็จะยกย่องว่าการทำงานรวดเร็วคือสุดยอดความเจ๋ง แถมไม่แม้แต่จะมองว่านี่แหละคือปัญหาขององค์กรอีกปัญหาหนึ่ง! ก็แน่ล่ะใครจะมองว่าการที่พนักงานคนหนึ่งหรือคนหนึ่งในทีมรีบทำงานให้เสร็จลุล่วงจะถูกนับเป็นปัญหาการจัดการในองค์กรไปด้วย แต่จากรายงานเปิดเผยว่าแต่ละองค์กรต้องสูญเสียเงินจำนวนมากไปกับการตัดสินใจหรือทำอะไรอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้ชื่อว่าเสร็จ ๆ ไปก่อน แต่ทิ้งความผิดพลาดเอาไว้ อย่างไรก็ตามคนในทีมที่ทำงานแบบเร่งด่วนก็มักจะเป็นคนคนเดียวกับที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นเราก็ต้องระมัดระวังการบอกเขามากที่สุดเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของทีมเช่นกัน วิธีต่อไปนี้จึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยจัดการคนในทีมที่ออกแนวด่วนแต่สะเพร่าได้ดีพอสมควร ช่วยให้เขามองเห็นว่าการกระทำของเขามีผลต่อคนอื่นอย่างไร หลายครั้งที่คนทำงานด่วน งานเร็ว มองเห็นแต่เป้าหมายของตัวเอง จนอยากรีบทำทุกอย่างให้เสร็จ ๆ ไปเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำงานเสร็จ แล้วปัดงานนั้นให้พ้นตัวเพื่อให้คนอื่นนั้นรับช่วงงานต่อต่อไป การทำแบบนั้นไม่ได้มีอะไรผิดต่อการทำงานส่วนตัวแต่อย่างใด (ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด) แต่ในฐานะการทำงานเป็นทีมการทำแล้วปัด ๆ ส่งไปไม่มีผลดีต่อความร่วมมือกันเป็นแน่ ดังนั้นต้องทำอย่างไรเพื่อให้เขาเห็นว่านี่คือการทำงานเป็นทีม เป้าหมายคือเป้าหมายของทีมร่วมกันไม่ใช่งานของเขาคนเดียวที่ทำแล้วจบไป ที่สำคัญคนในทีมต้องรู้จักชมผลงานของเขาในแง่กระบวนการการทำ ไม่ใช่ชมแค่ผลงานของเขาที่เขาทำเสร็จแล้ว และชี้ให้เห็นว่าการทำงานของเขาไม่ได้มีค่าแค่ต่อตัวเอง แต่ส่งผลในฐานะความเป็นทีมอย่างไร ให้เขาระบุผลของการกระทำของเขาออกมา บางทีการชี้ให้เห็นอาจไม่มากเพียงพอ เราอาจต้องช่วยกระตุ้นให้เขาเห็นว่าการกระทำของเขาส่งผลกระทบอะไรตามมาบ้าง เพราะเขาอาจเห็นแต่ข้อดีที่ทุกคนชมเขา (หรือเขาเห็นเอง) ว่าเขาทำงานเสร็จเร็ว ตัดสินใจได้ด่วนกว่าคนอื่น แต่เขาไม่เคยมองเห็นว่าข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานเร็วเกินไปคืออะไร ดังนั้นเราต้องกระตุ้นให้เขาหาให้เจอให้ได้ว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมันคืออะไร มันเกิดจากอะไร
ในช่วงที่ผ่านมา เชื่อว่าเราคงเคยได้ยินใครหลายคนแนะนำวิธีการที่จะทำให้ชีวิตก้าวหน้า ด้วยการพัฒนาตัวเองในการทำงานโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ซึ่งหลาย ๆ ครั้งพอเอามาใช้ก็พบว่า เอ๊ะ มันก็ดีขึ้นนะ แต่มันไม่สุดซักที มันมีอะไรผิดพลาดตรงไหนหรือเปล่า วันนี้เราเลยอยากเอาหัวข้อการพัฒนาตัวเองในการทำงานยอดฮิต 6 ข้อ มาตีแผ่ให้ฟังแบบลงลึกมากขึ้น ทุกคนจะได้เข้าใจ และนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเองได้ถูกต้องและเห็นผลมากขึ้นนั่นเอง 1. การตั้งเป้าหมายใหญ่ คนสำเร็จในชีวิต คนที่สร้างผลลัพธ์ยิ่งใหญ่ได้ ร้อยทั้งร้อยเป็นคนคิดใหญ่ครับ เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากมีชีวิตที่ก้าวหน้า คุณต้องตั้งเป้าหมายให้ใหญ่นั่นถูกต้องแล้ว คำถามคือแล้วจุดตายของการตั้งเป้าหมายใหญ่มันอยู่ตรงไหน? คำตอบคือเป้าหมายใหญ่เกินไปคุณเลยไม่เห็นทางข้างหน้า และรู้สึกท้อทุกที ดังนั้นถ้าให้ดี คุณควรเลือกตั้งเป้าหมายที่ขยายขีดความสามารถของตัวเองในระดับที่ “challengeable, not fantasy” หมายความว่าพอเป็นไปได้เมื่อเทียบกับระดับความสามารถในปัจจุบัน และไม่เพ้อเจ้อเพ้อฝันจนเกินไป ยังครับ ยังไม่หมด จุดตายอีกจุดอยู่ตรงที่ “คุณไม่รู้จักซอยย่อยเป้าหมายออกมาเป็นชิ้นเล็ก ๆ ” การซอยให้เล็กจะทำให้คุณเห็นว่ามันมีงานง่ายเยอะแยะมากมาย มันไม่ได้ใหญ่อย่างที่คุณคิด! และนี่แค่ข้อแรกเท่านั้นครับ 2. การวางแผนล่วงหน้า อยากบริหารงาน บริหารชีวิตได้ คุณต้องรู้จักการวางแผน การวางแผนจะช่วยลดงานไม่เร่งด่วนของคุณได้อีกมากซึ่งเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมากๆครับ แล้วความเข้าใจผิด ๆ ในการวางแผนอยู่ตรงไหน คำตอบคือ การวางแผนน้อยเกินไปในเรื่องที่ควรวางแผนให้มาก และวางแผนมากเกินไปในเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยความลึกในการวางแผนขนาดนั้น
“ไม่ได้อยากให้ทุกคนแค่ซื้อสินค้ามาใช้ แต่อยากให้ทุกคนรู้สึกอุ่นใจที่มีมูจิอยู่ในไลฟ์สไตล์” คือประโยคจากปากของนาโอโตะ ฟุคาซาวะ หลายคนอาจเพิ่งเคยได้ยินชื่อของเขาเป็นครั้งแรก แต่ในระดับโลกชื่อของนาโอโตะ ฟุคาซาวะ ได้รับการยอมรับในฐานะดีไซน์เนอร์ที่เคยร่วมงานกับบริษัทชั้นนำระดับโลกทั้งในอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สเปน รวมทั้งในเอเชีย นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาให้กับหลายบริษัทชั้นนำในญี่ปุ่น จึงไม่น่าแปลกใจที่เขายังครองตำแหน่งคณะกรรมการที่ปรึกษางานดีไซน์ของมูจิ แบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์สัญชาติญี่ปุ่นที่ดึงดูดและครอบครองใจคนไปทั่วโลก ในโอกาสฉลอง “70 ปี ห้างเซ็นทรัล” มูจิ จึงจัดนิทรรศการ “What is MUJI?” นิทรรศการที่จะทำให้เรารู้จักแก่นแท้งานดีไซน์ของสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ครองใจคนจำนวนมาก รวมถึงเปิดโอกาสให้ UNLOCKMEN ได้ร่วมพูดคุยกับ นาโอโตะ ฟุคาซาวะ ดีไซเนอร์คนสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้ มูจิ โด่งดังไปทั่วโลกด้วย ดีไซน์เป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชั่นเรื่องสำคัญของมูจิ “การออกแบบสินค้ามูจิแต่ละชิ้นจะมองที่ฟังก์ชั่นเป็นหลัก เพราะดีไซน์พยายามที่จะทำให้เรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้” นี่คือคำตอบจากนาโอโตะ ฟุคาซาวะเมื่อถูกถามถึงงานออกแบบของมูจิที่แม้เราจะเห็นว่าออกมาเรียบง่าย แต่ก็ดึงดูดใจ ใครจับจองเป็นเจ้าของไปแล้วมักไม่เคยหยุดที่ชิ้นเดียว แต่เขาก็ยืนยันหนักแน่นว่าสินค้าทุกชนิดของมูจิ ให้ความสำคัญกับการใช้งานมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้ละเลยเรื่องการดีไซน์และพยายามย้ำกับเราว่า “แต่ก็พยายามให้ดีไซน์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของฟังก์ชั่นด้วย” จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่สินค้าของมูจิแต่ละชิ้นทั้งใช้งานได้ และมีดีไซน์น่าใช้จนใคร ๆ ก็อยากเป็นเจ้าของ Wahat is MUJI: อบอุ่นใจ เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ มูจิไม่ใช่แค่สินค้า
“So you can keep me Inside the pocket of your ripped jeans…” ท่อนคุ้นหูจากเพลง Photograph หนึ่งในเพลงฮิตของพ่อหนุ่มผมแดง Ed Sheeran ที่สื่อความหมายสุดลึกซึ้งว่าภาพถ่ายคืออีกหนึ่งรูปแบบของความทรงจำ ซึ่งสามารถเก็บไว้ในกระเป๋ากางเกงยีนส์ขาด ๆ เพื่อนำมาระลึกถึงกันได้เสมอ แต่นอกเหนือจากภาพถ่าย อีกสิ่งหนึ่งที่เรายอมรับว่า Ed Sheeran สามารถเก็บรักษาเอาไว้ในกระเป๋าได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่เขาใช้ความสามารถหามาได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ในฐานะของศิลปินเจ้าของรางวัลแกรมมี่ เจ้าของเพลงฮิตมากมายจากสตูดิโออัลบั้มทั้ง 3 ชุด และทัวร์คอนเสิร์ตอีกเพียบ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเขาในปีที่แล้วนับเป็นเงินเหนาะ ๆ 33.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คนวงนอกอย่างพวกเราคงคิดว่า Ed Sheeran ต้องมีชีวิตที่อู้ฟู้ ใช้จ่ายเงินกระจุยกระจาย ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องผิดคาดสักเท่าไหร่ กับการที่ Ed เคยให้รางวัลตัวเองด้วยการใช้เงินไปกับการสร้าง Bar ส่วนตัวในบ้านราคาหลายล้านของเขา รวมถึงควักเงิน 2 ล้านเหรียญซื้อฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ตัวเองได้พักผ่อนจากงานเพลงด้วยวิถีชีวิตหนุ่มชาวไร่ แต่ใช่ว่าคนดังอย่าง Ed
เมื่อพูดถึงสาเหตุที่คร่าชีวิตคนไทยไปเป็นจำนวนมากในแต่ละปี หลายคนคงนึกถึงการเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงโรคมะเร็ง ซึ่งก็ไม่ผิดคาด เพราะโรคมะเร็งคือสาเหตุหลักอันดับหนึ่งในการเสียชีวิตของประชาชนคนไทย ตามมาด้วยอันดับสองคือการเสียชีวิตเนื่องด้วยอุบัติเหตุ แต่ใครจะรู้บ้างว่าสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยที่สูงเป็นอันดับสาม ซึ่งอันตรายไม่แพ้กัน นั่นก็คือการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โดยสิ่งที่น่ากังวลคือ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เมื่อหัวใจหยุดเต้น จะไม่มีเลือดเดินทางไปเลี้ยงอวัยวะใด ๆ ในร่างกาย ทำให้สมองหยุดทำงานทันที และจะหมดสติภายในเวลา 10 วินาที โดยไม่ทันได้รู้ตัว ไม่ทันได้ขอความเชื่อเหลือใคร ๆ อย่างที่เคยได้เห็นในคลิปภาพข่าว ที่แม้แต่ผู้ซึ่งออกกำลังกายดูแลสุขภาพอยู่สม่ำเสมอ วิ่งลู่ในฟิตเนสอยู่ดี ๆ ก็ยังเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ล้มตึงหมดสติจนเสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตา สรุปออกมาเป็นสถิติที่น่าตกใจว่า แต่ละปีมียอดผู้เสียชีวิตสูงถึง 54,000 คน เฉลี่ยแล้วมีผู้เสียชีวิตมากถึงชั่วโมงละ 6 คน ซึ่งจริง ๆ แล้ว เมื่อผู้ประสบภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเกิดอาการหมดสติ หากได้รับการทำ CPR (การช่วยฟื้นคืนชีพ หรือการปั๊มหัวใจด้วยมือ) ภายใน 4 นาที จะมีโอกาสรอดชีวิตอยู่ที่ 27% และถ้าบริเวณนั้นมีเครื่อง AED (เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ) สำหรับใช้ในการทำ CPR สลับกับการใช้เครื่อง
‘ความผิดพลาด’ เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยาก ไม่ว่าจะในธุรกิจหรือในชีวิตจริง แม้ว่าเราจะพยายามหลีกเลี่ยงมันโดยตลอด แต่การทำธุรกิจหรือการลองทำสิ่งใหม่ ๆ เพื่อความเติบโตย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดข้อผิดพลาดที่เราคาดไม่ถึง ‘ความผิดพลาด’ไม่ใช่เรื่องของธุรกิจที่เพิ่งเริ่มเติบโตหรือคนตัวเล็ก ๆ อย่างเราเท่านั้น บริษัทน้ำดำยักษ์ใหญ่อย่างโค้กก็เคยผิดพลาดครั้งใหญ่โตมาแล้วเช่นกัน ย้อนกลับไปเมื่อปี 1985 เมื่อโค้กอยากชนกับเป๊ปซี่และหวังจะได้รับชัยชนะ พวกเขาจึงได้ริเริ่มไอเดียสุดเด็ดขึ้น ทีมวิจัยการตลาดของโค้กได้สำรวจและพบว่า โค้กรสชาติใหม่ของพวกเขาถ้าออกมาครั้งนี้ต้องได้รับความนิยมอย่างล้นหลามจนเป๊ปซี่ต้องแพ้กระจุยกระจาย พวกเขาจึงสรรค์สร้างโค้กรสชาติใหม่ที่หวานกว่าเดิมออกมา จนถึงวันที่สินค้าถูกปล่อยออกไป ทีมงานบริษัทโค้กต่างก็รอผลลัพธ์อันน่าทึ่ง แต่ปรากฏว่ามันพังไม่เป็นท่า! ไม่ใช่แค่เอาชนะเป๊ปซี่ไม่ได้ แต่ผู้บริโภคต่างไม่พอใจเพราะโค้กที่ออกมามันหวานเกินไปสำหรับพวกเขา มีคนเพียงร้อยละ 13 เท่านั้นที่ชอบโค้กแบบใหม่ แถมลูกค้ายังรวมตัวกันแบนไม่ยอมกินโค้กจนกว่าจะได้โค้กที่เหมือนเดิมกลับมา ภายใต้วิกฤตครั้งนั้น บริษัทโค้กปล่อยให้โค้กตัวใหม่โลดแล่นได้เพียง 77 วัน แล้วกลับไปใช้รสชาติตามเดิม ก่อนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลายเป็นบริษัทน้ำดำระดับโลกได้อย่างในปัจจุบัน บริษัทยักษ์ใหญ่ขนาดโค้ก ยังเคยผิดพลาดและผ่านมันมาได้ วิธีเปลี่ยนข้อผิดพลาดให้กลายเป็นความสำเร็จคืออะไร? 1.รู้ว่าอะไรคือความผิดพลาด เราไม่มีวันแก้ไขอะไรได้สำเร็จถ้าไม่รู้ว่าความผิดพลาดของเราคืออะไร หรือมาจากตรงไหน ทันทีที่เกิดข้อผิดพลาด อย่ามัวฟูมฟาย แต่หาให้เจอให้ตรงจุดให้ได้ว่าข้อผิดพลาดคืออะไรกันแน่ จะได้มุ่งตรงไปยังข้อผิดพลาดได้อย่างทันท่วงที เหมือนที่บริษัทโค้กเห็นว่าโค้กของตัวเองนั้นผิดพลาดที่ความหวาน 2.รู้ว่าเกิดความผิดพลาดได้อย่างไร ถ้ารู้ว่าความผิดพลาดคืออะไรแล้ว อย่างต่อไปที่ต้องรู้คือมันเกิดความผิดพลาดนั้นได้อย่างไร เพื่อหาหนทางแก้ไขจากสาเหตุที่มันเกิดขึ้นได้ถูกจุด และไว้เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดนี้ต่อไป 3.รับมือความผิดพลาดอย่างสงบ การฟูมฟาย หรือแม้แต่โกรธเกรี้ยวใส่กันในธุรกิจหรือวงเพื่อนฝูงกันเองเมื่อเกิดความผิดพลาดไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น เราควรยอมรับว่าปัญหาเกิดขึ้นแล้วและช่วยกันหาวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน