การเลือกดูหนังสามารถบ่งบอกความเป็นตัวตนของเราได้และหลายครั้งที่ตัวตนของเราถูกประกอบสร้างขึ้นมาจากหนังสักเรื่อง หากคุณเบื่อหนังบล็อกบัสเตอร์วันนี้เรามีหนังอาร์ต 11 เรื่อง มาเป็นทางเลือกให้ แม้หนังเหล่านี้จะไม่ได้ใช้นักแสดงชื่อดังหรือใช้ทุนมหาศาล แต่ขอให้เชื่อเถอะว่าหนังที่เราเลือกมาแนะนำในวันนี้อาจจะทำให้คุณหันมาหลงรักหนังอาร์ตอย่างไม่อาจถอนตัว ที่สำคัญการคัมแบ็คของเหล่าผู้กับหนังแนวอินดี้ชื่อดังอย่าง Olivier Assayas Mia Hansen-Løve และ Simon Amstell ก็การันตีได้ในระดับหนึ่งเลยว่า คุณจะไม่ผิดหวังที่เสียสละเวลามาให้หนังแนวนี้บ้างอย่างแน่นอน TOO LATE TO DIE YOUNG (Dominga Sotomayor) จากผู้สร้าง Call me by your name สู่ TooLate to die young ภาพยนตร์ที่มีฉากหลังเป็นประเทศชิลี ซึ่งย้อนไปในปี ค.ศ.1990 ประเทศชิลีกลับมารวมตัวเป็นประชาธิปไตยอีกครั้งหลังจากการล่มสลายทางอำนาจของนายพล Augusto Pinoche โซเฟีย (Demian Hernández) สาวน้อยวัย 16 ปี อาศัยอยู่ในชนบทที่อยู่ใกล้กับเมืองหลวงซันติอาโก เธอมักจะมีปัญหากับพ่ออยู่ตลอดเวลา ท าให้เธอมีความฝันที่อยากจะย้ายไปอยู่กับแม่ของเธอที่เป็นนักดนตรีในเมืองหลวง LONG DAY’S JOURNEY INTO NIGHT
John Wick : Chapter 3 ภาพยนตร์โคตรระห่ำที่ผู้ชมทั้งโลกตั้งหน้าตั้งตารอคอยการกลับมาของ คีอานู รีฟส์ พระเอกสุดเก๋าในบทนักฆ่าสวมสูทมาดเท่ ครั้งนี้ John Wick มาพร้อมกับชื่อภาค Parabellum ซึ่งอ้างอิงถึงภาษาลาตินที่ว่า “Si vis pacem , Para bellum” ในความหมายคือ “ถ้าต้องการสันติ จงเตรียมรับมือกับสงคราม” เรียกได้ว่าเป็นชื่อที่เหมาะกับสถานการณ์ของจอห์นที่นั่งไม่ติดในภาคนี้จริง ๆ เรื่องราวในหนังภาคสามก็อย่างที่แฟนคลับ John Wick รู้กันดีว่าเป็นการดำเนินเรื่องต่อจากตอนจบของภาคที่แล้ว เมื่อจอห์นถูกตัดหางปล่อยวัด (Excommunicado) เพราะแหกกฎศักดิ์สิทธิ์ขององค์กรที่บอกว่า “ห้ามฆ่าคนในพื้นที่ของโรงแรม The Continental” ทำให้เขากลายเป็นเป้าหมายของมือสังหารในเครือข่ายจากทั่วโลกที่ต้องการค่าหัวจำนวน 14 ล้านเหรียญ จอห์น วิค เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่หมายสั่งตายจากเบื้องบนหรือที่เรียกกันว่าสภาสูงจะมีผลบังคับใช้ ฉากตัวอย่างที่ถูกปล่อยออกมาจอห์นต้องวิ่งฝ่ามหานครนิวยอร์กในสภาพที่ดูไม่ได้ ซึ่งผิดนิสัยของจอห์นที่พร้อมจะบวกกับทุกคน แต่เมื่อเหตุการณ์มันบังคับ การเอาตัวรอดเป็นสิ่งที่เขาทำได้ในตอนนั้น สถานที่ที่คาดว่าเป็นเป้าหมายแรกของจอห์นน่าจะเป็นหอสมุดประชาชนนิวยอร์ก ซึ่งถ้าดูจากในแผนที่แล้วหอสมุดนั้นอยู่ไม่ห่างจากจุดที่เขาวิ่งมาคือ Central Park เราจะพาทุกคนไปไขความลับการล้างมลทินของจอห์น วิค กับของสำคัญหลายชิ้นที่จอห์นแอบซ่อนไว้ในหนังสือ ณ
ความรักอาจเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต แต่ความสัมพันธ์ในรูปแบบคนรักเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จริงอยู่ว่าการมีคนรักที่ดีและสุขสมหวังในความรัก รวมถึงการมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนใฝ่ฝัน แต่ในความเป็นจริงสำหรับบางคนก็ถึงเวลาที่ต้องยอมรับว่า “วัความสัมพันธ์หอมหวานไม่ได้มีไว้สำหรับทุกคน” ประโยคนี้เป็นเรื่องจริงที่สุด วันนี้ UNLOCKMEN มีหนัง 5 เรื่องมาให้คุณได้รู้ซึ้งถึงความรักที่ไม่ได้หอมหวานหรือน่ารัก แต่ไม่ว่าจะมีความรักความสัมพันธ์แบบไหน เราก็ต้องมีชีวิตต่อไป The Lobster หนังตลกร้ายที่บอกเล่าผ่านความสัมพันธ์ผ่านพล็อตเรื่องโดดเด่น แปลกใหม่ แสบสันและจิกกัด มีฉากเป็นโลกกึ่งดิสโทเปียที่การไม่มีคู่ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย คนโสดไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรจะโดนส่งตัวไปที่โรงแรม The Hotel ผู้ที่ถูกส่งไปมีเวลา 45 วันในการหาคู่ให้สำเร็จ ประเด็นมันอยู่ตรงที่ถ้าใครยังหาคู่ไม่ได้ในเวลาที่กำหนดจะถูกทำให้กลายเป็นสัตว์ หนังเรื่องนี้ถูกตีความเป็นหนังนอกกระแส แต่ก็ดูได้เพลิน ๆ ถ้าพูดถึงความสนุกมันก็เป็นเรื่องของรสนิยมส่วนบุคคลของพวกคุณแล้วแหละ 500 Days of Summer เมื่อความรักเป็นเรื่องของพรหมลิขิต Tom (Joseph Gordon-Levitt) ชายหนุ่มที่เชื่อในเรื่องพรหมลิขิตและ Summer (Zooey Deschanel) หญิงสาวที่เชื่อว่าความรักเป็นเรื่องเพ้อฝัน 500 วันแห่งเรื่องความรักของเขาและเธอจะหวานขมปนเฝื่อนขนาดไหน? เรื่องราวในหนังอาจจะเตือนใจใครบางคนได้ว่าคนที่คิดแบบเดียวกับเรา หรือทำอะไรเหมือนเรา ไม่ได้แปลว่าเขาคนนั้นจะเป็นเนื้อคู่ของเรา เพราะความหวานชื่นตลอดไปอาจไม่มีอยู่จริง Equals equals หนังโรแมนติกไซไฟในโลกยูโทเปียในอนาคตที่ไร้อาชญากรรม พลเมืองทุกคนถูกตัดต่อพันธุกรรมสะกดต่อมอารมณ์เอาไว้ ทุกคนตัดขาดความสัมพันธ์ส่วนตัว
ตัวตนของผู้ชายไม่ได้มาจากลักษณะนิสัยและความคิดภายในเท่านั้น แต่การเลือกข้าวของเครื่องใช้สามารถนิยามตัวตนของเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะ “นาฬิกา” ที่อยู่บนข้อมือของเรา ไม่ว่าจะไปติดต่องานหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไหนก็เป็นปราการด่านแรกที่ทุกคนมองเห็น การเลือกนาฬิกาที่เหมาะสมจึงไม่ได้เป็นเพียงการเลือกเครื่องบอกเวลาเท่านั้น แต่นาฬิกาสามารถบอกตัวตนของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย จึงไม่แปลกที่ในภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ตัวละครแต่ละตัวจะมีนาฬิกาคู่ใจเพื่อใช้บ่งบอกคาแรกเตอร์อันโดดเด่นที่ผู้กำกับหรือผู้สร้างต้องการสื่อให้ผู้ชมเห็น ดังนั้นนาฬิกาใดที่จะถูกนำมาใส่จึงต้องมีความสมจริงกับคาแรกเตอร์ในภาพยนตร์ และตัวนักแสดงต้องโอเคกับนาฬิกาเรือนนั้นด้วย ไม่ใช่แค่มีเงินแล้วจะเข้ามาปรากฎตัวในหนังระดับโลกได้ง่าย ๆ Hamilton จึงถือเป็นอีกแบรนด์นาฬิกาที่มีหลากรุ่น หลายซีรีส์ มีเรื่องราวและประวัติอันยาวนาน เดินทางผ่านหน้าประวัติศาสตร์มากว่า 127 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งแบรนด์ขึ้นที่เมืองแลงคาสเตอร์ รัฐเพนซิลวาเนีย ในปี 1892 ด้วยความคลาสสิกและเต็มไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Hamilton ทำให้ตั้งแต่ปี 1932 เป็นต้นมามีนาฬิกา Hamilton สารพัดรุ่นถูกนำไปปรากฏโฉมอยู่บนจอเงินในภาพยนตร์มากถึง 500 เรื่อง เพราะนอกจากการเป็นอุปกรณ์บอกเวลาแล้ว นาฬิกา Hamilton แต่ละรุ่นยังเป็นเครื่องบ่งบอกตัวตนของผู้สวมใส่อย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่ฟังก์ชันความเที่ยงตรง แต่ยังเต็มไปด้วยอารมณ์ร่วมและเรื่องราวมากมาย เสริมคาแรกเตอร์ตัวละครในภาพยนตร์แต่ละเรื่องให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ที่สำคัญแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของ Hamilton ที่ Hollywood อุตสาหกรรมความบันเทิงระดับโลกไว้วางใจ ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นความบังเอิญหรือยังไง แต่ภาพยนตร์จำนวนมากที่มี Hamilton อยู่บนข้อมือตัวแสดง มักจะประสบความสำเร็จอย่างมากเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นระดับ Oscar Nominations หรือกระทั่งคว้ารางวัล Oscar
แฟนหนังที่ชื่นชอบเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ไม่ว่าจะเป็นทีม Marvel หรือ DC ต่างต้องเคยได้ยินเรื่องราวของชายที่ชื่อว่า Shazam กันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ตามจักรวาลซูเปอร์ฮีโร่อาจจะคิดว่า Shazam คือชื่อของแอปพลิเคชั่นช่วยค้นหาชื่อเพลง เพราะฮีโร่ Shazam ยังเป็นของใหม่สำหรับใครหลายคน ด้วยเหตุนี้เอง UNLOCKMEN จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับฮีโร่สุดป่วนที่ได้รับพลังพิเศษจากเทพเจ้าให้มากขึ้น Shazam คือฉายาของฮีโร่ชุดแดงที่เป็นอีกร่างหนึ่งของเด็กชายวัย 14 ปี นามว่า Billy Batson เด็กกำพร้าที่ใช้ชีวิตทั่วไปแบบคนธรรมดา แต่แล้ววันหนึ่งเขาได้พบกับจอมขมังเวทย์ที่มอบ “พรจากพระเจ้า” ที่เปลี่ยนชีวิตของเด็กกำพร้าคนนี้ไปตลอดกาล พรที่ว่าคือความสามารถเหนือมนุษย์จากเทพเจ้าทั้ง 6 ได้แก่ Solomon เทพเจ้าแห่งปัญญา Hercules ชายผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งพละกำลัง Atlas ตัวแทนของความทรหดอดทน Zeus เทพเจ้าสูงสุดผู้อยู่เหนือเทพทั้งปวงที่มาพร้อมกับสายฟ้าฟาด Achiles เทพเจ้าผู้เต็มไปด้วยความกล้าหาญ และ Mercury เทพเจ้าแห่งความเร็ว เมื่อนำพยัญชนะแรกของเทพเจ้าทั้งหมดมารวมกันจะได้คำว่า “SHAZAM” เมื่อเด็กหนุ่มได้รับพรจากพระเจ้ามาแล้ว สิ่งต่อไปที่เขาต้องเรียนรู้คือการนำพลังพิเศษออกมาใช้ โดยการเรียกพลังในแต่ละครั้งนั้นแสนง่ายดายเพียงแค่พูดว่า “Shazam” ก็จะเกิดสายฟ้าฟาดใส่ตัวและทำให้บิลลี่กลายร่างเป็น Shazam ฮีโร่ผู้มาพร้อมกับความสามารถของเทพเจ้าทั้ง 6 คน สวมชุดที่สีแดงสดและสัญลักษณ์สายฟ้าฟาดสีเหลืองโดดเด่นตรงกลางอก และเมื่อต้องการกลับร่างเดิมก็ทำได้ง่าย ๆ
ในโลกมีผู้กำกับไม่กี่คนที่เราดูหนังเขาเพียงไม่กี่นาทีก็รู้ทันทีว่านี่คือฝีมือการกำกับของใคร เนื่องจากลายเซ็นและเอกลักษณ์อันชัดเจนที่แทรกอยู่ในทุกไดอะล็อก ทุกซีน หนึ่งในผู้กำกับตามนิยามที่ว่านั้นต้องมีชื่อของ Quentin Tarantino ผู้กำกับหนุ่มใหญ่วัย 56 จาก เทนเนสซี สหรัฐอเมริการวมอยู่ด้วยแน่นอน หนังบ้าอะไรวะเนี่ย แม่งพูดกันทั้งเรื่อง! ลายเซ็นที่ชัดเจนของหนัง Quentin คือการดำเนินเรื่องที่ฉับไว และบทสนทนาน้ำไหลไฟดับที่บางครั้งก็เลยเถิดไปไกลจนไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง สำหรับบางคนมันคือเสน่ห์ แต่อีกหลายคนก็รู้สึกรำคาญ ดังนั้นความเห็นต่อหนังของ Quentin เสียงจึงแตกเป็น 2 ฝ่าย ไม่รักหัวปักหัวปำ ก็เกลียดไปเลย Esquire ความรักที่แฟนหนังมีต่อ Quentin เห็นได้ชัดจาก Once Upon a Time in Hollywood ภาพยนตร์เรื่องใหม่ของเขา หลังจากปล่อยภาพโปสเตอร์ รายชื่อนักแสดง เรื่องย่อ และ Trailer ออกมา ทั่วโลกก็ตกอยู่ในภาวะ Hype เกิดเป็นกระแสวงกว้างในโลกออนไลน์ ก็แน่ล่ะ Leonardo DiCaprio ประชันบทบาทกับ Brad Pitt เพิ่มความสดใสด้วย Margot Robbie กำกับโดย Quentin Tarantino มาในพล็อตจิกกัดวงการฮอลลีวูดยุค 60 ใครบ้างจะไม่อยากดู ปรากฏการณ์นี้เป็นสิ่งยืนยันได้อย่างดีว่าชื่อของ Quentin Tarantino ได้ก้าวสู่ทำเนียบผู้กำกับชั้นนำระดับโลกอย่างเต็มตัวแล้ว
กฎข้อแรกของแฟนหนังไฟต์คลับ คือ ต้องจำหนุ่มออฟฟิศหน้าตาซื่อบื้อได้ ชีวิตเฮงซวยกับหน้าตาเบื่อโลก ทำให้บทของเขาในเรื่องนี้เป็นที่จดจำ หรือจะเป็นพี่ชายตัวแสบหัวรุนแรงใน American History X กับคาแรกเตอร์ Neo-Nazi ที่แสนจะติดตา และอีกหลายเรื่องที่การแสดงของเขาโดดเด่นจนทำให้เราเชื่อว่าเขาเป็นตัวละครนั้นจริง ๆ แค่สองเรื่องที่พูดถึงมา คงไม่มีใครกังขาในความสามารถของเขา เราจะพามาสำรวจชีวิตเบื้องหลังจอเงิน อะไรที่ผลักดันให้เขาสวมบทบาทได้เหมือนสวมวิญญาณเข้าไปขนาดนี้ THE GREAT NORTON ปฐมบทของการแสดง เริ่มต้นจากภาพยนตร์เรื่อง Primal Fear (1996) ฝีมือการกำกับของ Gregory Hoblit ช่วงเริ่มโปรเจ็กต์ เขามองหานักแสดงวัยละอ่อนที่จะมาประกบคู่กับ Richard Gere ในตอนแรกบทนี้ถูกเสนอให้กับ Leonardo DiCaprio แต่เป็นอันล้มเลิกไป เลยเป็นอันต้องพักกอง รอจนกว่าจะเจอดวงดาวที่ใช่ จนกระทั่งมาพบกับ Edward ในรอบออดิชั่นที่เอาชนะคู่แข่งอีกนับพันคนไปได้แบบลอยตัว และความเจิดจรัสของเขาไม่หยุดอยู่แค่รอบออดิชั่น ฝีมือการแสดงส่งผลให้เขาได้เข้าชิงออสการ์สาขา Best Supporting Actor กันตั้งแต่ผลงานเรื่องแรก เพียงสองปีต่อมา Edward ได้แจ้งเกิดแบบพลุแตกกับบทบาท Neo-Nazi ตัวจี๊ดแห่ง American History
บทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของคนชอบดูหนังคนหนึ่งเท่านั้นและมีการสปอยตอนจบของภาพยนตร์หลายเรื่อง ครั้งก่อนเราเขียนถึงเพลงตอนจบภาพยนตร์สุดประทับใจ (ย้อนอ่านได้ที่ 7 เพลงตอนจบภาพยนตร์สุดประทับใจ) แต่ยังไม่หมดแค่นั้น ตอนจบภาพยนตร์คือสิ่งที่เราหลงใหล วันนี้เราจะพูดถึงตอนจบภาพยนตร์เพียว ๆ แบบไม่มีเพลงมาเกี่ยวข้อง แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ประทับใจไม่รู้ลืม ตกผลึกอยู่ในความทรงจำไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหน Gone with the Wind (1939) Director: Victor Fleming, George Cukor ‘Frankly, my dear, I don’t give a damn’ นี่คือประโยคสุดท้ายจากภาพยนตร์เรื่อง Gone with the Wind และเป็นประโยคอันดับ 1 ตลอดกาลจากการจัดอันดับของ American Film Institute ถ้าใครไม่เคยดู Gone with the Wind คงสงสัยว่าประโยคนี้มีอะไรพิเศษ ก็ดูเป็นประโยคตัดความสัมพันธ์ธรรมดา แต่สิ่งที่ทำให้มันพิเศษคือเรื่องราวภายใต้ประโยคนี้ ถ้าจะอธิบาย Gone with the Wind ให้เข้าใจโดยง่าย มันคือละครน้ำเน่าที่มาในรูปแบบภาพยนตร์ โศกนาฏกรรมความรักท่ามกลางบรรยากาศสงคราม ผู้พูดประโยคนี้คือตัวละคร Rhett Butler
นับถอยหลังอีกไม่กี่อึดใจผู้ชายอย่างเราก็จะได้เข้าคูหาเลือกตั้งหลังไม่ได้เลือกมานานแสนนานแล้ว ไม่ว่าพรรคที่อยู่ในใจคุณตอนนี้จะเป็นใคร เราก็อยากชวนมาดู 5 หนังเชือดเฉือน–การเมือง–เลือกตั้งเพื่อรู้เท่าทันการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงมากขึ้นอีกระดับ Frost/Nixon เชื่อว่าผู้ชายหลายคนมองไปทางไหนก็เห็นแต่เวทีดีเบต เวทีประชันความคิดของนักการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลาย ในแต่ละเวทีเราคงอดครุ่นคิดไม่ได้ว่านักข่าว พิธีกร หรือแม้แต่ประชาชนอย่างเรา ๆ มีอำนาจแค่ไหนในการตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบ วิพากษ์ วิจารณ์นักการเมืองตรงหน้านี้ ? Frost/Nixon เล่าเรื่อง David Frost พิธีกรรายการ Talk Show ตกอับชาวอังกฤษที่ต้องสัมภาษณ์ Richard Nixon อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยในขณะนั้น Richard Nixon เพิ่งลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีเนื่องจากคดีอื้อฉาวครั้งใหญ่ ในสายตา Richard Nixon เขาคิดว่านี่คือโอกาสดีที่จะได้เรียกคะแนนสงสาร แถมมั่นใจในความเก๋าเกมของตัวเองว่ายังไงก็ไม่มีทางพ่ายให้กับพิธีกรตกอับอย่าง David Frost ฟาก David Frost เองก็ต้องทำการบ้านอย่างหนักวิ่งหาแหล่งทุนเพื่อทำรายการนี้และที่สำคัญเขาต้องการเอาชนะและตีแผ่ความจริงให้สาธารณชนได้รู้ Frost/Nixon จึงทำให้เห็นว่าอย่าประมาทพลังของคำถาม การตรวจสอบ การวิพากษ์วิจารณ์นักการเมือง อย่าคิดว่าเราตัวเล็กจะไปทำอะไรได้ เพราะการตั้งคำถามโดยเฉพาะในยุคที่อะไร ๆ ก็ออนไลน์มันคืออีกกระบวนการหนึ่งที่เราจะตีแผ่และล้วงลึกข้อเท็จจริงจากปากพวกเขาได้ Milk ในยุคที่รสนิยมทางเพศของมนุษย์ถูกชี้วัดตัดสินด้วยมาตรฐานศีลธรรมและกฎเกณฑ์สังคมบางอย่าง การเกิดมาเป็นผู้ชายที่ชื่นชอบผู้ชายด้วยกันจึงถูกมองเป็นเรื่องเลวร้ายสุดขีด หนังเรื่องนี้ เล่าเรื่องราวของ Harvey
บทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวจากคนชอบดูหนังคนหนึ่งเท่านั้นและมีการสปอยตอนจบของภาพยนตร์หลายเรื่อง ตลอดระยะเวลาชั่วโมงครึ่ง 2 ชั่วโมง หรืออาจมากกว่านั้นของภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง ทุกช็อต ทุกซีน ทุกไดอะล็อก ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามซีนที่ทำให้ผู้ชมจดจำภาพยนตร์เรื่องนั้นได้ดีที่สุดและตราตรึงในใจไปอีกนานสำหรับเรามันคือซีนจบ เพราะมันคือการสรุปเรื่องราวทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นการปูทางให้เราได้รู้ชีวิตของตัวละครหลัง End Credit ที่เราจะไม่ได้เห็นแล้ว ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีตอนจบในแบบของตัวเอง แต่สำหรับเราตอนจบจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นถ้าได้เพลงเพราะ ๆ เข้ากับเนื้อเรื่องบรรเลงขึ้นมา วันนี้เราจะมาพูดถึงเพลงเหล่านั้น เป็นการย้อนรำลึกความทรงจำ ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ความประทับใจก็ไม่เคยเสื่อมคลาย Song: A Real Hero – College & Electric Youth Movie: Drive (2011) แค่ชื่อเพลง A Real Hero ก็อธิบายภาพยนตร์เรื่องนี้ได้หมดทุกอย่างแล้ว เพราะ Drive ผลงานการกำกับของ Nicolas Winding Refn เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับนักขับรถนิรนามอย่าง Driver ที่ในตอนกลางวันประกอบอาชีพสุจริตเป็นสตันท์แมนให้กับกองถ่ายภาพยนตร์ แต่ในตอนกลางคืนเขาอาศัยอยู่ในโลกมืด ทำหน้าที่ขับรถพาอาชญากรหลบหนี ชีวิตแต่ละวันของ Driver ผ่านไปอย่างไร้ความหมาย จนกระทั่งเขาได้เจอกับเพื่อนบ้านสาวอย่าง Irene ความสัมพันธ์ที่งดงามก็ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ทั้ง 2 ต่างก็รู้ดีว่ามันคือความรักที่เป็นไปไม่ได้