ครั้งที่แล้ว เราได้มีการเล่าถึงอัลบั้มสุดเดือดของวงสายร็อกและเมทัล ที่คว่ำวอดอยู่ในวงการอันเดอร์กราวน์ในยุค 90’s ไปแล้ว (Link : https://bit.ly/3S5nDW4) มาในครั้งนี้เราจะเขยิบไทม์ไลน์ขึ้นมาอีกหนึ่งสเตปด้วยการต่อไปสู่ช่วงปี 2000-2005 ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่กำลังเข้าใกล้ความพีคของวงการนี้ โดยเราได้คัดเลือก 11 อัลบั้มสุดแรร์ที่คุณอาจจะไม่เคยได้สัมผัสมาให้ทุกคนได้ลองเสพกันดูครับ SWEET MULLET “PANAPHOBIA” (2003) ปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักวง Sweet Mullet ที่สร้างชื่อเสียงจากเพลง “ตอบ” ในโปรเจกต์ Showroom No.1 และยืนหยัดอยู่ในวงการดนตรีมาอย่างยาวนาน มีเพลงฮิตฝากไว้เพียบ ไม่ว่าจะเป็น “สภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน”, “ขอโทษในสิ่งที่เธอไม่รู้”, “ภาพติดตา” เป็นต้น แต่ก่อนที่จะเป็นที่รู้จัก พวกเขาก็เคยผ่านวิถีอันเดอร์กราวน์มาก่อน หลังจากที่ “เต๋า” นักร้องนำได้ออกจากวง Napkin ก็ได้มาสร้างวง Sweet Mullet ที่นำเสนอแนวทางอีโม/สครีมโม ที่เต็มไปด้วยเมโลดี้กับความเกรี้ยวกราด ซึ่งมันถูกสะท้อนออกมาใน EP.Panaphobia บรรจุไว้ด้วย 6 เพลงด้วยกันรวมอินโทร, เอาท์โทร และเพลงอะคูสติค ซาวด์อีพีนี้ได้สะท้อน DNA ของวงไว้ได้อย่างชัดเจน วง
ปัจจุบันดนตรีร็อกและเมทัลในบ้านเราเติบโตขึ้นมามาก เราได้เห็นวงมากหน้าหลายตาที่ได้โอกาสก้าวข้ามพรมแดนไปเล่นยังต่างประเทศมาแล้วมากมาย เช่นวง Annalynn, Whispers, Retrospect, Sweet Mullet, Defying Decay เป็นต้น กล่าวมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนอาจจะไม่ใช่คุ้นชื่อหลาย ๆ วง ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะว่าพวกเขาเหล่านั้นเป็นวงนอกกระแส หรือที่เรียกกันว่า ‘วงการอันเดอร์กราวน์’ นั่นเอง วงการที่อุดมไปด้วยเพลงอันหนักหน่วง รุนแรง และทุกคนต่างต้องต่อสู้บนเส้นทางที่รายรับติดลบ รายจ่ายตีบวก เรียกได้ว่าใช้แพชชั่นขับเคลื่อนล้วน ๆ และ ‘วงการอันเดอร์กราวน์’ บ้านเราจริง ๆ แล้วเริ่มมีรากฐานมาตั้งแต่ช่วงปลายยุค 80’s แล้ว ว่ากันว่าอัลบั้ม “ฆาตกัญชา” ของวง Flesh And Skin (เนื้อกับหนัง) ที่วางจำหน่ายเมื่อปี 1984 คือผลงานบุกเบิกวงการอันเดอร์กราวน์โดยแท้จริง ผลงานของพวกเขานำเสนอแนวทางเฮฟวี่เมทัลอันเข้มข้น แหวกแนวกว่าวงในยุคนั้นทั้งหมดทั้งปวง หลังจากนั้นดูเหมือนว่าวงการเฮฟวี่เมทัลในบ้านเราก็คึกคักขึ้นมา เมื่อค่ายเมนสตรีม หรือค่ายระดับรองต่างหันมาจับจ้องปลุกปั้นแนวนี้กัน ทำให้เราได้เห็นผลงานของวงหิน เหล็ก ไฟ, The Olarn Project,
Avenged Sevenfold วงดนตรีแนวโมเดิร์น เฮฟวี่เมทัล ที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในวงการอุตสาหกรรมดนตรี พวกเขาก้าวมาจากวงในระดับอันเดอร์กราวน์ โดยมีผลงานในยุคแรกเป็นสไตล์เมทัลคอร์ที่ดุดัน ได้แก่อัลบั้ม “Sounding the Seventh Trumpet “ (2001) และ “Waking The Fallen” (2003) พวกเขาทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมจนสามารถสร้างฐานแฟนเพลงได้อย่างมากมาย ทำให้ออร่าส่องแสงไปเข้าตา Warner Bros. ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ระดับโลก จนสุดท้าย A7X (ชื่อย่อของวง) ได้เซ็นสัญญาสู่โลกของเมนสตรีมในที่สุด หลังจากนั้นพวกเขาก็ยกระดับวงขึ้นสู่วงเมทัลระดับโลกด้วยผลงานอัลบั้ม “City Of Evil” (2005) และอัลบั้มชื่อเดียวกับวงในปี (2007) เส้นทางกำลังไปได้สวย แต่แล้วพวกเขาก็ต้องมาเจอเรื่องไม่คาดฝัน เมื่อ The Rev หรือ “James Owen Sullivan” มือกลองมากฝีมือของวงต้องเสียชีวิตจากอาการโอเวอร์โดสเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2009 ทำให้ทางวงต้องไปดึงตัว Mike Portnoy มือกลองของวง Dream Theater มาช่วยทำหน้าที่แทนชั่วคราว
Black Sabbath คือวงดนตรีเฮฟวี่ เมทัล ระดับตำนาน จากเมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ที่สร้างอิทธิพลให้กับวงการดนตรีเมทัลไว้มากมาย มีไลน์อัพนำทัพยุคแรกคือ Ozzy Osbourne – ร้องนำ, Tony Iommi – กีตาร์, Geezer Butler – เบส และ Bill Ward – กลอง ถือกำเนิดกันตั้งแต่ปี 1968 ก่อนจะคลอดผลงานชุดแรกเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1970 ซาวด์ดนตรีในชุดนี้เต็มไปด้วยความเป็นเฮฟวี่เมทัลสุดเข้มข้น แต่ถ้าจะให้บอกว่าเพลงไหนคือคาแรคเตอร์ที่ชัดเจนของวงคงต้องยกให้แทร็กเปิดอัลบั้มที่ใช้ชื่อเดียวกับวง มันมาพร้อมบรรยากาศอันน่าสะพรึงกลัว ปกคลุมด้วยความมืดมน พร้อมทั้งมีดนตรีสุดหน่วงซึ่งเป็นต้นแบบให้กับดนตรีดูมและสโตนเนอร์ในยุคต่อมา อีกทั้งผลงานเพลงชุดนี้ยังถูกยกย่องให้เป็นคัมภีร์ของเพลงเมทัลฉบับแรกของโลก แต่ใช่ว่าดนตรีเท่านั้นที่จะชวนหลอนจนขนหัวลุก ทว่าปกของอัลบั้มนี้ยังสร้างความหลอนได้ไม่แพ้กัน โดยเฉพาะรูปของหญิงสาวในชุดคลุมสีดำ มีเบ้าตาที่น่าสยดสยอง ราวกับเป็นดวงวิญญาณยืนอยู่บริเวณหน้าบ้านร้างที่เป็นแบ็คกราวน์ของภาพ ทำให้มีการปล่อยข่าวลือกันว่าสิ่งที่ปรากฏบนภาพเป็นอะไรที่ไม่ใช่คนอย่างแน่นอน ภาพปกอัลบั้มถูกถ่ายโดยช่างภาพชาวอังกฤษที่มีนามว่า Keith McMillan เขาเคยลั่นชัตเตอร์ให้กับ John lennon, Yoko Ono, Mick Jagger และอีกหลายศิลปินที่มีชื่อเสียง เขาได้ถูกว่าจ้างให้มาควบคุมการออกแบบอาร์ตเวิร์กของอัลบั้ม
คุณรู้จักดนตรีแนวเมทัลดีขนาดไหน? บางคนอาจจะมาก บางคนอาจจะน้อย หรือบางคนก็อาจจะไม่รู้เลย ซึ่งก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะมันเป็นดนตรีเฉพาะกลุ่มที่ต้องเสริมใยเหล็กในหูมาแล้วจึงได้เสพมันได้้อย่างเข้าถึงอารมณ์ แถมภาพจำของใครหลาย ๆ คนต่อชาวเมทัลมันคือความโหดร้ายไปซะอีก แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นเพียงแค่ภาพลักษณ์ภายนอก เพราะมีการพิสูจน์ได้ทางวิทยศาสตร์มาแล้วว่าดนตรีเมทัลมีอะไรดี ๆ มากกว่าที่คิดไว้มาก ดังเช่นเรื่องราวต่อไปนี้ ภาพลักษณ์ชาวเมทัลไม่จำเป็นต้องโหดเสมอไป หลาย ๆ คนยังติดตากับชาวเมทัลว่าต้องมีภาพลักษณ์ที่ดูดุดัน, ลึกลับ, น่ากลัว หรือมีทรงผมและหนวดเคราราวกับหลุดออกมาจากยุคไวกิ้ง โอเคถ้าคุณจะคิดแบบนั้นก็ไม่ผิด เพราะภาพลักษณ์ของวงดนตรีเมทัล โดยเฉพาะช่วงก่อนเข้าสู่ยุค 2000’s ก็มีลักษณะแบบนั้นจริง ๆ แต่สำหรับในปัจจุบันมันแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง มีความหลากหลายเกิดขึ้นมากมาย การแต่งตัวก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องคุมธีมด้วยสีดำเท่านั้น และไม่ได้เป็นคนที่มีอารมณ์โกรธเกรี้ยวอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ทาง Laina Dawes นักชาติพันธุ์วิทยาชาวแคนาดา เจ้าของหนังสือ “What Are You Doing Here? A Black Woman’s Life and Liberation in Heavy Metal” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสำรวจชาวอเมริกันผิวสีที่มีแนวโน้มหันมาฟังเพลงเมทัลมากกว่าเดิม เธอได้สัมภาษณ์ทั้งศิลปินและแฟนเพลงเมทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ข้อมูลว่าดนตรีแนวพังก์, เพาเวอร์ไวโอเลนซ์ และไกรคอร์
ยกให้เป็นงานสุด weird ประเดิมครึ่งปีหลังที่ไม่รู้จะหาดูได้จากที่ไหนได้อีก คิดไม่ออกด้วยว่าเอามารวมกันได้ยังไง แต่บอกตรง ๆ ว่ามันช่างมันส์เกินบรรยายจริง ๆ! เข็มถักนิตติ้ง เส้นไหมจากขนสัตว์พลิ้วย้วย กับการโยก ๆ ขยับมือยิก ๆ สอดประสานตามจังหวะเสียงกลอง เสียงกีตาร์ และเสียงว้ากบนเวทีแบบนี้ เป็นภาพสุดแรร์หาดูไม่ได้จากที่ไหนเพราะมาจากเวทีประกวดถักนิตติ้งในประเทศฟินแลนด์ งานที่เพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อ Heavy Metal Knitting World Championship! จนเกิดเป็นกระแสทั่วโลกออนไลน์และกลายเป็นหนึ่งในอีเวนต์ที่คนปักหมุดไว้ให้เป็น A MUST อีเวนต์สำหรับปีหน้า จุดเริ่มต้นเวทีคราฟต์ของชาวร็อก อย่างที่บอกว่างานนี้จัดขึ้นที่ฟินแลนด์ ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของชาว Heavy Metal เพราะจิตวิญญาณเสรีของดนตรีแนว Heavy Metal มันกระจายอยู่ทุกที่ ถึงขนาดได้รับการขนานนามกันว่าถ้ามีคนฟินแลนด์สักแสนคน ก็ต้องมีวงดนตรีเฮวี่เมทัลสัก 50 วง แต่ขณะเดียวกันพลเมืองในฟินแลนด์ก็นิยมความนิ่งเรียบง่ายจากการเย็บปักถักร้อยด้วย ความสุขจากเสียงเพลงและความสุขจากงานฝีมือแม้จะดูต่างกันสิ้นดีแต่จุดหมายมันก็ไม่ต่างกัน เพราะทั้งสองสิ่งนี้ล้วนละเอียดและประณีตในตัวของมันเอง ดังนั้น เพื่อล้างทัศนคติลวงตาที่หลายคนเชื่อว่าคนทำงานคราฟต์ถักนิตติ้งต้องนั่งโยกตัวบนเก้าอี้โยกโง่ ๆ แก่ ๆ เฉิ่ม ๆ เขาจึงจัดงานประกวด