MUSIC

5เหตุผลทำไมวัยรุ่นไทยยังคงนิยมฟัง “เพลงยุค 70s-80s” กันอยู่ไม่เสี่อมคลาย

By: HYENA July 22, 2016

เคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ว่า ทำไมเด็กวัยรุ่นที่เกิด และโตมาในยุค 80s-90s รวมไปถึงเด็กวัยทีนในสมัยนี้ถึงได้อินกับการฟังเพลงยุคเก่า อย่าง Led Zeppelin, John Denver, Frank Sinatra, Van Morrison, The Beatles, Jimi Hendrix และ Rolling Stones หรือวงดนตรีช่วงปี 70s ในเมื่อเพลงเก่าที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เหล่านี้ ได้ออกมาให้คนฟังรู้จักตั้งแต่วัยรุ่นในยุคปัจจุบันยังไม่ออกมาลืมตาดูโลกซะด้วยซ้ำไป วันนี้เราจะมาดูกันว่า ด้วยเหตุผลอะไร เพลงเหล่านี้ถึงยังคงครองใจวัยรุ่นทุกยุคทุกสมัยมาอย่างยาวนานต่อเนื่อง ไม่เสื่อมคลาย และนี่คือ 5 เหตุผลที่มีความเป็นไปได้

160721-why-do-young-people-listen-to-really-old-music-3

1.ได้รับการเลี้ยงดูจากผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด

หนุ่มสาวเหล่านี้ อาจจะได้รับการปลูกฝังมาจากผู้ปกครองของพวกเค้าในวัยเด็ก โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ถูกเลี้ยงดูโดยพ่อ และแม่อย่างใกล้ชิด ไม่ได้ผ่านมือพี่เลี้ยงมากเท่าไหร่นัก ในทุกครั้งที่ผู้ปกครองฟังเพลง เด็กก็จะซึมซับความรู้สึกสบายใจ ปลอดภัย และรู้สึกใกล้ชิดกับครอบครัวเอาไว้ เพลงเหล่านั้นจึงทำให้พวกเค้าเกิดความรู้สึกดีๆ อยู่เสมอในทุกๆ ครั้งที่ได้ฟัง จนกลายเป็นความรู้สึกชอบ และผูกพันกับเพลงไปโดยปริยาย

160721-why-do-young-people-listen-to-really-old-music-5

2.ดนตรีในยุค 60s-70s พูดถึงเรื่องราวของชีวิต และแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอย่างชัดเจนกว่า เพลงยุคใหม่ที่พูดถึงแต่เรื่องความรัก

เพลงในยุคนั้น คุณจะรู้สึกได้ว่า ยิ่งฟัง ยิ่งอิน และเนื้อหาของเพลงจะโดนใจคนส่วนใหญ่เป็นวงกว้างกว่าเพลงในยุคนี้ นั่นก็เพราะว่า ไม่ว่าเพลงใหม่จะออกมาซักกี่เพลงก็ตาม เนื้อหาก็มักจะพูดถึงเรื่องราวของความรักในช่วงเวลาสั้นๆ อย่าง ตกหลุมรัก มือที่3 อกหัก โดนทิ้ง ซะเป็นส่วนใหญ่ แตกต่างจากเพลงยุคเก่าๆ ที่เล่าเรื่องราวได้อย่างครบถ้วน จนทำให้คนฟังสามารถใช้จินตนาการ และรู้สึกไปกับเพลงได้มากมายหลากหลายอารมณ์กว่า

160721-why-do-young-people-listen-to-really-old-music-2

3.นักดนตรีในยุค 60s-70s มีความสามารถ และน่าสนใจกว่านักดนตรีในปัจจุบัน

คำอธิบายนี้เป็นคำอธิบายที่ออกจากปากกูรูทางด้านดนตรีจากหลากหลายสำนักว่าทำไม เพลงในยุคนั้นถึงได้ดังเป็นอมตะ และมีคนฟังอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะผ่านช่วงเวลามาอย่างยาวนาน พวกเค้าได้อธิบายถึงคุณภาพของเพลงในยุคนั้น รวมไปถึงความสามารถของศิลปินที่ส่วนใหญ่จะแต่งเอง เล่นเอง ร้องเอง แตกต่างจากดนตรียุคใหม่ที่มีการพึ่งพาโปรดิวเซอร์ และทีมงานมากเกินไป จนทำให้เพลงขาดเอกลักษณ์ และฟังดูเหมือนๆ กันไปหมด ไม่ค่อยจะมีความแตกต่างในสไตล์เพลงสักเท่าไหร่นัก

160721-why-do-young-people-listen-to-really-old-music-1

4.ยุค Babyboomers เป็นยุคที่มีอิทธิพลต่อสื่อโลกมากที่สุด

ลองถามคุณพ่อ คุณแม่ได้เลยถ้าหากพวกเค้าเกิดในยุค Babyboomers เพราะไม่ว่าคุณจะเปิดทีวี ดูหนังในโรงภาพยนตร์ หรือจะไปทำอะไรที่ไหนก็แล้วแต่ เพลงในยุค 60s-70s แทบจะเปิดก้องไปในทุกๆ ที่ จากที่คุณไม่เคยฟังคุณก็จะกลายเป็นติดหู จากที่ร้องไม่ได้ก็จะกลายเป็นร้องได้ ทุกสิ่งทุกอย่างถูกควบคุมโดยเสียงเพลง เสียงดนตรีไปจนแทบจะหมดสิ้น และนั่นคือยุคที่ดนตรีรุ่งเรื่องสุดๆ ไม่ต่างจากยุค Classical Baroque เลยแม้แต่น้อย

160721-why-do-young-people-listen-to-really-old-music-4

5.เพลงฮิตในสมัยนี้ออกมาบ่อย และถี่เกินไป นั่นคือสาเหตุที่ทำให้มันมาไวไปไว แตกต่างจากเพลงฮิตยุคก่อน

ในหนึ่งปีที่ผ่านมา มีเพลงใหม่ออกมาแทบจะนับไม่ทันเลยทีเดียว แต่เมื่อเพลงนี้กำลังติดชาร์ตติดหู เพลงใหม่ๆ ก็ออกมาเขี่ยเพลงพวกนั้นตกลงไปซะแล้ว เพลงหลายๆ เพลงควรจะเป็นที่จดจำกลับกลายเป็นถูกลืมจากการมาใหม่ของเพลงที่ขยันออกมาอย่างถี่ยิบ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกเหตุผลนึงว่าทำไมเพลงยุคใหม่ถึงไม่อยู่ค้างฟ้าเป้นอมตะอย่างเพลงยุคเก่าๆ

 

 

 

HYENA
WRITER: HYENA
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line