ปีนี้ถือเป็นปีที่สำคัญมากสำหรับ Longines เนื่องจากเป็นปีที่ “Conquest” คอลเลคชั่นมีอายุครบ 70 ปี ตำนานที่เริ่มต้นขึ้นในปี 1954 และยังเป็นปีที่ชื่อ Conquest ถูกจดลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการ เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสสุดพิเศษให้กับคอลเลคชันนี้ Longines จึงออกแบบนาฬิการุ่นคลาสสิกนี้ขึ้นใหม่ภายใต้ชื่อ Conquest Heritage Central Power Reserve ที่ได้แรงบันดาลใจจาก Conquest Power Reserve ลำดับที่ 2 ในปี 1959 กับจุดเด่นที่สะเทือนโลกนาฬิกาด้วยจากดิสเพลย์พลังงานสำรองบนจานหมุน (rotating disc) ที่ตั้งอยู่กลางหน้าปัด บ่งบอกระดับพลังงานสำรองที่เหลืออยู่ ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ที่คิดค้นและจะพบได้เฉพาะที่ Longines เท่านั้น เพื่อร่วมเฉลิมฉลองให้กับ 70 ปีแห่งนวัตกรรมและความสง่างามของ Longines Conquest collection เราจะพาทุกท่านย้อนเวลาไปทำความรู้จักกับ Conquest ให้ดีขึ้นตั้งแต่เรือนแรกในปี 1954 จนถึงเรือนล่าสุดเพื่อพิสูจน์ความสง่างามเหนือกาลเวลาของนาฬิการุ่นนี้กันครับ 1954 – LONGINES CONQUEST REF. 9001 ; ตัวเรือนขนาด
ผ่านเวลามา 50 ปี ความคลาสสิกจากงานดีไซน์เรือนเวลารูปทรง TV ที่ผสานรูปร่างสี่เหลี่ยมเข้าไว้กับความโค้งมนได้อย่างกลมกล่อม พร้อมคืนชีพอีกครั้งกับ MIDO Multifort TV Big Date ตัวแทนความเก๋าด้านงานออกแบบที่พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน หลังจากที่ Mido เคยเผยโฉมนาฬิกาทรง TV สุดคลาสสิกมาแล้วเมื่อปี 1973, 1980 และ 2000 ล่าสุดตำนานเรือนเวลาหน้า TV ได้กลับมาโลดแล่นอีกครั้งบน MIDO Multifort TV Big Date ซึ่งโดดเด่นด้วยการออกแบบที่คลาสสิกร่วมสมัย เต็มไปด้วยเสน่ห์ของหน้าปัดสะท้อนแสงโชว์เอฟเฟกต์การไล่เฉดแสงสีที่น่าหลงใหลจากโทนสีหลักกลางหน้าปัดไปจนสุดขอบสีดำ ตัวเรือนสเตนเลสของ MIDO Multifort TV Big Date ดูลงตัวมีมิติด้วยการขัดเงาแนวนอนอย่างเด่นชัด ขาดไม่ได้กับความโดดเด่นของ ‘BIG DATE’ หน้าต่างวันที่ขนาดใหญ่ที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา นอกจากนี้ภายใต้กระจกแซฟไฟร์ด้านหลังตัวเรือนยังเผยให้เห็นความงามของกลไก Caliber 80 สุดแม่นยำ พร้อมรองรับการสำรองพลังงานได้สูงสุด 80 ชั่วโมง เหมาะมากสำหรับเป็น Every Day
โลดแล่นมากว่า 10 ปี วันนี้ Porsche Macan EV ก็เปิดตัวมาในขุมพลังไฟฟ้าล้วนเป็นครั้งแรก พัฒนาบน Premium Platform Electric (PPE) platform ที่รองรับไฟฟ้าสูงสุด 800-volt electrical architecture ซึ่งคิดค้นร่วมกับ Audi เป็นครั้งแรก และคาดว่าจะใช้ platform นี้กับ Audi A6, Q6 และ Cayenne EV โมเดลต่อไปด้วยเช่นกัน แบตเตอรี่ของ Macan EV ใช้เป็น Lithium-Nickel Manganese Cobalt cells ทั้งหมด 12 modules ให้ความจุไฟฟ้ารวม 100 kWh ได้ Range ไกลสุดราว 380 mile หรือ 600 km ต่อการชาร์จ มีสองระดับความแรงให้เลือก
ถึงแม้ว่าจะมาเป็นครั้งแรก แต่เรากลับเดินทางมาถึงบ้านซึ่งซ่อนตัวอยู่ในซอยหนึ่งของย่านสีลมนี้ได้อย่างไม่ลำบากจนเกินไปนักทั้ง ๆ ที่ตัวเองห่วยแตกเรื่องการดูแผนที่มาตลอด คงเป็นเพราะนี่คือโลเคชั่นของรายการโปรดของตัวเองจากช่อง Rubsarb Production ชื่อ ‘ศิลปะล่ะ’ ที่ดูเป็นประจำล่ะมั้ง (จาก EP.25 มันผ่านมา 3 เดือนกว่าแล้วนะครับพี่ ๆ) พอเห็นประตูบ้าน เงยหน้าพิจารณาดูภายนอกอยู่สักพัก ก็ชัวร์เลยว่าหลังนี้ล่ะบ้านของพี่ ‘ฮ่องเต้ Art Of Hongtae’ ทำไมเราถึงมั่นใจมากทั้ง ๆ ที่ไม่มี Fact อะไรมารองรับ ก็เพราะเขาเปิดประตูออกมาทักทายแล้วไง “บ้านกูเหมือนห้องทำงานเจ้าของ Paul Smith ปะ ของรกสัส 555” เชื่อว่าทุกคนรู้จักผู้ชายชื่อ ฮ่องเต้-กนต์ธร เตโชฬาร ดีอยู่แล้ว ในฐานะของคนทำงานศิลปะ ไม่ว่าจะในรูปแบบของภาพประกอบ งานเขียน หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ถ้าให้ลิสต์รายชื่อทั้งหมดก็จะเสียพื้นที่ไปอีก 2-3 ย่อหน้า หรือแฟนคลับของพี่ฮ่องเต้ก็น่าจะรู้อยู่แล้วอีกแหละว่าเขาเติบโตมากับคุณพ่อที่เป็นหมอคุณแม่ที่เป็นแม่บ้าน เรียนศิลปะกับ ‘ครูสังคม ทองมี’ เข้าสถาปัตย์จุฬาเพราะใจแตกจากการดูละครเวทีสถาปัตย์ เรียนจบทำงาน Wedding Designer
Sartory-Billard เปิดตัวซีรีส์ SB06 ก้าวทะยานไปข้างหน้าด้วยนาฬิกา Flying Tourbillon แบบสั่งทำพิเศษ ประเดิมความลำหน้าด้วยกลไก SBTV01 ที่เป็นเอกสิทธิ์ของ Sartory-Billard ถูกประดิษฐ์ขึ้นด้วยความแม่นยำอย่างพิถีพิถันโดย Comblemine นาฬิกาเหล่านี้ไม่เพียงแสดงถึงความก้าวหน้าในด้านความซับซ้อนเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นต่อค่านิยมหลักของแบรนด์ในด้านความพิเศษเฉพาะตัวและความเป็นปัจเจกในแต่ละบุคคลอีกด้วย ในฤดูร้อนปี 2021 Sartory-Billard เริ่มต้นการเดินทางครั้งสำคัญในการผลิตนาฬิกาเมื่อ Cronotempvs Watch Club ติดต่อเข้ามาเพื่อขอให้แบรนด์ผลิตนาฬิกา Flying Tourbillon ที่รวบรวม DNA อันเป็นเอกลักษณ์ของ Sartory-Billard สิ่งที่ดูเหมือนเป็นการเลือกกลไกมาตรฐานอย่างตรงไปตรงมาในครั้งนั้นได้กลายมาเป็นหัวใจในการพัฒนากลไกของตนเองครั้งแรกของแบรนด์อย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาสองปีกว่าทำให้ Armand Billard ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่ม Cronotempvs เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ ออกแบบ และพัฒนากลไกร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและช่างทำนาฬิกาที่ Comblemine เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดด้วยคุณสมบัติที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เช่น sapphire bridges และรายละเอียดที่ซับซ้อนอีกมากมาย กระบวนการเหล่านี้สร้างความท้าทายให้กับ Comblemine และซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากให้ตระหนักถึงการออกแบบที่ทะเยอทะยานและมีรายละเอียดที่ประณีต Sartory-Billard รุ่นใหม่นี้มีจำหน่ายทั้งในรูปแบบ 12 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมง โดยแต่ละรูปแบบจะมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร รุ่น
เผลอแป้ปเดียว Omega Dark Side of the Moon ก็มีอายุครบ 10 ปีแล้ว เผยโฉมครั้งแรกในปี 2013 สำหรับ Speedmaster โทนสีดำล้วนสุดเท่ซึ่งมีปล่อยออกมาหลายรุ่น และในโมเดลอัพเดทใหม่นี้ก็ผ่านการปรับรายละเอียดที่น่าสนใจบนพื้นฐานของ Speedmaster Dark Side of the Moon Apollo 8 ตัวเรือนยังคงมีขนาด 44.25 mm black ceramic case หน้าปัดสวยงามด้วยการออกแบบกึ่ง skeletonized และ Moon-textured plates ซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก DSOTM Apollo 8 ตัดกับเข็มและชื่อรุ่นสีเหลืองบนหน้าปัดได้อย่างสวยงาม โดยฝั่งด้านหน้าจะโชว์พื้นผิวดวงจันทร์ที่เรามองเห็นได้จากโลก และด้านหลังจะเป็นด้านที่มืดกว่าของดวงจันทร์ สะท้อนมุมมองที่นักบินอวกาศของ Apollo 8 ได้เห็นขณะปฏิบัติภารกิจในปี 1968 และที่โดดเด่นที่สุดในรุ่นนี้ก็คือเข็มทรง Saturn V rocket บน small seconds ที่ผลิตจากวัสดุ
Cartier แบรนด์เครื่องประดับและนาฬิกาสัญชาติฝรั่งเศส เปิดตัว แทงก์ หลุยส์ คาร์เทียร์ แบงค็อก อิดิชั่น (Tank Louis Cartier Bangkok Edition) เรือนเวลาที่รังสรรค์ขึ้นเป็นพิเศษสำหรับประเทศไทย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากสมญานามของประเทศไทย “The Golden Kingdom” โดยได้เลือกใช้โทนสีทองที่สื่อถึงวัฒนธรรมไทย ขณะที่ยังคงเอกลักษณ์ความสมดุลด้านดีไซน์และความสง่างามไร้กาลเวลาของเรือนเวลาตระกูลแทงก์ (Tank) ไว้อย่างครบครัน พร้อมตอกย้ำความพิเศษของเรือนเวลารุ่นนี้ด้วยจำนวนจำกัดเพียง 67 เรือนเท่านั้น เรือนเวลาตระกูลแทงก์ (Tank) เป็นหนึ่งในผลงานชิ้นไอคอนิคของคาร์เทียร์มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1917 ซึ่งเป็นปีที่หลุยส์ คาร์เทียร์ (Louis Cartier) ได้รังสรรค์เรือนเวลาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขึ้นจากความประทับใจในรูปทรงของรถถังฝรั่งเศสด้วยรูปทรงเรขาคณิตของหน้าปัดและกรอบคู่แนวตั้งขนาบตัวเรือน ที่ดูคล้ายภาพจำลองของรถถังเมื่อมองจากมุมสูง ทำให้ดีไซน์ของแทงก์มีความโดดเด่นล้ำสมัย ต่างกับนาฬิกาส่วนใหญ่ในยุคนั้นที่มีหน้าปัดทรงกลม ต่อมาในปี 1922 คาร์เทียร์ได้รังสรรค์เรือนเวลา แทงก์ หลุยส์ คาร์เทียร์ (Tank Louis Cartier) ที่ยังคงเอกลักษณ์ดีไซน์เรขาคณิตของแทงก์ แต่แตกต่างที่กรอบข้างตัวเรือนมีความโค้งมนมากขึ้น สร้างความสมดุลจนพิชิตใจคนรักนาฬิกาทั่วโลก ไล่เรียงตั้งแต่สมาชิกราชวงศ์ ไปจนถึงบุคคลชั้นนำ และหลุยส์ คาร์เทียร์ ผู้สวมใส่นาฬิการุ่นนี้เป็นประจำจนเป็นที่มาของชื่อรุ่น ความสำเร็จของแทงก์ หลุยส์ คาร์เทียร์ รุ่นแรกเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนและตีความใหม่อีกหลายครั้ง แทงก์ หลุยส์ คาร์เทียร์ แบงค็อก คือผลลัพธ์จากการตีความครั้งล่าสุดที่โดดเด่นสะดุดตาแต่แรกเห็น ด้วยตัวเรือนขนาด 33.7 x 25.5 มม. เพรียวบางเพียง 6.6 มม.
ช่วงอาทิตย์สุดท้ายก่อนหมดปี 2023 ที่ผ่านมา เราทำงานแบบ WFH อยู่บ้านทั้งสัปดาห์ก็เลยได้โอกาสทองในการทำลายกองดอง (ส่วนหนึ่ง) ตั้งแต่ต้นปีให้พร่องลงเล็กน้อย และจากจำนวนเล่มที่เลือกมาทั้งหมด ก็มีนิยายญี่ปุ่นของโอตสึ อิจิ นี่ล่ะที่ติดอยู่ในใจเอามาก ๆ นักเขียนอะไรดังตั้งแต่อายุ 17 (ฤดูร้อน ดอกไม้ไฟ และร่างไร้วิญญาณของฉัน) และถูกเรียกว่าเป็นเครื่องจักรผลิตความเศร้ามาตั้งแต่ตอนนั้น ตัวอักษรใน ‘เสียงโทรศัพท์ข้ามเวลา’ (Calling You) きみにしか聞こえない ทำงานของมันสำเร็จอีกครั้ง เอาน้ำตาของเราไปหลายลิตร รวม 3 เรื่องสั้นก็เอาน้ำตาไปทั้ง 3 ครั้ง ก็เพราะธีมของเรื่องสั้นทั้งหมดล้วนพูดถึง ‘ความรัก’ ในรูปแบบที่ต่างกัน ของตัวละครต่างวัย แต่ทุกคนเหมือนกันตรงที่ถูกความรักเหล่านั้นเป็นอาวุธทิ่มแทงใจจนปวดร้าว เกิดเป็นความรักที่ไม่สมหวัง / ความรักที่ทำร้าย และ ความรักที่ถูกกีดกัน ‘เสียงโทรศัพท์ข้ามเวลา’ เล่าเรื่องของ เรียว เด็กสาวที่ฝันอยากมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเอง ถึงแม้ว่าเธอจะไม่มีเพื่อนให้โทรหาเลยก็ตาม ความหมกมุ่นนำไปสู่จินตนาการถึงโทรศัพท์ในหัวของตัวเอง ก่อนจะพาเธอไปสู่เหตุการณ์ไม่คาดฝันเมื่อจู่ ๆ มีใครบางคนโทรเข้ามาในหัว และมันจะเปลี่ยนชีวิตของเรียวให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ‘บาดแผลวัยเยาว์’ พูดถึงมิตรภาพเด็กประถมในชั้นเรียนพิเศษ 2 คน
ตอนนี้อายุ 29 แล้วทำอะไรอยู่ล่ะ ? เราพบว่าตลอดขวบปีก่อนเข้าเลข 30 ของตัวเอง จะมีวันที่คำถามนี้ถูกกระซิบเบา ๆ ด้วยเสียงที่ดังมาจากตรงไหนสักแห่งภายในหัวของตัวเองอยู่เสมอ ทั้งวันที่ดื่มโค้กซีโร่สองกระป๋องจนนอนไม่หลับ หรือแม้กระทั่งวันที่กำลังน้ำตาไหลกับหนังเรื่องโปรดของโคเรเอดะเมื่อวานก่อนเสียงนี้ก็โผล่มาให้ได้ยินเป็นระยะ ๆ เรารู้ดีว่าคำถามนี้มีต้นตอมาจากไหน และทำไมยังคงอยู่ เมื่อหลายปีก่อนเคยให้สัญญากับเพื่อนที่เรียนมหาลัยคณะดนตรีด้วยกันเอาไว้ ว่าถ้าอายุ 30 แล้วเพลงที่ทำด้วยกันยังไม่ดังก็จะขอเลิกนะ คำพูดติดตลกในวันนั้น ส่งผลรุนแรงกว่าที่คิดเยอะเลย พอกระดาษสัญญาที่เซ็นเอาไว้ด้วยชื่อ-นามสกุลของเราคนเดียวด้วยปากกาลมปากกำลังจะถูกฉีกทิ้งในอีกไม่ช้า ถ้าไม่มีฝันนี้แล้วจะเอายังไงต่อ .. เราถูกตัวเองถามอีกครั้งในขณะที่นับถอยหลังอีกไม่กี่วันก็จะอายุครบ 30 และคำตอบของเราส่วนหนึ่งอาจจะอยู่ในมังงะเล่มของอาจารย์ Keigo Shinzo ในโพสต์นี้ล่ะมั้ง ก็เลยอยากเขียนถึงหน่อย มังงะที่ตัวเอกของเรื่องบังเอิญอายุเท่ากัน แล้วยังเคยบ้าบอวิ่งไล่ตามความฝันแบบมองไม่เห็นความจริงเหมือนกันอีก Hirayasumi เล่าเรื่องของ ‘อิคุตะ ฮิโรโตะ’ เด็กหนุ่มอายุ 29 ที่ได้รับมรดกเป็นบ้านเก่า ๆ หลังหนึ่งจากคุณยายที่บังเอิญสนิทกันด้วยเหตุผลบางอย่าง เขาทำงานเป็น Freeter (คำที่คนญี่ปุ่นใช้เรียกฟรีแลนซ์ที่ทำงานนู่นนั่นนี่ไปเรื่อย ๆ) ในกรุงโตเกียวแบบมีความสุขดี และอยู่บ้านหลังนี้กับลูกพี่ลูกน้องชื่อ ‘โคบายาชิ นัตสึมิ’ ผู้ที่ออกจากบ้านเกิดเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยศิลปะตามฝันของตัวเองไม่ต่างจากฮิโรโตะตอนมาถึงโตเกียวใหม่ ๆ วันแสนธรรมดาของทั้งคู่ประกอบไปด้วยน้ำตา รอยยิ้ม ความสุข
Swatch Group เปิดตัวปีใหม่อย่างดุดันด้วย Scuba Fifty Collection ล่าสุด เป็น Blancpain X Swatch รุ่นที่ 6 “Ocean of Storms” ในโทนสีดำ ตัวเรือน black bioceramic case ผิว satin-finished ขนาด 42.3mm x 14.4mm x 48mm (lug-to-lug) หน้าปัดดำตัดกับ markers และ hands สีขาว รวมถึงเส้นนาทีบนขอบได้อย่างลงตัว เพิ่มรายละเอียดด้วยตัวเลขกันน้ำลึก 91 เมตรสีส้ม และยังคงใช้สาย NATO-style เช่นเดียวกับรุ่นอื่น ๆ ใน collection เดียวกัน ถือว่าเป็นการเปิดตัวที่ค่อนข้างน่าประหลาดใจ เพราะเดิมเราเข้าใจว่า Scuba Fifty น่าจะมีแค่ 5 รุ่นตามชื่อ Ocean ซึ่งมีเพียง
เชื่อว่าไม่น่าจะมีใครคุ้นตา BMW คันนี้กันมากนัก หรือบางคนอาจจะคิดว่ามันเป็นเพียงภาพจำลองในอดีต ที่จริงแล้ว BMW M12 สุดลึกลับคันนี้ คือรถที่เคยถูกสร้างขึ้นในฐานะ Concept car สามารถใช้งานได้ทุกอย่าง และเกือบจะถูกส่งต่อไปในขั้นตอน pre-production model เพื่อขายให้ลูกค้าทั่วไป แต่น่าเสียดาย ที่รถคันนี้ไม่ได้ถูกขึ้นไลน์ผลิตสู่สาธารณะในปี 1991 BMW Nazca M12 รถยนต์ที่ BMW ได้มอบหมายให้ Giorgetto Giugiaro และ Fabrizio Giugiaro เจ้าของ Italdesign สำนักออกแบบรถยนต์อันโด่งดังเป็นผู้ดีไซน์เพื่อนำไปจัดแสดงในงาน Geneva Motor Show ซึ่งในปีนั้นทุกสื่อต่างพูดถึงชื่อ BMW Nazca M12 และถูกนำไปพาดหัวข่าวกันอย่างครึกโครม Italdesign สำนักออกแบบสุดเนื้อหอมมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีผลงานระดับตำนานผ่านมือมาแล้วมากมายนับไม่ถ้วน เช่น 1976 Lotus Esprit, 1981 DeLorean DMC-12, 1984 Saab 9000, 2004
แม้ Mercedes จะไม่สร้างตัวถัง AMG G63 Convertible ออกมา แต่ก็หยุดความต้องการของสำนัก Refined Marques ไม่ได้ โดยจุดเริ่มต้นของไอเดียนี้มาจากลูกชายที่ขับ Brabus G700 แล้วปรึกษาพ่อว่าอยากทำหลังคา soft-top roof ความเป็นพ่อที่มีและมีกำลังทรัพย์สูง จึงนำไอเดียนี้ไปรวมทีมเพื่อสร้างแบบ One-off ให้ลูกชาย เพื่อพบว่ามีลูกค้าอีกมากมายต้องการ G63 Cabriolet เช่นกัน จึงเปิดรับออเดอร์ในจำนวนจำกัดเพียง 20 คันเท่านั้น ความเจ๋งของไอเดียนี้คือบอดี้ที่ดัดแปลงให้เข้าออกได้สะดวกกว่า G500 Cabriolet Final Edition 200 limited 200 คัน เครื่อง 5.5-liter V8 388 แรงม้า ซึ่งทาง Refined Marques เลือกใช้ประตู suicide doors เพื่อความสะดวกสบาย หลังคา soft-top ที่เปิดและปิดง่ายกว่า และที่สำคัญคือขุมพลัง 4.0-liter twin-turbo