สำหรับหนุ่ม ๆ ที่เป็นแฟนเดนตายของรถยนต์นิสสัน โดยเฉพาะสายพันธุ์สปอร์ตที่ถือเป็นไอคอนของค่ายอย่างรถในตระกูล Z-Cars คงทราบข่าวการกลับมาอีกครั้งของรถยนต์เจเนอเรชันที่ 7 อย่าง Nissan 400Z ล่าสุดนิสสันได้เปิดตัว Nissan Z Proto ซึ่งคาดว่าเป็นรถยนต์ต้นแบบของ Nissan 400Z (Z35) ที่จะปล่อยรถคันสมบูรณ์ออกสู่ตลาดในปี 2021 (แต่อาจจะถูกเลื่อนไปเป็นปี 2022) โดยต้นแบบคันนี้มาพร้อมงานดีไซน์ที่น่าสนใจหลายจุด รวมถึงระบบเครื่องยนต์ที่ทรงพลัง และเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักต้นแบบ Z-Cars คันนี้ให้ดีขึ้นไปพร้อมกัน Z-Cars คือสายพันธุ์รถสปอร์ตจากนิสสันที่มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1969 เริ่มต้นจาก Nissan 240Z ซึ่งกลายเป็นต้นแบบที่ทำให้รถยนต์ในตระกูลนี้เดินทางมาถึงเจเนอเรชันที่ 6 กับ Nissan 370Z ที่เรียกว่าเป็นสองรองจาก GT-R เท่านั้น ซึ่งกินระยะเวลานานกว่า 50 ปีสำหรับคนที่สนใจสามารถอ่านเรื่องราวความเป็นมาของ Nissan Z-Cars ได้เลย Nissan ถือเป็นแบรนด์ที่ใช้เวลานานมากในการพัฒนารถ Iconic อย่าง GT-R หรือแม้แต่ Z-cars ที่ใช้เวลาเกือบ
หากจะให้พูดถึงสนามแข่งที่โหดและหินที่สุด ในการแข่งขันประชันความเร็ว เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนักขับที่สามารถพิชิตสภาวะแวดล้อมสุดอันตรายได้นั้น ทุกคนจะนึกการแข่งขันแบบไหนกันบ้าง ? แน่นอนว่าหนึ่งในนั้น จะต้องเป็นกีฬารถแข่งที่จะทำให้คุณหัวใจเต้นแรงและตื่นเต้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งกีฬาที่เราหมายถึงก็คือ การแข่งรถทางฝุ่น หรือ การแข่งขันแรลลี่ (Rally) นั่นเอง โดยกีฬาประเภทนี้นับเป็นการแข่งรถที่ “โคตร” จะเร้าใจ ไม่ต่างกับดูหนังแอคชันเลย ด้วยสนามแข่งที่ขรุขระ เต็มไปด้วยอุปสรรคที่คาดเดาไม่ได้มากมาย ทุกการวิ่งคือสภาพพื้นฝุ่นและเศษหินที่เปลี่ยนแปลงไปเสมอ การเพ่งสมาธิไปข้างหน้าพร้อมฟังเพื่อนร่วมทีมบอกองศาการเลี้ยวอีกสามสี่โค้งข้างหน้าอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการแข่งรถอย่างมาก และทั้งหมดที่ว่าไปนั้น เป็น “เสน่ห์” ที่ทำให้การแข่งรถแรลลี่เป็นอีกหนึ่งกีฬาที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก โดยมียอดผู้ชมจากทั่วทุกสารทิศที่ดูผ่านหน้าจอมากกว่า 700 ล้านคนเลยทีเดียว! ซึ่งกว่าจะผ่านไปสู่ลีกสูงสุด ต้องผ่านการคัดเลือกเพื่อไปสู่ WRC-3, WRC-2 และ WRC ซึ่งเส้นทางกว่าจะไปถึงนั้น ยากลำบากไม่แพ้พื้นถนนฝุ่นที่ด้านข้างคือหน้าผาและร่องหลุมสารพัด การเสียสมาธิแม้เพียงเสี้ยววินาทีบนสนาม Rally อาจหมายถึงความเป็นความตายได้ แต่น่าแปลกว่าทำไม การแข่งขันแรลลี่ที่น่าตื่นเต้นนี้กลับไม่เป็นที่พูดถึงมากนักในประเทศไทย หรือถ้ามี ก็อยู่ในกลุ่มคนหมู่น้อยมาก ๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากอันตรายที่ทำให้นักขับไทยมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับการแข่งขันความเร็วทางเรียบ และเพราะความนิยมที่น้อยนิดนี้เอง ทำให้คนไทยหลายคนต้องพลาดโอกาสในการก้าวไปสู่ระดับโลก เพียงเพราะไม่มีสปอนเซอร์สนับสนุนพวกเขา ทั้งที่การแข่งขันระดับโลกแบบนี้ สามารถทำชื่อเสียงและดึงเงินเข้าประเทศได้อย่างมหาศาล
เชื่อว่าหลายคนที่ขับรถยนต์ได้ สอบใบขับขี่มาแล้วเรียบร้อยอาจรู้สึกแปลก ๆ หากมีใครชวนให้ไปเข้าคอร์สเรียนขับรถกันอีกสักรอบสองรอบ ดีไม่ดีอาจมีเคืองเสียด้วยซ้ำ เพราะคิดว่าโดนอำเรื่องทักษะการขับรถที่ไม่เอาไหน แต่จริง ๆ แล้วการเรียน หรือการเข้าอบรมการขับขี่เพิ่มเติม ไม่ใช่เรื่องของมือใหม่ หรือคนที่ขับรถไม่ได้เพียงเท่านั้น เพราะการขับรถได้อาจไม่ใช่สิ่งการันตีว่าเราขับรถเป็นแต่อย่างใด ซึ่งการขับรถที่เรียกว่า ‘ขับเป็น’ จริง ๆ แล้วมันต้องเป็นการขับขี่ที่ทั้งสนุกและปลอดภัยในทุกเส้นทาง ซึ่งหลักการนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดโปรแกรม BMW Driving Experience โปรแกรมเพิ่มสกิลการขับรถระดับตำนานของวงการรถยนต์ ที่ในวันนี้เราจะพาผู้อ่าน UNLOCKMEN ทุกท่านย้อนไปดูจุดเริ่มต้น และเรื่องราวที่น่าสนใจของโปรแกรม Driving Experience จากค่าย BMW (บีเอ็มดับเบิลยู) ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเอาจริงเอาจังและเป็นหนึ่งในค่ายรถที่ได้รับการยอมรับเรื่องมาตรฐานการให้ความรู้และประสบการณ์การขับขี่สุดมันส์ และถือเป็นหนึ่งในโปรแกรมฝึกอบรมขับขี่ที่จัดขึ้นโดยผู้ผลิตยานยนต์เป็นครั้งแรก ซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ยุค 70s จนถึงปัจจุบัน ขับรถเป็นต้องสนุกและปลอดภัย หากจะให้ย้อนรอยที่มาของโปรแกรม BMW Driving Experience คงต้องเล่าย้อนไปถึงแนวคิดของ BMW ที่มองว่า แค่การผลิตสุดยอดยนตรกรรมสมรรถนะสูงนั้นยังไม่เพียงพอ แต่สิ่งสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ผู้ขับขี่สามารถใช้งานยานพาหนะคู่ใจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดสุนทรียภาพแห่งการขับขี่ได้มากที่สุด จนกระทั่งในปี 1976 แนวคิดดังกล่าวได้เดินทางมาถึงจุดที่เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง จากการขอความร่วมมือของตำรวจเมือง Munich ที่ให้ค่ายรถ
สำหรับผู้ชายอย่างเราการได้ขับขี่รถยนต์สมรรถนะสูงถือเป็นเรื่องที่หลายคนฝันอยากจะทำให้สำเร็จ โดยเฉพาะหนุ่ม ๆ ที่หลงใหลความเร็วและต้องการครอบครองรถยนต์ที่แสดงพลังบนท้องถนนได้มีประสิทธิภาพต่างจากรถที่วิ่งอยู่ในสนามแข่ง ขณะเดียวกันมีรถยนต์จำนวนไม่น้อยในโลกใบนี้ที่ได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจในการสร้างมาจากความหลงใหลในโลกแห่งการแข่งขันรถยนต์ แต่คงไม่มีรถยนต์ตระกูลไหนจะสามารถถ่ายทอดจิตวิญญาณของรถแข่งลงในรถที่ใช้งานบนท้องถนนได้ดีไปกว่ารถยนต์จาก Mercedes-AMG ในตระกูล “GT Family” แต่เพราะเหตุผลอะไร วันนี้มาทำความรู้จักยนตรกรรมเหล่านี้ให้ดีขึ้นไปพร้อมกัน จุดเริ่มต้นของ “GT Family” เริ่มขึ้นในปี 2010 เมื่อโรงงาน Mercedes-AMG ที่ตั้งอยู่ในเมือง Affalterbach ได้ให้กำเนิดรถยนต์อย่าง Mercedes-Benz SLS AMG ขึ้นมา ด้วยดีไซน์ที่สวยงามโดยเฉพาะประตูแบบ Gullwing ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากรถยนต์รุ่นไอคอนอย่าง Mercedes-Benz 300SL Gullwing ก็ทำให้รถยนต์คันนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ท่วมท้นจากคนรักรถยนต์ทั่วโลก อย่างไรก็ตามความสวยงามในด้านงานดีไซน์ของ SLS AMG เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จของรถยนต์คันนี้ เพราะสิ่งที่โดดเด่นเหนือสิ่งอื่นใดคือขุมพลังใต้ฝากระโปรงที่มาพร้อมเครื่องยนต์ที่ให้พลังสูงถึง 571 แรงม้าและแรงบิดที่ 630 นิวตันเมตร ส่งผลให้ Mercedes-Benz SLS AMG กลายเป็นรถยนต์ที่วิ่งด้วยเครื่องยนต์ Naturally Aspirated Engine (NA) ที่ทรงพลังที่สุดในเวลานั้น และกลายเป็นต้นกำเนิดให้กับรถยนต์ในตระกูล GT ในเวลาต่อ
บนโลกใบนี้จะมีคนที่หลงใหลในการแข่งขันรถยนต์สักกี่คน ที่มีโอกาสได้ใช้เวลาอยู่กับสิ่งที่ตัวเองรักนานกว่า 50 ปี พร้อมผ่านการทำงานในวงการมอเตอร์สปอร์ตมาครบถ้วนทุกตำแหน่ง ตั้งแต่การเป็นนักแข่ง ทีมช่างและผู้พัฒนารถแข่ง รวมไปถึงตำแหน่งเจ้าของทีมแข่งรถสูตร 1 ที่สร้างความสำเร็จเอาไว้มากมายจนกลายเป็นตำนานอีกหนึ่งบทของวงการ Formula 1 เหมือนกับชีวิตของชายที่ชื่อ แฟรงค์ วิลเลียมส์ กับทีม Williams Racing อย่างไรก็ตามแม้จะประสบความสำเร็จและสร้างเกียรติประวัติเอาไว้มากมาย แต่ด้วยปัญหาทางด้านการเงินที่พยายามต่อสู้มานานหลายปี ก็ทำให้ครอบครัววิลเลียมส์ต้องยอมลดบทบาทของตัวเองเพื่อความอยู่รอดทีมรถสูตร 1 ซึ่งปัจจุบันเป็นการแข่งขันที่ต้องใช้เงินทุนในการทำทีมด้วยเงินมูลค่าหลักหลายพันล้านบาท แม้การยุติบทบาทของครอบครัววิลเลียมส์จะทำให้ แคลร์ วิลเลียมส์ รวมถึงตัวของ เซอร์แฟรงค์ วิลเลียมส์ ต้องถอยออกมาจากการทำทีมเพื่อหลีกทางให้กับกลุ่มทุนใหม่ แต่จิตวิญญาณที่หลงใหลในการแข่งรถของชายคนนี้ยังคงถูกจดจำจากคนที่รักในความเร็วเสมอ และวันนี้เราจะพาทุกคนย้อนชมความสำเร็จบนเส้นทางการแข่งขันแห่งโลกความเร็วของชายคนนี้ไปพร้อมกันครับ ฟรานซิส โวเอน กาเบท วิลเลียมส์ หรือ แฟรงค์ วิลเลียมส์ เกิดและเติบโตในย่านเซ้าท์ชีลด์ส เมืองเล็ก ๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ ถูกเลี้ยงดูโดยลุงและป้าหลังจากที่พ่อแม่แยกทางกัน ก่อนตัวเขาจำเป็นต้องย้ายเข้าโรงเรียนประจำในประเทศสกอตแลนด์ เพื่อรับโอกาสชีวิตที่ดีขึ้นตามความต้องการของคุณยาย แฟรงค์ในวัยเด็กสนใจในรถยนต์และการแข่งรถอย่างกระตือรือร้นเกินวัย ช่วงเวลาว่างเขามักจะวิ่งไปรอบ ๆ โรงเรียนเพื่อแกล้งทำว่าตัวเองกำลังอยู่ในรถแข่ง รวมถึงชอบเวลามีโอกาสได้นั่งรถยนต์ของผู้ปกครองเพื่อน ๆ แฟรงค์เล่าว่าเมื่อมองย้อนกลับไปมันค่อนข้างไร้สาระ แต่ทั้งหมดก็ได้สร้างตัวตนของเขาที่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทุกอย่างขึ้นมา เมื่อโตขึ้น
Ducati Scrambler มอเตอร์ไซค์ที่ใส่ยางบั้งมาพร้อมความคล่องตัว เป็นภาพที่อยู่คู่โลกใบนี้มากว่า 60 ปี แต่วันนี้เราจะพบเห็น Ducati Scrambler ได้ใน 2 เวอร์ชั่นที่เล็กและรักษ์โลกมากกว่า ด้วยจักรยานไฟฟ้า Ducati Urban-E และ SCR-E (Scrambler) Electric Bicycle ผลงาน Electric Bicycle ทั้งหมดนี้เป็นโปรเจคที่ Ducati ร่วมมือกับ Italdesign พัฒนา 2 โมเดลจักรยานไฟฟ้าสำหรับรองรับสองการใช้งานที่ต่างกัน โดย Urban-E เหมาะสำหรับใช้งานในเมือง และ SCR-E / SCR-E Sport เหมาะสำหรับใช้ลุย โดยได้แรงบันดาลใจมาจากรุ่น Scrambler อย่างชัดเจน โดยเฉพาะตะเกียบคู่และยางบั้งขนาดใหญ่สำหรับสายลุย Off-road ทั้งสามรุ่นสามารถพับเฟรมและถอดแฮนด์เก็บได้อย่างง่ายดายโดยจะมีขนาดเหลือเพียงครึ่ง ซึ่งเหมาะกับการพกพาใส่ท้ายรถได้ไม่ว่าจะเป็น Eco car ที่พื้นที่จำกัดก็ตาม จุดเด่นของ Ducati Urban-E และ SCR-E คือความบางของดีไซน์
ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างสถิติและคำนิยามใหม่ให้กับมอเตอร์ไซค์พลังงานไฟฟ้าที่แรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน Concept Z by ed motorcycle คือผลงานที่ตอบโจทย์ที่สุดในเวลานี้ ด้วยแรงบิดสูง 850 Nm of torque ในดีไซน์ที่ดุดันสไตล์ Street Tracker bike ที่ใช้งานได้ในทุกสภาพถนน เคล็ดลับหัวใจสำคัญที่ทำให้ Concept Z by ed ทำแรงบิดได้มหาศาล มาจากขุมพลังแบตเตอรี่ไฟฟ้า 99V High-performance lithium สร้างแรงบิด 850 นิวตันเมตรสู่ล้อหลัง 100% ขับเคลื่อนแบบ linear torque ด้วยเทคโนโลยี One-gear, No-clutch เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Tesla หรือ Porsche Taycan ระบายความร้อนได้ดีด้วยระบบ Air-Cooled โดยไม่ต้องใช้น้ำหล่อเย็น หมายความว่าการดูแลรักษา Concept Z เป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น ควบคุมรถได้อยู่มืออย่างนุ่มนวลด้วยการใช้ co-axial swingarm ด้านหลัง ทั้งหมดเพื่อรองรับความเร็วสูงสุด 150
ที่ผ่านมามีค่ายรถหรูหลายค่ายที่นำรถคลาสสิคของตัวเองมาผลิตใหม่ เปลี่ยนจากเครื่องยนต์เดิมเป็นขุมพลังไฟฟ้า อย่างเช่น Jaguar E-Type Zero แต่เรายังไม่น่าจะได้เห็นโปรเจคแบบนี้จากค่ายรถที่หรูที่สุดอย่าง Rolls-Royce เพราะมหาเศรษฐีระดับนั้นคงไม่ได้ขับรถเอง และไม่ได้สนใจราคาน้ำมันเชื้อเพลิงให้กวนใจชีวิตประจำวัน แต่สำหรับเศรษฐีรุ่นใหม่ที่มีทั้งเงินและแพสชั่นในการขับรถที่เร็ว แรง หรูหรา และแปลกไม่ซ้ำใคร จึงเป็นที่มาของโปรเจคสุดเท่จาก Lunaz Design เตรียมนำ classic Rolls-Royce 2 รุ่นได้แก่ Phantoms และ Silver Clouds โดยข่าวดีคือมันจะไม่ใช่รถแบบ One-off แต่เป็นการผลิตแบบจำนวนจำกัดรุ่นละ 30 คัน ในราคาคันละ $450,000 (ราว 14 ล้านบาท) Lunaz Design บริษัทสัญชาติอังกฤษ บอกว่าการจะเปลี่ยนรถคลาสสิค โดยเฉพาะรถที่ละเอียดอ่อนอย่าง Rolls-Royce เป็นขุมพลังไฟฟ้านั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ลำพังแค่บูรณะให้ขับได้ยังเป็นเรื่องยาก ต้องเริ่มตั้งแต่การทำ complete ground-up restoration หรือถอดแยกชิ้นแล้วเริ่มประกอบใหม่ทั้งหมด เพื่อให้มั่นใจว่าโครงสร้างและอุปกรณ์ทุกชิ้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์แบบ และแน่นอนว่าชิ้นส่วนเดิมทั้งหมดต้องเป็น original อะไรหาไม่ได้ก็ต้องผลิตขึ้นมาใหม่ ก่อนจะใส่แบตเตอรี่และมอเตอร์ไฟฟ้าของ Lunaz
หนึ่งในรถคลาสสิคที่มีช่วงชีวิตยืนยาวนานที่สุด คงต้องยกให้ Volkswagen Beetle ที่ผลิตตั้งแต่ปี 1938 จนถึง 2019 แม้จะมีการเปลี่ยนโครงสร้างจากรถยนต์เครื่องวางหลังในรุ่นคลาสสิค มาเป็นเครื่องยนต์วางหน้าในรุ่น New Beetle แต่ในด้านความนิยม ไม่ต้องสงสัยว่ารถเต่า Type 1 จากยุค 19xx นั้นได้รับความนิยมสูงสุด แม้วันนี้ Beetle ได้หยุดการผลิตไปเรียบร้อยแล้ว แต่จิตวิญญาณของ Beetle Type 1 ก็ยังคงอยู่คู่โลกใบนี้ ด้วยการนำชิ้นส่วน โดยเฉพาะส่วนบังโคลนหรือซุ้มล้อมาดัดแปลงเป็นของเล่นสุดเท่ เช่น VOLKSPOD มินิไบค์คันจิ๋วที่ทำจากซุ้มล้อ Beetle ซึ่งเราเคยนำเสนอไปแล้ว ล่าสุดยังคงมีการนำซุ้มล้อมาดัดแปลงอีกเช่นเคย แต่คราวนี้เท่ยิ่งกว่า เพราะมันคือ Go-Kart Bugkart Wasowski Go-Kart เรียกง่าย ๆ ก็คือ Volkswagen Beetle Fender Go-Kart ผลงานของ Aldekas Studio สัญชาติ Mexican ผู้เชี่ยวชาญด้าน Volks
สำหรับผู้ชายอย่างเราการตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคันเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสำคัญและเชื่อว่าแต่ละคนมีเหตุผลในการเลือกซื้อรถที่ตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันไป แต่นอกจากเรื่องของสมรรถนะที่เป็นความต้องการพื้นฐานแล้ว การใช้งานรถยนต์ในปัจจุบันยังมีเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความปลอดภัย ความสะดวกสบายจากเทคโนโลยีสนับสนุนผู้ขับขี่ที่ทันสมัยและดีไซน์ที่ชวนหลงใหลซึ่งทั้งหมดสามารถมีรวมอยู่ในรถยนต์คันเดียวในราคาที่คุ้มค่าได้ อย่างไรก็ตามถ้าพูดถึงเรื่องความคุ้มค่า คงพลาดไม่ได้ที่ต้องพูดถึง C-SUV รุ่นล่าสุดจากค่ายรถยนต์เอ็มจีอย่าง NEW MG HS ที่วันนี้ UNLOCKMEN จะพาทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อมกันว่า ทำไมราคาค่าตัว 1.1 ล้านบาท ถึงเป็นราคาที่สุดแสนจะคุ้มสำหรับค่าตัวของยนตรกรรมคันนี้ มาเจาะลึกลงรายละเอียดความคุ้มค่าของรถคันนี้ไปพร้อมกัน เริ่มต้นที่มุมมองแรกที่ทุกคนจะสัมผัสได้จากรถยนต์คือ เรื่องของงานดีไซน์ NEW MG HS เป็นเอสยูวีที่ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถัน โดยทีมออกแบบเน้นผสานความหรูหราเข้ากับความสปอร์ตและถ่ายทอดออกมาเป็นเส้นสายตัวถังแบบ British Shoulder Line ที่โค้งมน ในเวลาเดียวกันรถยนต์คันนี้ยังคงจุดเด่นในงานดีไซน์ของ MG ด้วยกระจังหน้าซึ่งมาพร้อมแนวคิด ‘Stella Magnetic Field ที่ได้แรงบันดาลใจ มาจากกลุ่มดาวบนท้องฟ้าที่ดึงดูดเข้าหากัน โดยกระจังหน้าและเส้นสายของรถเข้ากันได้อย่างลงตัวกับไฟหน้าแบบ LED Projector ที่พร้อมไฟส่องสว่างสำหรับการขับขี่เวลากลางวัน (Daytime Running Lights) และไฟท้ายแบบ Space Light Field ในส่วนของไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังจะแสดงผลไล่ระดับแบบ Sequential ซึ่งช่วยเพิ่มความหรูหราให้กับเอสยูวีคันนี้ยิ่งขึ้น พร้อมเสริมความดุดันด้วยล้ออัลลอยด์ขนาด 18