หลังจากสาวกต่างเฝ้ารอนาฬิกาที่ถือเป็น The holy grail of Rolex อย่าง Daytona ซึ่งราคาก็แข็งชนเพดาน และ demand ก็สูงจนหาของยากสุด ๆ แต่ในโอกาสฉลองครบรอบ 60 ปี Rolex Daytona นี้ ในที่สุดพวกเราก็ได้พบกับ edition ใหม่สักที เป็นความใหม่ที่คนทั่วไปอาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ไปดูกันว่ามีรายละเอียดอะไรใหม่บ้างใน Daytona เริ่มจากตัวเรือนยังคงมีขนาด 40mm เหมือนเดิม ส่วนหน้าปัดมีการปรับดีไซน์ใหม่เล็กน้อยเพื่อบาลานซ์ความแตกต่างของหน้าปัดและตัวบอกรายละเอียดรวมถึงใน sub-dial ต่าง ๆ ให้ชัดเจนลงตัวมากขึ้น ตัว Oyster case มีการขัดเงาบริเวณ lugs และด้านข้างมากขึ้น ส่วนรุ่นหน้าปัดทองหรือ pink gold บน Cerachrom bezel จะได้สายที่ใช้เหล็กที่ข้อกลางเป็นสีเดียวกัน ทำให้ดูต่อเนื่องและภูมิฐานมากขึ้น จุดสำคัญที่สุดใน New Daytona คือกลไกที่ผลิตแบบ In-house ของ Rolex ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี
ในโลกนี้มีการค้นพบ 1937 Patek Philippe Reference 96 Quantieme Lune ทั้งหมดเพียง 8 เรือน (รวมเรือนนี้) และมีเพียงแค่ 3 เรือนที่ใช้ตัวเลขอารบิกบนหน้าปัด Roulette ขนาด 30mm ในตัวเรือน platinum Calatrava case (case number 294,462) Patek Philippe Reference 96 Quantieme Lune เรือนนี้มีความสำคัญมากกว่าแค่ vintage watch หายากทั่วไป เพราะจากประวัติพบว่ามันเคยเป็นนาฬิกาในครอบครองของสมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ (Aisin-Giro Puyi) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนที่โด่งดัง และเคยถูกนำไปสร้างภาพยนตร์ The Last Emperor ที่ได้รางวัล Best Picture-winning film ซึ่งผู่อี๋ได้รับมาในช่วงปี 1945-1950 ขณะถูกจับเป็นเชลยใน Soviet Union ก่อนจะยกให้กับล่ามคนสนิท Georgy Permyakov
เรือนเวลารุ่นล่าสุดจาก RM ที่หยิบเอาความหรูมาอยู่คู่กับความร็อกได้เท่ลงตัวสุด ๆ กับโมเดลใหม่รหัส RM 66 Flying Tourbillon ที่มีจำนวนจำกัดแค่ 50 เรือนทั่วโลก RM 66 Flying Tourbillon ตัวเรือนขนาด 42.70 x 49.94 x 16.15 mm. ผลิตจากวัสดุสุดแกร่ง Carbon TPT และ grade 5 titanium จุดเด่นของเรือนนี้ก็คือ มือกระดูกสีทองทำสัญลักษณ์ Rock n’ Roll คล้ายเขาของปีศาจกลางหน้าปัด ผลิตจาก 5N red-gold และฝีมือช่างระดับสูงในการเก็บรายละเอียดทั้งหมด และโชว์กลไก flying tourbillon ดีไซน์หัวกะโหลกด้านบนบริเวณ 12 นาฬิกา เป็นการแสดงออกถึงความขบฐของชาวร็อก เพราะปกติ flying tourbillon มักจะอยู่ที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา เพิ่มความดิบอย่างมีสไตล์ด้วยลวดลาย Clou
Iconic Piaget Polo ปี 2023 เพียเจต์ โปโล ปลดล็อกความท้าทายอย่างไม่เคยมีมาก่อนด้วยการคิดค้นและสร้างสรรค์ Piaget Polo Perpetual Calendar Ultra-thin ขึ้น โดยเรือนเวลาที่ไม่ธรรมดาชิ้นนี้ นอกจากขับเคลื่อนด้วยกลไกเพรียวบางชุดใหม่อย่าง Calibre 1255P เมซงยังผนวกคอมพลิเคชั่นมูนเฟสเข้ามาในโมเดลนี้อีกด้วย หากย้อนรอยความสำเร็จเพียเจต์ โปโล ยุคก่อนไม่ว่าจะเป็นตัวเรือนสีทอง หรือ สตีล ถือเป็นหนึ่งในไอเท็มคู่ใจที่ปรากฏอยู่บนข้อมือไอคอนระดับตำนานหลายคน อาทิ Ursula Andress, Roger Moore, Andy Warhol ไปจนถึง Bjorn Borg ด้วยรูปทรงสะดุดตา ดีไซน์แบบยูนิเซ็กส์ ลุคสปอร์ตที่ไม่ตกยุค ซึ่งเบื้องหลังความสำเร็จที่ว่านี้จะยกเครดิตให้ใครไม่ได้นอกจาก มร.อีฟ เพียเจต์ ด้วยความที่เป็นนักเดินทางตัวยง บวกกับความหลงใหลในสุนทรียภาพทางศิลปะเช่นเดียวกับที่ลุ่มหลงในงานฝีมือ ประสบการณ์ทั้งหมดจึงถูกนำมาหลอมรวมเป็นเพียเจต์ โปโล เรือนเวลาที่แทบไม่มีใครเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ The emblematic Perpetual Calendar นับเป็นครั้งแรกสำหรับคอลเลกชั่นเพียเจต์ โปโล ที่ถูกเติมเต็มด้วยระบบกลไกปฏิทินถาวร –
รังสรรค์ขึ้นในปี ค.ศ. 2021 นาฬิกา แอร์เมส เอช08 คือตัวแทนของการผสมผสานระหว่างหลักการอันเข้มแข็งเข้ากับมาตรฐานระดับสูงที่หลอมรวมไว้ด้วยความหนักแน่นและลื่นไหล โดยสัญลักษณ์งานออกแบบอันร่วมสมัยซึ่งสะท้อนถึงสไตล์อันทรงพลังนี้ได้สร้างรูปเป็นวัตถุที่ถ่ายทอดไว้ทั้งหมดด้วยความสมดุลและความตรงข้ามกัน ธรรมชาติอันมีมิติที่หลากหลายจึงได้ถูกแสดงออกผ่านการเล่นกับรูปทรงและวัสดุ ด้วยความเอาใจใส่อย่างพิถีพิถันในรายละเอียดและกระบวนการสร้างสรรค์อันแม่นยำ ที่ได้สร้างรูปเป็นภาพลักษณ์ที่มีทั้งความสปอร์ตและสง่างาม ด้วยพลังอันมีชีวิตชีวาและสัมผัสแห่งอารมณ์ความรู้สึกของเส้นสายซึ่งเผยให้เห็นถึงสุนทรียะความสวยงามเฉพาะหนึ่งเดียว โดยถ่ายทอดบนหน้าปัดวงกลมพร้อมทั้งฟอนต์สไตล์ดั้งเดิม และหลอมรวมไว้ภายในตัวเรือนทรงสี่เหลี่ยมกับขอบมนอันแสนนุ่มนวล ออกแบบขึ้นโดย ฟิลิปป์ เดโลตัล (Philippe Delhotal) ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์แห่ง แอร์เมส ออร์โลเฌอร์ (Hermès Horloger) นาฬิกา แอร์เมส เอช08 คือผลลัพธ์ของการผสมผสานระหว่างพื้นผิวและแร่กับเหลือบสีเข้มและสัมผัสที่เต็มไปด้วยสีสันผสานโดยเส้นสายที่ไม่อัดแน่นจนเกินไปและโดดเด่นด้วยรูปทรงเรขาคณิตอันสง่างามร่วมไปกับรูปลักษณ์ของทั้งสไตล์แบบด้านหรือเงาวาว โดยเอกลักษณ์อันโดดเด่นของนาฬิการุ่นล่าสุดนี้ในวันนี้ยังได้เสริมความรุ่มรวยแห่งเสน่ห์ด้วยการผสมผสานระหว่างทองและไทเทเนียม รังสรรค์ขึ้นภายใต้โลหะผสมอันแข็งแรงและน้ำหนักเบา กับตัวเรือนทรงสี่เหลี่ยมมนหรือคุชชัน (cushion-shaped) ของนาฬิกา แอร์เมส เอช08 ที่ประกอบด้วยฝาหลังตัวเรือนทำจากไทเทเนียม เคลือบดีแอลซี (DLC) สีดำ ส่วนด้านบนของตัวเรือนชิ้นกลางทำจากโรสโกลด์ การเล่นบนความแตกต่างกันนี้ยังเสริมเสน่ห์ยิ่งขึ้นด้วยขอบตัวเรือนและเม็ดมะยมเซรามิกสีดำซึ่งสลับระหว่างการตกแต่งแบบขัดด้านซาตินและขัดเงา ขณะที่ตัวเรือนแบบทูโทนได้ฉายความโดดเด่นให้กับมิติอันลุ่มลึกของหน้าปัดตกแต่งแบบเกรนอย่างประณีตในเฉดสีดำ ซึ่งตัดกับเข็มชี้ทองเรืองแสงและตัวเลขอารบิกทอง มอบเป็นความชัดเจนอันสมบูรณ์แบบ ขณะที่ดิสก์นาทีกลางและเข็มวินาทีเคลือบด้วยนิกเกิลสีดำ พร้อมทั้งการแสดงวันที่ภายใต้ช่องหน้าต่างทรงคุชชัน ณ ตำแหน่งระหว่าง 4 และ 5 นาฬิกา ถ่ายทอดซึ่งการแสดงอันสมดุล สวยงาม และอ่านค่าได้อย่างชัดเจน
เชื่อว่าชาว UNLOCKMEN หลายคนต่างเติบโตมา พร้อมความสุขบนหน้าจอ ที่เต็มไปด้วยฉากชวนตื่นตาตื่นใจระหว่างรับชมการต่อสู้ของฮีโร่ร่างยักษ์ซึ่งทำหน้าที่พิทักษ์โลกจากเหล่าสัตว์ประหลาดไคจูตัวร้าย พร้อมเอาใจช่วยด้วยความลุ้นระทึกกับเงื่อนไขเวลาจำกัดของพระเอกขณะที่อยู่ในร่างยอดมนุษย์นามว่า Ultraseven โดยเรื่องราวของ Ultraseven นักรบผู้ผดุงความยุติธรรมจากดวงดาวแห่งแสงใน Nebular M78 ที่ออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1967 – 1968 ได้กลายเป็นตำนานสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนรุ่นสู่รุ่นมายาวนานกว่า 55 ปี เช่นเดียวกันกับเรือนเวลา SEIKO 5 SPORTS ซึ่งยืนหยัดในฐานะ Automatic Day-Date Watch รุ่นแรกของญี่ปุ่น ที่มาพร้อมราคาคุ้มค่า คุณภาพน่าเชื่อถือ และดีไซน์ที่ถูกพัฒนาให้ร่วมสมัยสำหรับหนุ่มสาวหัวใจสปอร์ตมาเป็นเวลา 55 ปี นับตั้งแต่การเปิดตัวในปี 1968 ด้วยช่วงเวลาที่เหมาะเจาะพอดิบพอดี ทำให้ยอดมนุษย์ Ultraseven และเรือนเวลาชั้นยอดอย่าง SEIKO 5 SPORTS มีโอกาสได้โคจรมาเจอกันในคอลเลกชั่น SEIKO 5 SPORTS 55th ANNIVERSARY ULTRASEVEN LIMITED EDITION เรือนเวลารุ่นพิเศษ ตัวแทนการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 55 ปีของทั้งคู่ ที่บอกเลยว่าแฟน
ย้อนไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี 1939 และจบลงในปี 1945 ท่ามกลางชีวิตหลังสงครามเหลือไว้เพียงซากปรักหักพัง ได้มีนวัตกรรมหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากช่วงเวลายากลำบากที่สุดของมวลมนุษยชาติ หลายสิ่งถูกคิดค้นขึ้นเพื่อฟื้นฟูความสะดวกในการใช้ชีวิตด้วยเทคโนโลยีและสิ่งของที่หลงเหลืออยู่ บางอย่างเกิดขึ้นและดับไป บางอย่างก็ได้กลายเป็น Culture ฝังรากลึกลงไปในวิถีชีวิตของมนุษย์ หนึ่งในนั้นคือ Lambretta แบรนด์ scooter สัญชาติ Italian จากเมือง Milan ที่มีอายุรวมมากถึง 75 ปี นับตั้งแต่ Lambretta เผยโฉมโมเดลแรกสุดในปี 1947 ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ Scooter ที่มีประวัติความยิ่งใหญ่สืบทอดมาอย่างยาวนาน มีโมเดลระดับ Iconic ที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของ post-war Italian design และยังเป็นหมุดหมายบันทึกประวัติศาสตร์สำคัญของโลกแห่ง Scooter มากมายหลายรุ่น ก่อนจะพัฒนามาสู่ Lambretta รุ่นใหม่ ๆ ที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน วันนี้เราจะพาไปย้อนดูเรื่องราวในอดีตที่สำคัญตั้งแต่ก่อนจะมีคำว่า Lambretta ผ่าน timeline ของ Scooter รุ่นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ
“หลายคนอาจมองว่าเราเป็นคนทำงาน Street Art ที่ประสบความสำเร็จ แต่พูดตรง ๆ คือ เราไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงจุดนั้นหรือเปล่า แค่รู้สึกว่าถ้าเรามีโอกาส ได้รับโอกาสอะไรมา เราก็ต้องทำให้ดีที่สุด งานมันต้องพัฒนาเรื่อย ๆ เราอยากรู้สึกตื่นเต้นกับงานที่ทำ ณ ปัจจุบันให้มากที่สุด อยากรู้สึกเหมือนตอนทำงานกำแพงแรก ที่เราผ่านอะไรมามากมายจนสุดท้ายก็ทำสำเร็จ เราว่ามันเป็นความรู้สึกที่ดีมากเลย” Quote ข้างต้นคือมุมมองการสร้างงานที่เต็มเปี่ยมไปด้วย Passion จากปากของชายที่เรา และใครอีกหลายคนทั้งในไทยรวมถึงต่างประเทศ ต่างให้การยอมรับว่าเขาคือหนึ่งในศิลปินเบอร์ต้น ๆ ที่นำพาผลงาน Street Art ไทย ให้ดังไกลถึงต่างแดน แม้เจ้าตัวจะไม่มั่นใจว่าได้เดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางของความสำเร็จแล้วหรือยัง แต่เชื่อว่าผลงานมากมายของ ‘รักกิจ สถาพรวจนา’ หรือ ที่หลายคนรู้จักในชื่อ RUKKIT น่าจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนในตัวอยู่แล้ว จากจุดเริ่มต้นของเด็กชายธรรมดาที่มีใจรักในการวาดรูป แต่การคว้ารางวัลประกวดวาดภาพระดับอนุบาลมาครอง กลับกลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่ทำให้เด็กชายรักกิจ มุ่งมั่นในเส้นทางศิลปะต่อเนื่องและเริ่มต้นทำงานประจำในสาขากราฟิกดีไซน์เนอร์ จนกระทั่งสิ่งที่เรียกว่า “โอกาส” ที่ถูกหยิบยื่นให้ได้เปิดเส้นทางใหม่ให้ผู้ชายคนนี้ได้รู้จักกับงาน Street Art และใช้ชีวิตกับศิลปะแขนงนี้มาจนถึงปัจจุบัน “หลังจากจบมหาวิทยาลัยก็ไปทำงานกราฟิกดีไซน์ก่อน จากนั้นมีรุ่นพี่ชวนไปทำงาน Street Art เป็นงานพ่นกำแพงที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ (BACC) เริ่มทำครั้งแรกก็รู้สึกชอบเลย
ในปี 1880 มีคนพบร่างไร้วิญญาณของหญิงสาวนิรนามคนนึงลอยอยู่ในแม่น้ำ Seine เมือง Paris ไม่มีเบาะแสว่าเธอเป็นใคร คนงานห้องเก็บศพจึงปั้นใบหน้าของเธอ (Death mask) หรือรูปปั้นส่วนศีรษะที่หล่อด้วยปูนปล๊าสเตอร์เพื่อตามหาคนรู้จัก แม้สุดท้ายจะไม่มีครอบครัวหรือญาติพี่น้องแสดงตัว แต่หลายคนกลับรู้สึกหลงใหลในใบหน้าที่สงบและเปื้อนยิ้มของเธอ กลายเป็นรูปปั้นที่ถูกใช้ตกแต่งบ้านหรือร้านค้าเพื่อความสวยงามไปทั่วยุโรป จนหลายคนเรียกใบหน้าของเธอว่า “Mona Lisa of The Seine” ใบหน้าของเธอยังถูกใช้เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งนิยายมากมายหลายเรื่อง เช่น 1900 novella The Worshipper of the Image by Richard Le Gallienne หรือภาพยนตร์เยอรมันปี 1936 ชื่อ Die Unbekannte ที่ใช้เรื่องราวการเสียชีวิตของเธอในการแต่งเนื้อเรื่องขึ้น เวลาผ่านไปถึงปี 1950 เมื่อหมอสองคนคือ James Elam และ Peter Safar ค้นพบเทคนิคการทำ CPR แบบ mouth-to-mouth และอยากเผยแพร่เทคนิคที่มีประโยชน์นี้ให้คนอื่นได้ฝึกฝน จึงติดต่อไปที่บริษัทผลิตของเล่น Asmund Laerdal
อีกครั้งกับความร่วมมือ TAG Heuer x Nintendo ทั้งสองได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์เรือนเวลาสองรุ่นสุด limited ในรูปแบบของโครโนกราฟ TAG Heuer Formula 1 สำหรับนักสะสมเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองไปกับ Mario Kart แฟนๆที่หลงใหลความสดใสและกล้าหาญของ Super Mario จะได้เห็นตัวละครโปรดของพวกเขาโลดแล่นอีกครั้ง คอลเล็กชั่นที่เปี่ยมด้วยจิตวิญญาณแห่งการแข่งขันอันเป็นสัญลักษณ์ของ TAG Heuer และการออกแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งสองสิ่งเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างทีม TAG Heuer และ Nintendo เพื่อปรับแต่งในทุกรายละเอียด โดยทั้งสองแบรนด์ได้ร่วมแบ่งปันแนวคิดที่เป็นเอกลักษณ์ของทั้งคู่ ในคอลเลคชัน TAG Heuer Formula 1 และชุด Mario Kart ได้แก่ อะดรีนาลีน ความเร็ว การแข่งขัน ไปจนถึงชัยชนะ “เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะเปิดเผยสองผลงานล่าสุดที่เกิดจากความร่วมมือของเรากับทาง Nintendo “TAG Heuer Formula 1 X Mario Kart Limited Editions” (Chronograph และ Chronograph Tourbillon) ผสมผสานไปด้วยการเล่นสนุกๆ ซึ่งจะทำให้แฟน ๆ ของ Mario Kart ทั่วโลกพึงพอใจด้วยการจับเวลาที่ละเอียดและมีประสิทธิภาพสูง” Frédéric Arnault