ในวรรณกรรมดิสโทเปียชื่อ Fahrenheit 451 โดยนักเขียนชาวอเมริกัน Ray Bradbury นั้น เล่าเรื่องของโลกที่รัฐบาลลงมติว่า ‘หนังสือ’ คือสิ่งผิดกฎหมาย ประชาชนห้ามอ่านเด็ดขาด ถึงขนาดว่ามีหน่วยชื่อ Firemen คอยเผาหนังสือทุกที่ที่มีอยู่ในสังคมให้หมดไป Guy Montag ตัวเอกของเรื่องก็คือหนึ่งในหน่วยสุมเพลิงนั้น ก่อนที่เขาจะค่อย ๆ ตั้งคำถามว่าสิ่งที่รัฐบาลบอกว่าผิด ใครที่เป็นแฟนคลับตัวยงของมังงะโจรสลัด One Piece น่าจะรู้ถึงความโหดร้ายของรัฐบาลโลกในเรื่องดี ซึ่งหนึ่งในสิ่งชั่วร้ายที่รัฐบาลคอยทำมาตลอดตั้งแต่เล่มที่ 1 ของมังงะเรื่องนี้ คือการปิดบังข้อมูลกับประชาชน จากตัวอักษรโบราณที่ชื่อว่า ‘โพเนกรีฟ’ เพราะกลัวว่าประชาชนจะล่วงรู้ประวัติศาสตร์แห่งความว่างเปล่าหลายร้อยปีก่อนที่อาจจะมีศพซุกซ่อนอยู่ใต้พรหมที่ตัวเองซุกซ่อนเอาไว้ ถึงขนาดว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนที่อ่านตัวอักษรนี้ทิ้งไปเลย เรื่องแต่งว่าด้วยการห้ามอ่านของหนังสือ 2 เล่มที่กล่าวไปในข้างต้น มีจุดเชื่อมโยงน่ากลัวร่วมกันอยู่ตรงที่ ‘พลังของตัวอักษร’ มีพลังสามารถเปลี่ยนความคิด ความรู้สึกคนอ่านแบบฉับพลันโดยใช้เวลาเพียงจบหน้ากระดาษ 100-300 หน้าเท่านั้น และการห้ามอ่านมันเกิดขึ้นในชีวิตจริงของพวกเราด้วย ! ในปี 1982 จำนวนหนังสือที่ถูกแบนจากห้องสมุดโรงเรียน และจากรัฐบางรัฐในอเมริกามีปริมาณที่สูงขึ้นมาก ถึงขนาดทำให้องค์กร Free-Speech หลายแห่งรวมตัวกันตั้ง ‘งานสัปดาห์หนังสือที่ถูกแบน (Banned Books Week)’ ครั้งที่
ในช่วงเวลาปีแรกของการทำงาน (ประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว) เราซื้อหนังสือเรื่อง The Catcher in the Rye ของ J. D. Salinger จากร้านหนังสือออนไลน์แห่งหนึ่ง โดยมีเหตุผลไม่ได้ซับซ้อนว่า เป็นหนังสือที่ถูก Name Drop ในหนังไฮสคูลอเมริกันหลายเรื่อง ในแง่ที่ว่าเป็นหนังสือนอกเวลาที่ต้องใช้อ่านเพื่อเขียนเรียงความส่ง ซึ่งหนังที่เรารักที่สุดในชีวิตอย่าง The Perks of Being a Wallflower (2012) ก็พูดถึงวรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้เช่นกัน เราได้อ่านหนังสือเล่มนี้จริง ๆ ตอนออกจากงานแรกที่พูดถึงในรรทัดก่อน แปลกดี (1) หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องของเด็กหนุ่มวัยมัธยม Holden Caulfield กับช่วงเวลาการเติบโตสั้น ๆ ขณะขึ้นรถไฟไปนิวยอร์ก ซึ่งเต็มไปด้วยการตะโกนโหวกเหวกโวยวายของตัวละครตลอดทั้งเรื่อง แปลกดี (2) หลังจากผ่านไป 3 เดือนที่อ่านหนังสือเล่มที่ว่าจบ เราอ่านหนังสือเล่มไหนต่อไม่ได้เลย เพราะเรื่องราวของโฮลเดนยังค้างคาในจิตใจของตัวเอง วนเวียนอยู่ในความทรงจำเป็นระยะ ๆ ตลอดมา UNLOCKMEN ขอแนะนำให้เหล่าหนอนหนังสือได้รู้จักกับ Book
เคยมั้ย ฟังเพลงจบแล้วอิน จนต้องหาสื่อบันเทิงในรูปแบบใดก็ตามที่มี Mood & Tone ใกล้เคียงกันมาเสพต่อ ซีรีส์เอย หนังเอย หรือเพลงที่ใกล้เคียงกันเอย แต่ในบางครั้งสื่อที่โดนใจเราที่สุดก็คือ ‘หนังสือ’ สักเล่ม ด้วยความที่มีเนื้อเรื่องเปิด ตอนกลาง และตอนจบ หลากหลายอารมณ์ ไม่ต่างอะไรกับเพลงที่มี Intro ไปจนถึง Outro ทำให้นิยายดี ๆ ช่วยต่อความยาวสาวความอินไปได้อีกสักพักนึงเลย ในซีรีส์ Next Cover, Same Mood เราจะเอาอัลบั้มโปรดที่เพิ่งฟังไป มาดูด้วยกันไปทีละเพลงว่า มีหนังสือเล่มไหนบ้างที่มีจุดเชื่อมโยงกับตัวเพลงนั้น ๆ ทั้งชื่อเพลง, เนื้อร้อง, พาร์ทดนตรี, อารมณ์หลังฟังจบ, เรื่องราวก่อนจะมาเป็นเพลง ไปจนถึงความหมายของเพลง เป็น What You Should Read Next ‘ฟังเพลงนี้จบแล้ว ถ้าอิน ก็ควรอ่านหนังสือเล่มนั้นต่อนะ’ เพื่อช่วยยืดอารมณ์อันไม่มูฟออนจากเพลงของเรากันต่อไป (พูดแบบนี้ดูเศร้า) ขอเปิดตัวคอลัมน์แรกอย่างเป็นทางการ ด้วยอัลบั้มเต็มอัลบั้มแรกเป็นของวง Asia 7 ที่ออกกับค่าย
เข้าสู่กันยายนเดือน 9 กันแล้ว ก็นับถอยหลังใกล้เข้าสิ้นปีกันเข้าไปเรื่อย ๆ ทุกที เดี๋ยวกระพริบตาอีกครั้งเดียวปีนี้ก็จะหมดไป ใครที่ตั้ง Wish List ของปี 2022 กันเอาไว้ตั้งแต่ต้นปีแล้วยังทำไม่สำเร็จ ก็ต้องรีบเร่งมือกันหน่อยแล้วล่ะ แต่ในช่วงเวลาที่โลกยังปั่นป่วนแบบนี้ แค่ตั้งปณิธานให้ตัวเองมีความสุขในทุกวันน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เมื่อพูดถึง ‘เวลา’ เรามักยกเรื่อง ‘ความเสียดาย’ ขึ้นมาพูดคู่กันเสมอ เพราะคุณค่าของเวลานั้นสำคัญ และอยู่ที่การใช้อย่างไรให้คุ้มค่าที่สุดในแบบที่ตัวเองสบายใจจริง ๆ UNLOCKMEN ขอแนะนำ 10 หนังสือที่ทำให้เราเห็นคุณค่าของนาฬิกาชีวิตที่มีจำกัด ที่ขอรับรองเลยว่าอ่านแล้วไม่เสียดายเวลาอย่างแน่นอน The Last 10 Years สุดท้ายและตลอดไป (余命10年) ผู้เขียน : Kosaka Ruka สำนักพิมพ์ : Avocado Books “ถ้าคุณรู้ล่วงหน้าว่าตัวเองเหลือเวลาชีวิตอีกเพียง 10 ปี จะใช้ชีวิตอย่างไรให้คุ้มค่า ไม่ค้างคาเมื่อจากไป และมีความสุขได้ในทุกวัน” นี่คือคำถามที่หนังสือ The Last 10 Years
เพราะวรรณกรรมเต็มไปด้วยความสวยงามที่เกิดจากความเมามายทางอารมณ์มากมาย ไม่ว่าจะในเนื้อเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นก็ดี หรือตัวนักเขียนเองที่ใช้เป็นแรงขับเคลื่อนในการจรดปากกาแต่ละตัวอักษรก็ดี ไปจนถึงการมีแพชชั่นในการดื่มโดยส่วนตัว อย่างผู้เขียน Ernest Hemingway ผู้เขียน Old Man and The Sea ก็ถึงขนาดเปิดแบรนด์เครื่องดื่มของตัวเองขึ้นมาเลย ในนิยายซีไรต์ของ ‘ชาติ กอบจิตติ’ เรื่อง คำพิพากษา เครื่องดื่มเย็น ๆ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการ ‘ลืม’ โดยหมายถึงการลืมว่าโลกในชีวิตจริงเป็นอย่างไร แล้วอาศัยอยู่ในโลกหลังแอลกอฮอลล์แทน หรืออดีตนายกของประเทศไทย ‘คึกฤทธิ์ ปราโมช’ ก็เขียนรวมเรื่องสั้นขนาดยาวชื่อ หลายชีวิต ที่มีโทษของการใช้เครื่องดื่มเพื่อเป็นสุดยอดนักเขียนบันทึกเอาไว้ด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง ‘เครื่องดื่มเย็น ๆ’ กับ ‘วรรณกรรม’ เป็นสิ่งที่มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาอย่างยาวนาน เพราะมนุษย์ยังคงดื่มและเขียนอย่างไม่มีทางสิ้นสุด UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปรู้จักกับเครื่องดื่มที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือเล่มดังกัน First Rule India Pale Ale (Fight Club) “กฎข้อแรกของไฟต์คลับ ห้ามพูดถึงไฟต์คลับ” จากนิยายเล่มดังของ Chuck Palahniuk สู่หนังไอคอนิกในปี 1999 โดย
“พบกันน้อยนิด..จากกันเนิ่นนาน” วลีอมตะจากนวนิยายเรื่อง 8 เทพอสูรมังกรฟ้า หนึ่งในผลงานขึ้นหิ้งของ ‘กิมย้ง’ คงจะเข้ากับเหตุการณ์ตอนนี้ที่สุด เพราะเขาในวัย 94 ปี ก็ได้เริ่มต้นการจากกันเนิ่นนานกับยุทธภพแห่งนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม (พ.ศ. 2561) ที่ผ่านมา 94 ปีแห่งชีวิต 63 ปีแห่งการสร้างยุทธภพผ่านตัวอักษร ไม่ว่าจะสรรเสริญเท่าไรก็คงไม่เพียงพอกับความยิ่งใหญ่ของบุรุษผู้นี้ เขาคือหนึ่งในผู้บุกเบิกนิยายจีนกำลังภายใน เป็นอาจารย์ของนักเขียนรุ่นหลัง สร้างแรงบันดาลใจและความบันเทิงมากมายให้กับผู้เสพงานของเขา ดังนั้นถ้าใครติดตามนามปากกากิมย้งมาตลอดจะรู้ความจริงข้อนี้ดีอยู่แล้ว คอนเทนต์นี้เราจึงอยากแนะนำกิมย้งให้นักอ่านรุ่นใหม่รู้จักกันเสียมากกว่า หลายคนมักจะอคติกับนิยายชุดกำลังภายในว่าเน้นการบรรยายพรรณาเยิ่นเย้อ อ่านแล้วรู้สึกเบื่อ ซึ่งเราก็ไม่ปฏิเสธ เมื่อก่อนเราก็เคยคิดเช่นนั้น จนกระทั่งได้ลองอ่านงานของกิมย้งอย่างจริงจัง พบว่าในสำนวนโวหารต่าง ๆ นั้นคือหมู่มวลแห่งความบันเทิงทั้งสิ้น และทุกประโยคสนทนาคือแง่คิดดี ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ในชีวิตจริง ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มอ่านจากเล่มไหนดี เราขอแนะนำผลงานอมตะ 5 เรื่องนี้ของกิมย้งที่รับรองว่าคุณจะสนุกไปกับมันได้อย่างแน่นอน มังกรหยก คงไม่ผิดนักถ้าจะพูดว่านี่คือผลงานที่โด่งดังที่สุดของกิมย้ง โด่งดังถึงขนาดที่ว่าต่อให้คุณไม่รู้จักกิมย้งแต่คุณต้องรู้จักมังกรหยกอย่างแน่นอน เพราะผลงานซีรีส์โทรทัศน์ที่ถูกดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้อยู่คู่กับจอแก้วบ้านเรามาตั้งแต่จำความได้ ในส่วนของเนื้อหา มังกรหยกแบ่งเรื่องราวทั้งหมดออกเป็น 3 ภาค โดยในภาคปฐมบทเล่าถึงแผ่นดินจีนที่กำลังเสื่อมโทรม ประชาราษฎร์ยากแค้น ขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง ก่อนการปรากฏตัวของ ‘ก๊วยเจ๋ง’ เด็กหนุ่มที่เติบโตขึ้นมาในดินแดนของมองโกลก่อนจะเดินทางกลับสู่ยุทธจักรจีน ก๊วยเจ๋งหมั่นฝึกฝนวิชามากมาย เป้าหมายคือขับไล่พวกมองโกลจากแผ่นดินจีน