เกิดมาเป็นผู้ชาย ต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การทำงาน การใช้ชีวิต หรือ ความสัมพันธ์ ซึ่งเรื่องเหล่านี้อาจทำให้เราตกอยู่ในอาการคิดมากจนเกิดความเครียดถึงขั้นนอนไม่หลับ หากใครกำลังเจอปัญหานี้ เราแนะนำให้ลองนำเทคนิคที่ชื่อว่า Brain Dump ไปใช้ ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้สมองของเราโล่งขึ้น จนความเครียดและความกังวลข้างในหายไป ไม่เป็นภัยกับร่างกายและสมองของเราอีกต่อไป ความหมายของ Brain Dump ลองเปรียบสมองเป็นสนามหญ้าขนาดเล็ก และเปรียบความคิดของเราเป็นคนที่มาอยู่ในสนามหญ้านั้น ยิ่งคนเข้ามาอยู่ในสนามหญ้านั้นเยอะ ความแออัดวุ่นวายมันจะยิ่งมากขึ้นตามมา ถ้าเราไม่อยากให้สมองของเราวุ่นวายมากนัก เราควรใช้เทคนิคที่เรียกว่า Brain Dump ในการระบายความคิดฟุ้งซ่านออกจากสมองของเรา เทคนิคนี้จะช่วยให้ความคิดของเราเป็นระบบระเบียบมากขึ้น สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้เก่งขึ้น และทำให้เรามีความ Productive มากขึ้นด้วย เพราะความคิดของเราจะถูกจัดระเบียบ และคัดเลือกสิ่งที่ดีมากขึ้น ซึ่งเราสามารถทำ Brain Dump ได้ง่าย ๆ ด้วยขั้นตอนเหล่านี้ เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม แม้ตอนนี้เราจะมีสมาร์ทโฟนที่สามารถเขียนหรือจดบันทึกได้ทุกอย่าง แต่การเขียนลงบนกระดาษนั่นมีข้อดีกว่าตรงที่ว่า มันทำให้เราจดจำหรือเห็นความสำคัญของสิ่งที่เราบันทึก เพราะการเขียนด้วยมือกระตุ้นการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการคิดและความทรงจำ (working memory) ทำให้เราสามารถจดจำข้อมูลได้นานขึ้น และยังทำให้เรามีส่วนร่วมในข้อมูลที่เราจดบันทึกไว้มากกว่าด้วย ช่วยให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองบันทึกไว้มากขึ้นโดยอัตโนมัติ สร้างลิสต์ พอเราเตรียมอุปกรณ์เสร็จแล้ว ต่อมาให้เราสร้างลิสต์งานของตัวเอง
คนวัยทำงานต้องการหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็น สังคมการทำงานที่ดี ประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึง สถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการนั่งทำงาน เช่นไม่มีเสียงรบกวนที่มาดึงความสนใจเราจากงาน แต่บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกรบกวนด้วยเสียง ไม่ว่าจะเป็น เสียงคนคุยกัน หรือ เสียงก่อสร้าง บางครั้งเสียงเหล่านี้ก็ดังมากจนเราเสียสมาธิไม่เป็นอันทำงาน เราเลยอยากจะมาแนะนำวิธีการรับมือกับเสียงรบกวนเหล่านี้ เพื่อฟื้นคืนประสิทธิภาพในการทำงานของเราให้กลับมาดังเดิม สิ่งแวดล้อมที่ไม่สงบส่งผลต่อคุณภาพในการทำงาน ถ้าเราทำงานในที่ที่มีเสียงดัง ประสิทธิภาพในการทำงานอาจจะลดลง อ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร British Journal of Psychology (2004) ซึ่งได้ขอให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานปฏิบัติ 2 ภารกิจ ได้แก่ จดจำและนึกถึงงานประพันธ์ และคิดเลขในใจอย่างง่าย โดยในระหว่างการทดลอง ทีมวิจัยได้เปิดบันทึกเสียงรบกวนประเภทที่เกิดขึ้นทั่วไปในออฟฟิศให้ผู้เข้าร่วมการทดลองฟังด้วย ผลการวิจัยพบว่า สิ่งแวดล้อมที่ทำงานที่เต็มไปด้วยเสียงรบกวน (noisy office environments) สามารถลดความแม่นยำในการทำงานของพนักงานลง ได้67% แต่เมื่อเสียงรบกวนที่เกิดจากการสนทนาลดลง ความสามารถในการโฟกัสงานของพนักงานกลับเพิ่มขึ้นมา 48% แถมความเครียดของพนักงานยังลดลง 27% อีกด้วย นอกจากงานวิจัยชิ้นนี้แล้ว ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง (2005) ซึ่งได้เปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของคนที่ทำงานในโอเพนออฟฟิศ และคนที่ทำงานในคอกทำงาน (cubicles) และพบว่า คนกลุ่มแรกมีความพึงพอใจในเสียงรบกวนมากกว่าคนกลุ่มที่สอง โดยคนกลุ่มที่สองพบเจอกับปัญหาจากการได้ยินเสียงคนพูดโทรศัพท์ การได้ยินเสียงคนพูดคุยกัน
มันต้องมีสักครั้งที่เรารู้สึกเหมือนโลกทั้งใบมีแค่ ‘เรา’ กับ ‘สิ่ง’ ที่อยู่ตรงหน้า เราโฟกัสกับสิ่งนั้นอย่างจริงจัง ทุมเทพลังงานและความสนใจให้กับมัน จนเราไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเลย แต่พองานจบลงความรู้สึกเหล่านั้นก็หายไปเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ปรากฎการณ์นี้มีชื่อเรียกว่าสภาวะ ‘Flow’ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างมาก แต่ก็ยากที่จะเข้าถึงเหมือนกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแชร์วิธีการเข้าโหมดโฟลว์อย่างง่ายดาย เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น WHAT IS THE FLOW STATE ? โฟลว์ (flow) คือ สภาวะที่เราจมอยู่กับกิจกรรมหรืองานอย่างเต็มตัวในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่เราไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองและรอบข้าง ซึ่งคำนี้มีที่มาจาก มิฮาย ชิกเซนต์มิฮายยี (Mihály Csíkszentmihályi) นักจิตวิทยาเชิงบวกในปี 1975 และได้รับการสนใจมาจนถึงปัจจุบัน ว่ากันว่าเวลาเราเกิดโฟลว์ สมองส่วนคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิดขั้นสูง อาทิ ความทรงจำ รวมถึง การมีสติรู้ตัว อาจหยุดทำงานชั่วคราว ส่งผลให้เกิดการรับรู้เวลาผิดเพี้ยน ไม่รู้สึกตัว และไม่ได้ยินเสียงจิตใจของตัวเอง นอกจากนี้การหลั่งของสารเคมีที่ชื่อว่า โดปามีน อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโฟลว์ด้วย หลายคนอาจไม่เกิดโฟลว์บ่อย เพราะโหมดโฟลว์ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ ต้องมีเงื่อนไขที่จำเป็น
เคยไหม ? ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าเหมือนยังไม่ตื่น เกิดอาการสะลึมสะลือ คิดอะไรไม่ค่อยออก แถมยังรู้สึกควบคุมตัวเองได้ไม่เต็มที่ตลอดวัน ถ้าใครกำลังเป็น อาจกำลังตกอยู่ในภาวะสมองเหนื่อยล้า (Brain Fog) ก็เป็นได้ ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นได้จากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ ทำให้เกิดผลเสียต่อการใช้ชีวิตของเรา UNLOCKMEN เลยจะมาอธิบายสาเหตุที่ทำให้เราเกิดอาการ Brain Fog และวิธีการป้องกันและบรรเทาอาการ Brain Fog ด้วย เพื่อให้คนอ่านรอดพ้นจากอาการ Brain Fog กันถ้วนหน้า WHAT IS BRAIN FOG SYNDROME ? Brain Fog Syndrome คือ อาการเหนื่อยล้าทางจิตใจที่สามารถเกิดขึ้นจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ โดยสารเคมีในสมองที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์เกิดอาการเสียสมดุล สมองของเราเลยทำงานได้แย่ลง และเราเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตต่าง ๆ เช่น ไม่สามารถคิด หรือ นึกอะไรไม่ค่อยออก เกิดความสับสนมึนงง ไม่สามารถโฟกัสกับชีวิตประจำวัน และพูดในสิ่งที่คิดได้ยากขึ้น อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ผลของการขาดน้ำ ผลของความเครียด ผลของการพักผ่อนไม่เพียงพอ ผลของการขาดวิตามิน B-12 ผลข้างเคียงจากการทานยาบางชนิด
หลายคนคงคิดว่า เมื่อเราเป็นเจ้าของชีวิต เราก็น่าจะควบคุมการตัดสินใจของตัวเองได้เสมอ แต่ในความเป็นจริง มนุษย์มีระบบการตอบสนองแบบอัตโนมัติอยู่ หรือที่เรียกกันว่าโหมด autopilot เมื่ออยู่ในโหมดนี้เราจะตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ โดยใช้ความเคยชิน และคิดน้อยลง การใช้โหมดนี้อาจจะดีเมื่อเราทำเรื่องที่เป็นรูทีน เช่น การขับรถ หรือ กินข้าว เพราะช่วยประหยัดพลังงานสมอง แต่เมื่อเจอกับเรื่องที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น การแต่งงาน การแก้ปัญหาในที่ทำงาน โหมดนี้อาจส่งผลให้เราตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้นได้แย่ลงได้ เราเลยอยากมาแนะนำวิธีการออกจากโหมด autopilot เพื่อให้เราสามารถควบคุมชีวิตตัวเอง และตัดสินใจเรื่องยาก ๆ ได้ดีขึ้น โหมด AUTOPILOT ทำงานยังไง ? ว่ากันว่า โหมดขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือ autopilot ของเราเกี่ยวข้องกับโครงข่ายของสมองที่เรียกว่า Default Brain Network (DMN) ซึ่งจะทำงานในเวลาที่เราไม่โฟกัสกับโลกภายนอก หรือ กำลังใจลอยอยู่ โดยโครงข่ายนี้จะเกี่ยวข้องกับสมอง 3 ส่วน ได้แก่ Posterior cingulate cortex (PCC) และ precuneus ที่อยู่ในสมองกลีบข้าง
เมื่อเทคโนโลยีทำให้เราสามารถทำงานนอกออฟฟิศได้ง่ายขึ้น เราสามารถทำงานได้จากทุกที ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ร้านอาหาร หรือ ร้านกาแฟ สิ่งที่ตามมา คือ เราอาจเกิดความสับสนระหว่างเวลาในการใช้ชีวิต และนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น ความเครียด ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน จนสุดท้ายราอาจเจอกับความล้มเหลวทั้งในเรื่อง Work และเรื่อง Life บทความนี้ UNLOCKMEN อยากให้ทุกคนรู้จักวิธีการกำหนด work-life boundaries หรือ ขอบเขตระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบริหารเวลาได้ดีขึ้น และเป็นผู้ชนะทั้งการใช้ชีวิตและการทำงาน WORK-LIFE BOUNDARIES คืออะไร ? ถ้าจะสรุปคอนเซ็ปท์ของ work-life boundaries ให้เข้าใจง่ายที่สุด มันคือการที่เราไม่เอาเวลาทำงานมาทำเรื่องส่วนตัว และไม่เอาเวลาทำเรื่องส่วนตัวมาทำงาน ซึ่งการกำหนด work-life boundaries ที่ชัดเจนก็มีงานวิจัยยืนยันด้วยว่า ส่งผลดีต่อการทำงานเหมือนกัน เช่น งานวิจัยของ เอลเลน เอินส์ท คอสเสก (Ellen Ernst Kossek) จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเพอร์ดู พบว่า การบริหาร work-life
เวลาเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้เราตรึงเครียดมาก ๆ เรามักจะทำผลงานได้ไม่ดีเท่าไหร่ เพราะเราเผชิญหน้ากับเรื่องเหล่านั้นด้วยความเครียด ความกังวล หรือ ความกลัว และเรายังถูกกระตุ้นให้รีบคิด รีบแก้ปัญหา จนสุดท้ายงานก็อาจเสร็จแบบไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ ถ้าเจอกับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกแบบนั้นบ่อย ๆ เราก็อาจเหนื่อยล้าและจิตใจพุพังได้เหมือนกัน UNLOCKMEN เลยอยากมาแนะนำมีวิธีการ self-regulate ตัวเอง เพื่อให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่ไม่น่าสบายใจได้เป็นอย่างดีที่สุด เกิดอะไรขึ้นเมื่อเราเจอกับสถานการณ์ที่มีความตึงเครียดสูง ? เวลาเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ทำให้เราเกิดความเครียดอย่างหนัก เช่น ก่อนเวลาพรีเซนต์งาน หรือ เดินเล่นอยู่แล้วเจอหมาวิ่งไล่กัด ร่างกายเรามักเกิดการตอบสนองทางจิตวิทยาที่เรียกว่า fight-or-flight response (การตอบสนองแบบสู้-หรือ-ถอย) หรือมีอีกชื่อหนึ่ง คือ acute stress response ร่างกายของเราจะหลั่งฮอร์โมนออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เราเตรียมพร้อมสำหรับการอยู่และสู้กับปัญหาต่อไป หรือ จะหนีไปยังพื้นที่ปลอดภัย การหลั่งฮอร์โมนทำให้ระบบประสาทซิมพาเทติกถูกกระตุ้น และมันจะไปกระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่งฮอร์โมนกลุ่มแคททีโคลามีน (catecholamines) เช่น อะดรีนาลีน หรือ นอร์อะดรีนาลีน ออกมาอีกที ส่งผลให้หัวใจของเราเต้นแรงขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น และหายใจถี่ขึ้น ดังนั้น เวลาเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด เราเลยแพนิคได้ง่ายพอสมควร และหลังจากสิ่งที่ทำให้เราตรึงเครียดหายไปแล้ว ว่ากันว่า
หลายคนอาจเคยเกิดอาการเบื่องานที่ตัวเองทำอยู่ เพราะบางครั้งงานที่ทำอยู่ก็ไม่ได้น่าสนใจ หรือ บางครั้งเราอาจทำงานน้อยเกินไปจนรู้สึกว่าตัวเองทำประโยชน์ให้กับที่ทำงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้เราไม่มีแพสชั่นในการทำงาน และรู้สึกว่าการทำงานเป็นเรื่องน่าเบื่อขึ้นมา อาการนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Boreout Syndrome’ และส่งผลเสียต่อเราทั้งการทำงานและการใช้ชีวิต เราเลยอยากมาแนะนำ 5 วิธีการรับมือกับอาการ Boreout เพื่อให้เรากลับมาทำงานได้อย่างมีความสุขอีกครั้ง Boreout ต่างจาก Burnout อย่างไร ? Boreout Syndrome คือ อาการเบื่องานที่มักเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ หรือ น้อยเกินไป บางครั้งก็เกิดจากการทำงานที่ไม่สอดคล้องกับรายละเอียดของงาน หลายคนอาจจะสับสนอาการนี้กับ Burnout เพราะมันค่อนข้างมีความคล้ายกัน แต่เราอยากบอกว่า 2 อย่างนี้แตกต่างกันมาก โดย Boreout เกิดขึ้นจากการทำงานน้อยเกินไป หรือ งานส่วนใหญ่ที่ทำไม่น่าสนใจเพียงพอ ส่งผลให้เรารู้สึกว่าไม่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองในการทำงานอย่างเต็มที่ เสียแพสชั่นในการทำงาน และเกิดอาการ Boreout ในที่สุด ส่วน Burnout จะตรงข้ามกับ Boreout คือ เกิดจากการทำงานมากเกินไปจนเหนื่อย เครียด รู้สึกไม่มีพลังงานไปทำอย่างอื่น และเมื่อจิตใจเราเหนื่อยล้าจากงาน อาการ Burnout ก็สามารถเกิดขึ้น ซึ่งอาการ