Entertainment

จาก Subculture สู่ Pop Culture การปรากฎตัวอีกครั้งบนวัฒนธรรมหลักของ Lambretta ในภาพยนตร์เรื่อง The Pope’s Exorcist

By: GEESUCH March 22, 2024

ชื่อของ Lambretta กว่าจะถูกแปะอยู่ในวัฒนธรรมหลัก Pop Culture เป็น Scooter สัญชาติ Italian จากเมือง Milan สไตล์เฉพาะตัวไม่เหมือนใครได้อย่างทุกวันนี้ต้องบอกว่าเป็นการเดินทางที่ยาวไกลมาก และย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 1947 นู่นเลย แล้วเป็นการเดินทางที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเพียง Subculture ทางเลือกนอกกระแสคนขี่มาก่อนด้วยซ้ำ

บทความนี้จะพาชาวเลือดกรุ๊ปแลมทุกคนไปรีแคปเส้นทางการเดินทางส่วนหนึ่งของ Lambretta ให้เห็นว่ารถจากอิตาลีคันนี้วิ่งผ่านเส้นวัฒนธรรมย่อยเข้าสู่วัฒนธรรมหลักได้อย่างไร เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของแลมกับชีวิตของผู้คนอย่างจริงจัง ไปด้วยกัน


หมุดหมายแรกของ Lambretta ในเรื่องเล่าของเรา มาเริ่มต้นเล่าเรื่องนี้กันตรงที่มาทบทวนคำศัพท์กันก่อนดีกว่า และคำเดียวที่คุณจะต้องรู้ก็คือคำว่า ‘ม็อด (Mods)’ ที่หมายถึง ‘สมัยใหม่นิยม (Modernism)’ เป็นคำซึ่งใช้นิยามคนกลุ่มหนึ่งจากเมืองผู้ดีกรุงลอนดอน (London) ในยุค 1950s ที่แน่นอนว่ามี Lambretta เป็นพาหนะเดินทาง เป็นสัญลักษณ์ และเป็นแพชชั่นของชีวิต

Mods คือกลุ่มวัยรุ่นที่ฐานะอยู่ในระดับชนชั้นกลาง มีความคิดเห็นต่างต่อบรรทัดฐานของสังคมเพื่อที่จะแสดงถึงความอิสระของตัวเอง และสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นหนุ่มสาวชาว Mods ได้ดีที่สุดคือการคัสตอม Lambretta ที่มีกระจกข้างยุบยับเต็มรอบส่วนหน้าของรถ คำถามที่ว่า “ทำไม?” คำตอบก็คือพวกเขาทำเพื่อประชดรัฐบาลอังกฤษ ณ ช่วงเวลานั้น ที่ออกกฎหมายให้ติดกระจกข้างเพิ่มอย่างน้อย 1 อัน เพราะว่าการจราจรในยุคนั้นยังไม่ได้ดีมากนัก ชาว Mods ก็จัดชุดใหญ่ไฟกะพริบกับกระจกเป็น 10 อันให้ไปเลย

กลุ่ม Mods คือเหล่าหนุ่มสาวที่ชอบปาร์ตี้ เต้นรำ ร้องเพลง ใช้ชีวิตอย่างสุดเหวี่ยง โดยการรับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมหลากหลายวงการ วรรณกรรม ดนตรี ศิลปะ สถาปัตยกรรม และแฟชั่นอิตาเลียนสไตล์ มาพร้อมแจ็คเก็ตยาว Parkas พร้อมสัญลักษณ์ประจำกลุ่มอย่าง ‘ธงยูเนียนแจ็ก (Union Jack)’ กับ ‘เป้าธนู’ ความโดดเด่นของ Mods ถูกนิยามได้ด้วย 3 คำ Freedom / Mobility & Style ซึ่งแปลรวม ๆ ออกมาว่า ‘รสนิยมที่ดี’ และนั่นก็รวมถึงรสนิยมทางดนตรีชั้นเยี่ยมที่พวกเขาเลือกเสพผลงานจากศิลปินแจ๊ซชั้นเลิศ Miles Davis หรือ Charlie Parker หรือถ้าเป็นเพลง Rock ก็จะเป็นวงชั้นเยี่ยมอย่าง The Who หรือ The Kinks เป็นต้น และเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่าทำไมสกู๊ตเตอร์ที่มีความยูนีกอย่าง Lambretta ถึงเป็นสิ่งที่ชาว Mods เลือกใช้เป็นพาหนะของกลุ่มนั่นเอง


บิดกุญแจ สตาร์ทรถ ให้เครื่องยนตร์ส่งเสียงดัง “ฮึ่ม ฮึ่ม ฮึ่ม !” สกู๊ตเตอร์ Lambretta ได้ขับผ่านวัฒนธรรมย่อยของคนกลุ่มเล็ก ๆ มาแล้วเรียบร้อย และตอนนี้ก็กำลังจะเข้าจอดป้ายหนึ่งที่สำคัญของแบรนด์ซึ่งก็คือ ‘วัฒนธรรมหลัก’ หรือ Pop Culture ที่จะเรียกว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดก็ว่าได้

ปี 2023 ที่ผ่านมาภาพยนตร์เรื่อง The Pope’s Exorcist หนังที่ฟังแค่ชื่อดูจะไม่สามารถเข้ากับแลมได้เลย แต่ก็นั่นล่ะ ด้วยความที่เป็นสกู๊ตเตอร์ซึ่งไม่ว่าจะแปะกับวัฒนธรรมไหนก็ใช่ไปหมด หนังเรื่องนี้จึงบันทึกภาพของความเป็น Lambretta แบบที่เท่ที่สุดเอาไว้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านตัวละครบาทหลวงชื่อ Gabriele Amorth หัวหน้ามือปราบผี (Chief Exorcist) แห่งนครวาติกัน ที่มีประสบการณ์มากกว่า 36 ปี (ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากแฟ้มบันทึกเคสการปราบผีจริง ๆ ของหลวงพ่อกาเบรียลนี่ล่ะ)

สิ่งสำคัญของหนังเรื่องนี้กับความเป็น Lambretta คืออะไรรู้มั้ย มันไม่ใช่เพราะความโคตรเท่ที่หนังตั้งใจเลือก Lambretta-Serveta Li 150 รุ่นที่เกิดขึ้นหลังจากยุคของโมเดลตระกูล MK D ตอนปี 1951 และเป็นซีรีส์ที่ 2 ของ LI สร้างตอนปี 1963 – 1966 มาด้วยสมรรถนะแรง ๆ เกียร์ 4 สปีด พร้อมสเปกความเร็วสูงสุดที่ 150 CC หรอกนะ

แต่มันคือสิ่งที่เรียกว่า ‘ชีวิต’ มาก ๆ ต่างหากล่ะ และสิ่งนี้เกิดขึ้นจากการที่นักแสดงนำของเรื่องอย่าง Russell Crowe ได้บังเอิญไปเห็นบาทหลวงรูปหนึ่งในอิตาลีขี่ Lambretta แล้วตัดสินใจเป็นคนขอให้บาทหลวงกาเบรียลตัวละครของเขาใช้ Lambretta เป็นพาหนะหลักในการเดินทาง รัสเซลเป็นคนยืนกรานจะทำสิ่งนี้ด้วยตัวเอง มันเลยไม่ใช่แค่เรื่องของ Pop Culture แล้ว แต่เป็นสิ่งที่เรียกว่า Life Culture ที่ทำให้เห็นและรู้สึกได้เลยว่าตลอดเวลา 77 ปีที่ผ่านมา แบรนด์สกู๊ตเตอร์จมูกหมูตัวนี้ได้สร้าง “แลม… บันดาลใจ” ในชีวิตของผู้คนมากมายขนาดไหน


เรื่องราวแห่งแลมบันดาลใจของบาทหลวง Gabriele Amorth ไม่ได้จบอยู่แค่ที่ตรงนี้ เพราะนี่เป็นเพียงหนึ่งในสตอรี่แห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 77 ปีของ Lambretta ที่ยังมีอีกหลายเรื่องราวรอให้ทุกคนได้ติดตามในบทความชิ้นถัดไป

#Lambretta #Lambretta77thAnniversary
#LiveWithPassion #แลมบันดาลใจ #UNLOCKMEN

Source

1 / 2 / 3 / 4 / 5 / 6 / 7

GEESUCH
WRITER: GEESUCH
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line