เปิดตัวในงาน LVMH Watch Week 2024 จักรกลระดับ Grand Complication เรือนล่าสุดจาก Hublot มาพร้อมชื่อที่ยาวไม่แพ้ป้ายราคา MP-10 Tourbillon Weight Energy System เป็นอีกครั้งที่ Hublot เลือกฉีกคำนิยามของนาฬิกาแบบเก่า ๆ ใช้ความกล้าหาญและสร้างสรรค์ในการดีไซน์ กลไก HUB9013 movement บอกเวลาผ่าน rolling cylinders time display คล้ายใน MP-05 LaFerrari โดยมีแหล่งพลังงานจาก sliding weights ที่ขยับขึ้นลงทุกครั้งที่เราขยับมือไปมา ควบคุมเวลาผ่าน inclined flying tourbillon ซึ่งมีการเพิ่ม seconds scale ลงไป เป็นครั้งแรกที่สามารถรวมสุดยอดกลไกระดับ grand-complication level ที่ซับซ้อนที่สุดมาไว้ในเรือนเดียวกันได้สำเร็จ วิธีดูเวลาของ MP-10 คือหลักชั่วโมงจะอยู่ที่ cylinders ด้านบนสุด ตามด้วยหลักนาทีด้านล่าง ลงมาจาก
เอาจริงพ่อหนุ่มแรปเปอร์คนนี้น่าจะเปลี่ยนชื่อจาก Tyler The Creator เป็น Tyler The Collector ได้แล้วนะ เพราะนอกจากจะสะสม Retro Classic Cars อย่าง BMW E30 M3 / Roll-Royce Wraith / Lancia Delta เขาก็ยังสะสมนาฬิกาวินเทจตัวแรร์ ตัวหายาก ตัวโคตรแพง โดยเป็นแฟนของแบรนด์ Cartier ตัวยง ในเหล่าของสะสมของไทเลอร์หลาย ๆ เรือนคือตัวที่หาไม่ได้แล้ว บางรุ่นก็ราคาอยู่ที่ตัวเลข 8 หลักกันเลยทีเดียว ! แต่ก็ต้องยอมรับในรสนิยมการเลือกของวินเทจของไทเลอร์จริง ๆ ว่ามันเหมาะสมกับความเป็นไทเลอร์มาก ๆ เขามองนาฬิกาที่ดีไซน์ ประวัติศาสตร์ โดยไม่สนว่านาฬิกาเรือนนั้นจะทำมาเพื่อข้อมือของผู้หญิงหรือผู้ชาย และนี่ก็คือ 9 Vintage Cartier Watch By Tyler The Creator ที่เราเอามาฝากทุกคนกัน ประวัติย่อ ๆ
ปีนี้ถือเป็นปีที่สำคัญมากสำหรับ Longines เนื่องจากเป็นปีที่ “Conquest” คอลเลคชั่นมีอายุครบ 70 ปี ตำนานที่เริ่มต้นขึ้นในปี 1954 และยังเป็นปีที่ชื่อ Conquest ถูกจดลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการ เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสสุดพิเศษให้กับคอลเลคชันนี้ Longines จึงออกแบบนาฬิการุ่นคลาสสิกนี้ขึ้นใหม่ภายใต้ชื่อ Conquest Heritage Central Power Reserve ที่ได้แรงบันดาลใจจาก Conquest Power Reserve ลำดับที่ 2 ในปี 1959 กับจุดเด่นที่สะเทือนโลกนาฬิกาด้วยจากดิสเพลย์พลังงานสำรองบนจานหมุน (rotating disc) ที่ตั้งอยู่กลางหน้าปัด บ่งบอกระดับพลังงานสำรองที่เหลืออยู่ ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ที่คิดค้นและจะพบได้เฉพาะที่ Longines เท่านั้น เพื่อร่วมเฉลิมฉลองให้กับ 70 ปีแห่งนวัตกรรมและความสง่างามของ Longines Conquest collection เราจะพาทุกท่านย้อนเวลาไปทำความรู้จักกับ Conquest ให้ดีขึ้นตั้งแต่เรือนแรกในปี 1954 จนถึงเรือนล่าสุดเพื่อพิสูจน์ความสง่างามเหนือกาลเวลาของนาฬิการุ่นนี้กันครับ 1954 – LONGINES CONQUEST REF. 9001 ; ตัวเรือนขนาด
ผ่านเวลามา 50 ปี ความคลาสสิกจากงานดีไซน์เรือนเวลารูปทรง TV ที่ผสานรูปร่างสี่เหลี่ยมเข้าไว้กับความโค้งมนได้อย่างกลมกล่อม พร้อมคืนชีพอีกครั้งกับ MIDO Multifort TV Big Date ตัวแทนความเก๋าด้านงานออกแบบที่พร้อมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน หลังจากที่ Mido เคยเผยโฉมนาฬิกาทรง TV สุดคลาสสิกมาแล้วเมื่อปี 1973, 1980 และ 2000 ล่าสุดตำนานเรือนเวลาหน้า TV ได้กลับมาโลดแล่นอีกครั้งบน MIDO Multifort TV Big Date ซึ่งโดดเด่นด้วยการออกแบบที่คลาสสิกร่วมสมัย เต็มไปด้วยเสน่ห์ของหน้าปัดสะท้อนแสงโชว์เอฟเฟกต์การไล่เฉดแสงสีที่น่าหลงใหลจากโทนสีหลักกลางหน้าปัดไปจนสุดขอบสีดำ ตัวเรือนสเตนเลสของ MIDO Multifort TV Big Date ดูลงตัวมีมิติด้วยการขัดเงาแนวนอนอย่างเด่นชัด ขาดไม่ได้กับความโดดเด่นของ ‘BIG DATE’ หน้าต่างวันที่ขนาดใหญ่ที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา นอกจากนี้ภายใต้กระจกแซฟไฟร์ด้านหลังตัวเรือนยังเผยให้เห็นความงามของกลไก Caliber 80 สุดแม่นยำ พร้อมรองรับการสำรองพลังงานได้สูงสุด 80 ชั่วโมง เหมาะมากสำหรับเป็น Every Day
ช่วงปี 1956 ผลงานการออกแบบของ Pininfarina เป็นที่ยอมรับอย่างสูง เป็นดีไซน์เนอร์เบอร์หนึ่งของ Ferrari ที่รับผิดชอบผลงานเกือบ 100% ของโมเดลในยุคนั้น และเมื่อ 250-based concept ถูกเปิดตัวในงาน Geneva Motor Show ผู้คนต่างสนใจจนนายใหญ่สั่งเดินหน้าเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนพัฒนาต่อไป แต่ติดที่งานมันล้นเหลือเกิน จน Pininfarina ต้องเรียกมือขวามาช่วยพัฒนาต่อบน prototype ที่ตัวเองวางไว้ และ 250 GT Coupé คันนี้ก็ได้ Ezio Ellena จากสำนักออกแบบ Carrozzeria Ellena มาสานต่อจนเสร็จเรียบร้อย ทำให้รถคันนี้มีรายละเอียดและความรู้สึกที่แตกต่างออกไป Ferrari 250 GT Coupé ถูกผลิตออกมาทั้งหมดจำนวน 130 คัน แบ่งเป็นผลงานของ Mario Felice Boano 80 คัน และ Carrozzeria Ellena เพียง 50 คันเท่านั้น
โลดแล่นมากว่า 10 ปี วันนี้ Porsche Macan EV ก็เปิดตัวมาในขุมพลังไฟฟ้าล้วนเป็นครั้งแรก พัฒนาบน Premium Platform Electric (PPE) platform ที่รองรับไฟฟ้าสูงสุด 800-volt electrical architecture ซึ่งคิดค้นร่วมกับ Audi เป็นครั้งแรก และคาดว่าจะใช้ platform นี้กับ Audi A6, Q6 และ Cayenne EV โมเดลต่อไปด้วยเช่นกัน แบตเตอรี่ของ Macan EV ใช้เป็น Lithium-Nickel Manganese Cobalt cells ทั้งหมด 12 modules ให้ความจุไฟฟ้ารวม 100 kWh ได้ Range ไกลสุดราว 380 mile หรือ 600 km ต่อการชาร์จ มีสองระดับความแรงให้เลือก
ถึงแม้ว่าจะมาเป็นครั้งแรก แต่เรากลับเดินทางมาถึงบ้านซึ่งซ่อนตัวอยู่ในซอยหนึ่งของย่านสีลมนี้ได้อย่างไม่ลำบากจนเกินไปนักทั้ง ๆ ที่ตัวเองห่วยแตกเรื่องการดูแผนที่มาตลอด คงเป็นเพราะนี่คือโลเคชั่นของรายการโปรดของตัวเองจากช่อง Rubsarb Production ชื่อ ‘ศิลปะล่ะ’ ที่ดูเป็นประจำล่ะมั้ง (จาก EP.25 มันผ่านมา 3 เดือนกว่าแล้วนะครับพี่ ๆ) พอเห็นประตูบ้าน เงยหน้าพิจารณาดูภายนอกอยู่สักพัก ก็ชัวร์เลยว่าหลังนี้ล่ะบ้านของพี่ ‘ฮ่องเต้ Art Of Hongtae’ ทำไมเราถึงมั่นใจมากทั้ง ๆ ที่ไม่มี Fact อะไรมารองรับ ก็เพราะเขาเปิดประตูออกมาทักทายแล้วไง “บ้านกูเหมือนห้องทำงานเจ้าของ Paul Smith ปะ ของรกสัส 555” เชื่อว่าทุกคนรู้จักผู้ชายชื่อ ฮ่องเต้-กนต์ธร เตโชฬาร ดีอยู่แล้ว ในฐานะของคนทำงานศิลปะ ไม่ว่าจะในรูปแบบของภาพประกอบ งานเขียน หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่ถ้าให้ลิสต์รายชื่อทั้งหมดก็จะเสียพื้นที่ไปอีก 2-3 ย่อหน้า หรือแฟนคลับของพี่ฮ่องเต้ก็น่าจะรู้อยู่แล้วอีกแหละว่าเขาเติบโตมากับคุณพ่อที่เป็นหมอคุณแม่ที่เป็นแม่บ้าน เรียนศิลปะกับ ‘ครูสังคม ทองมี’ เข้าสถาปัตย์จุฬาเพราะใจแตกจากการดูละครเวทีสถาปัตย์ เรียนจบทำงาน Wedding Designer
Sartory-Billard เปิดตัวซีรีส์ SB06 ก้าวทะยานไปข้างหน้าด้วยนาฬิกา Flying Tourbillon แบบสั่งทำพิเศษ ประเดิมความลำหน้าด้วยกลไก SBTV01 ที่เป็นเอกสิทธิ์ของ Sartory-Billard ถูกประดิษฐ์ขึ้นด้วยความแม่นยำอย่างพิถีพิถันโดย Comblemine นาฬิกาเหล่านี้ไม่เพียงแสดงถึงความก้าวหน้าในด้านความซับซ้อนเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงความมุ่งมั่นต่อค่านิยมหลักของแบรนด์ในด้านความพิเศษเฉพาะตัวและความเป็นปัจเจกในแต่ละบุคคลอีกด้วย ในฤดูร้อนปี 2021 Sartory-Billard เริ่มต้นการเดินทางครั้งสำคัญในการผลิตนาฬิกาเมื่อ Cronotempvs Watch Club ติดต่อเข้ามาเพื่อขอให้แบรนด์ผลิตนาฬิกา Flying Tourbillon ที่รวบรวม DNA อันเป็นเอกลักษณ์ของ Sartory-Billard สิ่งที่ดูเหมือนเป็นการเลือกกลไกมาตรฐานอย่างตรงไปตรงมาในครั้งนั้นได้กลายมาเป็นหัวใจในการพัฒนากลไกของตนเองครั้งแรกของแบรนด์อย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาสองปีกว่าทำให้ Armand Billard ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่ม Cronotempvs เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ ออกแบบ และพัฒนากลไกร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและช่างทำนาฬิกาที่ Comblemine เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดด้วยคุณสมบัติที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เช่น sapphire bridges และรายละเอียดที่ซับซ้อนอีกมากมาย กระบวนการเหล่านี้สร้างความท้าทายให้กับ Comblemine และซัพพลายเออร์ผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากให้ตระหนักถึงการออกแบบที่ทะเยอทะยานและมีรายละเอียดที่ประณีต Sartory-Billard รุ่นใหม่นี้มีจำหน่ายทั้งในรูปแบบ 12 ชั่วโมงและ 24 ชั่วโมง โดยแต่ละรูปแบบจะมอบประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร รุ่น
เผลอแป้ปเดียว Omega Dark Side of the Moon ก็มีอายุครบ 10 ปีแล้ว เผยโฉมครั้งแรกในปี 2013 สำหรับ Speedmaster โทนสีดำล้วนสุดเท่ซึ่งมีปล่อยออกมาหลายรุ่น และในโมเดลอัพเดทใหม่นี้ก็ผ่านการปรับรายละเอียดที่น่าสนใจบนพื้นฐานของ Speedmaster Dark Side of the Moon Apollo 8 ตัวเรือนยังคงมีขนาด 44.25 mm black ceramic case หน้าปัดสวยงามด้วยการออกแบบกึ่ง skeletonized และ Moon-textured plates ซึ่งได้แรงบันดาลใจจาก DSOTM Apollo 8 ตัดกับเข็มและชื่อรุ่นสีเหลืองบนหน้าปัดได้อย่างสวยงาม โดยฝั่งด้านหน้าจะโชว์พื้นผิวดวงจันทร์ที่เรามองเห็นได้จากโลก และด้านหลังจะเป็นด้านที่มืดกว่าของดวงจันทร์ สะท้อนมุมมองที่นักบินอวกาศของ Apollo 8 ได้เห็นขณะปฏิบัติภารกิจในปี 1968 และที่โดดเด่นที่สุดในรุ่นนี้ก็คือเข็มทรง Saturn V rocket บน small seconds ที่ผลิตจากวัสดุ
Cartier แบรนด์เครื่องประดับและนาฬิกาสัญชาติฝรั่งเศส เปิดตัว แทงก์ หลุยส์ คาร์เทียร์ แบงค็อก อิดิชั่น (Tank Louis Cartier Bangkok Edition) เรือนเวลาที่รังสรรค์ขึ้นเป็นพิเศษสำหรับประเทศไทย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากสมญานามของประเทศไทย “The Golden Kingdom” โดยได้เลือกใช้โทนสีทองที่สื่อถึงวัฒนธรรมไทย ขณะที่ยังคงเอกลักษณ์ความสมดุลด้านดีไซน์และความสง่างามไร้กาลเวลาของเรือนเวลาตระกูลแทงก์ (Tank) ไว้อย่างครบครัน พร้อมตอกย้ำความพิเศษของเรือนเวลารุ่นนี้ด้วยจำนวนจำกัดเพียง 67 เรือนเท่านั้น เรือนเวลาตระกูลแทงก์ (Tank) เป็นหนึ่งในผลงานชิ้นไอคอนิคของคาร์เทียร์มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1917 ซึ่งเป็นปีที่หลุยส์ คาร์เทียร์ (Louis Cartier) ได้รังสรรค์เรือนเวลาทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขึ้นจากความประทับใจในรูปทรงของรถถังฝรั่งเศสด้วยรูปทรงเรขาคณิตของหน้าปัดและกรอบคู่แนวตั้งขนาบตัวเรือน ที่ดูคล้ายภาพจำลองของรถถังเมื่อมองจากมุมสูง ทำให้ดีไซน์ของแทงก์มีความโดดเด่นล้ำสมัย ต่างกับนาฬิกาส่วนใหญ่ในยุคนั้นที่มีหน้าปัดทรงกลม ต่อมาในปี 1922 คาร์เทียร์ได้รังสรรค์เรือนเวลา แทงก์ หลุยส์ คาร์เทียร์ (Tank Louis Cartier) ที่ยังคงเอกลักษณ์ดีไซน์เรขาคณิตของแทงก์ แต่แตกต่างที่กรอบข้างตัวเรือนมีความโค้งมนมากขึ้น สร้างความสมดุลจนพิชิตใจคนรักนาฬิกาทั่วโลก ไล่เรียงตั้งแต่สมาชิกราชวงศ์ ไปจนถึงบุคคลชั้นนำ และหลุยส์ คาร์เทียร์ ผู้สวมใส่นาฬิการุ่นนี้เป็นประจำจนเป็นที่มาของชื่อรุ่น ความสำเร็จของแทงก์ หลุยส์ คาร์เทียร์ รุ่นแรกเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนและตีความใหม่อีกหลายครั้ง แทงก์ หลุยส์ คาร์เทียร์ แบงค็อก คือผลลัพธ์จากการตีความครั้งล่าสุดที่โดดเด่นสะดุดตาแต่แรกเห็น ด้วยตัวเรือนขนาด 33.7 x 25.5 มม. เพรียวบางเพียง 6.6 มม.
ช่วงอาทิตย์สุดท้ายก่อนหมดปี 2023 ที่ผ่านมา เราทำงานแบบ WFH อยู่บ้านทั้งสัปดาห์ก็เลยได้โอกาสทองในการทำลายกองดอง (ส่วนหนึ่ง) ตั้งแต่ต้นปีให้พร่องลงเล็กน้อย และจากจำนวนเล่มที่เลือกมาทั้งหมด ก็มีนิยายญี่ปุ่นของโอตสึ อิจิ นี่ล่ะที่ติดอยู่ในใจเอามาก ๆ นักเขียนอะไรดังตั้งแต่อายุ 17 (ฤดูร้อน ดอกไม้ไฟ และร่างไร้วิญญาณของฉัน) และถูกเรียกว่าเป็นเครื่องจักรผลิตความเศร้ามาตั้งแต่ตอนนั้น ตัวอักษรใน ‘เสียงโทรศัพท์ข้ามเวลา’ (Calling You) きみにしか聞こえない ทำงานของมันสำเร็จอีกครั้ง เอาน้ำตาของเราไปหลายลิตร รวม 3 เรื่องสั้นก็เอาน้ำตาไปทั้ง 3 ครั้ง ก็เพราะธีมของเรื่องสั้นทั้งหมดล้วนพูดถึง ‘ความรัก’ ในรูปแบบที่ต่างกัน ของตัวละครต่างวัย แต่ทุกคนเหมือนกันตรงที่ถูกความรักเหล่านั้นเป็นอาวุธทิ่มแทงใจจนปวดร้าว เกิดเป็นความรักที่ไม่สมหวัง / ความรักที่ทำร้าย และ ความรักที่ถูกกีดกัน ‘เสียงโทรศัพท์ข้ามเวลา’ เล่าเรื่องของ เรียว เด็กสาวที่ฝันอยากมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเอง ถึงแม้ว่าเธอจะไม่มีเพื่อนให้โทรหาเลยก็ตาม ความหมกมุ่นนำไปสู่จินตนาการถึงโทรศัพท์ในหัวของตัวเอง ก่อนจะพาเธอไปสู่เหตุการณ์ไม่คาดฝันเมื่อจู่ ๆ มีใครบางคนโทรเข้ามาในหัว และมันจะเปลี่ยนชีวิตของเรียวให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ‘บาดแผลวัยเยาว์’ พูดถึงมิตรภาพเด็กประถมในชั้นเรียนพิเศษ 2 คน
ตอนนี้อายุ 29 แล้วทำอะไรอยู่ล่ะ ? เราพบว่าตลอดขวบปีก่อนเข้าเลข 30 ของตัวเอง จะมีวันที่คำถามนี้ถูกกระซิบเบา ๆ ด้วยเสียงที่ดังมาจากตรงไหนสักแห่งภายในหัวของตัวเองอยู่เสมอ ทั้งวันที่ดื่มโค้กซีโร่สองกระป๋องจนนอนไม่หลับ หรือแม้กระทั่งวันที่กำลังน้ำตาไหลกับหนังเรื่องโปรดของโคเรเอดะเมื่อวานก่อนเสียงนี้ก็โผล่มาให้ได้ยินเป็นระยะ ๆ เรารู้ดีว่าคำถามนี้มีต้นตอมาจากไหน และทำไมยังคงอยู่ เมื่อหลายปีก่อนเคยให้สัญญากับเพื่อนที่เรียนมหาลัยคณะดนตรีด้วยกันเอาไว้ ว่าถ้าอายุ 30 แล้วเพลงที่ทำด้วยกันยังไม่ดังก็จะขอเลิกนะ คำพูดติดตลกในวันนั้น ส่งผลรุนแรงกว่าที่คิดเยอะเลย พอกระดาษสัญญาที่เซ็นเอาไว้ด้วยชื่อ-นามสกุลของเราคนเดียวด้วยปากกาลมปากกำลังจะถูกฉีกทิ้งในอีกไม่ช้า ถ้าไม่มีฝันนี้แล้วจะเอายังไงต่อ .. เราถูกตัวเองถามอีกครั้งในขณะที่นับถอยหลังอีกไม่กี่วันก็จะอายุครบ 30 และคำตอบของเราส่วนหนึ่งอาจจะอยู่ในมังงะเล่มของอาจารย์ Keigo Shinzo ในโพสต์นี้ล่ะมั้ง ก็เลยอยากเขียนถึงหน่อย มังงะที่ตัวเอกของเรื่องบังเอิญอายุเท่ากัน แล้วยังเคยบ้าบอวิ่งไล่ตามความฝันแบบมองไม่เห็นความจริงเหมือนกันอีก Hirayasumi เล่าเรื่องของ ‘อิคุตะ ฮิโรโตะ’ เด็กหนุ่มอายุ 29 ที่ได้รับมรดกเป็นบ้านเก่า ๆ หลังหนึ่งจากคุณยายที่บังเอิญสนิทกันด้วยเหตุผลบางอย่าง เขาทำงานเป็น Freeter (คำที่คนญี่ปุ่นใช้เรียกฟรีแลนซ์ที่ทำงานนู่นนั่นนี่ไปเรื่อย ๆ) ในกรุงโตเกียวแบบมีความสุขดี และอยู่บ้านหลังนี้กับลูกพี่ลูกน้องชื่อ ‘โคบายาชิ นัตสึมิ’ ผู้ที่ออกจากบ้านเกิดเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยศิลปะตามฝันของตัวเองไม่ต่างจากฮิโรโตะตอนมาถึงโตเกียวใหม่ ๆ วันแสนธรรมดาของทั้งคู่ประกอบไปด้วยน้ำตา รอยยิ้ม ความสุข