ไลฟ์สไตล์คนเมืองที่ต้องพบเจอความวุ่นวายนับไม่ถ้วน เวลาจำนวนจำกัดที่แกมบังคับให้ต้องใช้ชีวิตรีบเร่ง สุขภาพย่ำแย่จากการสูดดมฝุ่นควันบนท้องถนน และความยากลำบากเมื่อต้องแทรกตัวเข้าไปยังรถไฟฟ้าที่มีคนแน่นขนัด ทั้งหมดนี้ทำให้เราเผลอคิดว่า “ชีวิตดี ๆ ที่ลงตัว” วลีนี้ยังคงใช้สื่อความหมายได้อยู่หรือเปล่า เพราะต่อให้คนเมืองจะได้ใช้ประโยชน์จากโครงข่ายการคมนาคมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ถ้ายังต้องติดแหง็กบนถนนกับระบบจราจรป่วย ๆ หรือไม่อาจแก้ปัญหาอื่น ๆ ที่คนเมืองเผชิญได้อย่างจริงจัง เมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ก็คงไม่ได้น่าอยู่สักเท่าไร ถ้าการใช้ชีวิตในเมืองมันวุ่นวายนัก เราแนะนำให้คุณผละตัวออกมาสักนิดและเขยิบเข้าใกล้ชนบทอีกสักหน่อย ละสายตาจากความแออัดยัดเยียดของป่าคอนกรีต หันไปมองทัศนียภาพหนาทึบของแมกไม้และสัมผัสความสงบสบายที่เมืองใหญ่อาจให้คุณไม่ได้ ‘Woodwork Enthusiast’ เป็นผลงานการออกแบบของสตูดิโอ ZMY Design ที่เปลี่ยนโรงงานปูนซีเมนต์เก่าในตะวันออกเฉียงใต้ของจีนให้กลายเป็นบ้านไม้แสนสงบที่มีดีไซน์เฉพาะตัว บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในเมืองเซี่ยเหมิน (Xiamen) เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของมณฑลฝูเจี้ยน (Fujian) และสร้างขึ้นเพื่อให้เป็น “Physically Static Place” สถานที่ที่มอบความรู้สึกสงบ คงที่ และเป็นสเปซของธรรมชาติที่ออกแบบแก่ผู้พักอาศัยอย่างแท้จริง จากอาคารทรงกระบอกที่ถูกทิ้งร้างไว้หลายปีและเต็มไปด้วยชิ้นส่วนสึกหรอ ตอนนี้ถูกรีโนเวตให้เป็นพื้นที่พักอาศัยขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมไลฟ์สไตล์ชีวิตครบครัน ภายในดีไซน์แบบ open plan ไม่ปิดกั้นและเชื่อมโยงทุกภาคส่วนของบ้านเข้าด้วยกัน มีทั้งห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ ระเบียง และดาดฟ้าชมวิวที่ชั้นบน ด้วยคอนเซ็ปต์ที่อยากสร้างบ้านให้สงบและสบาย ทีมนักออกแบบจึงเว้นระยะห่างจากการเชื่อมต่อของโลกภายนอก เน้นใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นเพื่อชูความโดดเด่นภายใน เปิดพื้นที่บางส่วนให้แสงและลมลอดผ่านเข้ามา และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติทั้งหมดภายในบ้านสร้างความผ่อนคลายแก่ผู้พักอาศัย เดิมทีพื้นที่ตรงนี้เป็นโรงงานปูนซีเมนต์เก่าและมีความสูงเพียงสองชั้นเท่านั้น
หากใครได้เรียนประวัติศาสตร์หรือดูภาพยนตร์ต่างประเทศอยู่บ่อย ๆ จะต้องเห็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่คนผิวดำเจอมาตลอด เราเห็นการเหยียดสีผิวผ่านหนัง ได้ยินเรื่องเล่าการเดินทางอันแสนทรหดของทาสที่ถูกล่าอาณานิคม และสุดท้ายก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่ออิสรภาพที่ทำให้รู้ว่าคนผิวดำถูกพวกคนขาวกดขี่มาตลอด ภาพยนตร์ที่เราดูมักมีเรื่องราวจากโลกคู่ขนาน เห็นง่าย ๆ จากหนังซูเปอร์ฮีโร่ Marvel มีมหานครนิวยอร์กเหมือนโลกแห่งความจริง มีระบบการปกครองไม่ผิดเพี้ยนจากเรา ต่างก็เพียงมียอดมนุษย์คอยพิทักษ์โลก มีมนุษย์ต่างดาวจ้องทำลายล้างโลก และมีชาวแอฟริกันผู้กุมเทคโนโลยีล้ำยุคหลบซ่อนอยู่ในเมืองลับแลไกลจากสายตาของชาวโลก UNLOCKMEN เจอซีรีส์ที่มีเนื้อเรื่องน่าสนใจไม่น้อย โดย Noughts + Crosses (2020) ดัดแปลงมาจากนวนิยายชุด Noughts & Crosses ของ Malorie Blackmen ที่ขอให้ผู้ชมลืมประวัติศาสตร์แบบเดิมที่เคยร่ำเรียนกันมาให้หมดสิ้น เพราะเรื่องราวของโลกในนี้จะถูกเขียนโดยคนแอฟริกันพื้นเมืองที่ได้เปรียบทางด้านกำลังคน การศึกษา และเทคโนโลยีที่เหนือกว่าพวกคนขาว ชาวผิวดำเข้มแข็งจนสามารถล่าอาณานิคมคนขาวยึดยุโรปให้อยู่ภายใต้การดูแลของตัวเองได้สำเร็จ โลกอีกใบคนขาวกลายเป็นทาสแรงงาน ถูกเหยียดหยามโดนกดภายใต้คนผิวดำ เรื่องราวในซีรีส์จะเล่าว่าคนแอฟริกันครองโลกมานับร้อยปี และสังคมปัจจุบันได้เลิกทาสไปเรียบร้อยแล้ว แม้กฎหมายแรงงานไม่เป็นธรรมจะถูกลบไปจากหน้าประวัติศาสตร์ แต่การเหยียดผิว ความไม่เท่าเทียม การแบ่งแยกชนชั้นด้วยสีผิวก็ยังคงอยู่ เราจะเห็นเด็กเสิร์ฟในงานรื่นเริง คนงาน คนสวน พลทหารชั้นผู้น้อยล้วนเป็นคนขาว ส่วนผู้ดีมีการศึกษาหรือทหารยศนายพลล้วนเป็นชาวแอฟริกัน ชาวพื้นเมืองของอังกฤษในโลก Noughts + Crosses จะถูกเรียกว่า Noughts ไม่ได้ถูกเรียกว่า ‘ผู้ดีอังกฤษ’ เหมือนโลกของผู้ชม
“มีวงประชุมระดมไอเดีย แต่ไม่มีใครเสนอไอเดียสักคน” นี่คืออีกหนึ่งปัญหาโลกแตกที่หลาย ๆ องค์กรต้องเผชิญ หรือไม่ต้องถึงระดับองค์กร แต่ถ้าเราคิดจะเริ่มโปรเจกต์ใหม่ ๆ หรือเวิร์กชอประดมไอเดียสำคัญเพื่อทำอะไร แล้วนัดคนมาประชุมร่วมกัน แต่ผลที่ได้คือทุกคนมองหน้ากันเขิน ๆ พยักเพยิดไปมาว่าคุณพูดก่อนสิ คุณเอาเลยครับ การประชุมก็จะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ ยิ่งในระดับองค์กรด้วยแล้ว การประชุมโดยไม่มีใครนำเสนอไอเดียของตัวเองออกมาเลย องค์กรจะไปสู่ทางตันได้ง่าย ๆ เนื่องจากไอเดียที่มาจากทุกคนนั้นย่อมมีประสิทธิภาพกว่าการที่คนคนเดียวบอกว่า “เดี๋ยวผมคิดเองหมดเลยก็ได้ครับ” ท้ายที่สุดแม้จะคิดได้ แต่เมื่อนานวันไปไอเดียก็จะไม่สดใหม่ หรือตันคิดอะไรไม่ออก วนซ้ำ ๆ และหายนะจะตามมาในที่สุด CREATIVE RISK มีจริง! เพราะการเสนอไอเดียมีความเสี่ยง สาเหตุสำคัญที่มนุษย์ทั่ว ๆ ไปไม่กล้านำเสนอไอเดียของตัวเองในที่ประชุม แม้หลาย ๆ ครั้งจะมีไอเดียลอยฟ่องอยู่เต็มหัว คือ “กลัวพูดออกไปแล้วจะดูโง่” นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทุกคนมองหน้ากันไปกันมาในห้องประชุมแล้วก็รอให้มีใครสักคนลองเสนอก่อน แต่หลายครั้งเมื่อไม่มีใครกล้าเปิดก็เงียบกันไปทั้งห้อง แย่กว่านั้นหากมีใครกล้าเปิดเป็นคนแรก คนที่กล้าพูดไอเดียของตัวเองออกมา มักจะถูกวิจารณ์ก่อนเป็นคนแรก จึงไม่แปลกที่คนจะรู้สึกว่ายิ่งเสนอไอเดีย ก็ยิ่งสุ่มเสี่ยงที่จะถูกวิจารณ์ โดนปัดตก หรือโดนคนอื่นบอกว่าไอเดียของเรายังดีไม่พอ การพูดไอเดียจึงมีความเสี่ยงมากกว่า ในขณะที่การนั่งเฉย ๆ เงียบ ๆ สงวนท่าทีนั้นปลอดภัยกว่ามาก เพราะการโดนบอกว่าไม่ค่อยเสนอไอเดียสำหรับหลายคนก็ดีกว่าการเสนอไอเดียบ่อย
ไม่รู้ว่าตั้งแต่เมื่อไรที่สิทธิในเรือนร่างเรากลายเป็นของสังคม แม้ไม่ใช่ด้วยกฎหมายกำหนดแต่ก็ด้วยไม้บรรทัดอีกชิ้นจากสายตาผู้คนรอบข้าง สำหรับผู้หญิงคงมีเรื่อง “โป๊เปลือย” กำกับส่วนผู้ชายมักเป็นเรื่อง “รอยสัก” ที่นำมาตีตราว่าเป็นคนไม่น่าวางใจ เป็นนักเลงหัวไม้ สารพัดความหมายเชิงลบมาผสมกัน “Exaggerate” คือ Solo Exhibition หนึ่งที่กำลังจัดแสดงที่ Green Lantern Gallery ใกล้ BTS ทองหล่อ เล่าเรื่องราวของศิลปะบนร่างกายทั้งหญิงและชายผ่านภาพถ่าย เพื่อดึงให้เรากลับมาคิด คิดถึงความหมายที่แท้จริงผ่านศิลปะบนร่างกายที่เปลือยเปล่า คิดถึงลวดลายสักยันต์โบราณและความคิดคำนึงที่แท้จริงของชายคนหนึ่งที่มีอักขระจารทั่วร่างไปจนถึงกระหม่อม บันทึกช่วงเวลาเปิดเผยเนื้อหนัง ไร้เสื้อผ้าและเส้นผมปิดบังผ่านชัตเตอร์ เรื่องราวเหล่านี้มีความหมายอย่างไร แบบไหนที่ “ว่าเกินจริง (Exaggerate)” แบบไหนที่เป็นของจริง คงไม่มีใครพูดถึงมันได้ดีกว่าเจ้าของผลงานชิ้นนี้ ภัทร – พงศ์ธวัช พยุงชัยธนานนท์ ชายที่มีอาชีพช่างภาพอิสระจบการศึกษาด้านศิลปะการถ่ายภาพจากวิทยาลัยเพาะช่าง ที่หลายคนอาจคุ้นเคยหน้าตาของเขาจากการจำหน่ายกล้องฟิล์ม เพราะเขาคือเจ้าของ House of Film Camera สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น ศิลปะที่รอการพิสูจน์ เราบุกมานั่งคุยกับภัทรถึงสตูดิโอส่วนตัวของเขา หลังจากดูงานนิทรรศการเดี่ยวของเขาจบลง ภาพผู้ชายท่าทีสุภาพที่มีรอยสักหลายจุดบนเนื้อตัว ทั้งท่อนแขนและขา ชวนให้เราคิดถึงภาพที่จัดแสดงในห้องสีแดงอีกครั้ง จนเราต้องเอ่ยถามคอนเซ็ปต์งานที่เขาต้องการสื่อในนิทรรศการครั้งนี้ “คอนเซ็ปต์คือ Exagerate หรือ ‘ว่าเกินจริง’ เกินจริงที่แปลว่าพูดเกินความจริงที่เห็น และเกินจริงที่เป็นเรื่องเหนือจริงผสมกัน
สำหรับหนุ่มที่หลงใหลในรถยนต์ ปีนี้คงเป็นช่วงที่ทุกคนเพลิดเพลินเป็นพิเศษเพราะมีรถดีไซน์ล้ำ สายพันธุ์แรงจากหลายแบรนด์ถูกปล่อยออกมาให้ชื่นชมความสวยงามกัน และหนึ่งในรถยนต์สุดว้าวที่เราเชื่อว่าหล่อเท่เตะตาใครหลายต่อหลายคน ต้องขอยกให้ยนตรกรรมไร้หลังคาคันใหม่จาก Aston Martin ที่มีชื่อว่า V12 Speedster ไม่รู้ว่ารถยนต์ไม่มีหลังคาเป็นเทรนแห่งอนาคตหรือเป็นรถอีกรูปแบบหนึ่งที่ค่ายต่าง ๆ นัดทำรุ่นพิเศษออกมาประชันกันโดย เพราะก่อนหน้านี้มีรถสไตล์คล้ายกันจากค่ายรถอื่น ๆ เปิดตัวออกมาไม่ว่าจะเป็น Ferrari Monza SP1-SP2, Bentley Mulliner Bacalar และ McLaren Elva ซึ่งทาง Aston Martin เองก็ไม่รอช้าให้ตัวเองเป็นแบรนด์ตกยุคด้วยการปล่อยโมเดล V12 Speedster ตามออกมาติด ๆ V12 Speedster สร้างและพัฒนาโดย Q แผนกสร้างสรรค์รถ Bespoke ของ Aston Martin ใช้แรงบันดาลใจจากโมเดล DBR1 ผู้ชนะการแข่งขัน 24 Hours Le mans ในปี 1959 และ Aston Martin CC100
เดินทางเดือนเข้าสู่เดือนที่ 3 ของปีนี้หนุ่ม ๆ ผู้รักรองเท้าหลายคนคงเพลิดเพลินกันตั้งแต่ต้นปีกับโมเดลรองเท้าจำนวนมากที่ถูกปล่อยออกมา ทั้งรุ่นใหม่ล่าสุดและรุ่นเก๋าที่หยิบเอามาทำใหม่ปะปนกันไป และคงเห็นกันว่ารองเท้าหลายคู่มาพร้อมสีสันสดใสประจำเทศกาลที่โดดเด่นเตะตา แต่เราเชื่อว่ายังมีผู้ชายหลายคนที่ชอบในการสวมใส่รองเท้าโทนสีดำหรือขาว ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นความเข้ากันกับสไตล์การแต่งตัว วิธีการดูแลรักษาหรืออาจเป็นรสนิยมส่วนตัว แต่ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้จะมีรองเท้าโทนขาว-ดำจากแบรนด์ไหน รุ่นอะไรกำลังจะถูกปล่อยออกสู่ตลาดบ้าง วันนี้ SNEAKER OF THE MONTH มี 8 คู่ที่อยากแบ่งปันให้กับผู้อ่านทุกคนได้รู้จัก มาชมกันเลยว่าแต่ละคู่จะมีทีเด็ดงานยังไงบ้าง Nike Air Max 2090 “Black/White” เริ่มกันที่สมาชิกล่าสุดของรองเท้าตระกูล Air Max กับ Air Max 2090 โมเดลนี้ทำขึ้นมาเพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีของ Air Max 90 และใช้แรงบันดาลใจงานดีไซน์ของโมเดลเก๋ามาถ่ายทอดลงในรูปแบบรองเท้าที่เรียกว่า FlyEase ซึ่งสวมใส่ง่ายและเหมาะกับรูปทรงและขนาดเท้าที่มีความแตกต่างกัน Nike Air Max 2090 “Black/White” มาในสีหลักมีทั้งขาวและดำ โดยขึ้นรูปอัปเปอร์ด้วยวัสดุสังเคราะห์ ก่อนจะปกป้องด้วยชั้น Mudguards
ถ้าพูดถึง ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ เชื่อว่านิยามของแต่ละคนคงต่างกันอย่างสิ้นเชิง บางคนนึกถึงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนีที่เต็มไปด้วยสถาบันออกแบบชื่อก้องโลก บ้างว่ามอนทรีออลของแคนาดานี่แหละที่เป็นตัวเต็ง เพราะนอกจากจะพัฒนาเมืองด้านการออกแบบอย่างจริงจัง ยังมีผลงานเจ๋ง ๆ ซ่อนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของเมืองนับไม่ถ้วน แต่ใครหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ‘เซินเจิ้น’ เมืองชาวประมงเก่าแก่ของประเทศแดนมังกร เปลี่ยนแปลงและพัฒนาข้ามขั้นจนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบและนวัตกรรมที่ถูกยอมรับในระดับสากลไปเรียบร้อยแล้ว จากเมืองประมงริมชายฝั่งสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ย้อนไปในอดีตเซินเจิ้นเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเก่าที่อยู่ตรงข้ามกับฮ่องกงเท่านั้น แต่ในช่วงปี 1980 เมืองนี้กลับถูกเลือกให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศจีน จากนโยบายเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจในปี 1978 หลังจากนั้นเซินเจิ้นก็ถูกพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า ทันสมัย และกลายเป็นแหล่งการค้าการลงทุนที่สำคัญของจีน นอกจากความได้เปรียบด้านทำเลที่ตั้งแล้ว ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจก็มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเมืองนี้ไม่แพ้กัน เมื่อ สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ประกาศมอบสถานะพิเศษให้เซินเจิ้นเป็นพื้นที่ทดลองปฏิรูปเศรษฐกิจและการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม นับแต่นั้นเซินเจิ้นก็กลายเป็นหนึ่งในเมืองกลุ่ม Greater Bay Area อันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไข่มุก เช่นเดียวกับ ฮ่องกง, มาเก๊า, กวางโจว, จูไห่ และอีกหลายเมืองสำคัญ รากฐานความสร้างสรรค์ของเจ้าแห่งการจำลอง ดูเผิน ๆ แล้วเซินเจิ้นแทบไม่มีรากฐานด้านศิลปะหรือการออกแบบเฉกเช่นปารีส มิลาน หรือฟลอเรนซ์ แต่เราเชื่อว่าเซินเจิ้นเองก็คงมีบางสิ่งเป็นเบ้าหลอมให้มุ่งมั่นพัฒนาเมืองไปในทิศทางการออกแบบอย่างแน่วแน่เช่นนี้ ถ้าเปรียบเทียบเรื่องราวของเซินเจิ้นให้เป็นเรื่องใกล้ตัวยิ่งขึ้น คงคล้ายกับเมืองโบราณในจังหวัดสมุทรปราการของบ้านเรา ที่รวบรวมสถานที่สำคัญต่าง
สารภาพมาเสียดี ๆ เถอะว่าคุณคือผู้ชายคนหนึ่งที่เคยเชื่อว่าการทำให้ผู้หญิงหายใจหอบกระชั้น รู้สึกซาบซ่านจนบิดเรือนร่างนั้นต้องสัมผัส “ส่วนนั้นของเธอ” อย่างเร็ว ๆ และแรง ๆ เท่านั้น เราอยากบอกว่าไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่ชอบการสัมผัสแบบรัวแรง โดยเฉพาะอวัยวะส่วนนั้นของเธอที่มีความบอบบางและอ่อนไหวเป็นพิเศษ การตะบี้ตะบันใช้แรง ไม่ได้หมายถึงอารมณ์ซาบซ่าน แต่อาจหมายถึงการทำให้เธอหมดอารมณ์ไปได้ดื้อ ๆ วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจอวัยวะสุดพิเศษนี้กันใหม่ ว่าหนทางคลึงเคล้าเร้ารัญจวนที่จะทำให้เธออิ่มเอม อาจไม่ใช่หนทางที่เราเคยเข้าใจมาก่อนเลยก็เป็นได้ จุดอารมณ์หวามไหว ด้วยการ “สัมผัสแบบไม่สัมผัส” ลองทิ้งน้ำหนักมือหนักแน่นที่เคยใช้มาทั้งชีวิตไว้ก่อน แล้วลองทำความรู้จักเวทมนตร์แห่งการ “สัมผัสแบบไม่สัมผัส” ดู บางครั้งเราไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นอย่างเร่าร้อน จู่โจมเสมอไป โดยเฉพาะสาว ๆ ที่มีกราฟอารมณ์ต่างจากผู้ชายอย่างเรา ผู้ชายอาจจุดติดง่ายราวกับเตาแก๊สแค่สะกิดจุดที่ใช่ ไฟก็ลุกโชน ในขณะที่สาว ๆ ใช้เวลาจุดไฟอย่างพิถีพิถันราวกับเตาถ่าน ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีที่ถูกต้องเพื่อให้เชื้อไฟอยู่ได้นาน เราจึงไม่จำเป็นต้องสัมผัสอวัยวะส่วนนั้นของเธอตรง ๆ หรือสัมผัสเป็นจุดแรก กลวิธีที่ผู้ชายหลายคนไม่เคยใช้ (เพราะสำหรับผู้ชายมันอาจดูเยิ่นเย้อไม่ทันใจ) คือการนำมือฉวัดเฉวียนเฉียดไปเฉียดมา ทำคล้ายจะจับเนินเนื้อของเธอ แต่ก็ไม่ ไล่ไปจับต้นขาแทน บีบ ๆ คลึง ๆ คล้ายจะเข้าใกล้จุดรวมความรู้สึกเต็มแก่ แต่ก็ยั้งมือไว้แล้วไปนวดบริเวณท้องน้องของเธอ ฯลฯ ผู้หญิงเก่งที่สุดเรื่องจินตนาการ ดังนั้นการที่เราไม่ต้องสัมผัสอวัยวะส่วนนั้นของเธอตรง
หลังจากครั้งที่แล้วที่เราทำคอนเทนต์บอกวิธีทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วทิ้งให้ถูกวิธีไปคราวที่แล้ว ครั้งนี้ก็เป็นอีกปัญหาที่ UNLOCKMEN สงสัยอย่างเรื่องการป้องกันโรคด้วยการทำความสะอาดบ้าน เพราะหน้ากากอนามัยอาจจะใช้แล้วทิ้ง แต่พวกข้าวของที่ออกไปนอกบ้านพร้อมกับเราล่ะ ใช้แล้วจะทำอย่างไร แปลว่าต่อให้เราคิดว่าในบ้านเรามันปลอดเชื้อแค่ไหนเพราะไม่มีสมาชิกคนไหนติดเชื้อ แต่สุดท้ายโอกาสที่เราหรือคนอื่น ๆ จะนำไวรัสกลับมาอยู่ที่บ้านก็ยังมีอยู่ดี บ้านที่น่าจะปลอดภัยจึงอาจกลายเป็นสถานที่อันตรายที่สุดได้หากไม่หมั่นทำความสะอาด แต่เอาเป็นว่าก่อนจะไปกำจัดมัน ต้องเริ่มต้นจากความเข้าใจมันก่อน COVID-19 ปัจจุบัน เชื้อที่แค่ถูกน้ำสบู่ก็ตายแล้ว ? แม้จะสามารถติดเชื้อระหว่างบุคคลได้ง่าย ทำให้ระบาดจนกลายเป็นเชื้อไวรัสที่หลายประเทศจับตาเฝ้าระวัง แต่เรื่องหนึ่งที่ต้องรู้คือ มันแพร่ง่ายมันก็ตายง่ายด้วยเช่นกัน เพราะตามข้อมูลที่แพทย์และกระทรวงสาธารณสุขเผยตรงกันคือเราสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ด้วย “น้ำสบู่” วัสดุราคาถูกที่อยู่ใกล้มือ หน้ากากอนามัยหนึ่งชิ้นอาจจะแพงกว่าสบู่ก้อนเดียวที่เราใช้ได้หลายครั้งเสียอีก ความจริงเรื่องนี้มาจากเหตุผลที่ ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของเพจ ดร. แกง อธิบายไว้สรุปการฆ่าเชื้อด้วยน้ำสบู่ดังนี้ ไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิต อยู่ลำพังไม่ได้ แต่ต้องอาศัยสิ่งมีชีวิต (Host) เป็นตัวจับเพื่อผลิตชิ้นส่วนชีวิต การเพิ่มจำนวน และเดินทางออกจากเซลล์พักพิงไปสำรวจเนื้อเยื่อและอวัยวะอื่นๆ ตัวไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ตอนนี้เป็นไวรัสประเภทมีเยื่อหุ้ม (Envelope) และเยื่อหุ้มของมันประกอบด้วยสารไขมันและโปรตีนเป็นส่วนประกอบเลยยิ่งง่ายต่อการถูกทำลายเมื่อเจอน้ำสบู่ ทั้งหมดเกิดจากโมเลกุลสบู่มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือส่วนหัวกับส่วนหาง ส่วนหัวชอบน้ำแต่ส่วนหางไม่ชอบน้ำ ดังนั้นเวลาล้างมือส่วนหางของโมเลกุลที่ไม่ชอบน้ำจึงไปจับไขมันในเยื่อหุ้มไวรัส จากนั้นเมื่อไขมันโดนแย่งออกจากเยื่อหุ้มไวรัส เยื่อหุ้มก็โดนทำลาย ทำให้ไวรัสอยู่ไม่ได้จึงต้องตายไปในที่สุด แล้วเราต้องล้างมือด้วยสบู่กี่รอบต่อวัน ?
คุณมองคนที่มีรอยสักเป็นอย่างไร ? มองว่าเป็นคนไม่ดี มองว่าเป็นเรื่องความชอบส่วนตัวของเขา หรือมองว่าเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง บางคนอาจรู้สึกโอเคกับรอยสักขนาดเล็กสไตล์มินิมัล แล้วถ้ารอยสักขนาดใหญ่พาดเต็มแขนทั้งสองข้าง คุณจะมองว่ามันคือสัญลักษณ์ของอาชญากรหรือมองเป็นศิลปะญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์มากกว่ากัน ? UNLOCKMEN จะพาไปดูมุมมองเรื่องรอยสักของชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติ ว่าพวกเขามีความคิดเห็นที่เหมือนหรือแตกต่างเรื่องการวาดลวดลายบนเรือนร่าง ว่ามันสวยงามหรือว่ามันคือสัญลักษณ์ของพวกอาชญากรกันแน่ ? รอยสักญี่ปุ่นว่าด้วยคนญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์รอยสักแห่งเกาะญี่ปุ่น เกิดขึ้นเมื่อค้นพบตุ๊กตาอายุราว 2,300 ปี ในหลุมศพของโชกุน การค้นพบครั้งนี้ทำให้นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นต่างตั้งสมมุติฐานว่ารอยบนใบหน้าของตุ๊กตามีความหมายว่าอย่างไร บ้างก็ว่าเป็นเครื่องหมายแสดงความกล้าหาญ บ้างก็ว่าเป็นการบอกยศ และมีคนเชื่อว่ารอยสักคือเครื่องหมายไว้ประจานพวกนักโทษ สังคมญี่ปุ่นสมัยโชกุนจะแยกคนที่มีรอยสักกับไม่มีรอยสักออกจากกัน คนไม่มีรอยสักก็คือประชาชนธรรมดา บ้างก็เป็นพ่อค้าแม่ค้า มนุษย์เงินเดือน เจ้าหน้าที่ข้าราชการ ส่วนคนที่มีรอยสักมักเป็นโรนิน โสเภณีธรรมดาที่ไม่ใช่สาวงามแบบโอยรัน นักโทษ เด็กเกเร และคนที่ไม่ยอมอยู่ในครรลองคลองธรรมอันดีงามที่สังคมกำหนดไว้ หลังจากระบบการปกครองของญี่ปุ่นถูกรื้อใหม่หมด ช่วงปี ค.ศ. 1750 ญี่ปุ่นยกเลิกการปิดประเทศอย่างถาวร ปฏิรูปสังคมและชนชั้น ซามูไรถูกลดอำนาจ มีบันทึกระบุว่าชายหนุ่มจำนวนมากนิยมสักกันมากขึ้น ร้านสักกลายเป็นสถานที่ที่ใคร ๆ ก็สามารถเดินเข้าไปได้ แถมยังขยันออกลวดลายเท่ ๆ มาแข่งกันเพื่อเรียกลูกค้าอีกต่างหาก ผู้คนเริ่มมีมุมมองเกี่ยวกับคนมีรอยสักเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น แต่ทุกอย่างก็ต้องจบลงอีกครั้งเมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่า ‘หากประชาชนคนใดนิยมรอยสักจะต้องรับโทษ’ หรือกฎปี 2001 ระบุว่า