Business
WORK HARD DREAM BIG
  • Business

    รู้จัก Toxic Productivity ชีวิตที่ต้องทำงานตลอดเวลา เพราะรู้สึกผิดและไร้ค่าเมื่อว่างงาน

    By: Chaipohn April 18, 2022

    “ต้องทำงานให้หนัก ไม่มีหยุดพัก ไม่ต้องคบใคร แล้วคุณจะประสบความสำเร็จ” หากใครฟังไลฟ์โค้ชบ่อย ๆ น่าจะคุ้นกับประโยคปลุกใจทำนองนี้ ซึ่งอาจจะมีส่วนถูกอยู่บ้างบางส่วน เช่นการทำงานที่ช่วยพัฒนาตัวเองมากกว่าคนอื่น ย่อมสร้างโอกาสให้เราได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน หรือในภาวะเศรษฐกิจทรุด ค่าเงินเฟ้อ หลายคนต้องทำงานอย่างหนักหลายช่องทางเพื่อหารายได้เสริม หรือบางคนอาจจะมีค่านิยมว่าต้องทำงานให้หนักอยู่เสมอ ตัวเองถึงจะมีคุณค่า ไม่ว่าคุณจะทำงานหนักด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม หากรู้สึกว่ามันหนักเกินไปจนชีวิตของคุณกำลังพัง แปลว่าคุณกำลังเจอกับอาการ “Toxic Productivity” Toxic Productivity คือความพยายามเป็นคน Productive ตลอดเวลา ไม่คิดจะหยุดพัก แม้ว่างานของวันนี้จะถูกเคลียร์ไปหมดแล้วก็ตาม เป็นสิ่งที่พบเห็นได้มากในกลุ่ม Manager level ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในช่วงสำคัญที่ต้องการสร้างผลงานเพื่อเลื่อนขั้นต่อไป หรือ Freelance ที่รับงานมากเกินไป เพราะการมีลูกค้าเข้ามาว่าจ้าง หมายถึงความสามารถที่เหนือกว่าคู่แข่ง และเป็นช่วงกอบโกยรายได้ จะเห็นว่าการนำคุณค่าของตัวเองไปวัดกับประสิทธิภาพการทำงาน จะยิ่งก่อให้เกิดความเครียดจากวงจรการทำงานที่ไม่มีวันหยุดพัก ยิ่งทำงานได้มาก ยิ่งงานออกมาได้ดี ยิ่งแสดงถึงคุณค่าของตัวเองมากขึ้น เพื่อให้หัวหน้าและลูกน้องมองเห็นความสำคัญในการมีอยู่ซึ่งตัวตนแบบอย่าง หากไม่มีงาน เราจะรู้สึกว่าไม่เหลืออะไรในชีวิตให้ทำอีกเลย และเมื่อไหร่ที่นั่งว่างงานเฉย ๆ ระหว่างวัน กลับทำให้รู้สึกว่าเป็นคนขี้เกียจ ด้อยคุณค่าในตัวเองลงไป นอกจากนี้การ Work from home

    อ่านต่อ
  • Business

    วิทยาศาสตร์อธิบาย ทำไมสมองเราถึงจำเนื้อหาที่ซับซ้อนบน PowerPoint ไม่ได้ และต้อง Present ยังไงให้เกิดผล

    By: Chaipohn April 18, 2022

    พวกเราต้องเจอกับ Presentation มาตั้งแต่เด็กจนโต ไม่ว่าจะเป็น PowerPoint หรือ Keynote ก็ตาม หลายครั้งที่เราพยายามตั้งใจดูสไลด์พร้อมกับฟังคำอธิบายในการประชุมอย่างจดจ่อ กลายเป็นว่าสมองยิ่งสับสน ไม่สามารถจดจำเนื้อหาอะไรได้เลยแม้แต่ท่อนเดียว ถ้าคุณเป็นแบบนี้บ่อย ๆ อย่าพึ่งโทษตัวเอง หรือโทษลูกน้องของคุณ เพราะวิทยาศาสตร์ได้อธิบายเหตุการณ์นี้เอาไว้ว่า สาเหตุนั้นมาจากวิธีทำ Presentation เอง การทำสไลด์ที่น่าเบื่อ มีตัวหนังสือพรืดเต็มหน้าจอ พร้อมกับการพูดอธิบายข้อมูลที่ซับซ้อน ทำให้สมองของคนฟังต้องทำงานตีความหมายจากสอง inputs ไปพร้อม ๆ กันแบบ multitasking มากเกินไปโดยไม่รู้ตัว Presentation ที่ดี ไม่ควรมีความซับซ้อน หากใครเคยเห็น Presentation ที่เต็มไปด้วยข้อความหรือ bullet ยิบย่อยมากมาย และคน present ก็พูดอธิบายข้อความเนื้อหาจำนวนมากไปพร้อม ๆ กัน แทนที่จะช่วยย้ำหรืออธิบายข้อมูลให้เข้าใจง่าย กลับกลายเป็นการเพิ่มโหลดให้สมองส่วนจดจำข้อมูล เพราะในขณะที่ตาเราจ้องอ่านข้อความบนสไลด์เพื่อตีความหมาย หูของเราก็ฟังคำอธิบายที่แตกต่างจากบนสไลด์เพื่อตีความหมายไปพร้อม ๆ กัน เมื่อหูและตาเจอกับข้อความที่แตกต่างกัน รวมถึงการเสียสมาธิเพราะต้องสลับโฟกัสระหว่างคำพูดและข้อความบนสไลด์ ทำให้เกิดการส่งข้อมูลที่ซับซ้อนไปสู่สมองจากคนละประสาทสัมผัส ผลคือสมองของเราจะเหนื่อยล้า สมาธิหลุด ส่งผลให้เรารู้สึกเบื่อการประชุม และลืมข้อมูลไปจากความทรงจำอย่างรวดเร็ว

    อ่านต่อ