Work
IMPROVE YOURSELF
  • Work

    5 คนทำงานศูนย์กลางจักรวาล ที่มีความเสี่ยงต่ออนาคตการงานมากเหลือเกิน

    By: Chaipohn April 9, 2017

    เป็นเรื่องปกติที่คนเราจะไม่ค่อยมองเห็นข้อเสียของตัวเอง โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์จะมีเหตุผลรองรับการกระทำของตัวเอง คิดอะไรเข้าข้างตัวเอง แม้เหตุผลนั้นอาจจะฟังดูไร้สาระ ขาดซึ่งหลักการใด ๆ ในโลกใบนี้ก็ตามที เราถึงมีคำว่า “มึงเป็นศูนย์กลางจักรวาลหรือไง” เกิดขึ้นมาให้ใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมไทยนั่นเอง การเป็นศูนย์กลางจักรวาลนั้น ที่จริงก็ไม่ใช่ความผิดของแต่ละบุคคลซะทีเดียว เพราะมนุษย์มีพื้นฐานสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมความเชื่อในวัยเด็กที่แตกต่างกัน ทำให้การตีความของแต่ละคนนั้นต่างกันออกไปอย่างช่วยไม่ได้  หลายคนจึงทำตามที่ตัวเองอยากทำ โดยมีเหตุผลปลอบใจเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอว่า  “ไม่เป็นไรหรอก เรื่องแค่นี้เอง ใคร ๆ ก็ทำกัน”  เมื่อเคยตัวมากเข้าก็เริ่มหนักข้อมากขึ้น ก็เริ่มคิดว่า “ช่างมันว่ะ ไม่ใช่บริษัทกู ทำ ๆ ไป เดี๋ยวรอเงินเดือนขึ้น โบนัสออกดีกว่า”  ซึ่งแน่นอนครับว่า ยิ่งถ้าเราเผลอทำพฤติกรรมแย่ ๆ ทำตัวชิว ๆ เป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง นอกจากเงินเดือนจะไม่ขึ้น โบนัสไม่ต้องพูดถึง แถมยังเสี่ยงพร้อมโดนไล่ออกเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แล้วพฤติกรรมศูนย์กลางจักรวาลในหมู่คนทำงานแบบไหนบ้าง ที่ถือว่ามีความเสี่ยงและอาจอันตรายต่ออนาคต แต่กลับเห็นได้มากมายในสังคม และเจ้าตัวมักจะคิดว่าไม่เป็นไร ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรอก (เหรอ?) ลองมาดูกัน เพื่อปรับกันตอนนี้ยังไม่สาย จักรวาลนินทา ด่าเจ้านาย ขายเพื่อนร่วมงาน คนแบบนี้แปลกตรงไหน

    อ่านต่อ
  • Work

    “อารมณ์ กับ การตัดสินใจ” – สงครามระหว่างสมองสองด้าน

    By: Lady P. April 9, 2017

    มีผู้กล่าวว่าสมองของมนุษย์ใช้ความสามารถเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แล้วอีก 90 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือล่ะ หากเราสามารถกระตุ้นให้สมองทำงานได้มากขึ้นจะทำให้เราฉลาดขึ้น? ตัดสินใจได้ดีขึ้น? เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น? นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาหลายทศวรรษเพื่อตอบข้อสงสัยเหล่านี้ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างเต็มปากนัก มีเพียงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ชัดเจนแล้วว่าสมองแต่ละส่วนมีบทบาทและทำหน้าที่เฉพาะแตกต่างกันไป และมนุษย์ก็ใช้สมองหลากหลายส่วนพร้อมกันเพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการรวมถึงการตัดสินใจนั้นได้แก่สมองส่วนหน้า (frontal lobe หรือ neocortex) ที่ได้ชื่อว่า Neocortex ก็เพราะสมองส่วนนี้จะค่อย ๆ พัฒนาจนทำงานได้เต็มที่เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น นั่นก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเด็กน้อยจึงยังไม่สามารถฟอร์มความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลในเชิงตรรกะได้มากนัก สมองส่วนที่ควบคุมเรื่องอารมณ์ทำงานเป็นเครือข่ายเรียกว่าระบบลิมบิก (limbic system) โดยมีกองบัญชาการหลักคือ อะมิกดาลา (Amygdala) ชื่อเดียวกับเจ้าหญิงอะมิกดาล่าในหนังเรื่องสตาร์วอร์ และ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งกองบัญชาการทั้งสองนี้ตั้งอยู่ติดกันบนตำแหน่งใกล้แนวกึ่งกลางสมอง ทุกครั้งที่เราเผชิญกับข้อมูลที่ต้องตัดสินใจหรือปัญหาที่ต้องแก้ไข สมองทั้งส่วนความคิดและอารมณ์จะถูกกระตุ้นอย่างหนักและทำงานเชื่อมโยงกันเสมอ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันจากการถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ของคนที่กำลังใช้ความคิดเพื่อตัดสินใจ จะเห็นว่าบริเวณสมองส่วนหน้าบริเวณ frontopolar cortex (หรือที่รู้จักกันดีในนามของ executive area ในสมอง) และตำแหน่งบริเวณกลางสมองที่ควบคุมด้านอารมณ์จะมีการใช้พลังงานมากกว่าสมองส่วนอื่นๆ (ภาพประกอบจากวารสารวิชาการ ‘Nature’) อารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นในการตัดสินใจ สมองด้านอารมณ์ทำงานโต้ตอบกับสิ่งเร้าได้รวดเร็วกว่าสมองด้านความคิด เพราะมันทำงานโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความคิดไตร่ตรอง และนี่คือเหตุผลว่าทำไมบางครั้งถึงไม่ค่อยเท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของเราแต่กลับมานึกได้ทีหลังว่ารู้สึกโกรธ คุณเคยมีประสบการณ์ที่ชอบหรือไม่ชอบหน้าใครบางคนตั้งแต่แรกเห็นโดยที่ยังไม่ทันรู้จักบ้างมั้ย

    อ่านต่อ