World

LIFE ON MARS! เมื่อการค้นพบครั้งใหม่ของ NASA บ่งบอกว่า “ดาวอังคารมีสิ่งมีชีวิต”

By: PERLE June 9, 2018

สด ๆ ร้อน ๆ กับการแถลงของ NASA เกี่ยวกับความคืบหน้าในการสำรวจดาวอังคารของโครงการ Curiousity Rover ที่เริ่มต้นเมื่อปี 2012 โดย Curiousity Rover คือยานรูปแบบ Rover ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ลงจอดบนดาวอังคารในภารกิจสำรวจ หลุมอุกาบาต Gale Crater ซึ่งเมื่อพันล้านปีก่อนมีสภาพเป็นทะเลสาบที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยชีวิต

Curiousity Rover คือยานสำรวจแบบ 10 in 1 สามารถสำรวจและวิเคราะห์วิจัยสสารต่าง ๆ ได้ด้วยตัวมันเอง และหลังจากที่ทำภารกิจอยู่กว่า 6 ปี ในที่สุดเจ้ายานลำนี้ก็ค้นพบอะไรบางอย่างที่น่าสนใจจนนำมาสู่การแถลงครั้งนี้ ใจความสำคัญของการค้นพบครั้งนี้มีอะไรบ้าง UNLOCKMEN ได้สรุปมาให้แล้ว เลื่อนลงไปอ่านได้เลย!

Organic Material

หลังจากถกเถียงกันมาอย่างยาวนานเรื่องสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร มาในวันนี้ค่อนข้างมีความชัดเจนขึ้นพอสมควร เมื่อ NASA แถลงว่ายาน Curiousity Rover สำรวจเจอสารอินทรีย์ หรือ Organic Material  ซึ่งประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ซัลเฟอร์ และอื่น ๆ ซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่เราจะพบได้ในสิ่งมีชีวิต ถึงแม้ว่าการค้นพบสารอินทรีย์จะมีความเป็นไปได้สูงว่าบนดาวอังคารในอดีตจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ 100% เนื่องจากสารอินทรีย์สามารถเกิดขึ้นได้จากการระเบิดของเหล่าดาวฤกษ์ที่ทำให้มีสารอินทรีย์ลอยฟุ้งไปทั่วจักรวาล

การค้นพบของเจ้า Curiousity Rover  ถือว่าเป็นการตอบแทนความพยายามของ NASA เพราะในอดีตที่ผ่านมาพวกเขาพยายามหลายต่อหลายครั้งในการสำรวจหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร เริ่มจากปี 1975 กับการส่งยาน Viking แต่ด้วยวิทยาการในตอนนั้นผลลัพธ์ที่ออกมาคือ NASA วิเคราะห์ว่าดาวอังคารเป็นดาวที่ตายแล้ว และไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ จึงยุติการสำรวจไว้แค่นั้น

ต่อมาในปี 1984 มีการค้นพบชิ้นส่วนก้อนหินจากดาวอังคารในบริเวณขั้วโลกเหนือ และปรากฎว่าหินก้อนนั้นมีสารอินทรีย์ติดอยู่ NASA จึงงัดโครงการสำรวจดาวอังคารออกมาจากกรุอีกครั้ง จนกระทั่งปี 2008 ยาน Pheonix Lander คือยานลำที่ 2 ที่ได้เดินทางสู่ดาวเคราะห์สีแดงใบนี้และยานลำนี้ก็สำรวจเจอ Perchlorates สารที่มีธาตุคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ถือว่าเป็นบันไดก้าวสำคัญต่อการสำรวจสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารในเวลาต่อมา

CH4 On Mars

CH4 หรือแก๊สมีเทน นอกจากจะเป็นแก๊สที่ทำให้เสียงของเราเปลี่ยนได้แล้ว มันยังเป็นแก๊สที่มีส่วนสำคัญมากในความสำเร็จของการสำรวจดาวอังคารครั้งนี้ เพราะนอกจากสารอินทรีย์แล้ว เจ้า Curiousity Rover คนเก่งยังสำรวจเจอแก๊สมีเทนบนดาวอังคารอีกด้วย และครั้งนี้มียืนยันเรียบร้อยแล้ว่าเป็นแก๊สมีเทนแน่นอนหลังจากในปี 1969 ยาน Mariner 7 เคยตรวจเจอสิ่งที่คาดว่าน่าจะเป็นแก๊สมีเทนบนดาวอังคาร แต่สุดท้ายก็ไม่ใช่

แล้วการเจอแก๊สมีเทนบนดาวอังคารมันหมายความว่าอะไร? มีความสำคัญยัง? การจะหาคำตอบของคำถามนี้คงต้องย้อนไปสู่จุดกำเนิดของแก๊สมีเทน เจ้าแก๊สตัวนี้ในการที่มันจะเกิดขึ้นมาได้นั้นจำเป็นต้องมีสิ่งมีชีวิต เพราะแก๊สมีเทนเกิดจากกระบวนการการย่อยสลายของสิ่งชีวิต ดังนั้นการที่ Curiousity Rover ค้นพบทั้งสารอินทรีย์และแก๊สมีเทนทำให้โอกาสที่ในอดีตบนดาวอังคารจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นั้นเป็นไปได้สูงมาก ๆ

The Martian in Real Life

การค้นพบครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะ NASA ยังมีโครงการสำรวจดาวอังคารอย่างต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ว่าจะเป็น ยาน InSight ซึ่งอยู่ในระหว่างเดินทางสู่ดาวอังคาร โดยยานลำนี้จะเน้นสำรวจไปที่ระบบธรณีวิทยาของดาวอังคาร ยาน 2020 Mars ซึ่งจะเป็นยานรุ่นน้องของเจ้า Curiousity Rover ก็กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เห็น NASA จัดเต็มขนาดนี้  ESA หรือองค์กรอวกาศยุโรปก็ไม่น้อยหน้า มีแผนที่จะส่งยาน ExoMars ขึ้นไปสำรวจดาวอังคารในเร็ว ๆ นี้เช่นกัน

ถึงแม้ว่าการค้นพบครั้งนี้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่เชื่อเหลือเกินว่าด้วยเทคโนโลยีและองค์ความรู้เกี่ยวกับดาวอังคารที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน สักวันหนึ่งซึ่งอาจจะไม่ใช่ในอนาคตอันใกล้ เจ้าดาวเคราะห์สีแดงนี้จะกลายเป็นบ้านหลังที่ 2 ของพวกเราชาวโลกได้อย่างแน่นอน

SOURCE1/SOURCE2/SOURCE3

PERLE
WRITER: PERLE
Share on Facebook Share on Twitter Share on Line