Amazon คือหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่สวนกระแสอยู่ในขาขึ้นช่วงโควิด-19 เพราะต้องการคนเข้าทำงานเพิ่ม โดยระบุตัวเลขที่ต้องการไว้ที่ 175,000 คน Jeff Bezos มหาเศรษฐีแห่ง Amazon เผยมุมมองและทิศทางการปรับจากประสบการณ์ตรงผ่านจดหมายผู้ถือหุ้น และข้อมูลในจดหมายเป็นข้อมูลเชิงลึกที่นักธุรกิจทุกระดับ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่สามารถนำไปปรับใช้งานได้ ในโลกของการลงทุน เรารู้ดีว่าบริษัทระดับมหาชน ระดมซื้อขายหุ้นกันในตลาดหลักทรัพย์ จึงแปลว่าในบริษัทใหญ่ ๆ เหล่านั้นมีเจ้าของหลายคน และหน้าที่ของเจ้าของหรือผู้บริหารก็คือการสื่อสารการประกอบกิจการให้คนที่เป็นเจ้าของเงินทุนรับรู้และเชื่อมั่น จดหมายถึงผู้ถือหุ้น หรือ Shareholder Letter ที่อาจมีข้อความไม่กี่อักษรบนจดหมายเหล่านั้นจึงเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับนักลงทุนทุกคน เพราะทุกประโยคของจดหมายเปิดผนึกของบรรดา CEO เป็นหนึ่งในการโชว์กึ๋นด้านวิสัยทัศน์ความเก่งเรื่องการบริหาร และการสื่อสาร วัดใจไปเลยว่าจะรอดหรือไม่ Bezos เจ้าของอาณาจักร Amazon คือคนหนึ่งที่พอเจอโควิด-19 กลับอยู่ในช่วงขาขึ้น ต้องจ้างคนทำงานเพิ่มนับแสนราย แต่เขาไม่ได้ยิ้มยินดีเฉย ๆ เขาเตรียมการหลายเรื่องมาก่อนแล้ว และ 5 ข้อตามประเด็นเหล่านี้คือสิ่งที่เขาเตรียมและระบุไว้ในจดหมายว่าจะเป็นทิศทางสำหรับ Amazon Amazon ดูแลพนักงานอย่างไร มากคนก็มากเรื่อง ช่วงนี้ต้อง Social Distancing การรวมคนก็เหมือนดาบสองคม แต่เรื่องนี้ Bezos มองออก และเตรียมวิธีดูแลความปลอดภัยของพนักงานไว้มาถึง 150
ตลาดหุ้นปี 2020 ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้นั้น ถือว่าเป็นปีที่ ที่เข้าขั้นว่า “สวิงรุนแรงที่สุดครั้งนึงในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นโลก” ก็ว่าได้ เรามาดูกันว่าวิกฤตตลาดทุนรอบนี้ สินทรัพย์การลงทุนประเภทไหนที่ได้รับผลกระทบทั้งแง่ดีและแง่ร้ายกันบ้าง วิกฤตน้ำมันโลก ราคาน้ำมันโลกช่วงสัปดาห์แรกของปี 2020 ถือว่าเปิดตัวได้อย่างหวือหวามากๆ สาเหตุจากความตึงเครียดระหว่าง อิหร่านและอเมริกา ที่ทางอเมริกาได้สังหารนายพลสุเลมานี และการประกาศจะคว่ำบาตรอิหร่าน จนทำให้ทั่วโลกวิตกกังวลว่าชนวนเหตุนี้จะก่อให้เกิดสงครามระหว่างอิหร่านและอเมริกาขึ้นได้ แน่นอนเลยว่าความกังวลช่วงอาทิตย์แรกของปีนี้ ทำให้ราคาน้ำมันวิ่งแรงเกือบ 10% แล้วก็ร่วงหล่นมาต่ำกว่าที่เดิม ในวันเดียวกันนี้เองนั่นเอง! นี่แหละเสน่ห์ของตลาดทุนโลก….มันคาดเดาไม่ได้ เมื่อเวลาผ่านไป ราคาน้ำมันก็ค่อย ๆ ปรับตัวลงเรื่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้ลงแบบรุนแรงอะไรมากมาย จนกระทั่งการระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือ Covid-19 ที่เรารู้จักกันดีตอนนี้ ผลกระทบของ Covid-19 แน่นอนว่าทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต้องหยุดนิ่งแทบจะทุกประเทศทั่วโลก หลายประเทศมีการ lock down ปิดประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ “ธุรกิจสายการบิน” นั่นเอง และนี่คือจุดเริ่มต้นของความโหดร้ายของราคาน้ำมันโลกครับ เมื่อสายการบินทั่วโลกต้องหยุดการบิน แน่นอนเลยว่าอุปสงค์ (Demand) ของการใช้น้ำมันก็จะหายไปในพริบตา นี่คือสาเหตุหลักแรก ๆ ที่ทำให้ราคาน้ำมันโลกมีความเสี่ยงที่จะถูกลงแบบคาดไม่ถึง ที่สำคัญที่สุดคือการที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย “เปิดเกมสงครามราคาน้ำมัน” หลังจากการประชุม
เงินกู้สินเชื่อกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกของเจ้าของกิจการทั่วโลกช่วงโควิด-19 แต่การได้เงินง่าย ๆ แบบนี้ต้องวางแผนการใช้เงินก้อนให้ดี Travis Hornsby ผู้ก่อตั้ง Student Loan Planner และเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่แก้ไขปัญหาหนี้รวมแล้วกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้คำแนะนำ 6 เทคนิคการใช้เงินอย่างชาญฉลาดในภาวะจำเป็น ได้แก่ การเข้าร่วมโครงการรัฐ การลดรายจ่ายพยุงพนักงานและองค์กร การลงทุนสวนกระแสหากสายป่านยาว การลดรายได้ลงเพื่อซื้อใจลูกค้า การเตรียมกองทุนสำรองฉุกเฉินและสร้างหนทางเคลียร์สมองตัวเองเพื่อแก้ปัญหา เทคนิคเหล่านี้ต้องปรับใช้ตามความเหมาะสม เพราะแต่ละประเทศมีพื้นหลังและรายละเอียดที่แตกต่างกัน และถ้าคุณมีธุรกิจตัวเองอยากฝากร้าน เชิญที่ UNLOCKMEN MARKET OFFICIAL พื้นที่ใหม่ที่เราเปิดให้ฝากขายและซื้อของกันฟรี ๆ สิ่งที่จำเป็นสำหรับเจ้าของธุรกิจทุกคนตอนนี้คือการหาเงิน และสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การหาเงินที่หลายคนยังไม่พูดถึงคือการใช้เงินก้อนที่หามา หรือก้อนที่สำรองอยู่เพื่อพยุงตัวเอง นี่คือ 6 วิธีทั้งหาเงินและใช้เงินอย่างชาญฉลาดช่วงวิกฤตที่ได้จาก Travis Hornsby ผู้ก่อตั้ง Student Loan Planner ซึ่งคลุกคลีทั้งเรื่องหนี้และรายจ่ายมายาวนาน เขาแก้ไขปัญหาหนี้มารวมแล้วกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 6 ข้อจากนี้ไม่ใช่ความรู้เก่า ๆ ที่เอามาปัดฝุ่น แต่เป็นวิธีที่เขาใช้มันจริง ๆ กับกิจการตัวเองท่ามกลางโควิด-19 เทคนิคของเขาน่าสนใจจนเราต้องเลือกเรื่องนี้มาบอกต่อและถ้าคุณไม่มองข้าม
ช่วงนี้หลายคนแห่กันไปถอนเงิน ขายกองทุน ขายหุ้น ไปออกันหน้าธนาคารสีต่าง ๆ มันทำให้เราอดคิดถึงศัพท์ทางการเงินตัวนึงที่เรียกว่า “Bank Run” ไม่ได้ Bank Run คืออะไร? คนที่ไม่ได้ติดตามเรื่องเศรษฐกิจการลงทุนเท่าไร อาจจะไม่คุ้นหูกับคำนี้นัก แต่คนที่อยู่ในวงการลงทุน คลุกคลีกับธนาคารอยู่บ้าง ได้ฟังคำนี้แล้วคงสยองน่าดู เพราะอะไร มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน BANK RUN คือวิ่งไปแบงก์…ไปเอาเงินออก คำว่า “Bank Run” มันเป็นสัญญาณอันตรายตัวหนึ่ง ที่คนแห่กันไปสถาบันการเงินเพื่อถอนเงินออกมา เพราะขาดความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินที่ฝาก ว่าง่าย ๆ ว่าเรากลัวสถาบันการเงินนั้นล้มละลายนั่นแหละ หรืออาจจะเพราะผลกระทบอะไรบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย เมื่อไหร่ที่มันมีสัญญาณพะงาบ ๆ ต้องกู้คนอื่น โดนคนอื่นกู้ หรือดูทรงจะไปไม่ไหวก็หมายความว่าโอกาสจะล้มอาจจะสูง จนเงินที่เราฝากไว้มลายหายไปต่อหน้า งั้นจะรออะไรล่ะ…ถ้าเราเป็นเจ้าของเงินที่รู้สึกเสี่ยง เราก็วิ่งไปเอาเงินออก ก่อนจะเอาเงินออกมาไม่ได้อยู่แล้ว เอาจริง ๆ ถ้าให้อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ เราคิดว่ามันเป็นกลไกนึงของพฤติกรรมมนุษย์ที่มีกลิ่นความคล้ายพฤติกรรมการลงทุนปกติ เวลาที่ตลาดตกใจ คนจะก็แห่ไปเทขายหุ้นหรือกองทุนที่ตัวเองลงทุน แต่ลองคิดภาพตามดี ๆ สิ ว่าถ้าทุกคนไปที่แบงก์ เพื่อถอนเงินออกจากบัญชีทั้งหมดมันจะน่ากลัวขนาดไหน ถ้าคนแห่มาถอนเงินทั้งหมดไปพร้อมกัน หลายคนถามว่าก็แค่คนไปถอนเอาเงินเขาออกมา
วิกฤตเศรษฐกิจโลกตอนนี้ พยากรณ์กันว่าสหรัฐฯ จะแย่กว่าตอนเจอวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เพราะ Social Distancing สร้างปรากฏการณ์ Economic Distancing ตามมา คนไม่ได้ตกงานจากการเลิกจ้างแต่มาจากการกักกัน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบ่งเป็นระลอกคลื่น 4 ลูก ได้แก่ สภาวะสังคมแช่แข็งกะทันหัน, คนตกงาน, คนเกษียณบั้นปลายพัง และอุตสาหกรรมการลงทุนที่โดนตัดแขนขา ตามลำดับ ไทยอยู่ในเฟสแจกเงิน แต่หากเป็นไปตามการพยากรณ์ที่เทียบกับสหรัฐฯ การแจกเงินให้คนไปเก็บไว้ ไม่ได้ทำให้คนหายตกงานและคนจะไม่ออกมาใช้เงิน ธุรกิจขนาดเล็กและ SMEs ที่โดนก่อนอาจจะไม่รอด จึงควรมีมาตรการด้านอื่นช่วยส่งเสริมและธุรกิจเหล่านี้ก่อนลูกโซ่ของโดมิโนตัวแรกจะล้มลง เมื่อถึงคราวอัดฉีดเงินหลังไวรัสจากไป รัฐควรมีส่วนสนับสนุนและอัดฉีดเพื่อให้กราฟที่ดิ่งเด้งขึ้นในเร็ววัน หากสถานการณ์ยืดเกินเดือน พ.ค. ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขหลายประเทศคาดการณ์ว่าอาจยาวได้ถึงปลายปี ก็มีโอกาสสูงที่บาดแผลนี้จะยิงยาวไป 4-5 ปี เมื่อไม่กี่วันก่อน เรามีโอกาสได้ออกไปข้างนอกซื้อของเข้าบ้าน เห็นชัดว่าธนาคารสีชมพูสาขาใกล้บ้านมีคนมาอออยู่หน้าธนาคารเพียบ มั่นใจได้ว่าช่วงนี้คงไม่ได้ออกันเพื่อเอาเงินเข้า แต่เป็นยืนรอถอนเงินออกเพราะไม่มั่นใจว่าสภาวะนี้เงินสดในมือจะพอใช้หรือเปล่า หรือถ้าวันไหนเกิดธนาคารปิด ถอนเงินออกมาไม่ได้เราจะเอาอะไรกินกัน? แล้วไวรัสหรือข้าวปลา อันไหนที่น่ากลัวกว่ากัน ? เศรษฐกิจตอนนี้มันตกหรือกระทบกันแค่ไหน UNLOCKMEN ขอสรุปเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าง่าย ๆ ที่เราย่อยมาจากบทความสัมภาษณ์ Mark Zandi หัวหน้าเศรษฐศาสตร์ของ
ชีวิตการลงทุนมันโหดร้าย จนมีคนไปทำเป็นภาพยนตร์หลายเรื่อง แล้วทำไมเราถึงจะไม่ศึกษาจากสิ่งรอบตัวหละ
เมื่อสถานการณ์บีบบังคับให้องค์กรหลายแห่งต้องเลือกชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัยของคนทำงานมาเป็นอันดับหนึ่ง บริษัทหลายแห่งจึงประกาศนโยบาย Work From Home กันทั่วหน้า นั่นหมายถึงว่าการสื่อสารภายในองค์กร ภายในทีม หรือแม้แต่ระหว่างคนทำงานด้วยกันจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากการสื่อสารที่เคยคล่องตัวและตรงไปตรงมา แค่เดินไปหาก็พูดคุยได้ไม่ผิดพลาด สงสัยอะไรตรงไหนก็เจอตัวกันทันที หรือการประชุมแบบพร้อมหน้าพร้อมตาที่เห็นกันชัด ๆ ว่าจะไม่มีใครพลาดเรื่องสำคัญไป นำไปสู่วิธีการสื่อสารที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย แต่อีกทางนี่คือโอกาสอันดีที่แต่ละองค์กรจะได้ทดสอบประสิทธิภาพของระบบเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มที่ใช้สื่อสารกันว่าจะเชื่อมผู้คนถึงกันได้มากแค่ไหน แต่สิ่งที่คนทำงานไม่ว่าระดับไหนควรรู้ไว้คือการสื่อสารเมื่อทุกคนต่างทำงานจากทุกหนทุกแห่งอาจเป็นอีกความท้าทายที่เราทุกคนควรเตรียมตัวให้พร้อม UNLOCKMEN จึงเอาวิธีการสื่อสารให้ทรงพลัง ในวันที่เราต้องทำงานไกลกัน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดจากการเข้าใจผิด การพูดไม่เคลียร์ งานของเราจะได้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอไม่ว่าจะทำงานจากที่ไหนบนโลกใบนี้ก็ตาม เมื่อไม่ได้ประชุมต่อหน้า “คำพูดที่ไม่ได้พูด” คือหัวใจสำคัญ ไม่ว่าองค์กรของคุณจะเลือกใช้แพลตฟอร์มใดเป็นตัวกลางในการประชุมหรือสื่อสาร สิ่งสำคัญของการไม่ได้เข้าประชุมพร้อมหน้าพร้อมตากัน คือการสังเกตสิ่งที่ซ่อนไว้จากคำพูดที่ไม่ได้พูดให้ดี มนุษย์มีแนวโน้มจะระวังตัวและควบคุมตัวเองเป็นพิเศษเมื่ออยู่ในห้องประชุมอันเป็นทางการ ต่างจากการวีดีโอคอนเฟอเรนซ์จากที่บ้าน หรือการพิมพ์คุยงานผ่านแชตที่จะรู้สึกว่าอยู่ในพื้นที่ของตัวเองและเป็นตัวเองมากกว่า เมื่อรู้สึกผ่อนคลายในพื้นที่ของตัวเอง ภาษากาย สายตา หรือแม้แต่การเว้นจังหวะการพิมพ์ที่สื่อสารออกมา (โดยไม่ควบคุมตัวเองมากนักนั้นสำคัญ) ดังนั้นถ้าคุณคือผู้บริหารหรือคนนำการประชุมในแต่ละครั้ง นอกจากแค่รอฟังว่าองค์ประชุมแต่ละคนจะพูดอะไรออกมาโต้ง ๆ ก็อาจหมายรวมถึงการคอยสังเกตปฏิกิริยา ภาษากายของผู้เข้าร่วมประชุมคู่กันไปด้วย เนื่องจากบางคำที่พลาดไป บางเรื่องที่อาจสื่อสารได้ไม่ครอบคลุม ผู้เข้าร่วมประชุมอาจไม่ได้ยกมือถามได้ง่าย ๆ เหมือนตอนประชุมอยู่ต่อหน้ากัน รวมถึงระบบเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่อาจทำให้หัวข้อดีเลย์ การเป็นผู้นำการประชุมที่คอยสังเกตสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น “เลือกแพลตฟอร์มให้ตรงกับประเภทข้อมูล”
Publicis Group (ปับลิซีส กรุ๊ป) เผยผลสำรวจความวิตกกังวลของผู้บริโภคไตรมาส 1 นี้ พบว่ากังวลกับโควิด-19 สูงถึง 92% ส่งผลให้ผู้บริโภคลดพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตในที่สาธารณะ ใช้ชีวิตในบ้าน ซื้อของและสั่งอาหารทางออนไลน์มากขึ้น แนะปรับใช้สื่อในบ้านทั้งโทรทัศน์และสื่อออนไลน์เข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด นายอติพล อิทธิวัฒนะ, เฮด ออฟ มีเดีย – ปับลิซีส กรุ๊ป (Head of Media – Publicis Group) ในฐานะผู้บริหารสูงสุดธุรกิจกลุ่มธุรกิจสื่อโฆษณา ประกอบด้วย บริษัท สตาร์คอม บริษัท สปาร์ค ฟาวดรีย์ และ บริษัท ซีนิท เผยว่าเนื่องจากตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยได้เกิดประเด็นสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภูมิอากาศและสุขภาพ ทำให้สังคมตื่นตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต แผนก Data Science Analytic & Consumer Research ของบริษัทฯ
ช่วงนี้คนที่กำเงินไปลงทุน หัวใจคงเต้นไม่เป็นจังหวะเพราะเห็นชัดว่าเศรษฐกิจขาลงสุด ๆ พอร์ตก็แดง บิตคอยน์ก็ร่วงหลายกิจการได้รับผลกระทบเรื่องโควิด-19 จนเซกันเป็นแถวไม่ทางตรงก็ทางอ้อม UNLOCKMEN เชื่อว่าทุกคนคงเกิดคำถามและพยายามหาคำตอบว่าควรตั้งหลักอย่างไรกับเงินที่มีและการลงทุนช่วงนี้ ยิ่งวันนี้ SET ลงแตะ 1,100 จุดแล้ว เบรกแตกจนไม่รู้ว่าจะแหกโค้งไปถึงไหน! เพื่อไขข้อสงสัยด้านการลงทุน จะมีอะไรดีไปกว่าการถามกูรูการลงทุนหนุ่มเจ้าของหมวกกันน็อกที่ปิดบังหน้าตา แต่เป็นเจ้าของหนังสือและสื่อออนไลน์ที่วิเคราะห์ด้านการลงทุน “ลงทุนแมน” กับ 4 คำถามที่เราเชื่อว่าหลายคนสงสัยไม่ต่างกัน Q1: มนุษย์เงินเดือนที่อยากลงทุนตอนนี้ ควรลงทุนด้านไหนถึงจะดี หรือควรเก็บเงินสดไว้ในมือก่อน ลงทุนแมน: ทุกช่วงเวลา มีโอกาสลงทุนได้เสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความเข้าใจในสิ่งที่เราลงทุนมากแค่ไหน การลงทุนที่เหมาะสมของแต่ละคนอาจต่างกัน บางคนรับความเสี่ยงได้น้อย บางคนรับความเสี่ยงได้มาก หลายคนคิดว่าลงทุนต้องให้ผลตอบแทนมากที่สุด แต่จริง ๆ แล้วการลงทุนเราต้องได้ผลตอบแทนภายใต้สิ่งที่เราสบายใจด้วย ต่อให้ได้ผลตอบแทนเป็น 100% แต่ถ้านอนไม่หลับ เครียด มานั่งวิตกรายวัน ไม่แนะนำ เพราะสภาพจิตใจของเราสำคัญกว่าตัวเงินเสียอีก ความสบายใจในการลงทุนของแต่ละคนก็แตกต่างกัน ขึ้นกับความเข้าใจในสิ่งที่ลงทุน ในธุรกิจเดียวกันบางคนอาจเข้าใจเป็นอย่างดี แต่บางคนอาจไม่เข้าใจเลย ดังนั้นคำตอบของเรื่องนี้ก็คือ ต้องถามกลับว่าเราเข้าใจในสิ่งที่เราจะลงทุนมากแค่ไหน สินทรัพย์นั้นคืออะไร ทำธุรกิจอะไร โครงสร้างรายได้คืออะไร กรณีเลวร้ายที่สุดของธุรกิจนั้นคืออะไร ถ้าเราเข้าใจดีแล้ว
“รู้เท่าไม่ถึงการณ์” คือการ์ดยอดฮิตติดอันดับของมนุษย์ผู้ทำผิดพลาด แล้วไม่รู้จะรับมือกับความผิดพลาดนั้นอย่างไร แม้จะมีคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้วทำผิดพลาดอยู่จริง (ซึ่งถ้าพลาดครั้งแรก สังคมก็พร้อมรับฟังและให้โอกาส) แต่ก็มีมนุษย์บางจำพวกที่พูดคำว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” เป็นรอบที่สิบ ไม่ว่าผิดกี่ครั้ง ไม่ว่าพลาดกี่หนก็พูดพล่อย ๆ เพื่อเอาตัวรอดให้พ้น ๆ ไป แล้วก็ปล่อยความผิดพลาดยุ่งเหยิงนั้นให้ยังอยู่ต่อไป ผู้ชายอย่างเรา ยิ่งเรียนรู้ ยิ่งลองสิ่งใหม่ ๆ อยู่ทุกวัน ก็ย่อมต้องผิดพลาดบ้างเป็นธรรมดา หรือบางครั้งเราไม่ใช่คนพลาด แต่คนในปกครองหรือคนในความรับผิดชอบทำพลาด เราเองก็ต้องเป็นคนออกหน้า ในฐานะที่เราก็เบื่อคนพูดว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” เต็มทน เพราะเหมือนพูดแบบขอไปที UNLOCKMEN ขอเสนอคำพูดที่ผู้ชายอย่างเราใช้รับมือเมื่อเจอภาวะวิกฤต หรือทำผิดพลาด โดยเป็นคำพูดหรือวิธีการที่ดูเป็นรุ่นใหญ่ใจนิ่ง แถมดูเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่แค่ปัดความรับผิดชอบให้พ้น ๆ ตัว โลกยุค 5G ทุกอย่างต้องแสดงออกเร็วนะ! หากเกิดทันยุคที่ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างมาจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์เท่านั้น เราจะเข้าใจได้ทันทีว่าข้อมูลในยุคนี้ไหลเร็วขนาดไหน ไม่ใช่ระดับเวลาเช้า-เย็น เหมือนข่าวภาคเช้าและภาคค่ำอีกต่อไป แต่ข่าวนั้นเชี่ยวกรากกันเป็นระดับนาที! ดังนั้นเมื่อเราทำพลาดและมีคนพบข้อผิดพลาดนั้นแล้ว ให้รีบ Take Action ให้เร็วที่สุด แต่ละนาทีที่เราปล่อยเวลาให้ผ่านไป หมายถึงคอมเมนต์คาดเดาไปสารพัด หมายถึงการบอกกันปากต่อปาก