สำหรับทุกบริษัท การนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาก้าวไปข้างหน้าได้ แต่ปัญหาที่หลายบริษัทต้องเจอคือการที่คนในบริษัทไม่ยอมเสนอไอเดีย ไม่แสดงความคิดเห็น ร้ายที่สุด คือ พวกเขาไม่ยอมรายงานปัญหา Conflict ที่พบเจอในที่ทำงานให้ผู้ใหญ่ได้รับทราบ ปล่อยให้มันลุกลามจนเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องที่ยากจะแก้ไข ปัญหานี้ UNLOCKMEN มองว่าเป็นเรื่องใหญ่ เลยอยากจะพาทุกคนไปดูว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ลูกน้องไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ทำงาน และจะแก้ไขอย่างไรดี ขาดความมั่นใจที่จะแบ่งปันไอเดีย มันจะมีกรณีที่บางคนรู้สึกไม่มั่นใจเวลาที่จะแบ่งปันไอเดีย ถ้าในที่ประชุมมีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจนเกินไป หรือมักจะกับคนนอกหน้าที่ที่พยายามเสนอไอเดียว่ามันไม่ใช่เรื่องของพวกเขา หรือให้สนใจแต่หน้าที่ของตัวเอง ฯลฯ พอได้ยินคำพูดแบบใส่บ่อยๆ พวกเขาก็รู้สึกว่า การแสดงความคิดเห็นในที่ทำงานจะทำให้พวกเขาถูกตำหนิ ปิดปากเงียบไว้ดีกว่า ท้ายที่สุดพวกเขาก็เลยไม่เสนอไอเดียใหม่ ๆ อีกเลย Solution: ก่อนอื่นเลย คนที่เป็นหัวหน้าต้องเข้าใจก่อนว่า มันมีอะไรบ้างที่จะทำลายความมั่นใจของลูกน้องได้ (เช่น การห้าม การตำหนิ ฯลฯ) บอกกับทีมให้เปิดใจรับฟังไอเดียจากคนทุกแผนกดูบ้าง เพราะเค้าอาจจะมีไอเดียอะไรในมุมมองที่เราคาดไม่ถึง และพยายามไม่ตำหนิหรือ Kill idea ในที่ประชุม แล้วลูกน้องจะกล้าแสดงความคิดเห็นในที่ทำงานมากขึ้นเอง ไม่คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ในเวลานั้น บางบริษัทไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าเรื่องไหนที่นับว่าเป็นปัญหา หรือ ปัญหาแบบไหนบ้างที่ควรรายงาน บางคนเลยไม่รู้ว่าสิ่งที่เจอเป็นปัญหาที่ควรรายงานหรือเปล่า อีกทั้งบางบริษัทเองก็ไม่ได้สนับสนุนวัฒนธรรมการรายงานในทุก ๆ
ในช่วงที่ประเทศไทยต้อง Lock Down เพื่อควบคุม Coronavirus ที่ระบาดหนักในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา น่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกสำหรับเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ เจ้าของ SME รวมไปถึงพนักงาน พ่อค้าแม่ค้า หรือแม้แต่แรงงาน ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่เป็นทั่วโลกที่ต้องเจอกับความท้าทายครั้งใหญ่ครั้งใหม่ บางคนปรับตัวประคับประคองมาได้ ท่ามกลางข่าวธุรกิจที่ปิดตัวไม่เว้นแต่ละวัน สำหรับประเทศไทย ต้องบอกว่าอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าอีกหลายประเทศ เราสามารถควบคุมการระบาดของ Coronavirus ได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันการใช้ชีวิตเริ่มกลับมาเป็นเหมือนปกติ ธุรกิจกลับมารัน คนออกมาทำงาน แต่ในขณะเดียวกัน เราก็เห็นความไม่ปกติที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลังมากมาย โดยเฉพาะในหมู่เจ้าของธุรกิจ ที่ต้องเจอกับรายได้ลดลงน้อยกว่ารายจ่ายอย่างต่อเนื่องแม้จะผ่านช่วงปิดเมืองไปแล้ว ต้องพยายามลดต้นทุนเพื่อรักษา Cash flow ยื้อชีวิตเอาไว้ให้นานที่สุด ความยากลำบากในการบริหารพนักงานที่สูญเสียกำลังใจ เชื่อว่าคนทำธุรกิจหลายท่านน่าจะรู้สึกเครียด คิดไม่ออกว่าจะทำยังไงต่อไปดี เราจึงสร้าง ‘THE ART OF BUSINESS’ รายการที่จะไปถามผู้บริหารตัวจริง ประสบความสำเร็จจริง เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะกับสถานการณ์แต่ละช่วง สำหรับผู้บริหารคนแรกของ THE ART OF BUSINESS เราได้ คุณเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แสนสิริ
ถนนทุกสายมุ่งตรงสู่ “ความสำเร็จ” เราต่างพร้อมเผชิญขาขึ้นของธุรกิจที่ปั้นมากับมือ เรายินดีอ้าแขนรับหน้าที่การงานที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน แต่น้อยคนนักที่จะเตรียม “แผนแห่งการล้มเหลว” เอาไว้ ไม่มีใครอยากผิดพลาด ล้มเหลว แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อเราเผชิญความผิดพลาด (ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่) การมีแผนแห่งการล้มเหลวรอไว้อยู่แล้ว จะช่วยให้เรารับมือ แก้ไข ไปจนถึงพลิกสถานการณ์กลับมาได้ราบรื่นกว่าการไม่เตรียมแพลนอะไรไว้เลย ลำดับขั้นของความล้มเหลว ขีดเส้นที่เราจะไม่มีวันข้ามเอาไว้ หลายครั้งที่ความล้มเหลวไม่ได้จู่ ๆ สาดเข้ามาตูมเดียวเหมือนภูเขาไฟระเบิด แต่เกิดจากการที่เราค่อย ๆ เลือกทางเดินที่ผิด แล้วตอนแรกมันก็ยังดูไม่เสียหายมากนัก เราเลยไปต่อ แต่เหมือนว่ายิ่งไปต่อ ความล้มเหลวก็คล้ายจะขมวดกลายเป็นปมที่แก้ยากขึ้นเรื่อย ๆ ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนรู้ตัวอีกทีธุรกิจเราก็พังเกินกว่าจะกู้คืนแล้ว ดังนั้นแผนแห่งการล้มเหลวที่เราควรเตรียมตัวเองไว้เพื่อหน้าที่การงานหรือธุรกิจของเรา คือการไล่ลำดับขั้นแห่งความล้มเหลวไว้แต่ต้น เช่น ขั้นที่หนึ่งเราเริ่มกู้หนี้ยืมสินมามากเกินกำลังจะจ่ายไหว ขั้นที่สองเราเริ่มทำทุกทางเพื่อให้ธุรกิจหรืองานเราไปรอด โดยยินดีทำลายทุกความสัมพันธ์ในชีวิต ฯลฯ การกำหนดลำดับขั้นความล้มเหลวอาจจะเป็นอะไรก็ได้ที่ผ่านการพิจารณาของเรามาอย่างดี เมื่อเรากำหนดไว้ ก็คิดวิธีแก้ หรือวิธีที่เราจะจัดการต่อไปถ้าเราไปถึงจุดนั้น การทำแบบนี้เราจะค่อย ๆ เห็นว่าเรากำลังเดินทางเข้าสู่ขาลง เราจะเข้าใจมากขึ้นว่าเส้นไหนที่เราข้ามไปได้ (และข้ามไปอย่างไร) หรือเส้นไหนที่เราถามตัวเองไว้แต่ต้นแล้วว่าจะไม่มีวันข้ามไปเด็ดขาด เพราะจะไม่ใช่แค่ความล้มเหลวเล็ก ๆ แต่อาจไปสู่หายนะยิ่งใหญ่ได้ สถานการณ์ที่แย่ที่สุดคืออะไร? แล้วเราจะรับมืออย่างไร? ความล้มเหลวบางรูปแบบก็อาจมาในลักษณะหนังสยองขวัญที่เราเคยดู ตัวละครอาจจะแสนซวย
ตอนนี้หลายคนอาจนิยามตัวเองว่าเป็น คนเปิดเผย (Extrovert) หรือเป็น คนเก็บตัว (Introvert) หรือ อยู่ระหว่าง 2 ฝั่งนี้ (Ambivert) ซึ่งในการทำงาน introvert หลายคนอาจจะเจอปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเข้าสังคม หรือสมาธิในการทำงาน ดังนั้น UNLOCKMEN เลยอยากแบ่งปันเคล็ดลับการเอาตัวรอดในที่ทำงานสำหรับชาว Introvert ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจนิยามก่อนว่า Introvert คือกลุ่มคนที่มีบุคลิกภาพเก็บตัว คนกลุ่มนี้จะมีโลกส่วนตัวสูง มักใช้เวลาอยู่กับความคิดของตัวเองมากกว่าจะไปสุงสิงกับคนอื่น ส่วน Extrovert จะตรงกันข้าม คือ รักการเข้าสังคม ชอบแสดงออกมากกว่าคิดอยู่กับตัวเอง และชอบเป็นจุดสนใจด้วย ความแตกต่างระหว่าง Introvert และ Extrovert ไม่ได้อยู่ที่นิสัยอย่างเดียว (ซึ่งเวลาพูดว่า introvert และ extrovert ต่างกันที่นิสัย หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ปรับกันได้) แต่ทั้ง 2 กลุ่มนี้แตกต่างกันในทางชีววิทยาอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น – การตอบสนองต่อ Dopamine (สารสื่อประสาทที่ทำให้เรารู้สึกดีเวลามองหารางวัลจากปัจจัยภายนอก) แม้ว่าการหลั่งของ dopamine ในสมอง
การจะตัดสินใจเลือกคอนโดมิเนียมแต่ละโครงการ นอกจากราคา พื้นที่ สิ่งอำนวยความสะดวก อีกจุดที่ควรจะใส่ใจมากเพราะสำคัญไม่แพ้กันคือพื้นที่สีเขียวในโครงการ เพราะการใช้ชีวิตประจำวันพวกเราไม่ได้อยู่แค่ในห้องหรือส่วนกลาง ดังนั้นการเลือกโครงการที่เน้นการทำให้ลูกบ้านทุกคนมีความสุข สุขภาพดี และมีวิถีการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการสานต่อวิถีชีวิตให้สมบูรณ์ ทั้งหมดคือสิ่งที่ วิสซ์ดอม สเตชั่น รัชดา – ท่าพระ โครงการที่พักอาศัยระดับคุณภาพย่านธนบุรีจาก MQDC มุ่งมั่นจนสามารถผ่านเกณฑ์อาคารเขียวหรือ TREES ในระดับ ‘Gold’ ที่เป็นการประเมินความยั่งยืนของอาคารจากสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) ในประเภทก่อสร้างและปรับปรุงอาคารใหม่หรือ New Construction (TREES-NC) ถือเป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการสร้างโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) และวิสซ์ดอม (Whizdom) แบรนด์ที่อยู่อาศัยของคนรุ่นใหม่ที่นำเสนอไลฟ์สไตล์ที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในย่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกรุงเทพฯ การผ่านเกณฑ์อาคาร TREES ในระดับ Gold ถือเป็นการตอกย้ำถึงวิธีการทำงานภายใต้วิสัยทัศน์ “For All Well-Being” ที่ต้องการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับทุกสรรพสิ่ง ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” หรือ Sustainnovation ทำให้เราค้นคว้าหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน โดย MQDC
หลังจากที่มนุษยชาติได้พบพานกับสถานการณ์ที่ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตไปอย่างสิ้นเชิง สิ่งเหล่านั้นเริ่มกลายมาเป็นวิถีชีวิตรูปแบบใหม่หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ New Normal Living ซึ่งแน่นอนว่ามันส่งผลต่อเนื่องมาถึงมุมมองของการใช้ชีวิต ที่หลายคนค้นพบสกิลใหม่ๆ หรืออาชีพใหม่ และผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น รวมถึงการให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แบบ New Normal ได้อย่างรอบด้านอันเนื่องมาจากการที่ผู้คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ชีวิตใช้เวลาอยู่กับบ้านมากขึ้น จาก Insight ที่น่าสนใจดังกล่าวนี้ จึงได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นไอเดียต่อยอดสู่รายการ ‘SANSIRI HOME STORIES’ ที่ต้องถือว่าเป็นอีกหนึ่ง Real-Time Marketing จากแสนสิริ ที่เป็นอีกแบรนด์ที่มักสร้างสรรค์คอนเทนต์ได้อย่างชาญฉลาดและทันต่อสถานการณ์อยู่เสมอ เรียกได้ว่ารายการนี้เป็นประโยชน์แบบวิน-วินทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ชมทั้งหลาย หรือแม้กระทั่งตัวแบรนด์เองก็ตาม ในแง่ของผู้ชมอย่างเรา ๆ ก็รับไปเต็ม ๆ กับไอเดียการอยู่อาศัยในยุคนี้ และการปรับใช้พื้นที่ภายในบ้านให้ตอบโจทย์ทุกความต้องการและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ลงตัวทุกด้านของการใช้ชีวิต ทั้งครอบครัว สุขภาพ และการทำงาน ส่วนในแง่ของแบรนด์ก็ได้สื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย แถมยังเป็นการสะท้อนตัวตนของแบรนด์ที่มุ่งมั่นส่งมอบไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่มากกว่าเพียงแค่ที่อยู่อาศัยอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการดึงเอาความน่าสนใจของจุดขายในโครงการบ้านและทาวน์โฮมจากแสนสิริ ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของพื้นที่อยู่อาศัยซึ่งถูกออกแบบขึ้นมาภายใต้แนวคิด Flexible Living Area พื้นที่ในตัวบ้าน ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ทั้งการเป็น Connecting Space เพื่อทุกคนในครอบครัว และ Working Space เพื่อรองรับการทำงานในรูปแบบ Work From Home
เคยตื่นขึ้นมาพร้อมความรู้สึกว่างเปล่ากันบ้างไหม? ของบางอย่างที่เคยมี คนใกล้ชิดที่อยู่ด้วยกันมาหลายสิบปีหรืออาจจะทั้งชีวิต พอพวกเขาตายจากไปเราถึงเข้าใจความรู้สึกนี้ได้ดีขึ้น ไม่น่าเชื่อว่าสิ่งที่เคยอยู่ด้วยกันมาหลายปี วันหนึ่งกลับคล้ายไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่มีหลักฐานว่าพวกเขาเคยอยู่ตรงนี้ อย่างเดียวที่ยืนยันการมีอยู่ครั้งหนึ่งได้คงมีเพียงแค่ความทรงจำของเราเท่านั้น จะดีแค่ไหนถ้าเราสามารถเก็บความทรงจำที่สวยงามนั้นไว้ติดตัวเราได้ตลอดเวลา เชื่อว่าหลายคนคงคิดไม่ต่างกัน กระทั่งในที่สุดความคิดนี้ก็เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นจากการสร้างสรรค์ของ Gemories Thailand บริษัทจิวเวลรีไทยย่านสุขุมวิทที่เปลี่ยนอินทรียสารของคนที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็นเถ้ากระดูก เส้นผม เส้นใยผ้า ดอกไม้ ฯลฯ ให้กลายเป็นรูปของผลึกพลอยเจียระไนแวววาวพร้อมสวมใส่ วันนี้ UNLOCKMEN โอกาสได้พูดคุยกับ คุณเบนซ์ – คุณปทิตตา หอมจันทร์ Marketing Director และเป็นหนึ่งในผู้บริหาร บริษัท เจมโมรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด แบบเอ็กคลูซีฟและได้เห็นทุกขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ทำให้หายข้องใจว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ จากคนที่เรารักสามารถแปรเป็นอัญมณีได้อย่างไร และทำไม Gemories ถึงต้องการสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ขึ้น บอกก่อนว่าทั้งหมดนี้เรามองในแง่วิทยาศาสตร์ ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องลี้ลับ อย่างไรก็ตามอย่าลืมใช้วิจารณญาณในการอ่านทุกบรรทัดด้วยนะ ถ้าจะบอกว่าธุรกิจที่นี่มีจุดเริ่มจาก “จุดจบ” ก็คงไม่ผิด คุณเบนซ์เล่าให้เราฟังว่า เดิมคุณพลอย-ภัสสร ภัสสรศิริ ผู้ริเริ่มธุรกิจ Gemories เคยทำธุรกิจเตาเผาไร้มลพิษและ Pet Master
เป็นสถานการณ์สุดฮิตที่เหล่าคนทำงานอย่างเรา ๆ คุ้นชินเป็นประจำ หรือถ้าว่ากันตามตรงก็เป็นกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาลนั่นแหละ การผัดวันประกันพรุ่งอาจยังไม่เคยส่งผลกระทบกับใครจัง ๆ แรง ๆ เพราะว่ากันว่าคนผัดวันประกันพรุ่งเนื้อแท้ไม่ใช่คนขี้เกียจแต่มีวิธีจัดการเวลาและลำดับความสำคัญในการทำงานตามรูปแบบของตัวเอง แต่ก็ใช่ว่าการทำงานให้ทันเดดไลน์จะราบรื่นไปหมดทุกอย่าง ไหนจะความกดดัน ไหนจะความร้อนรน จะดีแค่ไหนถ้ามีเทคนิคการทำงานเพื่อคนชอบผัดวันประกันพรุ่งโดยเฉพาะ ที่รับรองว่าคุณจะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมแน่นอน! ‘Pomodoro Technique’ คือชื่อเทคนิคการทำงานทรงประสิทธิภาพที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย Francesco Cirillo นักพัฒนาและผู้ประกอบการ ผู้คิดค้นเทคนิคนี้ขึ้นมาช่วงปี 1980 เนื่องจากเขารู้สึกว่าตอนเรียนมหาวิทยาลัยมันเป็นอะไรที่ยุ่งมาก ทำงานก็ไม่ดี เรียนก็ไม่ได้เรื่อง ชีวิตไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลย Pomodoro ก็ไม่ได้มาจากไหน แต่มาจากเครื่องจับเวลาสำหรับการทำอาหารที่ทำเป็นรูปมะเขือเทศของเขานั่นเอง (Pomodoro เป็นภาษาอิตาเลียนที่แปลว่ามะเขือเทศ) แต่อย่าคิดว่านี่เป็นแค่วิธีกิ๊กก๊อกของนักศึกษาธรรมดาคนหนึ่ง เพราะช่วงปี 1990 วิธีนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และได้รับการยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคการทำงานที่ทำให้คนทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุด สำหรับคนที่อยากรู้ว่า ‘Pomodoro Technique’ ทำอย่างไร? ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง? จริง ๆ ก็ง่ายแสนง่ายแค่มีนาฬิกาปลุก สมาร์ทโฟน หรืออะไรที่สามารถตั้งเวลาได้ และความตั้งใจของเราก็พอแล้ว วิธีการก็ง่ายแสนง่ายด้วย 6 ขั้นตอนต่อไปนี้ 1.เลือกงานที่คุณต้องการจะทำให้เสร็จขึ้นมา งานแบบไหนก็ได้ งานเล็ก งานใหญ่ งานที่ค้างไว้เป็นอาทิตย์
โลกมนุษย์คือการเรียนรู้และปรับตัว นอกจากวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เรียกว่า New Normal จะทำให้คนเคยชินกับการเว้นระยะห่าง การใส่หน้ากาก การล้างมือ และการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าสู่ที่สาธารณะแล้ว เรายังจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในด้านการออกแบบ Interior Design ของร้านค้าหรือร้านอาหาร ที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยลูกค้า และทำให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยทั้งในแง่ความรู้สึกและการสัมผัส เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้าแบบ New Normal ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจาก Coronavirus ถ้าวันนี้คุณกำลังทำธุรกิจร้านอาหาร หรือมีแผนว่าจะเปิดร้านอาหารเพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวในอนาคต จากเดิมที่ร้านสวย บรรยากาศดี อาหารอร่อย จะการันตีความสำเร็จของร้านอาหารได้ แต่อนาคตมันจะไม่เพียงพออีกต่อไป และนี่คือเทรนด์การออกแบบ Interior Design เกี่ยวกับ Layout, Spacing และ Experience ในโลกหลัง Coronavirus ที่คุณต้องรู้เอาไว้ การมีระยะห่าง เป็นสิ่งที่จะสร้างความสบายใจในการใช้บริการให้ลูกค้า ปัจจุบันร้านอาหารที่เปิดให้บริการในช่วงใกล้ปลด Lockdown อาจจะทราบดีว่าการใช้ Layout จัดวางโต๊ะแบบเดิม ๆ ที่ต้องเว้นระยะห่าง 1.5 – 2 เมตร ตามมาตรการควบคุมนั้นเป็นการเสียพื้นที่มากเกินไป นั่นเพราะการออกแบบตั้งแต่แรกมีจุดประสงค์เพื่อเน้นจำนวนคนต่อพื้นที่เพื่อให้เกิดรายได้มากที่สุด ดังนั้นร้านอาหาร (รวมถึงร้านค้า)
ยุคสมัยที่ผู้นำส่วนใหญ่บนดาวเคราะห์ดวงนี้มีแต่ผู้ชายสุดแข็งแกร่งนั้นอาจเลือนรางลงไปนานแล้ว ความเท่าเทียมในหลายมิติทำให้มนุษย์ไม่ว่าเพศสภาพไหน ๆ ก็สามารถขึ้นกุมบังเหียนเพื่อบริหารองค์กรหรือประเทศได้ แม้ภายนอกคล้ายจะเป็นแบบนั้น แต่การเป็นผู้นำผู้หญิงนั้นกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากผู้นำผู้หญิงมักถูกกล่าวหาด้วยภาพเหมารวมความเป็นหญิงบางอย่าง เช่น ผู้หญิงนั้นเจ้าอารมณ์ ไม่มั่นคง ไม่เด็ดขาด ผู้หญิงไม่แข็งแกร่งพอ ผู้หญิงไม่มีความรู้เรื่องการบริหารดีเท่าผู้ชาย ฯลฯ รวมไปถึงความกดดันที่ผู้นำผู้หญิงต้องพยายามพิสูจน์ตัวเองมากกว่าผู้นำผู้ชาย เพื่อให้ทุกคนในองค์กร (หรือแม้แต่ระดับประเทศ) ยอมรับ Abbie Griffith Oliver ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก Georgia State University ทำงานวิจัยสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันพบว่าเมื่อพูดถึง “ผู้นำที่พวกเขาชื่นชม” คนจำนวน 80% จะนึกถึงผู้ชาย และเมื่อ Abbie Griffith Oliver ถามนักศึกษาในชั้นเรียนว่าคิดอย่างไรกับผู้นำผู้หญิง มีเพียง 5% เท่านั้นที่พอจะนึกถึงผู้นำหญิงออกสักคน แน่นอนว่ามีผู้นำหญิงในหลายองค์กรที่ทำให้เห็นว่าผู้หญิงเองก็สามารถบริหารจัดการได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย แต่เมื่อ COVID-19 ที่ถือเป็นวิกฤตการณ์สำคัญระดับโลกมาเยือน ทั้งโลกต่างได้เห็นบทบาทของผู้นำหญิงชัดเจนขึ้น เนื่องจากหลายประเทศที่มีผู้นำหญิงเป็นผู้บริหารนั้นสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือแม้แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ ผู้นำหญิงจากหลายประเทศถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง ทั้ง Angela Merkel จาก Germany, Jacinda Ardern จาก