ช่วงนี้หลายคนน่าจะมีความเครียดและความกังวลกัน เพราะทุกอย่างในตอนนี้ดูไม่แน่นอนเสียเหลือเกิน ไม่มีใครรู้ว่า COVID-19 จะหายไปเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรเราจะได้ใช้ชีวิตกันแบบปลอดภัยไม่กลัวโรค ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไหร่สถานที่ต่าง ๆ จะเลิกโดนสั่งปิด ไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไรเราถึงจะได้ทำในสิ่งที่อยากทำได้อย่างเต็มที่ซะที เหล่านี้คงทำให้หลายคนรู้สึกดาวน์ และไม่อยากทำงานกันบ้างแหละ การทำงานที่ไม่อยากทำอาจทำให้เราเกิดความขี้เกียจ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราไม่โปรดักทีฟแล้ว งานวิจัยบอกเราว่า ความขี้เกียจในระยะยาวอาจทำให้เรามีสุขภาพแย่ลง ร่ำรวยน้อยลง และมีความสุขน้อยลงด้วย แต่การออกจากงาน หรือ เปลี่ยนงานในช่วงนี้ คงเป็นเรื่องที่หลายคนรู้สึกว่า ยังไม่ปลอดภัยที่จะทำมัน เพราะอาจทำให้ถูกมองว่าไม่เป็นมืออาชีพ ไม่สู้งาน และขัดขวางความก้าวหน้าในการทำงาน บางคนจึงเลือกที่จะเก็บมันไว้ในใจ มากกว่าที่จะพูดเรื่องนี้ให้ใครฟัง และเผชิญหน้ากับปัญหานี้เพียงลำพังต่อไป ฟังดูเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนซัฟเฟอร์ แต่โชคดีที่มันยังมีวิธีการประคับประคองตัวเองให้ทำงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกัน เราได้นำวิธีเหล่านั้นมาแชร์กับทุกคนในบทความนี้ ลองทำตามดูแล้วดูว่ามันได้ผลมากแค่ไหน !! ตอบให้ได้ว่าทำไมเราถึงยังต้องทำงานนี้อยู่ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ควรจะมีการตั้งเป้าหมาย เพราะถ้าไม่ เราอาจรู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่มันไร้ค่าไร้ความหมาย และหมดแพสชั่นในการทำมันได้อย่างรวดเร็ว ในการทำงานที่เรารู้สึกว่าไม่อยากทำก็เช่นกัน ถ้าเราจมอยู่กับความรู้สึกที่ว่าทำไมเราถึงยังตัองทำงานนี้ต่อไป ทุกอย่างมันก็คงมีแต่จะแย่ลง เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราควรทำเป็นอย่างแรก คือ การหาให้ได้ว่าทำไมเราถึงยังต้องทำงานที่น่าเบื่อหน่ายอยู่ ? เพราะเงิน? เพราะความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน? เพราะฐานะสังคม? เมื่อเป้าหมายในการทำงานเราชัดแล้ว กำลังใจมันก็มักจะมาเอง แต่ข้อควรระวังเมื่อเราจะตั้งเป้าหมายในการทำงาน คือ
ขึ้นชื่อว่าการเจรจาต่อรองแล้ว ไม่ว่าจะในเชิงธุรกิจที่ขับเคี่ยวกันดุเดือด หรือหน้าที่การงานที่ต้องสู้เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด เราทุกคนล้วนแต่ต้องการเจรจาต่อรอง แลกเปลี่ยนให้ผลที่ได้ออกมาพอใจร่วมกันทุกฝ่าย โดยปกติการเจรจาต่อรองก็ย่อมต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ จะไปแบบมั่ว ๆ ไม่รู้อะไรเลยไม่ได้อยู่แล้ว แต่การเจรจาต่อรองที่ “เรามีอำนาจต่อรองน้อยกว่า” หรือรู้ทั้งรู้ว่าเราก็ไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรไปแลกกับอีกฝ่ายมากนัก ยิ่งเป็นความท้าทายที่หลายคนเผลอถอดใจไปล่วงหน้า (ก็ดูรูปการณ์แล้ว ไม่น่าจะไปต่อรองอะไรกับเขาได้) แต่เราอยากชวนมาปลดล็อกความเข้าใจผิด ๆ เสียใหม่ อย่างน้อยก็ต้องลองสักตั้งก่อนถอดใจ แม้หลายการต่อรอง เราอาจเลี่ยงได้ แต่กับบางสถานการณ์คับขันตรงหน้าต่อให้รู้ว่าอำนาจน้อยกว่าก็ต้องกระโจนลงไปอยู่ดี ดังนั้นลองเอาวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้ เพราะแม้จะไม่ได้มีอำนาจล้นมือ แต่ถ้ารู้เท่าทัน การเจรจาต่อรองให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการก็อาจไม่ยากอย่างที่คิด “ผลลัพธ์ที่ต้องการอาจไม่ได้มีแค่หนึ่ง” การเป็นฝ่ายเหนือกว่าในการเจรจาต่อรอง ไม่ว่าจะทางธุรกิจ หน้าที่การงาน หรือเรื่องไหน ๆ คือการที่เราสามารถพูดคุยไปถึงจุดที่ “เราได้ในสิ่งที่เราต้องการ” หลายครั้งเมื่อเราดูมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า หรือไม่น่ามีอะไรไปแลกจนอีกฝั่งพึงพอใจได้ เราจึงมักคิดว่าเราเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่เสมอ แต่จริง ๆ แล้ว การเจรจาเพื่อ “ได้ในสิ่งที่เราต้องการ” นั้นไม่ได้มีเพียงหนึ่งทาง การนึกถึงผลลัพธ์ในหลากหลายหนทาง หลาย ๆ วิธีไว้ล่วงหน้า ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้เราเจรจาต่อรองได้ลื่นไหลมากขึ้น ถ้ามัวยึดอยู่แค่ว่าจะไปเอาผลลัพธ์นี้อยู่ผลลัพธ์เดียวและยึดติดกอดไว้ โดยไม่ทันนึกภาพผลลัพธ์อื่น ๆ ทันทีที่โดนอีกฝ่ายพลิกเกมไปทางที่เขาได้ประโยชน์ หรือเขาปฏิเสธทางที่เราเสนอไว้ เราจะตัน ไปต่อไม่ได้
เมื่อเวลาหมุนวนมาบรรจบครบเดือนที่ 12 ของปฏิทินทีไร เชื่อว่าหลายคนคงกำลังเฝ้ารอกิจกรรมสนุก ๆ จาก ไฮเนเก้น ที่มักจะมีแคมเปญเจ๋ง ๆ แตกต่างอย่างมีคอนเซปต์ตามสไตล์ของแบรนด์เครื่องดื่มระดับโลกแบรนด์นี้ออกมาต้อนรับช่วงเวลาแห่งความสุขส่งท้ายปีอยู่โดยตลอด ซึ่งแน่นอนว่าปีนี้ ไฮเนเก้น ก็ไม่พลาดที่จะจัดเต็มด้วยแคมเปญสุดอลัง เพื่อยกระดับการสังสรรค์ช่วงเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองให้พิเศษกว่าที่เคย ด้วยการสร้างจุดเด่นแบบไม่เหมือนใคร เพื่อต่อยอดแนวคิดโกลบอล “Because you’re one in a billion” ที่เชื่อว่าทุกคนล้วนมีความพิเศษในตัวเองที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ในปีนี้ ไฮเนเก้นเลือกสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างกว่าทุกปีด้วย Heineken® Festive Campaign 2020 เพื่อสร้างประสบการณ์การเฉลิมฉลองปีนี้มีให้มีความพิเศษกว่าใคร ให้ทุกคนสามารถสัมผัสได้ผ่านทาง Element ต่าง ๆ เหล่านี้ สำหรับสิ่งแรกที่ถือเป็นสัญญาณการมาถึงของแคมเปญแจ่ม ๆ ส่งท้ายปีจากไฮเนเก้น ที่หลายคนน่าจะเริ่มสังเกตเห็นกันตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤศจิกาที่ผ่านมา คืองานแพทเทิร์น Heineken® Festive Edition 2020 ที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแบรนด์ ไฮเนเก้นแบบแตกต่างกว่าเดิม โดยดึงเอาอัตลักษณ์ของแบรนด์ ไฮเนเก้นมาจัดวางออกแบบให้ทันสมัยเป็นดีไซน์บนฉลากของผลิตภัณฑ์ที่มีไม่ซ้ำกันถึง 30 ลายทั้งรูปแบบขวด และกระป๋อง ที่ต้องยอมรับว่ามันช่างโดดเด่นเตะตานักสะสมอย่างเรา ๆ เสียเหลือเกิน อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ Heineken® One in a Billion Instagram Filter ซึ่งสะท้อนถึงมุมมองวิธีคิดของไฮเนเก้น ที่ตั้งใจส่งต่อความสนุกสนานในทุกที่ไม่เว้นแม้แต่บนโลกออนไลน์
การทำธุรกิจขนาดใหญ่ด้วยตัวคนเดียวนั้น พูดได้เลยว่ามันไม่ง่าย
VF Corporation ชื่อนี้หลายคนอาจไม่คุ้นมากนัก แต่ถ้าบอกว่าเป็นบริษัทเจ้าของแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Vans, The North Face, Timberland, Dickies ก็คงจะไม่สงสัยว่าทำ Supreme ถึงมีความเป็นไปได้สูงมาก ว่ากำลังอยู่ในระหว่างเจรจาปิดดีลมูลค่า $2.1 Billion USD หรือ 64,260,000,000 บาท ดีลมหากาพย์ของแบรนด์ Street ระดับยักษ์ใหญ่ Supreme ซึ่งมีบริษัทลงทุน The Carlyle Group และ Goode Partners เตรียมขายหุ้นในมือให้กับ VF Corporation โดย James Jebbia ผู้ก่อตั้ง Supreme ตัวจริงก็ได้ยืนยันว่า แม้จะมีการเปลี่ยนบริษัทผู้ถือหุ้นจริง แต่ Supreme ก็จะยังคงเป็น Supreme การทำงานจะยังคงเหมือนเดิมทุกอย่างโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีการควบคุมจาก VF Corporation “เราเคย Collab กับเกือบทุกแบรนด์ของ VF Corporation มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น
เคยทำงานเสร็จเร็วกว่าเวลาที่มีกันไหม? ไม่ว่าจะเพราะเตรียมตัวมาดี มีประสบการณ์กับงานนี้แล้ว หรือบริหารเวลาได้มีประสิทธิภาพก็ตาม แต่เรา (และคนอื่น) มักไม่ชื่นชมคนทำงานเสร็จเร็วในแง่ดีนัก เพราะเมื่อทำงานเสร็จเร็วกว่าเวลาที่กำหนด นั่นหมายความว่าจะมีเวลาที่เหลือแล้วดูว่างหรือไม่มีอะไรทำ รวมไปถึงคนกลับบ้านตรงเวลา กับคนที่ถึงเวลาเลิกงานก็ยังไม่ยอมกลับ นั่งลุยต่อไปจนดึกดื่น คนที่ดูยุ่งขิงกับงานยันดึกดื่นค่อนคืนนั่นเองที่มักถูกมองว่าขยัน มุมานะ ฝ่าฟัน และนั่นจึงเป็นที่มาของการที่ใคร ๆ ก็อยากดูงานยุ่ง ดูมีอะไรทำตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ถูกคำครหา (ทั้งจากตัวเองและผู้อื่น) ว่าไอ้นี่ทำไมมันดูชิลจัง วัน ๆ ทำไมไม่ยุ่งเลยล่ะ? มันทำงานบ้างไหมวะเนี่ย! โดยลืมไปแล้วว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิทุกประการที่จะบริหารจัดการงานและเวลาของตัวเอง ความยุ่งจึงไม่ใช่สัญลักษณ์หรือบ่งบอกคุณภาพการทำงานได้เสมอไป แล้ววันนี้คุณยุ่งไหม? ยุ่งเพราะงานเยอะบริหารเวลาไม่ทัน หรือยุ่งเพราะอยากทำตัวยุ่ง ๆ ให้ดูมีงานทำอย่างหนัก? UNLOCKMEN อยากชวนมาสำรวจ และหาทางปรับพฤติกรรม รู้จัก Toxic Busyness เมื่อเราเสพติดความยุ่งที่ลวงตา Toxic Busyness หรือ ความยุ่งเป็นพิษ คือสภาวะที่มนุษย์เหมือนกันมุ่นอยู่กับการทำตัวให้ยุ่งอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแพร่หลายในโลกยุคโมเดิร์นนี้ ไม่ใช่แค่กับการทำงานเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงกิจกรรมสารพัดสารพัน ออกกำลังกาย เรียนภาษา หัดเล่นเซิร์ฟ อ่านหนังสือ ซึ่งไม่ได้แปลว่าทั้งหมดมานี้ไม่ดีแต่อย่างใด แต่บางคนเลือกทำกิจกรรมหลายอย่างเพราะกลัวจะไม่ทันคนอื่น กลัวคนอื่นจะมองว่าเราอยู่นิ่ง
ในช่วงเวลาที่การทำงานหาเงินเป็นเรื่องยากลำบาก ปัญหาการใช้ชีวิตในแต่ละวันที่สวนทางกับสโลแกน “กรุงเทพ ชีวิตดี ๆ” ราวกับคนคิดไม่เคยออกมาใช้ชีวิตบนท้องถนนและทางเท้า หรือแม้แต่ปัญหาการไม่เข้าใจกันด้านความเชื่อของคนในบ้าน ทุกความหนักอึ้งที่เราได้แต่เก็บมันไว้ในใจ ภายนอกคือหน้าตายิ้มแย้มให้กับลูกค้า เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า ซึ่งงานวิจัยของ UNIVERSITY PARK พบว่า ยิ่งฝืนยิ้มเก็บกดปัญหาเท่าไหร่ เรายิ่งมีปัญหาดื่มเหล้าหนักมากขึ้นไปด้วย ผลงานวิจัยที่ University Park ชิ้นนี้ถูกเรียกว่า “National Survey of Work Stress and Health” และมีการตีพิมพ์ใน “Journal of Occupational Health Psychology “ รวบรวมข้อมูลจากคนทำงานด้านบริการด้วยวิธี Phone Interview คนทำงานใน USA จำนวน 1,592 คน เพื่อสอบถามว่าในการทำงานต้องฝืนยิ้มบ่อยแค่ไหน (ในงานวิจัยเรียกว่า “surface acting,”) และหลังเลิกงานไปดื่มบ่อยและเยอะแค่ไหน โดยเน้นอาชีพที่ประสิทธิภาพและรายได้ขึ้นอยู่กับการยิ้มแย้ม เช่น คุณครูที่ต้องบริการนักเรียน พนักงานขายอาหารที่ต้องบริการลูกค้า หรือพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วย
การแบ่งเวลาไม่ดีสามารถส่งผลเสียให้เราได้หลายอย่าง เช่น ทำให้เราทำงานได้น้อยลง ช้าลง หรือ ใช้เวลาในการทำงานมากจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น เป็นต้น ดังนั้น ในยุคที่เรามีอะไรต้องทำอะไรหลายอย่าง จึงต้องมี Work life-balance และทักษะการบริหารเวลาที่ดีมีความสำคัญต่อชีวิตเรา ในบทความนี้ UNLOCKMEN เลยอยากแนะนำเทคนิคการบริหารเวลาแบบหนึ่งชื่อว่า Time blocking ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้มีชื่อเสียงในระดับโลกใช้กัน เช่น Elon Musk เพื่อให้ทุกคนสามารถบริหารเวลาของตัวเองได้ดีขึ้น และมีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นตามมา Time Blocking คือ อะไร? Time blocking คือ เทคนิคการบริหารเวลาโดยการแบ่งวันในแต่ละสัปดาห์ออกเป็นส่วนย่อยๆ หรือ บล็อก สำหรับการทำงานที่เฉพาะเจาะจง มันเป็นเทคนิคที่มีความเก่าแก่พอๆ กับหลักฐานการใช้งานปฎิทินในยุคทองแดง (Bronze Age) ซึ่งในยุคนั้นมีการใช้ปฏิทินเพื่อกะเวลาในการทำเกษตรกรรม ไม่มีใครทราบว่า ผู้คิดค้น Time blocking คือใคร แต่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า คนแรกๆ ที่ใช้วิธีการนี้ในการบริหารเวลาชีวิต คือ Benjamin Franklin โดยเขาได้มีการแบ่งกิจกรรมต่างๆ ที่เขาจะทำในแต่ละชั่วโมงของวัน Time blocking จะเป็นวิธีการที่ให้ความสำคัญกับการทำอะไรทีละอย่าง
เรารู้จักการโกหกกันมาตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก เราอาจเคยโกหกพ่อแม่ เวลาทำข้าวของในบ้านเสียหาย เพราะกลัวโดนดุ พอโตขึ้นมาหน่วยเป็นวัยรุ่น เราอาจโกหกครูประจำชั้นว่ารอยช้ำบนหน้าเกิดจากการหกล้ม ไม่ได้ทะเลาะวิวาทกับใครมา พอเข้าวัยทำงาน เราอาจเคยโกหกเจ้านายว่าป่วย เพื่อขอโดดงาน กล่าวได้ว่าคนทุกเพศทุกวัยรู้จักการโกหก แต่การโกหกก็มีพร้อมราคาที่ต้องจ่ายอยู่เสมอ! UNLOCKMEN อยากอธิบายเรื่องนี้ผ่านหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่าการโกหกทำงานกับสมองของเราอย่างไร การโกหกคืออะไร ? แบบไหนถึง เรียกว่า การโกหก… การโกหก (lying) เป็นการหลอกลวงแบบหนึ่งที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน การโกหกรูปแบบหนึ่งเรียกว่า การโกหกทั้งหมด หรือ ‘lies of commission’ เป็นการพูดในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงเลย เช่น โกหกพ่อแม่ว่าไปอ่านหนังสือ เพื่อจะได้ไปเที่ยวกลางคืน หรือ โกหกเจ้านายว่าป่วย เพื่อที่จะได้หยุดงาน เป็นต้น บางเคสการพูดความจริงเพียงครึ่งเดียว (half – truth) ก็ถือว่าเป็นการโกหกเหมือนกัน เช่น สมมติว่าเราจะซื้อรถมือ 2 แล้ว พนักงานขายรถบอกเราว่า รถยนต์คันนี้เพิ่งผ่านการใช้งานไม่นาน เจ้าของไปนอก สภาพเหมือนใหม่ แต่เขาไม่ได้บอกเราว่า รถคันนี้เคยจมน้ำหรือชนจนเสียหายยับเยิน เพราะอยากขายรถให้เราให้ได้ แบบนี้เป็นการโกหกประเภทที่เรียกว่า การโกหกด้วยการละเว้น หรือ
หลายคนใฝ่ฝันอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ตัวเองอยู่ องค์กรหรือบริษัทของตัวเอง แต่การเปลี่ยนแปลงหลายคนรู้ว่ามันมีอุปสรรค์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน หรือ ระบบต่างๆ วันนี้ UNLOCKMEN เลยอยากพาทุกคนไปดูกันว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change leadership) ที่ดี คืออะไร และการเปลี่ยนแปลงที่ดี ควรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง คุณสมบัติของผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง ผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง (change leadership) คือ ผู้นำที่มีความสามารถในการสื่อสารกับคนในองค์กร เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงให้ได้มากที่สุด พวกเขาควรมีความสามารถในการอธิบายเหตุผลที่มีความน่าสนใจมากพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และยังต้องมีความสามารถในการเรียกร้องให้คนทั้งองค์กรลงมือทำในสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งต้องมี แพสชั่น ความคงเส้นคงวา ความน่าเชื่อถือ และวิสัยทัศน์ อันเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความน่าเชื่อถือ พร้อมกับทักษะในการหาเสียงสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และทำลายกำแพงของคนในองค์กรได้ พวกเขายังต้องทำให้คนในองค์กรต่อต้านการเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด และมีความสามารถในการสร้างหรือพัฒนาระบบและโครงสร้างองค์กรที่จำเป็นในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการเปลี่ยนแปลงได้ด้วย พวกเขาจะต้องรู้ว่าใครเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก (key stakeholders) พร้อมมีกลยุทธ์เพื่อให้ได้เสียงสนับสนุน เพื่อให้เป็นแรงผลักดันในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางความคิดของคนในองค์กร และทำให้เกิดการลงมือทำในสิ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อไป นอกจากนี้ พวกเขายังต้องสามารถจัดการกับทรัพยากรที่มีความจำเป็นในการสร้างความเปลี่ยนแปลง มีความสามารถในการประยุกต์และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดำเนินแผนการเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในเวลาและต้นทุนที่กำหนด ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพจะช่วยองค์กรได้อย่างไรบ้าง ? การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ช่วยให้องค์กรสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่เราก็ต้องยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงองค์กรก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะคนเรามักรู้สึกไม่สบายใจที่จะเปลี่ยนแปลง