ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ ทำให้ใครหลายคนวิตกจริตและใช้ชีวิตอย่างไม่เป็นสุขไปตาม ๆ กัน ไหนจะต้องหมั่นขัดถูมือจนแทบถลอก ใส่หน้ากากอนามัยจนปวดใบหู หรือกักเก็บตัวอยู่ในบ้านหลายสิบวันอย่างหดหู่โดยที่ไม่ได้ออกไปไหน ความรู้สึกที่ต้องหมกตัวอุดอู้อยู่ในพื้นที่แคบ ๆ ทุกวี่วันไม่ได้ทำให้คุ้นชินแต่อย่างใด หากทำให้ผู้คนเริ่มโหยหาการออกไปข้างนอก การเดินทางไกล และอยากหนีห่างจากบ้านที่ผูกพันธนาการพวกเขาเอาไว้ในช่วงที่ไวรัสระบาดหนักเช่นนี้ แม้แต่ประเทศเยอรมนีที่ดูจะจัดการวิกฤติโคโรนาไวรัสครั้งนี้ได้ดีกว่าบ้านเราและนานาประเทศ ก็ไม่อาจละความรู้สึกโหยหาที่จะออกเดินทางไปไหนไกล ๆ ได้ แถมชาวเยอรมันยังรู้สึกว่าตนติดอยู่ในบ้านนานและอาจนานเกินไป ยิ่งมาตรการกักตัวเข้มข้นรุนแรงมากเท่าไร ยิ่งทำให้ความปรารถนาที่จะออกไปไหนไกล ๆ ทวีขึ้นมากเท่านั้น พลังแห่งความโหยหาของชาวเยอรมันจึงเริ่มแทรกซึมไปในแทบทุกแคว้นของประเทศ จนคำศัพท์ “Fernweh” ซึ่งนิยามถึงความโหยหาที่จะเดินทางไกลถูกนำกลับมาพูดใหม่ในยุคนี้อีกครั้ง ความโหยหาที่จะเดินทางไปให้ไกลสุดลูกหูลูกตา Fernweh (แฟรน-เวฮ์) เป็นคำนามภาษาเยอรมันที่เคยปรากฏในหนังสือภาษาอังกฤษ ‘The Basis of Social Relation’ ของ Daniel Garrison Brinton ผู้เขียนอธิบายคำนี้ว่าเป็นความปรารถนาสุดลึกซึ้งหรือความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวอันเนื่องมาจากระยะทางไกล ในภาษาอังกฤษจึงถอดความหมายออกมาเป็น “Distance Sickening” หรือ “Far Woe” ทว่า Christiane Alsop อธิบายถึง Fernweh ในบทความวิชาการเรื่อง Home
ถ้าเลือกได้ เราเชื่อว่าไม่มีใครต้องการให้ชีวิตตกอยู่ในสถานการณ์อันยากลำบาก แต่เพราะชีวิตไม่ได้อยู่ในมือเราเสมอไป เราจึงต้องเผชิญสิ่งที่ไม่เป็นไปอย่างใจหวัง โดยเฉพาะห้วงเวลาที่วิกฤตไวรัสส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ต่อความเครียด และสภาพเศรษฐกิจ UNLOCKMEN เข้าใจดีว่าทุกคนกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญ เราเองก็อยากอยู่ตรงนี้ข้าง ๆ คุณเพื่อบอกว่าต่อให้ “ชีวิตมันเศร้า แต่เราจะไม่ยอมแพ้” เราจะผ่านมันไปด้วยกัน และถ้าแค่คำพูดมันไม่เพียงพอ เราอยากชวนดูหนัง 5 เรื่องที่จะให้เข้าใจความหมายของการ “ไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา” เพราะเหนือสิ่งอื่นใด ในบางชั่วขณะของชีวิต เราต้องหาบ่อน้ำแห่งความหวังมาปลอบโยนหัวใจที่กำลังเหนื่อยล้าไว้บ้าง และเราหวังว่าหนัง 5 เรื่องนี้จะช่วยให้หัวใจของทุกคนมีเรี่ยวมีแรงขึ้นมาได้บ้าง Unbroken ถ้าคุณเชื่อว่าชีวิตคือกราฟ ลงสุด และขึ้นสุดได้จากการไม่ยอมแพ้เพียงหนึ่งครั้ง คุณอาจต้องคิดใหม่ Unbroken คือหนังที่สร้างจากเค้าโครงชีวิตของหลุยส์ ลูอี้ แซมเพอรินี มนุษย์ผู้เริ่มจากศูนย์ พุ่งทะยานสู่จุดสูงสุด ก่อนจะร่วงหล่น ทุกข์ทรมาน แล้วทะยานขึ้นไปได้ใหม่ เพราะหัวใจนักสู้ของเขาที่ไม่เคยหมดหวังที่จะก้าวสู่วันที่ดีกว่า หนังเล่าเรื่องราวของ หลุยส์ ลูอี้ แซมเพอรินี ตั้งแต่วัยเด็กที่มีพื้นเพเป็นผู้อพยพ และใช้ชีวิตแบบไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ลักเล็กขโมยน้อย จนกระทั่งเขาพบความฝันยิ่งใหญ่แห่งชีวิตคือการเป็นนักวิ่งลมกรด เขาไม่ฝันเปล่า ๆ แต่พยายามและไม่ยอมแพ้ จนเป็นนักกีฬาโอลิมปิกที่คว้าชัยชนะและทำให้ผู้คนทั่วโลกประหลาดใจในความสามารถเขามาแล้ว แต่กราฟชีวิตที่พุ่งสูงไม่ได้การันตีว่าชีวิตจะมีความสุขตลอดไปเช่นในนิทาน
ถ้าใครเป็นแฟนคลับแอนิเมชันจากเกาะญี่ปุ่นเราเชื่อว่าจะต้องรู้จักสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) ค่ายหนังแอนิเมชันของญี่ปุ่นที่ผลิตผลงานอันเป็นเอกลักษณ์และได้รับความนิยมในไทยมาตั้งแต่ยุค 90 แถมสมัยก่อนถ้าใครอยากจะดูผลงานของค่ายนี้ก็จะต้องมุดหาดูใต้ดินแบบผิดกฎหมาย ดูวิดีโอเถื่อน แผ่นซีดีเถื่อน เพราะไม่มีใครซื้อมาฉายแบบถูกลิขสิทธิ์สักที แอนิเมชันของสตูดิโอจิบลิมักมีเนื้อหาสะท้อนสังคม ชวนให้ตั้งคำถามถึงศีลธรรมกับจิตใจอันยากจะเดาได้ของมนุษย์ บอกเล่าเรื่องราวผ่านลายเส้นน่ารัก ๆ ที่ซ่อนเนื้อหาหนักเอาไว้ได้อย่างแนบเนียน ด้วยเนื้อหา การเล่าเรื่อง ลายเส้น และดนตรีประกอบกลมกล่อมจนสามารถคว้ารางวัลใหญ่ของวงการภาพยนตร์อย่างออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยมมาครองได้ หลังจากมุดใต้ดินกันมานาน ในที่สุดแอนิเมชันของสตูดิโอจิบลิก็ก้าวขึ้นสู่วัฒนธรรมกระแสหลักอย่างเต็มตัว ปัจจุบันเราสามารถดูผลงานของสตูดิโอจิบลิในโรงภาพยนตร์ ดูผ่านระบบสตรีมมิงชื่อดังอย่าง Netflix ที่ในตอนนี้ขนแอนิเมชันกว่า 21 เรื่อง แบ่งปล่อย 3 เดือนติดกัน เริ่มจากวันแรกของเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2020 ให้แฟนหนังได้เลือกดูเรื่องที่ชอบกันจนตาแฉะ UNLOCKMEN ได้รวบรวมรายชื่อแอนิเมชันทั้งหมด 21 เรื่อง พร้อมกับเรื่องย่อของแต่ละเรื่องมาให้คนอยู่บ้านเหงา ๆ เลือกดูกัน บางคนอยากนั่งดูแบบอมยิ้ม ดูแล้วคิดถึงรักครั้งแรก บางคนอยากร้องไห้จนตาบวม หรือบางคนอยากสัมผัสความเหงาหว่อง ก็เลือกกันตามสไตล์ที่อยากดูได้เลยครับ 1 FEBRUARY 2020 PORCO ROSSO (1992)
หากใครได้เรียนประวัติศาสตร์หรือดูภาพยนตร์ต่างประเทศอยู่บ่อย ๆ จะต้องเห็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่คนผิวดำเจอมาตลอด เราเห็นการเหยียดสีผิวผ่านหนัง ได้ยินเรื่องเล่าการเดินทางอันแสนทรหดของทาสที่ถูกล่าอาณานิคม และสุดท้ายก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่ออิสรภาพที่ทำให้รู้ว่าคนผิวดำถูกพวกคนขาวกดขี่มาตลอด ภาพยนตร์ที่เราดูมักมีเรื่องราวจากโลกคู่ขนาน เห็นง่าย ๆ จากหนังซูเปอร์ฮีโร่ Marvel มีมหานครนิวยอร์กเหมือนโลกแห่งความจริง มีระบบการปกครองไม่ผิดเพี้ยนจากเรา ต่างก็เพียงมียอดมนุษย์คอยพิทักษ์โลก มีมนุษย์ต่างดาวจ้องทำลายล้างโลก และมีชาวแอฟริกันผู้กุมเทคโนโลยีล้ำยุคหลบซ่อนอยู่ในเมืองลับแลไกลจากสายตาของชาวโลก UNLOCKMEN เจอซีรีส์ที่มีเนื้อเรื่องน่าสนใจไม่น้อย โดย Noughts + Crosses (2020) ดัดแปลงมาจากนวนิยายชุด Noughts & Crosses ของ Malorie Blackmen ที่ขอให้ผู้ชมลืมประวัติศาสตร์แบบเดิมที่เคยร่ำเรียนกันมาให้หมดสิ้น เพราะเรื่องราวของโลกในนี้จะถูกเขียนโดยคนแอฟริกันพื้นเมืองที่ได้เปรียบทางด้านกำลังคน การศึกษา และเทคโนโลยีที่เหนือกว่าพวกคนขาว ชาวผิวดำเข้มแข็งจนสามารถล่าอาณานิคมคนขาวยึดยุโรปให้อยู่ภายใต้การดูแลของตัวเองได้สำเร็จ โลกอีกใบคนขาวกลายเป็นทาสแรงงาน ถูกเหยียดหยามโดนกดภายใต้คนผิวดำ เรื่องราวในซีรีส์จะเล่าว่าคนแอฟริกันครองโลกมานับร้อยปี และสังคมปัจจุบันได้เลิกทาสไปเรียบร้อยแล้ว แม้กฎหมายแรงงานไม่เป็นธรรมจะถูกลบไปจากหน้าประวัติศาสตร์ แต่การเหยียดผิว ความไม่เท่าเทียม การแบ่งแยกชนชั้นด้วยสีผิวก็ยังคงอยู่ เราจะเห็นเด็กเสิร์ฟในงานรื่นเริง คนงาน คนสวน พลทหารชั้นผู้น้อยล้วนเป็นคนขาว ส่วนผู้ดีมีการศึกษาหรือทหารยศนายพลล้วนเป็นชาวแอฟริกัน ชาวพื้นเมืองของอังกฤษในโลก Noughts + Crosses จะถูกเรียกว่า Noughts ไม่ได้ถูกเรียกว่า ‘ผู้ดีอังกฤษ’ เหมือนโลกของผู้ชม
เรือนจำคือสถานที่ไม่น่าอภิรมย์ ไร้อิสรภาพ ต้องถูกจองจำอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิต ไม่ว่ายุคสมัยไหนคุกก็ไม่ใช่สิ่งดี คนส่วนใหญ่ถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากก้าวเท้าเข้าไปในสถานที่ที่มีแต่ความทุกข์และความตึงเครียด แถมเรื่องราวชีวิตของคนคุกก็ถูกถ่ายทอดออกมาให้เห็นอยู่บ่อยครั้งผ่านสารคดี ซีรีส์ และภาพยนตร์ แต่เราเชื่อว่าคงไม่มีใครเคยทำหนังเรือนจำแนวตั้งที่แบ่งแยกชนชั้นแบบสุดโต่งอย่างเรื่อง The Platform (2020) THE PLATFORM The Platform (2020) ภาพยนตร์สัญชาติสเปนที่จะฉายทาง Netflix เล่าเรื่องราวของคุกไม่ซ้ำใคร ผ่านชายหนุ่มคนหนึ่งผู้ตื่นขึ้นมาในสถานที่ประหลาดมีแต่กำแพงสีเทา ไร้ประตู ไร้หน้าต่าง ไม่มีทางออก มีเพียงช่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เป็นรูอยู่กลางห้อง และชายแปลกหน้านั่งหมดอาลัยตายอยากอยู่อีกฝั่งของห้อง จนเขาได้รู้ว่าตัวเองอยู่ในคุกประหลาดสูง 33 ชั้น ที่จะแบ่งนักโทษออกเป็นห้องละ 2 คน โลกของ The Platform อาจไม่เหมือนกับโลกที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน มันอาจโหดร้ายกว่า บิดเบี้ยวกว่า ดูได้จากระบบการจัดการเรือนจำที่ตัวเอกของเรื่องฟื้นขึ้นมา รูสี่เหลี่ยมตรงกลางห้องไม่ได้มีไว้เท่ ๆ หรือมีไว้ระบายอากาศเท่านั้น แต่เป็นช่องสำหรับขนส่งอาหารจำนวนมากมีทั้งคาวหวานและเหล้าชั้นเยี่ยมให้นักโทษได้ลิ้มรส แต่การกินนั้นแฝงไปด้วยความอยุติธรรม เพราะคนชั้นบน ๆ จะได้กินก่อน มีสิทธิเลือกอาหารที่ตัวเองอยากกินตามต้องการ จากนั้นไล่ระดับลงมาเรื่อย ๆ และคนอยู่ชั้นล่าง ๆ ก็ต้องกินของเหลือจากนักโทษชั้นสูงกว่า และในบางครั้งก็แทบไม่เหลืออะไรให้นักโทษชั้นล่างกินด้วยซ้ำ
ถ้าใครตามข่าวสังคมการเมืองอยู่ตลอดคงไม่พลาดข่าวเรื่อง 1MDB กันอย่างแน่นอน และทันทีที่เรื่องราวของกองทุนนี้ถูกจับจ้องจากทั่วโลก เราก็มีข่าวเกี่ยวกับ 1MDB ให้ตามอ่านไม่รู้จบ จนบางคนอาจสับสน ยิ่งอ่านยิ่งไม่เข้าใจ เราจึงอยากแนะนำภาพยนตร์สารคดีเรื่องหนึ่งที่อาจทำให้เรารู้จักกับกองทุนฉาวโลกของประเทศมาเลเซียกันมากขึ้น แถมยังเป็นแบบย่อยง่ายกว่าการอ่านข่าวจากสำนักข่าว “โจราธิปไตย” การโกงชาติครั้งใหญ่ของชนชั้นปกครอง ภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องกองทุน 1MDB หรือ 1Malaysia Development Berhad มีชื่อว่า The Kleptocrats (2018) แปลเป็นภาษาไทยอย่างตรงตัวว่า “โจราธิปไตย” การฉ้อราษฎร์บังหลวงของนักการเมือง ผู้มีอำนาจ และเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อเพิ่มทรัพย์สินและอำนาจให้ตัวเอง โดยแสร้งว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นคือความสุจริตเพื่อประชาชน ซึ่งโจราธิปไตยนี้มักปรากฏขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่ถูกปกครองโดยระบบอำนาจนิยม เรื่องราวสุดอื้อฉาวของกองทุนความมั่นคงแห่งชาติของประเทศมาเลเซียที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 โดยรัฐบาลของนาจิบ ราซัก และกระทรวงการคลังคอยกำกับดูแล วัตถุประสงค์ของการตั้งกองทุนนี้คือเพื่อนำเงินมาพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศระยะยาว ทุ่มเงินไปกับอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจพลังงาน การท่องเที่ยวเพื่อสร้างกำไรกลับสู่ประเทศชาติ เดิมทีกองทุน 1MDB มีเงินตั้งต้นเพียง 7.5 ล้านบาท จากการกู้ยืมเงินของต่างประเทศโดยต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับประเทศเจ้าหนี้ แต่ตั้งมาเพียง 5 ปี กองทุนกลับมีเงินติดลบกว่า 5 พันล้านบาท โดยเหตุผลที่ทางรัฐบาลบอกกับประชาชนคือเพราะภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับต่างประเทศ ความไม่ชอบมาพากลนี้ทำให้หนังสือพิมพ์ชื่อดังของโลกอย่าง The
ถ้าพูดถึงมังงะเรื่อง Rurouni Kenshin หรือชื่อภาษาไทยคุ้นตาอย่าง “ซามูไรพเนจร” เด็กผู้ชายส่วนใหญ่ก็ต้องร้องอ๋อกันแน่นอน เพราะผลงานจากปลายปากกาของอาจารย์วาสึกิ โนบุฮิโระ (Watsuki Nobuhiro) สามารถเข้าไปเป็นมังงะในดวงใจของใครหลายคนได้ง่ายดาย แถมยังโด่งดังจนถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ฉบับคนแสดงไปแล้วเมื่อปี 2012 ล่าสุดมีประกาศอัปเดตว่าเรื่องราวของโรนินจะถูกสร้างเป็นหนังอีกครั้งแถมยังวางกำหนดฉายออกมาสองภาคในปีเดียวอีกด้วย ก่อนจะมาเป็นภาพยนตร์แอกชันดวลเพลงดาบ แรกเริ่มเดิมทีซามูไรพเนจรเป็นมังงะที่เขียนลงในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ Shonen Jump มาตั้งแต่ปี 1994 -1999 สามารถต่อยอดกลายเป็นแอนิเมชันออกฉายทางโทรทัศน์ญี่ปุ่นในปี 1996 พร้อมกับการเติบโตทั้งยอดขายและความนิยมจนสามารถมีภาพยนตร์ฉบับคนแสดงออกมาให้เราได้ดูกันเป็นครั้งในปี 2012 ตอนนี้ซามูไรพเนจรฉบับคนแสดงกลับมาอีกครั้งในปี 2020 โดยนำเรื่องราวจากตอน ‘ทัณฑ์มนุษย์ (Jinchu)’ ซึ่งเป็นพาร์ตสุดท้ายจากฉบับมังงะมาเล่าเรื่อง เผยให้เห็นการเผชิญหน้ากันระหว่างรูโรนิ เคนชิน (Rurouni Kenshin) อดีตซามูไรที่รับงานเป็นมือสังหาร กับ เอนิชิ โยกิชิโระ (Enishi Yukishiro) ศัตรูผู้แข็งแกร่งที่สุดของเคนชิน พวกเขามีปมแค้นกันมาก่อนและรอวันที่จะได้ฟาดฟันวิชาดาบใส่กัน ซามูไรพเนจรทั้งสองภาคที่เตรียมฉายในปี 2020 ไม่เพียงแต่ทำให้บอสใหญ่มาเจอกับตัวเอกของเรื่อง แต่ยังเล่าย้อนกลับไปยังช่วงที่เคนชินยังทำงานรับจ้างฆ่าคน เฉลยปมชีวิตว่าเขาไปได้บาดแผลใหญ่บนใบหน้ามาจากไหน และเพราะเหตุใดนักฆ่าสุดฝีมือเยี่ยมอย่างเขาถึงยอมทิ้งทุกอย่างและหันหลังให้กับวงการ ซาโต้ ทาเครุ (Satoh Takeru) กลับมารับบทเป็นรูโรนิน เคนชิน (Rurouni Kenshin) อีกครั้ง
เราสามารถเรียกบุรุษผู้ข่มเหงสตรีเหมือนพวกเธอเป็นเครื่องระบายอารมณ์ทางเพศว่ากษัตริย์ที่ดีได้หรือไม่? ก็อาจจะได้ แต่ถ้าชายคนเดียวกันนี้หมกมุ่นกับความแค้น พังสุสานของย่า ขูดรีดประชาชน ไม่ว่างานราชการมัวแต่เมาเหล้า ดูละคร ร้องเพลงกับสาวสวย ขอถามอีกครั้งว่าเรายังจะเรียกเขาว่ากษัตริย์ที่ดีได้อีกหรือไม่? มาหาคำตอบไปพร้อมกันในภาพยนตร์เรื่อง The Treacherous (2015) The Treacherous (2015) ภาพยนตร์ที่ถูกจัดระดับไว้ 18+ อัดแน่นเรื่องเพศและความรุนแรงหากใครอายุยังไม่ถึงควรได้รับคำแนะนำ โดยหนังดำเนินเรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์เกาหลีใต้ยุคโชซอนสมัยพระเจ้ายองซันผู้ครองราชย์ในเวลาสั้น ๆ คาบเกี่ยวกับต้นเรื่องของซีรีส์แดจังกึม พระเจ้ายองซันเป็นเด็กมีปมชีวิต แม่ของเขาถูกเสด็จย่าสั่งประหารชีวิต (เพราะทำความผิดร้ายแรง) แต่หลานชายเติบโตขึ้นกลับแค้นย่าที่สั่งฆ่าแม่ตัวเองโดยไม่สนใจว่าแม่ทำผิดร้ายแรงจนราชวงศ์เกือบล่มสลาย แม้เวลาที่ย่าจากไป เขายังไปป่วนหลุมศพของคนตาย ตามสั่งเก็บผู้เกี่ยวข้องรู้เห็นเหตุการณ์ทั้งหมด แถมเรื่องฉาวเหล่านี้ยังได้รับการบันทึกไว้ทำให้นักประวัติศาสตร์เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “การสังหารหมู่นักปราชญ์ปีมูโอ” เมื่อกำจัดเสี้ยนหนามตำใจจนหมดสิ้น พระองค์เริ่มทำให้รั้ววังปั่นป่วนอีกครั้งด้วยนำ ‘กีแซง’ หญิงสาวที่มีหน้าที่ให้ความบันเทิงของผู้ชายเข้ามาในราชวัง แต่งตั้งให้เธอเป็นพระสนม ถือเป็นเรื่องผิดแปลกจากธรรมเนียมเดิมที่สืบทอดกันมายาวนาน และมีกิจกรรมโปรดน่าสนใจอย่างการจัดปาร์ตี้เซ็กซ์อยู่บ่อยครั้ง เมื่อกษัตริย์ไม่ทำงาน ระบบการปกครองกับอำนาจทางการเมืองทั้งหมดตกไปอยู่กับขุนนาง ส่วนราชาใช้ชีวิตสำราญได้เต็มที่เท่าใจต้องการ The Treacherous พาเราไปเจอมุมมองของชนชั้นปกครอง มองเห็นผ่านมุมมองขุนนางจากลูกชายของมหาเสนาบดีมีงานหลักรับใช้พระราชาด้วยการจัดหาสาวงามวัยแรกแย้มเข้าวังมาปรนเปรอ และมุมมองของฝ่ายผู้เสียอำนาจที่โดนพระเจ้ายองซันสั่งฆ่าล้างตระกูลจนอยากแก้แค้นให้กษัตริย์รับผิดชอบกับสิ่งที่ตัวเองเคยทำไว้ The Treacherous นำเสนอมุมมืดของราชวงศ์ควบคู่ไปกับฉากเซ็กซ์บ้าคลั่งวาบหวิว ความวิปริตทางเพศของชายที่ขึ้นชื่อว่าเป็นราชา ผูกปมความแค้นการถูกกดขี่ของกลุ่มขุนนางและประชาชนได้น่าประทับใจ ถือว่าเป็นภาพยนตร์ติดเรตที่มีเนื้อหาเข้มข้นน่าสนใจไม่แพ้ฉากอย่างว่าที่มีมาให้เห็นตลอดทั้งเรื่อง จนหนุ่ม ๆ บางคนดูแล้วยังบอกเลยว่าแม้ฉากเซ็กซ์น่าสนใจมาก แต่เนื้อเรื่องมันเข้มข้นมากจนเผลอลืมไปเลยว่าตอนแรกตั้งใจจะดูหนังเรื่องนี้เพราะ
หากพูดถึงสื่อความบันเทิงของญี่ปุ่นในมุมมองคนไทยคนส่วนใหญ่ ผู้คนมักนึกถึงแอนิเมชัน มังงะ บ้างก็กระโดดไปยังวงการเพลงทั้ง J-ROCK และไอดอลญี่ปุ่นกันเสียมากกว่า เพราะหลายคนมักมองว่าภาพยนตร์ญี่ปุ่นอาจมีสไตล์บางอย่างที่ไม่คลิกกับคนไทยส่วนใหญ่เท่าไรนัก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านภาษา กิริยาท่าทาง แอกชัน หรืออะไรก็ตามที่ทำให้วงการภาพยนตร์ญี่ปุ่นไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในวงนักดูหนังไทยกว้างเท่าซีรีส์เกาหลีหรือภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ แต่ก็ใช่ว่าเราจะนำมาตัดสินว่าไม่ดังแล้วจะไม่ดีหรือไร้คุณภาพได้ วงการภาพยนตร์ญี่ปุ่นเคยสร้างตำนานต่อโลกมาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งผลงานหลายเรื่องของผู้กำกับระดับตำนาน Kurosawa Akira (คุโรซาวะ อากิระ) กับเรื่อง Rashomon (1950) และ 7 Samurai (1954) ล้วนส่งให้เขาคว้ารางวัลอันทรงเกียรติอย่างรางวัลความสำเร็จตลอดช่วงชีวิตจากเวทีออสการ์ได้สำเร็จ หรือผลงานดราม่าโคตรสะเทือนใจของ Koreeda Hirokazu (โคเรเอดะ ฮิโรคาสุ) ที่ทำหนังออกมาทีไรก็คว้ารางวัลใหญ่จากเทศกาลหนังเมืองคานส์อยู่เป็นประจำ จึงทำให้ UNLOCKMEN มั่นใจว่าช่วงนี้จะต้องมีหนังญี่ปุ่นน้ำดีออกมาให้เราได้ดูกันอย่างแน่นอน การเล่าเรื่องอันเป็นเอกลักษณ์ของภาพยนตร์ญี่ปุ่นทำให้คนที่ไม่รู้จักวงการหนังญี่ปุ่นมาก่อนเริ่มให้ความสนใจและ สำหรับประเทศไทยในปีนี้พวกเรามีโอกาสรับชมผลงานที่ยอดเยี่ยมทั้งหมด 14 เรื่อง จากงาน Japanese Film Festival 2020 กันอีกครั้ง UNLOCKMEN จึงคัดเลือกภาพยนตร์ 5 เรื่องในงานนี้มาเล่าสู่กันฟัง แนะนำให้ชาวเราได้พิจารณาดูว่าหนังเรื่องไหนน่าสนใจและอยากจะไปชมให้เต็มตาในโรงภาพยนตร์ THE FABLE The Fable
เป็นปกติที่ชีวิตมีทั้งวันที่ไฟลุกโชน พาให้เราลุกขึ้นไปทำอะไรหลายอย่าง แบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และวันที่ไฟนั้นมันมอดลง เราเหนื่อย เราท้อ เรามองไปข้างหน้าเหมือนกับมันไม่มีความหวัง สถานการณ์รอบข้างทำให้เราอยากยอมแพ้ต่อชีวิต หากกำลังมีวันแบบนั้น UNLOCKMEN อยากชวนมาเติมไฟให้ลุกโชนอีกครั้งกับ 5 หนัง Feel Good ที่จะช่วยให้ก้าวผ่านวันแย่ ๆ ไปกับหนังที่เราคัดมาให้ ลิสต์นี้ไม่ได้เป็นการจัดอันดับหนังดีใจดวงใจ ไม่ต้องน้อยใจว่าทำไมถึงไม่มีเรื่องโปรดของคุณ เพราะนี่คือการแลกเปลี่ยนหนังกันดู เหมือนเพื่อนคุยกันเท่านั้นเอง อย่าได้โวยวายกันไปว่าหนังแนวนี้ต้องอันนี้เท่านั้น ย้ำอีกที ว่านี่ไม่ใช่การจัดอันดับ Almost Famous (2000) Director : Cameron Crowe หนัง Coming of age ที่ไม่ได้ราบรื่นสวยงามเท่าไหร่นัก เรื่องราวของเด็กหนุ่มวัย 15 ปี ที่หลงเข้ามาในวังวนของเพลงร็อกแอนด์โรล จนคันไม้คันมืออยากจะเขียนข่าวดนตรี จับพลัดจับผลูได้เขียนให้กับนิตยสาร Rolling Stone g เรื่องการตามติดชีวิตนักดนตรีกลุ่มหนึ่ง ซึ่งการติดต่องานนี้ทั้งหมดนั้นผ่านทางโทรศัพท์ สกู๊ปข่าวนี้จึงอยู่ในมือของเด็กหนุ่ม 15 ปีเท่านั้น จากเพลงร็อกแอนด์โรลที่เขาหลงใหล พอได้มาใช้ชีวิตกับพวกเขาในการทำสกู๊ปจริง ๆ ทำให้เราได้เห็นนักดนตรีในดวงใจของพวกเขาในหลายด้าน ด้านการเป็นนักดนตรีบนเวที