ในทุกวงการมักจะมีศัพท์เฉพาะโผล่ออกมา เรียกความสับสนให้ Newbie อย่างมาก พวกหน้าใหม่เลยต้องค่อย ๆ แกะรอยกันไป จนกว่าจะรู้ความหมายและเอาไปโม้กับคนอื่นได้แบบไม่เสียหน้า อย่างในวงการภาพยนตร์เองก็มีสารพัดคำอยู่เหมือนกัน UNLOCKMEN พามาทำความรู้จักกับคำเหล่านี้ที่เป็นคำยอดฮิตอย่าง TEASER กับ TRAILER และ REMAKE กับ REBOOT แกะรอยความแตกต่างและนำไปใช้ให้ถูกแบบไม่ปล่อยไก่ให้เสียหน้า TEASER กับ TRAILER ก่อนจะไปชี้ความแตกต่างกันแบบเป็นข้อ ๆ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าแต่ละอย่างมันคืออะไรกันบ้าง TEASER เป็นการเรียกน้ำย่อยได้แบบกระตุกต่อมเอามาก ๆ เพราะมันคือการเอาซีนเด่น ๆ ที่เป็น Hilight ในเรื่องมาวางแบบ ปั้ง! ปั้ง! ปั้ง! เน้นความอลังการ ความสวยงาม ของ Visuals และ Production แทรกด้วยวลีสั้น ๆ จากตัวละคร หรืออะไรที่รู้ว่าจะ Impact กับคนดู มาใส่แบบไม่เรียงลำดับเรื่องราว และไม่เปิดเผยเนื้อเรื่อง ความยาวของมันจึงมีน้อยนิด ส่วนมากจะไม่เกินหนึ่งนาที ซึ่งเจ้า Teaser เนี่ย มักจะถูกปล่อยออกมาก่อน TRAILER
เป็นเรื่องปกติเมื่อเราได้ดูภาพยนตร์ที่ชอบ หรือสไตล์หนังที่ใช่และโดนใจ บางครั้งก็เผลอจินตนาการว่าเราคือตัวละครในหนังเรื่องโปรดและใช้ตัวละครมาเป็นแรงบันดาลใจในการทำอะไรบางอย่าง แต่น่าเสียดายที่บางครั้งการทำตามตัวละครจากหนังเรื่องโปรดก็ก่อให้เกิดเรื่องราวไม่คาดคิดขึ้น UNLOCKMEN จึงจะพาไปดูเหล่าผู้คนที่ดูหนังจบแต่อารมณ์ยังค้างจนเกิดการเลียนแบบและได้รับผลเลวร้ายที่จบไม่สวยเหมือนอย่างในหนัง Into The Wild (2007) Into The Wild คือภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องของ Chris McCandless เด็กหนุ่มวัย 23 ปี ที่ทิ้งทุกอย่างเพื่อออกเดินทางไปยังอลาสก้า ค้นหาตัวเองและตามล่าหาความฝันเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความหมายของชีวิต ปลดเปลื้องทุกอย่างเพื่อเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่าอิสรภาพและเสรีภาพ ภาพยนตร์สุดแนวของผู้กำกับ Sean Penn จาก I am Sam ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือนิยายขายดี ต่อมาในปี 2013 โจนาธาน คลูม ดูหนังเรื่องนี้แล้วต้องการออกค้นหาตัวเองเหมือนที่ Chris McCandless ทำ เขาจึงเลือกทิ้งชีวิตไว้ข้างหลัง พร้อมออกเดินทางไปยังตะวันตกเฉียงเหนือของแปซิฟิก ทั้งที่มีประสบการณ์การตั้งแคมป์อันน้อยนิดและไม่เคยออกนอกพื้นที่รัฐแอริโซนาซึ่งเป็นบ้านเกิดมาก่อน ในที่สุดเด็กหนุ่มโจนาธานก็ตัดสินใจออกจากบ้านไปโดยไม่บอกใคร ทำให้ครอบครัวต้องแจ้งให้ตำรวจในเมือง Riddle ออกตามหา ซึ่งตำรวจพบเพียงรถที่โจนาธานขับออกมาจากบ้าน และภายในรถมีกระเป๋าสตางค์แต่กลับไม่พบตัวของเขา อีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมาตำรวจได้พบศพของโจนาธานในป่าห่างจากจุดที่เจอรถยนต์เพียงแค่ 1,000 ฟุตเท่านั้น และเจ้าหน้าที่คาดว่าน่าจะเป็นการฆ่าตัวตายมากกว่าการฆาตกรรมเพื่อชิงทรัพย์ จบเรื่องราวการเดินทางค้นหาตัวเองของโจนาธานไปด้วยความเศร้าของครอบครัว Pirates
ในหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากมีคนเห็นเรื่องราวนั้นสักสิบคน มันก็จะมีสิบมุมมองที่มีต่อเหตุการณ์นั้น แม้จะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่การที่มันถูกมองแล้วเล่าเรื่องออกมาจากใครสักคนเนี่ย มันอาจจะทำให้เรื่องนั้นจากแต่ละคน ไม่เหมือนกันเลยก็ได้ ในวงการภาพยนตร์ การเล่าเรื่องมันมีหลายแบบเอามาก ๆ ที่ฮิต ๆ ก็คือผ่านมุมมองคนนอกและผ่านตัวละคร แต่วันนี้เราอยากแนะนำการเล่าเรื่องในภาพยนตร์เรื่อง “ราโชมอน” ที่เลือกจะเล่าเรื่องราวเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน แต่ผ่านมุมมองของแต่ละตัวคร จึงทำให้เรื่องนั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ซึ่งแต่ก็ละคนก็จะทิ้งคำใบ้ไว้ให้คนดู ได้ไปปะติดปะต่อเรื่องราวกันเอง UNLOCKMEN เลยอยากชวนหนุ่ม ๆ มามองความจริงในมุมที่หลากหลายมากขึ้นกับ 5 หนังที่เล่าเรื่องแบบราโชมอน เพราะว่าความจริงที่เราเห็นนั้น อาจไม่ใช่เรื่องลวง แต่มันอาจเป็นเสี้ยวเดียวของความจริงทั้งหมดก็ได้ Vantage Point (2008) Director: Pete Travis ทุกตัวละคร ต่างอยู่ในเหตุการณ์ลอบลางระเบิดหวังปลิดชีพประธานาธิบดีสหรัฐ ในตอนที่เขาไปออกงาน ณ จตุรัสแห่งหนึ่งในสเปน เรื่องจะเล่าผ่านตัวละครที่หลากหลาย ตั้งแต่เจ้าหน้าที่รัฐ ไปจนชาวบ้านธรรมดาที่ถือ Handy Cam หวังเก็บภาพความประทับใจในงานนี้ แต่ภาพที่เขาบันทึกไว้นั้นกลับมีเบาะแสชัดเจน ที่จะโยงไปถึงตัวคนร้ายได้ และนั่นทำให้ทุกตัวละครเชื่อมโยงกันด้วยเรื่องเล็กน้อยอย่างไม่มีคำว่าบังเอิญ การดำเนินเรื่องแม้จะดูเนือย ๆ ไม่ได้บู๊แหลกอย่างที่เราเดาจากโปสเตอร์กัน แต่ทำออกมาในเชิงสืบสวนมากกว่า แล้วก็ทำได้ดีในระดับหนึ่งเลยล่ะ 11:14 (2003) Director: Greg Marcks นาฬิกาที่เดินอย่างเที่ยงตรง
ใกล้เข้ามาทุกทีสำหรับงานประกาศรางวัลภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Academy Awards ครั้งที่ 91 หรือที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ ‘ออสการ์’ เช่นเดียวกับซีรีส์ 2019 Oscars Predictions ของเราที่ก็ดำเนินมาถึงตอนสุดท้ายแล้ว หลังจากที่ 3 ตอนก่อนหน้านี้เราได้ทำนายผลรางวัลสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม, และผู้กำกับยอดเยี่ยมกันไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวของรางวัลยิ่งใหญ่ที่สุดอย่าง ‘ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม’ กันบ้าง ครั้งนี้ออสการ์ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงออกมาเพียง 8 เรื่องเท่านั้น ไม่ครบโควต้า 10 เรื่อง ซึ่งก็ถือว่าสอดคล้องกับคุณภาพภาพยนตร์ในปีที่ผ่านมา ที่ต้องยอมรับว่าโดยภาพรวมถือว่าต่ำกว่าปีก่อน ๆ อย่างไรก็ตามแต่ละเรื่องต่างก็มีข้อดีและเสน่ห์เป็นของตัวเอง เอาเป็นว่าไปอ่านบทวิเคราะห์และการทำนายของเรากันเลยดีกว่า Vice Directed by Adam McKay Vice คือภาพยนตร์ที่สร้างจากชีวิตจริงของ Dick Cheney อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในยุคประธานาธิบดี George W. Bush กับเรื่องราวการใช้กึ๋นและเล่ห์เหลี่ยมในสนามการเมืองที่คลุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นของผลประโยชน์ ผลงานกำกับของ Adam McKay ผู้กำกับที่เรามักจะพูดเสมอว่าเขามีเทคนิคการเล่าเรื่องแพรวพราว สามารถนำเสนอเรื่องราวที่ดูเคร่งเครียดให้ออกมามีสีสันฉูดฉาดน่าติดตาม อย่างที่เราเคยเห็นใน The Big Short ผลงานเรื่องก่อนของเขา แต่ก็ต้องยอมรับว่าถ้าเทียบกับ The Big Short Vice ถือว่าดูด้อยกว่าพอสมควร เพราะเครดิตครึ่งหนึ่งที่ทำให้ Vice กลายเป็นหนังที่ดีนั้นต้องยกให้การแปลงโฉมและการแสดงอันยอดเยี่ยมของ Christian Bale ในบท Dick Cheney
Netflix ตอนนี้นอกจากกระแสซีรีส์การเมืองผสมซอมบี้จากเกาหลีอย่าง ‘Kingdom’ แล้ว ซีรีส์อีกหนึ่งเรื่องที่ได้รับความนิยมและถูกพูดถึงไม่แพ้กันเลยก็คือ ‘Conversations with a Killer: The Ted Bundy Tapes’ ซีรีส์เชิงสารคดีที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของ Ted Bundy ฆาตกรต่อเนื่องอันโด่งแห่งสหรัฐอเมริกาในช่วงยุค 70 ไม่ให้โด่งดังได้อย่างไร เพราะช่วงเวลาแค่ 4 ปี (ค.ศ. 1974-1978) Ted Bundy ข่มขืนและฆ่าหญิงสาวทั่วทั้งอเมริกาไปกว่า 30 ราย และนี่แค่เฉพาะรายที่มีหลักฐานเท่านั้น ว่ากันว่าเหยื่อของ Ted จริง ๆ แล้วอาจมีมากกว่า 100 รายด้วยซ้ำ Ted ถือเป็นฆาตรกรต่อเนื่องที่ฉลาดเป็นกรด เขาจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับนักการเมือง แตกต่างกับฆาตกรต่อเนื่องส่วนใหญ่ที่มาจากสภาพสังคมแย่ ๆ ไม่ก็เป็นอาชญากรมาก่อน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกว่าที่ตำรวจจะสามารถจับกุมเขาได้ อย่างไรก็ตามสี่เท้ายังรู้พลาด Ted Bundy ยังรู้พลั้ง ในที่สุดเขาก็หนีความผิดที่ก่อไว้ไม่พ้น หลังจากถูกจับ สิ่งที่ Ted ทำไว้ก็ค่อย ๆ โดนขุดคุ้ยให้ชาวโลกได้รับรู้ แน่นอนว่าทุกคนตื่นตะลึงกับวีรกรรมของ Ted เพราะไม่มีใครคาดคิดว่าภายใต้ใบหน้าหล่อเหลาคมคาย
ซีรีส์แนวสืบสวน อาชญากรรม คงเป็น Category อันดับต้น ๆ ที่ครองใจใครหลายคน หรือแม้แต่เวลาเริ่มดูซีรีส์สักเรื่อง เรามักจะเริ่มจากเรื่องสืบสวนแสนตื่นเต้นกันเสียส่วนใหญ่ เปลี่ยนจากเรื่องราวซีรีส์แบบเดิม ๆ มาระทึกขวัญไปกับเรื่องราวกึ่งสารคดีของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจริงบน NETFLIX ตื่นเต้นไปกับการเล่าเรื่องในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ได้เป็น TV Show ยืนชี้จุดเกิดเหตุแสนน่าเบื่อแบบเดิม ๆ และย้อนกลับมาตระหนักถึงอันตรายรอบตัวที่เกิดขึ้นได้ แม้จะเป็นเหตุการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวันที่เรามองข้ามก็ตาม I Am A Killer ใครที่เป็นสายอาชญากรรม สืบสวนสอบสวน หรือชอบดูหนังซีรีส์แนว Thriller เป็นชีวิตจิตใจ แต่ถ้าดูมันหมดทุกเรื่องจนเบื่อที่จะดูซ้ำไปซ้ำมาแล้ว เราขอแนะนำสารคดีเรื่องนี้ ที่จะนำนักโทษคดีร้ายแรงมาพูดคุยถึงชีวิตของเขา แรงจูงใจที่ก่อเหตุ และเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ ความเจ๋งอยู่ที่สารคดีไม่ได้ทำออกมาให้มันดูดาร์ก ดูหดหู่หรือรุนแรง แต่เป็นสารคดีที่ดูเพลินมากอีกเรื่อง ด้วย Insert ที่บอกเล่าเรื่องราว มากกว่าการผลิตซ้ำภาพความรุนแรงอย่าง คุก เลือด อาวุธ อย่างที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ในละครเรื่องอื่น ง่าย ๆ คือมันคล้าย Mindhunter ในรูปแบบสารคดีนั่นแหละ
เจ้าของใบหน้าทรงเสน่ห์ที่มาพร้อมร้อยยิ้มมุมปากอย่าง “Brad Pitt” ที่กาลเวลาไม่อาจทำอะไรความหล่อเหลาของพี่เขาได้เลย แม้ว่าตอนนี้จะอยู่ในวัย 55 ปีแล้วก็ตาม ไม่ใช่เพียงแค่ Appearance เท่านั้นที่ทำให้เขาก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ใหญ่ของวงการฮอลลีวูด แต่การแสดงและบทบาทที่ได้รับ ยิ่งเป็นคำตอบของศักยภาพที่มีในตัวเขาได้แบบไม่มีข้อกังขา อย่างที่เราคุ้นเคยในเรื่อง Fight Club, Se7en และ Inglourious Basterds อันโด่งดัง เขาตีบทดราม่าและยียวนได้แตกกระจุย UNLOCKMEN ชวนหนุ่ม ๆ มาดู 5 หนังดราม่าหลากรส มีทั้งรัก เศร้า แอ็กชั่น Sci-Fi แบบครบรส ก่อนจะไปดูทั้ง 5 เรื่อง ทำความเข้าใจกันก่อนว่า WATCHLIST เป็นคอนเทนต์แบ่งหนังกันดู เหมือนเพื่อนแชร์กัน (จึงจำกัดอยู่ที่จำนวน 5 เรื่อง) ไม่ใช่เป็นการจัดอันดับหนังดีในดวงใจ ไม่จำเป็นต้องน้อยใจหากหนังโปรดในใจของคุณไม่อยู่ในลิสต์นี้ Babel (2006) Director : Alejandro G. Iñárritu เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถูกเอาไปเปรียบเทียบกับ 21 Grams บ่อยมาก ๆ
จากข่าวลือภายใต้โปรเจค Code-named ‘Greenbrier’ ว่าเป็นความเคลื่อนไหวของภาคต่อ Breaking Bad ที่หลายคนลุ้นอยู่หลายสัปดาห์ ตอนนี้มีข่าวดียืนยันชัดเจนว่าอภิมหาซีรีส์กำลังจะกลับมาจริง ในรูปแบบของเนื้องเรื่องตอนเดียวจบความยาว 2 ชั่วโมง ที่แม้ตอนนี้จะไม่แน่ชัดว่าเป็นภาพยนตร์จอใหญ่ หรือซีรีส์ตอนยาว แต่ที่แน่ ๆ มีความน่าตื่นเต้นจากรายชื่อ Casting ว่าจะมีการกลับมาของตัวละครเบอร์ใหญ่ในซีรีส์ทั้ง Walter White (Bryan Cranston), Jesse Pinkman (Aaron Paul), Jane Margolis (Krysten Ritter) หลังหายดีใจที่จะได้เห็น Mr. White กลับมา หลายคนอาจจะดูรายชื่อและเอะใจขึ้นได้ว่า จะกลับมาได้ยังไง ในเมื่อทั้ง Mr. White และ Jane แฟนสาวของ Pinkman ถึงแก่กรรมไปกันหมดแล้วทั้งคู่ ทำให้คาดเดาได้ยากว่าเนื้อเรื่องของ Breaking Bad เวอร์ชั่นล่าสุดจะเป็นอย่างไร ข้อมูลที่ได้จากนักเขียนและผู้สร้าง Vince Gilligan ยืนยันได้เพียงว่าเนื้อเรื่องจะโฟกัสที่ Jesse Pinkman และการหนีเอาตัวรอดไปประเทศ Maxico
“สายลับ” อาชีพที่พูดขึ้นมาก็สัมผัสได้ถึงออร่าความเท่จากไหวพริบที่พาพระเอกของเรารอดพ้นจากช่วงเวลาคับขัน วิ่งหนีจากกับดักด้วยแผนอันแยบยลได้ในทุกที ในภาพยนตร์เกือบทุกเรื่องสายลับเลยต้องมีไหวพริบเป็นอาวุธประจำตัว แต่ใช่ว่าพวกเขาจะปราดเปรื่องแค่เรื่องเอาตัวรอดเท่านั้น เรื่องของ Appearance บุคลิก มารยาท การวางตัว และแฟชั่น ก็ยังเป็นอีกสิ่งที่ภาพยนตร์หลายเรื่องปั้นให้พวกเขาเพียบพร้อมในทั้งสองอย่างนี้ UNLOCKMEN ชวนหนุ่ม ๆ มาแกะรอยความเท่ทั้งภายในและภายนอกของของสายลับตัวจี๊ดที่มาพร้อมมาดเนี้ยบในชุดสูท Three Days of the Condor (1975) Director : Sydney Pollack เรื่องราวจากหนังสือในชื่อ “Six Days of the Condor” แม้จะไม่ได้เป็น Spy ตัวจี๊ดที่มาคู่กับ Gadget เจ๋ง ๆ เหมือนคนอื่น แต่ Turner (Robert Redford) จากเรื่องนี้ดีกรีเป็นถึงเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองแห่งชาติ หรือที่ได้ยินบ่อย ๆ ในชื่อ CIA นั่นแหละ เขามีหน้าที่ขุดคุ้ยความจริงทุกอย่างที่ทำได้ ตามที่ได้รับมอบหมาย แต่แล้ววันหนึ่งเพื่อนร่วมงานของเขากลับโดนเก็บแบบเกลี้ยงไม่เหลือสักคนให้สอบถามเรื่องราว เขาจึงพยายามติดต่อใครสักคนให้พาเขาไปยัง CIA สำนักงานใหญ่เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการตายแสนพิศวงครั้งนี้ แต่เขากลับพบว่า CIA ไม่ได้ส่งคนมาช่วยอย่างที่หวังไว้
มาถึงตอนที่ 3 กันแล้วสำหรับซีรีส์ 2019 Oscars Predictions ซึ่งผลทำนายของเราก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ เพราะ 2 ตอนที่ผ่านมาเราเขียนก่อนที่จะมีการประกาศรายชื่อผู้เข้าชิง ซึ่งทั้ง 2 สาขาเราทำนายพลาดไปแค่สาขาละชื่อเท่านั้น ส่วนผู้ชนะที่เราทำนายไปจะแม่นยำหรือไม่ต้องรอติดตาม (ย้อนอ่านตอนที่ 1-2 ของซีรีส์ 2019 Oscars Predictions ได้ตามลิงก์นี้เลย นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม, นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม) ใน 2 ตอนก่อนหน้าเราได้วิเคราะห์และทำนายผลในสาขานักแสดงไปแล้ว คราวนี้มาถึงอีกหนึ่งสาขาที่สำคัญไม่แพ้กัน ไม่สิ อาจจะสำคัญยิ่งกว่าด้วยซ้ำ เพราะนี่คือรางวัลที่มอบให้ผู้ที่อยู่จุดศุนย์กลางของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงเรื่องราวทั้งหมดเอาไว้ เอาล่ะ ผู้เข้าชิงทั้ง 5 ในสาขา ‘ผู้กำกับยอดเยี่ยม’ ในปีนี้จะมีใครกันบ้าง และใครจะคว้ารางวัลออสการ์ครั้งที่ 91 ไปครอง เชิญอ่านบทวิเคราะห์จาก UNLOCKMEN ได้เลย Pawel Pawlikowski – Cold War กลับมาสู่พรมแดงออสการ์อีกครั้งสำหรับผู้กำกับชาวโปแลนด์วัยเกษียณอย่าง Pawel Pawlikowski ที่เขาเคยประกาศศักดาบนเวทีแห่งนี้มาแล้วด้วยการคว้าออสการ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยมจากเรื่อง ‘Ida’ เมื่อปี 2017 การกลับมาครั้งนี้ของเขาถือว่าเป็นการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ เพราะ ‘Cold War’