หลายคนกล่าวถึงความเลวทรามของโลกอาชญากรรมว่าเป็นสิ่งที่ต่ำตมไร้เกียรติ แต่บางคนก็มีมุมมองที่แตกต่างกันและคิดว่าอาชญากรรมที่ฉาวโฉ่ก็ซ่อนสิ่งสวยงามที่โรแมนติกเอาไว้ด้วยเช่นกัน รวมถึงโลกสีดำของประเทศญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยมาเฟียที่เรียกว่า ยากูซ่า ในครั้งนี้ UNLOCKMEN จะพูดถึงวงโคจรที่ไม่อาจก้าวออกมาได้ของหญิงสาวในโลกสีดำที่เหล่าผู้ชายไม่เคยเห็นหรือเคยนึกถึงมาก่อน โดยเล่าผ่านมุมมองและภาพถ่ายของ Chloe Jafe ช่างภาพสาวผู้สร้างคอลเลกชันรูปถ่ายชื่อว่า “命預けます” หรือ “I Give You My Life” ตามคำนิยามที่เธอเขียน ผู้หญิงไม่สามารถเป็นยากูซ่าได้ ดังนั้นโลกของมาเฟียญี่ปุ่นจึงเต็มไปด้วยผู้ชายเสียส่วนใหญ่ แม้กระนั้นบทบาทหน้าที่ที่ไม่ชัดเจนของเหล่าสตรีในโลกสีดำกลับเต็มไปด้วยความน่าสนใจ บางครั้งผู้หญิงญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เป็นสาวธรรมดา ๆ ไม่ได้เป็นแฟนของยากูซ่าแต่ทำงานอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “Grey Area” หรือพื้นที่สีเทา จำพวกบาร์ ร้านเหล้า โรงแรมที่ต้อนรับกลุ่มยากูซ่า ก็จะได้คลุกคลีและพบเจอกับโลกสีดำอยู่บ่อย ๆ และยังมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ก้าวผ่านเขตสีเทาไปยังสีดำอย่างเป็นภรรยาของยากูซ่า และสำหรับบางแก๊ง ผู้หญิงเก่งก็ถือเป็นนายหรือสุดยอดปรมาจารย์ที่ชายผู้มีรอยสักให้การยกย่องถึงแม้ว่าเธอจะไม่ได้ถูกเรียกว่ายากูซ่าอย่างเป็นทางการก็ตาม เรื่องราวของพวกเธอหลบซ่อนอยู่ในซอกหลืบ ทำให้ Chloe Jafe ตระหนักว่าหากต้องการรูปถ่ายของพวกผู้หญิงก็จะต้องพบกับหัวหน้าของยากูซ่า เพราะในตามหลักแล้วผู้หญิงจะไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจ เธอเลือกไม่ได้ว่าเธออยากถูกถ่ายภาพไหม และคนที่ตัดสินใจทุกอย่างคือผู้เป็นสามี แต่มันไม่ง่ายนักที่จะเข้าพบกับบอสใหญ่ ความยากนี้ทำให้เธอเกือบถอดใจเตรียมล้มคอลเลกชันภาพที่อยากทำ แต่แล้ววันหนึ่งในงานเทศกาลมีผู้ชายเดินเข้ามาหาและชวนเธอดื่ม ซึ่งชายคนนั้นคือคนที่ทำให้โปรเจกต์ภาพของเธอขยับเข้าสู่ความสำเร็จอีกขั้น เพราะเขาเป็นทายาทที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของตระกูลยากูซ่าที่ทรงอิทธิพล ชายคนดังกล่าวแนะนำให้ Chloe Jafe รู้จักกับภรรยาของเขา การพบกันในครั้งนี้ทำให้ช่างภาพสาวเริ่มเข้าสู่วงสังคมยากูซ่า เธอพบว่าผู้หญิงที่แต่งงานกับคนลำดับสูงของกลุ่มจะมีบอดี้การ์ดหญิงส่วนตัว และเธอก็ยังได้พูดคุยกับบอดี้การ์ดสาวนามว่า
สหรัฐอเมริกาในยุค 50 เป็นช่วงเวลาแห่งความเท่ที่เมื่อมองย้อนกลับไปเมื่อไหร่ก็จะสัมผัสได้ถึงความคลาสสิกที่มีสไตล์ทุกครั้ง โดยเฉพาะกับเมืองลาสเวกัส (Las Vegas) ที่คนทั่วโลกตั้งฉายาว่าเมืองแห่งบาป (Sin City) เมืองที่เต็มไปด้วยเหล่าสตาร์ชื่อก้องโลก คาสิโน เป็นแหล่งบันเทิงชั้นนำของโลก ด้วยความวินเทจและตื่นตาที่เมืองอื่น ๆ ในช่วงเวลาเดียวกันยังไม่สามารถจัดจ้านได้เท่า จึงทำให้เราสนใจเมืองแห่งบาปและอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับลาสเวกัสหลังสงครามโลกครั้ง 2 หรือในช่วงยุค 50 เพื่อพบกับความงามของเมืองหลังสงคราม คงจะถูกใจคอรถเก่าสุดคลาสสิกกันไม่น้อยกันรูปถ่ายถนน Fremont ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่พาดผ่านคาสิโนหลายแห่งของลาสเวกัสในปี 1955 รูปดังกล่าวทำให้เราเห็นรถรุ่นเก่า ๆ ที่ในปัจจุบันแทบไม่เหลืออยู่แล้ว รวมถึงได้เห็นบรรยากาศยามค่ำคืนของเมืองปี 1958 ที่ทำให้รู้ว่าไม่ว่าจะเมื่อไหร่ลาสเวกัสก็ไม่เคยหลับ แถมยังเห็นโรงแรมในตำนานอย่าง Golden Nugget โรงแรมและคาสิโนที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในย่าน downtown ที่ในตอนนี้ก็ยังเปิดให้บริการอยู่ ป้ายไฟนีออนหลากสีที่กระจายตัวอยู่เต็มสองฝั่งถนน รวมถึงรถยนต์คันโก้ที่จอดสนิทอยู่ริมทางเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยมาใช้บริการเพื่อความรื่นรมย์ที่เมืองแห่งบาปนี้ สระว่ายน้ำถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยบรรเทาอากาศที่ร้อนระอุ และในปี 1955 ผู้คนในยุคนั้นก็เห็นถึงความสำคัญของสระน้ำเช่นเดียวกับปัจจุบัน เพราะอากาศของเมืองลาสเวกัสในฤดูร้อนก็อบอ้าวเกินกว่าหลายคนจะทนไหว ด้วยความร้อนที่พุ่งสูงกว่า 100 ฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 38 องศาเซลเซียส ทำให้การได้แหวกว่ายอยู่ในน้ำเย็น ๆ ก็จะช่วยสามารถคลายความร้อนได้ และไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถมีสระว่ายน้ำเป็นของตัวเอง การมาใช้บริการในโรงแรมพร้อมกับเสี่ยงโชคไปด้วยจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เหล่านักท่องเที่ยวและนักแสวงโชคแห่แหนกันมายังเมืองเพื่อคาสิโน อย่างในปี 1957
ในที่สุดสถิติของราคารองเท้าที่มีราคาซื้อขายผ่านการประมูลของ Converse คู่ที่ตำนานยัดห่วงอย่าง Michael Jordan เคยใส่แข่งขันในรอบชิงในการแข่งขันกีฬา Olympics ในปี 1984 ก็ถูกทำลายลงแล้ว โดยแชมป์ใหม่กลายเป็นของรองเท้าต้นแบบจาก Nike ที่มีฉายาว่า “Moon Shoe” ใครที่เคยคิดว่ารองเท้ารุ่นหายากหรือโมเดลแรร์ในอดีตคงจะไม่มีราคาควรค่าแก่การครอบครอง อาจต้องคิดใหม่ เพราะราคาประมูลรองเท้าที่แพงที่สุดในโลกคู่ก่อนหน้าอย่าง Converse ‘Jordan Olympics 1984 มีราคาถึง 190,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 5.8 ล้านบาท ในขณะที่สถิติคู่ใหม่ที่เป็น Prototype ของรองเท้าวิ่งทั้งมวลในโลกอย่าง Nike ‘Moon Shoe ที่ถูกประมูลไปในราคา 437,000 ดอลลาร์หรือประมาณ 13.5 ล้านบาทเลยทีเดียว เจ้า Moon Shoe ถือเป็นบรรพบุรุษของรองเท้าวิ่งที่ผลิตโดย Nike ในช่วงปี 1970 ที่ Phil Knight และ Bill Bowerman ผู้อยู่เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของค่าย Swoosh ร่วมมือกันพัฒนาและสร้างขึ้นเพื่อให้กลายเป็นรองเท้าวิ่งที่มีประสิทธิภาพที่สุดในยุคนั้น ก่อนที่ Moon Shoe
สำหรับหนุ่ม ๆ ที่เคยลิ้มรสชาติวิสกี้ญี่ปุ่น คงรู้สึกประทับใจกับรสชาตินุ่มลึกและรสสัมผัสยากลืมเลือน รวมถึงกลิ่นวัตถุดิบเฉพาะถิ่นที่ทำให้วิสกี้มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่รู้จักระดับโลก และในอนาคตอันใกล้กำลังจะมีการประมูลคอลเลกชันวิสกี้ญี่ปุ่นอย่าง Hanyu Ichiro’s “Card Series” ที่ครองตำแหน่งคอลเลกชันที่มีราคาแพงที่สุดในโลกเพื่อทำลายสถิติของตัวเอง ถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ชายที่หลงใหลการดื่มและสะสมวิสกี้จากดินแดนอาทิตย์อุทัย เมื่อ Bonhams ผู้ประมูลชื่อดังเตรียมนำ Hanyu Ichiro’s “Card Series” คอลเลกชันสุดหายากที่มีทั้งหมด 54 ขวด ออกประมูลอีกครั้งหลังจากที่เคยนำคอลเลกชันสมบูรณ์ออกประมูลครั้งแรกในปี 2015 ซึ่งก็ทำราคาสูงเป็นสถิติโลกด้วยราคา 3,797,500 ดอลลาร์ฮ่องกงหรือประมาณ 15,016,000 ล้านบาท จุดกำเนิดของวิสกี้คอลเลกชันนี้เกิดขึ้นจากความคิดของ Ichiro Ahuto ทายาทรุ่นที่ 19 ของโรงกลั่น Hanyu ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1941 โดย Isouji Ahuto ก่อนจะหยุดผลิตไปในปี 2000 โดย Ahuto คนหลานซึ่งกำลังก้าวเขามาดูแลกิจการแทน ตัดสินใจเลือก Premium whisky ในโรงกลั่นทั้งหมดกว่า 400 ถังมาบรรจุลงในขวดถังหมด 54 ขวด โดยแต่ละขวดเป็นตัวแทนของไพ่แต่ละใบก่อนวางขายในปี
การสำรวจอวกาศไม่เคยเป็นเรื่องที่ง่ายดาย และความผิดพลาดก็พร้อมจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะในยุคการออกเดินทางไปดวงจันทร์ของโครงการอพอลโล ที่แม้ว่าภารกิจการลงดวงจันทร์ครั้งแรกจะผ่านไปได้ด้วยดี แต่ในครั้งที่ตามมาอย่างอพอลโล 12 และ 13 ล้วนประสบปัญหาที่เสี่ยงต่อการยกเลิกภารกิจ และร้ายแรงที่สุดถึงขั้นที่อาจทำให้เสียชีวิตได้เลย ทว่าด้วยความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาดของทีมภาคพื้นดิน ก็ทำให้ภารกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปลอดภัย และหนึ่งในนั้นก็คือ John Aaron ชายผู้เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยรักษาภารกิจและชีวิตของลูกเรือไว้ได้ John Aaron เข้าทำงานที่ NASA เมื่อปีค.ศ. 1964 จากคำแนะนำของเพื่อน และได้รับการฝึกให้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ EECOM ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ควบคุมและดูแลระบบไฟฟ้า สภาพแวดล้อม และการสื่อสารกับโลกบนยานอวกาศ โดยภารกิจแรกที่เขาได้มานั่งในศูนย์ควบคุมนั้นก็คือภารกิจเจมิไน 2 ในปีค.ศ. 1965 ซึ่งในภารกิจนี้ยังไม่มีมนุษย์ออกเดินทางไปด้วย เรื่องราวมาเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 วันปล่อยยานอพอลโล 12 เพื่อออกเดินทางไปลงจอดบนดวงจันทร์เป็นภารกิจที่สอง ซึ่งก็ตรงกับกะของ Aaron ที่ต้องประจำอยู่ในศูนย์ควบคุมพอดี (มี EECOM ทำงานหลายคน และจะสลับกะกันเข้ามาทำงาน) การปล่อยยานนั้นเป็นไปตามปกติ จนกระทั่งวินาทีที่ 36 เมื่อยานถูกฟ้าผ่าเข้าอย่างจัง จนส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าบนยาน อุปกรณ์ต่างๆ เริ่มรวน
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมาถือเป็นอีกวันสำคัญของมนุษยชาติ เพราะมันคือวันครบรอบ 50 ปีที่ยานอวกาศ Apollo 11 ขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์ และเป็นวันที่มนุษย์ได้ประทับรอยเท้าบนดาวเคราะห์ขรุขระดวงนี้เป็นครั้งแรก นอกจาก Neil Armstrong, Michael Collins, Buzz Aldrin และทีมนักอวกาศที่สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับโลก หนุ่ม ๆ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าแบรนด์กล้องสุดหรูสัญชาติสวีเดนอย่าง HASSELBLAD ก็มีบทบาทไม่น้อยในภารกิจอันใหญ่หลวงนี้ กล้องที่เคยบันทึกภาพประวัติศาสตร์เมื่อ 50 ปีที่แล้ว หากเปิดบันทึกประวัติศาสตร์ย้อนไปเมื่อประมาณ 50 ปีก่อน จะรู้ว่า HASSELBLAD ได้รับคัดเลือกจาก NASA ให้ผลิตและจัดหากล้องที่จะไปสำรวจดวงจันทร์พร้อมกับยาน Apollo 11 โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นกล้องที่แข็งแรงทนทาน สามารถยืนหยัดต่อสู้กับอุณหภูมิ -270 องศาเซลเซียสและภาวะขาดแรงโน้มถ่วงของอวกาศได้เป็นอย่างดี แบรนด์กล้องสวีเดนเจ้านี้จึงส่ง HASSELBLAD DATA CAMERA (HDC) สีเงิน พร้อมเลนส์ Zeiss Biogon 60 มม. ƒ/5.6 ให้ Neil Armstrong
NASA องค์การอวกาศของสหรัฐ ที่เป็นเจ้าของโครงการ Apollo ซึ่งพามนุษย์ไปลงจอดและเดินบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว และหลังจากภารกิจล่าสุดผ่านไป 47 ปีที่ไม่มีมนุษย์คนไหนได้เดินทางกลับไปเลย ในที่สุดรัฐบาลสหรัฐก็มีแผนที่จะส่งมนุษย์ออกเดินทางกลับไปอีกครั้งให้ได้ โดยครั้งนี้พวกเขามาในชื่อโครงการว่า Project Artemis ที่ตั้งตามชื่อเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ การออกล่า ป่า และเนินเขา ในเทพนิยายกรีกโบราณ ซึ่งเป็นธิดาของเทพ Zeus กับ Leto และเป็นพี่น้องกับเทพ Apollo ชื่อของโครงการแรกที่พามนุษย์ไปลงเดินบนดวงจันทร์ รัฐบาลของประธานาธิบดี Donald Trump ต้องการจะส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งอย่างเร็วที่สุด และในเดือนเมษายน ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา Mike Pence รองประธานาธิบดีของสหรัฐเองก็ได้ตั้งเป้าหมาย ให้ NASA พามนุษย์กลับไปลงเดินบนนั้นให้ได้ภายในปีค.ศ. 2024 หรือครบรอบ 55 ปีการลงดวงจันทร์ครั้งแรกนั่นเอง ซึ่งคล้ายคลึงกับตอนที่ John F. Kennedy อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ประกาศท้าทายและตั้งเป้าหมายการลงดวงจันทร์เอาไว้ในปีค.ศ. 1961 การกลับไปลงเดินบนดวงจันทร์ในรอบนี้นั้นแตกต่างไปจากเมื่อ 50 ปีที่แล้ว นั่นก็เพราะ เป้าหมายของโครงการ
ยกให้เป็นงานสุด weird ประเดิมครึ่งปีหลังที่ไม่รู้จะหาดูได้จากที่ไหนได้อีก คิดไม่ออกด้วยว่าเอามารวมกันได้ยังไง แต่บอกตรง ๆ ว่ามันช่างมันส์เกินบรรยายจริง ๆ! เข็มถักนิตติ้ง เส้นไหมจากขนสัตว์พลิ้วย้วย กับการโยก ๆ ขยับมือยิก ๆ สอดประสานตามจังหวะเสียงกลอง เสียงกีตาร์ และเสียงว้ากบนเวทีแบบนี้ เป็นภาพสุดแรร์หาดูไม่ได้จากที่ไหนเพราะมาจากเวทีประกวดถักนิตติ้งในประเทศฟินแลนด์ งานที่เพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา ภายใต้ชื่อ Heavy Metal Knitting World Championship! จนเกิดเป็นกระแสทั่วโลกออนไลน์และกลายเป็นหนึ่งในอีเวนต์ที่คนปักหมุดไว้ให้เป็น A MUST อีเวนต์สำหรับปีหน้า จุดเริ่มต้นเวทีคราฟต์ของชาวร็อก อย่างที่บอกว่างานนี้จัดขึ้นที่ฟินแลนด์ ประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของชาว Heavy Metal เพราะจิตวิญญาณเสรีของดนตรีแนว Heavy Metal มันกระจายอยู่ทุกที่ ถึงขนาดได้รับการขนานนามกันว่าถ้ามีคนฟินแลนด์สักแสนคน ก็ต้องมีวงดนตรีเฮวี่เมทัลสัก 50 วง แต่ขณะเดียวกันพลเมืองในฟินแลนด์ก็นิยมความนิ่งเรียบง่ายจากการเย็บปักถักร้อยด้วย ความสุขจากเสียงเพลงและความสุขจากงานฝีมือแม้จะดูต่างกันสิ้นดีแต่จุดหมายมันก็ไม่ต่างกัน เพราะทั้งสองสิ่งนี้ล้วนละเอียดและประณีตในตัวของมันเอง ดังนั้น เพื่อล้างทัศนคติลวงตาที่หลายคนเชื่อว่าคนทำงานคราฟต์ถักนิตติ้งต้องนั่งโยกตัวบนเก้าอี้โยกโง่ ๆ แก่ ๆ เฉิ่ม ๆ เขาจึงจัดงานประกวด
เรามักได้ยินปัญหาอยู่เป็นระยะเกี่ยวกับการแคมป์เพื่อรอต่อแถวซื้อรองเท้าบางรุ่นที่คาดว่าผู้คนจะนิยม แต่ใครจะคิดว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นต้นเหตุความวุ่นวายถึงขั้นที่ตำรวจต้องมาปิด POP-UP STORE ก่อนไล่คนกลับบ้านแบบยกขบวน! เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นใจกลางนครนิวยอร์ก เมื่อ AdidasNYC เตรียมเปิด POP-UP ขายรองเท้าคอลเลกชัน Adidas Original x Arizona Iced Tea ซึ่งเป็นการร่วมงานกับเครื่องดื่มยอดนิยมที่มีฐานการผลิตอยู่ในนิวยอร์ก ประกอบด้วยรองเท้าสองรุ่นคือ Yung-1 และ Continental โดยแต่ละรุ่นทำออกมาเป็นสองสี ซึ่งเป็นสีของบริษัทเครื่องดื่มชื่อดัง โดยผู้ผลิตประกาศออกมาก่อนหน้านี้ว่าจะมีการวางขายรอบพิเศษระหว่างวันที่ 18 และ 19 เพียงสองวันเท่านั้น ความพิเศษของมันทำให้ผู้คนทั่วนิวยอร์กหลั่งไหลมาเพื่อรอซื้อรองเท้ารุ่นดังกล่าวถึงขั้นล้นออกมาบนถนน บางคนถึงขั้นมายืนรอตั้งแต่ช่วงตีสี่ แต่ดูเหมือนทีมงานจะไม่คาดคิดว่าจะมีคนมารอคิวซื้อมากขนาดนี้ทำให้การจัดระเบียบต่าง ๆ ไม่ได้เป็นไปอย่างเหมาะสมจนหลายคนเริ่มกังวลถึงความอันตรายหากมีความวุ่นวายเกิดขึ้นจากฝูงชน อีกเหตุผลที่ทำให้ผู้คนแห่กันมารอซื้อเป็นจำนวนมาก เพราะราคาวางขายของ Adidas Original x Arizona Iced Tea รอบนี้ถือว่าถูกมาก แค่ซื้อเครื่องดื่ม AriZona Iced Tea แบบกระป๋องในราคา 99 เซ็นต์ก็จะได้บัตรซึ่งสามารถเลือกรองเท้า 1 ใน 4 คู่จากคอลเลกชันได้ ทันทีที่การขายเริ่มต้น ความวุ่นวายที่หลายคนกังวลก็เกิดขึ้นจริง
“แม้พวกเขาจะไม่ได้อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ผมเป็นหนี้บุญคุณพวกเขาเสมอ ขอบคุณพ่อและจูลส์สำหรับทุกอย่าง ผมจะไม่มีวันลืมพวกคุณที่สนับสนุนและเชื่อในตัวผม” ประโยคข้างต้นคือคำกล่าวขอบคุณของชาร์ล เลอแคลร์ (Charles Leclerc) ถึงผู้เป็นพ่อและพี่ชายผู้ล่วงลับ ผู้ต่างเคยสนับสนุนและเป็นแรงบันดาลใจให้ตัวเขาฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ จนก้าวขึ้นมาเป็นนักแข่งรถสูตร 1 ของทีมเฟอร์รารี่ (Ferrari) ด้วยวัยเพียง 21 ปี ซึ่งทำให้เขาคนนี้กลายนักขับตัวจริงของทีมที่มีอายุน้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 1961 ถ้าพูดภาพจำของกีฬามอเตอร์สปอร์ตอย่าง Formula 1 เชื่อว่าหนึ่งในภาพแรกที่สอดแทรกเข้ามาในหัวของทุกคน คงต้องเป็นรถแข่งคันสีแดงของทีมเฟอร์รารี่ หนึ่งในทีมรถสูตรหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่เคยคว้าแชมป์โลกร่วมกับยอดนักขับมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนิกิ เลาดา (Nikki Lauda), คิมิ ไรโคเนน (Kimi Räikkönen) และตำนานอย่างมิชาเอล ชูมัคเกอร์ (Michael Schumacher) ที่ผ่านมาแฟน ๆ ของยอดทีมจากอิตาลี ล้วนเคยชินกับการที่ทีมรักของพวกเขาพร้อมไปด้วยนักขับที่เต็มเปี่ยมทั้งด้านฝีมือและประสบการณ์ แต่ทว่าก่อนฤดูกาล 2018 จะจบ เฟอร์รารี่ก็ตัดสินใจทำสิ่งที่หลายคนไม่คาดคิด ด้วยการเซ็นสัญญากับนักขับหน้าใหม่ที่มีประสบการณ์ในการแข่งขัน Formula 1 เพียงแค่ปีเดียว นั่นคือวันที่หลายคนต่างตั้งคำถามว่า ไอ้หนูที่ชื่อชาร์ล เลอแคลร์ นี่มันใครกันวะ ?