Maison Kitsune’ (เมซง คิทสึเนะ) แบรนด์แฟชั่นลูกครึ่งสองสัญชาติจากฝรั่งเศสและญี่ปุ่น โดย Gildas Loaec (จิลดาส์ โลแอ็ค) และ Masaya Kuroki (มาซายะ คุโรกิ) เผยโฉมคอลเลคชั่นใหม่ประจำฤดูกาล Spring / Summer 2021 ที่ถูกออกแบบ และพัฒนาจาก Maison Kitsune’ Studio (เมซง คิทสึเนะ สตูดิโอ) ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ Maison Kitsuné ได้เชิญชวนดีไซเนอร์ฝีมือดี และมีชื่อเสียง เข้ามาร่วมสร้างสรรค์ผลงานผ่านการตีความจากเอกลักษณ์ของแบรนด์ ประเดิมซีซั่นนี้ด้วย Marcus Clayton (มาร์คัส เคลย์ตัน) ครีเอทีฟ ไดเรคเตอร์มากความสามารถจากปารีส ผู้ได้มาเป็นดีไซเนอร์ประจำฤดูกาลนี้ คอลเลคชั่น Spring / Summer 2021 นี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการถ่ายทอดเรื่องราว และเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไประหว่างเมืองโตเกียว (Tokyo) และปารีส (Paris)
เผลอแป๊ปเดียว เวลาก็ผ่านไป 25 ปีแล้ว จากวันที่ Porsche เผยโฉมรถ 2 ที่นั่ง เครื่องวางกลาง ตัวถังเปิดประทุน ใน 986 Boxster เป็นครั้งแรก และเป็นสูตรสำเร็จสำหรับรถตัวถัง Mid-engine, 2-seater มาโดยตลอด โดยมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดต่าง ๆ ตามยุคสมัย และเพื่อฉลองให้กับโอกาสพิเศษนี้ Porsche ได้นำ 718 Boxster มาตกแต่ง styling package “Boxster 25” Limited Edition ตัวถังของ Porsche 718 Boxster 25 มาในสี GT Silver Metallic เป็นสีแแนะนำ มีจุดเด่นที่การใช้สีพิเศษ Neodyme (นีโอไดเมียม) เป็นสีเงินมันวาวที่เมื่อกระทบแสงจะดูคล้ายสีทองแดง ตกแต่งบริเวณช่องดักอากาศกันชนหน้า ช่องดักอากาศด้านข้าง และบนล้อแม็กซ์ขนาด 20 นิ้วลายใหม่ ตัดกับหลังคาผ้าใบและเบาะหนังสีแดง Bordeaux
Arturo Magni คือคนสำคัญที่ช่วยสร้าง MV Agusta ให้โลดแล่นบนเส้นทาง Motorsport ด้วยความเป็นอัจฉริยะในด้านวิศวกรรมตั้งแต่เด็ก ความหลงใหลในอากาศยานของเขาถูกนำมาปรับใช้ในการออกแบบ 1966’s ‘Threes” MV Agusta 500 Three ที่ใช้ในการแข่งขัน Grand Prix (GP) Motorcycle Racing จนทำลายสถิติคว้าแชมป์ World Championship มาครองได้สำเร็จ ตลอดเวลาที่ Magni อยู่ในตำแหน่ง Direttore Sportivo (Director of the Racing Department) ช่วยให้ MV Agusta คว้าแชมป์ได้มากถึง 75 ครั้ง เป็นสถิติที่ยากจะหาใครมาทำลายได้ แต่ความท้าทายของ Magni ยังไม่จบลงแค่นั้น เขาตัดสินใจออกมาสร้างมอเตอร์ไซค์ของตัวเองบ้าง โดยใช้ชื่อสกุลของเขาว่า “Magni” ในปี 1977 Magni Motorcycle ยังคงใช้พื้นฐานจาก MV
ในวงการแต่งรถ ทั่วทั้งโลกต้องรู้จักและยอมรับฝีมือของ 3 จตุรเทพจากประเทศญี่ปุ่น หนึ่งคือ Nakai-san แห่งสำนัก RWB ผู้เชี่ยวชาญด้าน air-cooled Porsche สองคือ Kato-san แห่งสำนัก LB-Performance หรือ Liberty Walk เจ้าแห่งสไตล์ Wide body และสามคือ Kei Miura-san ผู้ออกแบบ Rocket Bunny หรือ Pandem หนึ่งในสินค้าภายใต้บริษัท T.R.A. Kyoto เจ้าแห่งการผสมผสานความ Classic ให้เข้ากับทุกดีไซน์ทันสมัยจากฝั่งญี่ปุ่นและตะวันตก ในสามจตุรเทพนี้ ดูเหมือน Kei Miura จะเป็นคนที่ติสท์ พูดน้อยที่สุด ออกสื่อน้อยที่สุด เรื่องราวส่วนตัวของเค้าเป็นสิ่งที่หาได้ยากแม้กระทั่งในโลกออนไลน์ปี 2021 ติสท์กระทั่งที่มาของโลโก้ Rocket Bunny ยังไม่ค่อยจะตรงกันซะทีเดียว บ้างก็ว่ามาจากแก้วกาแฟทรงกระต่างที่เขาใช้ดื่มบ่อย ๆ บ้างก็ว่ามาจากการทำมือสัญลักษณ์ Ok เริ่มต้นจากการแต่งรถ Honda
การได้ครอบครอง Porsche 911 น่าจะเป็นความฝันของใครหลายคน แต่สำหรับคนเล่น Porsche สายลึกตัวจริง ความฝันขั้นกว่าคือการได้มอบ 911 ให้ Akira Nakai บินมาตัดบอดี้ชิ้นส่วนรถ 911 ราคาหลายล้านของคุณ เพื่อแต่งให้เป็น RWB (Rauh-Welt Begriff) ชื่อที่คนในวงการรู้กันทันทีว่าหมายถึง Porsche Wide Body ที่มากับซุ้มล้อขนาดใหญ่ ดึงดูดสายตาทุกคนรอบข้างมันให้จดจ่อจนไม่กล้าละสายตาไปไหน ไม่ใช่เฉพาะในญี่ปุ่นหรือเอเชีย แต่เรากำลังพูดถึงกลุ่มศาสนาย่อย ๆ ที่คนทั้งโลกต่างเฝ้ารอการสร้างสรรค์ผลงานแบบ One-Off ที่ไม่มีใครทำแทนได้ นอกจากตัว Nakai-san เท่านั้น Akira Nakai หรือที่หลายคนเรียกกันอย่างเป็นกันเองว่า Nakai-san ผู้ชายมาดเท่ ที่มีภาพจำเป็นควันบุหรี่ล้อมรอบตัวตลอดเวลา มือนึงถือขวดเบียร์ Stella Artois ที่เจ้าตัวชื่นชอบ ในขณะที่อีกมือวาดอากาศราวกับกำลังออกแบบอะไรบางอยู่อยู่ตลอดเวลา ทรงผมที่ยุ่งเหยิงสะท้อนคาแรคเตอร์ความทำงานด้วยสองมือของตัวเอง เราแทบไม่เคยเห็นภาพ Nakai-san ทำงานผ่านผู้ช่วยหรือลูกน้องในขณะที่เจ้าตัวนั่งสั่งงานเหมือนคนอื่นเลย จุดเริ่มต้นของ RWB (Rauh-Welt Begriff) คงไม่แตกต่างจากสำนักแต่งรถอื่น ๆ
หนึ่งในแบรนด์รถยนต์ที่มีระบบ Infotainment ล้ำสมัยและดีไซน์ล้ำสุด ๆ น่าจะต้องยกให้ “Mercedes-Benz User Experience (MBUX) infotainment technology” ของ Mercedes-Benz การออกแบบที่สร้างความรู้สึกหรูหราอลังการ เช่น จอแสดงผล infotainment ขนาด 12.8 นิ้วแบบ touchscreen บริเวณกลางคอนโซล หรือจอขนาด Digital gauge cluster ขนาด 12.3 นิ้ว ที่แสดงข้อมูลสำคัญให้ผู้ขับขี่เห็นได้อย่างชัดเจนในรถยนต์ Generation ปัจจุบัน ซึ่งยากจะหาใครมาเทียบ และสำหรับรถยนต์ตระกูล EQS generation ใหม่แห่งอนาคตของ Mercedes-Benz ได้มีการอัพเกรดระบบ MBUX ที่นวัตกรรมล้ำยิ่งกว่า ด้วย MBUX Hyperscreen 56-inch infotainment technology จอขนาดใหญ่ที่โค้งมนสวยงาม แสดงผลคมจัดชัดเจน กินพื้นที่ทั้งคอนโซลตั้งแต่ซ้ายจรดขวาสุดของเสา A-pillar ตั้งแต่คนขับรถไปจนถึงผู้โดยสาร Hyperscreen แบบ OLED
เข้าปี 2021 มาไม่ถึงเดือน ก็มีเรื่องราวมันส์ ๆ เกิดขึ้นเยอะจนนับกันไม่ทัน และหนึ่งในนั้นก็คือการเปลี่ยนอันดับมนุษย์รวยที่สุดในโลก วันนี้ได้เป็นของ Elon Musk อย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว ด้วยมูลค่า Net Worth มหาศาลถึง $188.5 billion USD หรือเป็นเงินไทยราว 5 ล้านล้านบาท (ครับ ไม่ได้พิมพ์ผิดหรือพิมพ์เกิน) มากกว่า GDP ประเทศไทยหลักพันล้านไปไกลหลายเท่าตัว สาเหตุที่ทำให้ Elon Musk เจ้าของธุรกิจระดับโลกและนอกโลก สามารถแซง Jeff Bezos แห่งสำนัก Amazon ไปล่าสุดนี้ มาจากธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า Tesla ที่มูลค่าหุ้นพุ่งกระฉูดขึ้นไป 4.8% ในวันพฤหัสที่ผ่านมา หลังจากปีที่แล้วหุ้น Tesla เติบโตทั้งปีถึง 743% ทำให้มูลค่าของ Tesla สูงกว่าของแบรนด์รถยนต์เก่าแก่อย่าง Toyota, Volkswagen, Hyundai, GM และ Ford รวมกัน
รวมหนัง Fuck the System ที่ผู้ชายต้องดูก่อนตาย
Singer Vehicle Design ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้นำด้านชุบชีวิต air-cooled Porsche 911 แบบ Retromod ฉีกกรอบจากคำว่าคลาสสิคเดิม ๆ ไปจนหมดสิ้น ซึ่งขายดีจนแต่ละคันต้องรอคิวกันนานเป็นปี ๆ และเช่นเดียวกับแบรนด์ Supercar ที่จะต้องมีกลุ่มลูกค้าขาประจำระดับ VIP สามารถสั่งผลิตรถตามที่ตัวเองต้องการได้ นั่นคือที่มาของ Singer 911 Safari All-Terrain Competition Study การปลุกหน้าประวัติศาสตร์บนถนน Rally ของ Porsche 959 และ 911 SC/RS Rally Group B ให้กลับมาอีกครั้ง ด้วยการร่วมมือกับ Richard Tuthill ผู้เชี่ยวชาญด้าน Rally เพื่อลูกค้า VIP ที่ request ให้สร้างรถสุดพิเศษนี้ขึ้นมา 2 คัน สำหรับลงแข่งสนามฝุ่นโคลนโดยเฉพาะ โดยคันแรกถูก finish ในสี Parallax
Omega Speedmaster ถือเป็นนาฬิกาสามัญประจำบ้านที่นักสะสมทุกคนต้องมีไว้ใน Collection มันคือนาฬิกาที่ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติทั่วโลก เป็นนาฬิกาที่ NASA เลือกให้นักบินอวกาศใส่ทำภารกิจนอกโลก ซึ่ง นีล อาร์มสตรอง และ บัซ อัลดริน สวมใส่ Speedmaster ref. 105.012 และ 145.012 ติดข้อมือไปสู่ดวงจันทร์ในวันที่ 22 กรกฎาคม 1969 จนได้รับการขนานนามว่า “รุ่นเหยียบดวงจันทร์” ซึ่งมีการพัฒนาต่อยอดในหลายรุ่นพิเศษ ด้วยความล้ำหน้าและควาสสิคของ Omega ตัวเครื่อง caliber 1861 Moonwatch สามารถทำหน้าที่ได้ดีเป็นเวลานานกว่า 50 ปี และก็ถึงเวลาแล้วที่มันจะถูกแทนที่ด้วยกลไกตัวใหม่ “co-axial Master Chronometer-certified caliber 3861” ใน Speedmaster ซึ่งตัวกลไกใหม่ล่าสุดนี้เคยถูกใช้ใน Omega เพียง 3 รุ่นพิเศษคือ Apollo 11 Anniversary Limited Edition