วันนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว 29/10/2002 เป็นวันที่ GTA ภาค Vice City เปิดตัวให้เล่นวันแรกบนเครื่อง Playstation 2 พร้อมได้รับเสียงวิจารณ์ด้านบวกมากมาย โดยเฉพาะที่สำคัญเลยซึ่งผู้พัฒนาซีรีส์ GTA น่าจะยิ้มกริ่มไปตาม ๆ กัน คือการพัฒนาระบบการเล่นที่สนุกขึ้นจาก Grand Theft Auto III ภาคก่อนได้ดีขึ้นมากในหลาย ๆ ด้าน จนถึงส่วนสำคัญอย่างเนื้อเรื่องของเกมโลกเปิดแบบที่ลงลึกมากยิ่งขึ้นด้วย Grand Theft Auto: Vice City จะพาเราย้อนกลับไปในปี 1986 โดยให้ผู้เล่นสวมบทเป็น Tommy Vercetti ผู้พยายามไต่ขึ้นเป็นใหญ่ในวงการมาเฟีย ณ Vice City เมืองซึ่งจำลองภาพของชายหาดของไมอามีอันโดดเด่นด้วยต้นปาล์มขนาบข้าง แสงสีจากไฟนีออนของไนท์คลับชื่อดัง เสื้อฮาวาย และเหล่าตำรวจที่มาพร้อมกับกลิ่นคาวเลือดของวงการใต้ดิน ความเจ๋งที่ทำให้ GTA ในภาคนี้ยังคงเป็นที่ถูกพูดถึงเสมอไม่แพ้กับภาคอื่น แม้ว่าจะผ่านมา 20 ปี แล้วนั้นมีมากมายเต็มไปหมด แต่โดยส่วนตัวเราเองเชื่อว่าความเคารพต่อการหยิบเรื่องราว ‘มาเฟีย’ มาเล่าของผู้สร้างนั้นมีส่วนสำคัญมาก
เคยมั้ย ฟังเพลงจบแล้วอิน จนต้องหาสื่อบันเทิงในรูปแบบใดก็ตามที่มี Mood & Tone ใกล้เคียงกันมาเสพต่อ ซีรีส์เอย หนังเอย หรือเพลงที่ใกล้เคียงกันเอย แต่ในบางครั้งสื่อที่โดนใจเราที่สุดก็คือ ‘หนังสือ’ สักเล่ม ด้วยความที่มีเนื้อเรื่องเปิด ตอนกลาง และตอนจบ หลากหลายอารมณ์ ไม่ต่างอะไรกับเพลงที่มี Intro ไปจนถึง Outro ทำให้นิยายดี ๆ ช่วยต่อความยาวสาวความอินไปได้อีกสักพักนึงเลย ในซีรีส์ Next Cover, Same Mood เราจะเอาอัลบั้มโปรดที่เพิ่งฟังไป มาดูด้วยกันไปทีละเพลงว่า มีหนังสือเล่มไหนบ้างที่มีจุดเชื่อมโยงกับตัวเพลงนั้น ๆ ทั้งชื่อเพลง, เนื้อร้อง, พาร์ทดนตรี, อารมณ์หลังฟังจบ, เรื่องราวก่อนจะมาเป็นเพลง ไปจนถึงความหมายของเพลง เป็น What You Should Read Next ‘ฟังเพลงนี้จบแล้ว ถ้าอิน ก็ควรอ่านหนังสือเล่มนั้นต่อนะ’ เพื่อช่วยยืดอารมณ์อันไม่มูฟออนจากเพลงของเรากันต่อไป (พูดแบบนี้ดูเศร้า) ขอเปิดตัวคอลัมน์แรกอย่างเป็นทางการ ด้วยอัลบั้มเต็มอัลบั้มแรกเป็นของวง Asia 7 ที่ออกกับค่าย
ในช่วงเวลาที่ชื่อของ Junji Ito ถูกแปะด้วยป้ายนักเขียนราชาสยองขวัญยุคใหม่ (ยังคงมีผลมาถึงปัจจุบัน) อย่างไร้ข้อกังขาใด ๆ ด้วยองค์ประกอบของผลงานที่สร้างความหวาดกลัวสุดขีด ด้วยจังหวะและงานภาพแสนประณีต กับเรื่องราวที่ไม่มีคนอ่านสามารถจับทางได้สักครั้ง และ UNLOCKMEN เคยพูดถึงเรื่องราวของราชาคนนี้เอาไว้อย่างละเอียดในบทความ NIHON STORIES : ITO JUNJI ในคอลัมน์นี้เราจึงไม่ได้จะพูดถึงคุณจุนจิ แต่จะพาไปรู้จักกับมังงะสยองขวัญอีกรสชาติของ Hirohisa Sato นักเขียนที่ค่อนข้าง underrated ในบ้านเรา และเรื่องที่จะพูดถึงก็ติดเรทด้วยภาพของความรุนแรง จนไม่สามารถแปลลิขสิทธิ์เข้ามาอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยได้ ชื่อของมังงะเรื่องนั้นก็คือ Shiga Hime มังงะปี 2016 ว่าด้วยผู้เป็นอมตะและสาวกทาสรับใช้ของพวกเธอ ขออนุญาตให้เกร็ดของนักเขียนคนนี้เพื่ออรรถรสสักนิดนึง คุณซาโตะเป็นนักเขียนมังงะที่ปัจจุบันมีผลงานทั้งหมด 3 เรื่อง คือ Suzuki Just Wants a Quiet Life (2014), Shiga Hime (2016), และเรื่องล่าสุด Mother Parasite (2020) ความเก่งกาจก็คือมังงะทั้งหมดของคุณซาโตะมีความแตกต่างด้าน Story ออกจากกันอย่างสิ้นเชิง
อัพเดทข่าวดีของ #กรุงเทพเมืองคอนเสิร์ต ปี 2023 เมื่อวงดนตรีตัวแทนความรู้สึกของชาวมิลเลนเนียม The 1975 ประกาศมาเมืองไทยเป็นครั้งที่ 3 ในเดือนเมษายนปีหน้า โดยก่อนหน้าก็เพิ่งปล่อยอัลบั้มชุดใหม่ Being Funny In a Foreign Language ไปไม่นาน จนเกิดเป็นกระแส The 1975 Fever ทั่วบ้านทั่วเมืองกันอีกครั้ง เมื่อพูดถึงการออกอัลบั้มใหม่ของวงนี้ มันจะมีวัฒนธรรมอยู่หนึ่งอย่างที่ใครหลายคน (รวมถึงเราเอง) รอคอยที่จะได้เจอทุกครั้ง ก็คือ Costume & Make Up ของวงนั่นเอง ไม่ใช่! (จริง ๆ อันนั้นก็รอแหละ) มันคือการรอฟังว่าเราจะได้เจอกับเพลงแบบไหนใน ‘อินโทรแทร็คแรก’ ที่ชื่อเดียวกับวง The 1975 อันเป็นเพลงเปิดของทุกอัลบั้ม ที่จะแนะนำว่าเราจะเจอกับเพลงประมาณไหนในอัลบั้มนั้น และเนื่องจากผู้เขียนเป็นติ่งวง The 1975 อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2013 (9 ปี!) ตั้งแต่ที่วงปล่อยอัลบั้มแรก อยากชวนวิเคราะห์กันหน่อยดีกว่าว่ามีเหตุผลอะไรให้เพลง The 1975
“เมื่องานออกแบบส่งผลต่อความรู้สึกในการออกกำลังกายของคุณ … แต่คุณไม่รู้หรอกจนเมื่อได้สัมผัสด้วยตัวเอง” The Standard Gym ฟิตเนสแห่งใหม่ของ The Standard, Bangkok Mahanakhon ที่ตั้งอยู่ในตึกมหานคร ได้สร้างความประทับใจแรกให้เราทันทีที่เดินเข้าไปถึง ด้วยการออกแบบ Modern Style เรียบแต่หรู ลงตัวอย่างหาที่ไหนเหมือนไม่ได้อีกแล้ว มาพร้อมกับอุปกรณ์ทันสมัยที่เข้าใจคนออกกำลังกายเป็นอย่างดี จนเกิดเป็นประสบการณ์ออกกำลังกายที่ไม่มีทางลืม ต้องชมงานออกแบบของคุณ Jaime Hayon กับทีม The Standard กันอีกครั้ง ที่เนรมิตรใช้เอกลักษณ์ของความเป็นเส้นโค้งไม่ว่าจะกับกระจก ชั้นเก็บอุปกรณ์ออกกำลังกาย ไปจนถึงประตูของที่นี่ได้อย่างหลากหลายและลงตัวไปเสียทุกจุด แต่ยังไม่เท่านั้น หัวใจสำคัญอีกอย่างที่ทำให้ The Standard Gym แตกต่างจากฟิตเนสทั่วไป และเป็นปัจเจกออกจากส่วนอื่น ๆ ของตึกมหานคร คือการเลือกใช้สีเอิร์ธโธนกับ Lighting Design ได้อย่างถูกต้อง ทั้งจากดวงไฟตามจุดต่าง ๆ ภายในฟิตเนส ไปจนถึงการทำให้ยิมเป็นที่เปิดด้วยกระจกหลายบาน จนแสงธรรมชาติสามารถลอดส่องเข้ามาได้ สร้างความรู้สึกผ่อนคลายขณะออกกำลังกาย พร้อม ๆ กับความโรแมนติกอย่างที่ไม่มีเหมือนใคร ดัมเบลกับเครื่องยกน้ำหนักก็ดูซอฟต์ลงทันที ไม่ได้สุดเพียงแค่งานดีไซน์ เพราะ ‘อุปกรณ์ออกกำลังกาย’
เมื่อพูดถึงรองเท้า ‘สนีกเกอร์’ เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่หยิบยกวัฒนธรรมแบบ Street Culture ขึ้นมาวางคู่กัน ไม่ว่าจะศิลปะ Street Art กราฟิกตัวอักษรแบบ Bubbles Font ของเหล่ากราฟิตี้ หรือตัวการ์ตูนคาแรคเตอร์ดีไซน์สุดเท่ก็ตาม ล้วนแล้วแต่ผูกพันพร้อมอยู่บนสนีกเกอร์มาตลอดทั้งนั้น และนี่คือสิ่งที่เทศกาลสตรีทคัลเจอร์ชื่อว่า Sneakers Killer โปรเจคสุดยิ่งใหญ่แห่งปีของ Siam Center & Siam Discovery จะมอบประสบการณ์ให้ทุกคน Sneakers Killer คืองานที่คนรักสนีกเกอร์ต้องมา และคนรักศิลปะห้ามพลาด ด้วยเทศกาลที่มองโลกของรองเท้า Sneaker แบบรอบด้านว่าจริง ๆ แล้วก็เป็นงานศิลปะที่สามารถส่งต่อแรงบันดาลใจทั้ง Lifestyle และไอเดียความคิดสร้างสรรค์ของผู้คน ด้วยการจัดเทศกาลที่มีโซนแสดงงานศิลปะ, โชว์เคสคัสตอมไอเดีย, Pop Up Store สินค้ารุ่นพิเศษ และแน่นอนที่ขาดไม่ได้ Sneaker Market ตลาดรองเท้าเพื่อสายช้อป หัวใจของเทศกาลในครั้งนี้ คือการให้ศิลปินกราฟิตี้ชื่อดังของบ้านเราอย่าง POORBOY (ต้น-เกษมวิทย์ ชวีวัฒน์) ออกแบบ Key Visual หลัก
ในบางครั้ง บันทึกหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของโลก ก็เกิดขึ้นจากสิ่งเล็ก ๆ บนพื้นที่เล็ก ๆ แบบที่เราคาดไม่ถึง เช่นเดียวกับโลกของ Hip Hop และ Hennessy สองวัฒนธรรมที่โคจรมาพบกัน มีความสนิทสนมแน่นแฟ้นจนกลายเป็นภาพจำที่อยู่คู่กันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เมื่อเห็น Rapper ต้องเห็นขวด Hennessy อยู่ในมือ และมีคำว่า Hennessy อยู่ในท่อนแร็พมาโดยตลอด ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เกิดภายหลังจากจุดเริ่มต้นของ Hip Hop ในอพาร์ทเมนท์ Sedgwick Avenue ห้อง 1520 ย่าน Bronx ณ มหานครนิวยอร์ก ปี 1973 เริ่มจากความต้องการหาเงินเพิ่มของ Cindy Campbell ที่อยากหาซื้อชุดสวยใส่รับเปิดเทอม แต่เด็กที่อาศัยในย่าน Bronx ยุคนั้นไม่ใช่เด็กที่จะแบมือขอเงินพ่อแม่ได้ เธอจึงเกิดไอเดียอยากจัด back-to-school party ในห้องพัก และว่าจ้างน้องชาย Clive aka ที่นั่น DJ Kool Herc ให้มารับบทดีเจสำหรับปาร์ตี้ที่ชื่อว่า
คุณมองเสน่ห์สีสันของ ‘ชีวิตกลางคืน’ (night life) เป็นแบบไหน คือสีของแสงจากเสาไฟที่สาดถนนอันว่างเปล่า สีของไฟแช็คที่จุดขึ้นก่อนถูกกลบอบอวลด้วยควันของบุหรี่ หรือสีของแก้วเหล้าที่ถูกรังสรรค์ส่วนผสมในการชงอย่างดีจากบาร์เทนเดอร์คนโปรด เหตุผลข้อหลังสุดพาเรายืนอยู่หน้าร้าน WYNN WOOD florist studio ในซอยทองหล่อ 61 ร้านซึ่งเป็นที่ซ่อนตัวของ Midsummer Night’s Dream Bar บาร์ค็อกเทลที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทละครโศกของ Shakespear ทั้งชื่อเดียวกัน การตกแต่ง ไปจนถึงเครื่องดื่มที่ถูกคิดสูตรมาอย่างดี เรานัดเจอกับ ‘ออย-วรีวรรณ ยอดกมล’ ผู้เป็น Bar Manager ของที่นี่ และเธอเพิ่งได้รับคำพ่วงชื่อต่อท้ายอันใหม่ด้วยคำว่า ‘คนไทยคนแรกที่สามารถเข้ารอบ 2 ของการแข่งขัน Hennessy My Way ปี 2022’ ก่อนที่จะได้แข่งชงค็อกเทลกับบาร์เทนเดอร์ฝีมือฉกาจ 400-500 คนจากทั่วทุกมุมโลกใน Hennessy My Way 2022 คุณออยเป็นบาร์เทนเดอร์มากว่า 15 ปีแล้ว เธอหลงใหลในชีวิตกลางคืน
‘การรอคอย’ เป็นสิ่งที่แย่เสมอ ไม่ว่าระยะเวลานั้นจะสั้นหรือยาวขนาดไหน เพราะเป็นการกระทำที่มาพร้อมกับความคาดหวังของมนุษย์ ถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดเดดไลน์อย่างตายตัวเป็นเวลานัดกันแล้ว แต่ความผิดพลาดของการไม่ตรงเวลาก็สามารถเกิดขึ้นได้อยู่ดี และสิ่งที่แย่กว่าการรอคอยอย่างไม่รู้จุดหมาย คือการรอคอยที่ถูกสั่งให้รออย่างไม่เต็มใจแม้สักวินาทีเดียว “การรอคอยเป็นระยะเวลา 8 ปีเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมากแค่ไหน?” UNLOCKMEN รวบรวมประวัติศาสตร์ของระยะเวลา 8 ปี (บวกลบนิดหน่อย) ที่เกิดขึ้นในหลากวงการมาให้ดูกัน ว่าจะสามารถเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง และโลกสามารถดีขึ้นได้มากแค่ไหน ถ้าเวลาถูกใช้ไปอย่างคุ้มค่า .. แล้วทำไมต้อง 8 ปี ก็เพราะเขาคนนั้นไม่รักษาสัญญาอะไรเลยยังไงล่ะ Before Trilogy : หนังรักที่ถ่ายทำทุก 9 ปี ถ้าให้ยกตัวอย่างชื่อของผู้กำกับหนังที่คอนเซ็ปต์งานสร้างจัดที่สุดของโลกภาพยนตร์ เราขอเอาชื่อของ Richard Linklather ส่งเข้าประกวด นอกจากพรสวรรค์ที่เข้าใจชีวิตของมนุษย์ในมุมที่คนอื่นไม่เห็น พร้อมถ่ายทอดออกมาแบบ Slice Of Life แล้ว ผู้กำกับคนนี้ยังบ้าคลั่งเรื่องการเล่นกับไทม์ไลน์ของการสร้างหนังเอามาก ๆ อย่างหนังเรื่อง Boy Hood ของเขาก็ใช้เวลาถ่ายทำทั้งหมด 12 ปี เพื่อให้ตัวละครเติบโตจริงแบบไม่ใช้เทคนิคหรือนักแสดงแทน แล้วตัวหนังก็งดงามจนได้เข้าชิงออสการ์ปี 2015 จนเกือบชนะมาแล้ว (ในปีนั้น
เคยสังเกตุมั้ยครับ สำหรับผู้ชื่นชอบความกลัวและกลิ่นคาวเลือดทั้งหลาย ทำไมถึงตื่นเต้นกันเสมอเมื่อฟังเรื่องราวของคดีฆาตกรรม ดูหนังที่มีฆาตกรต่อเนื่อง หรือติดซีรีส์สืบสวนสอบสวนอย่างเอาเป็นเอาตาย เรื่องนี้วิทยาศาสตร์มีคำตอบให้ แต่ต้องขอบอกก่อนเลยว่าเราไม่ได้เชิดชูการฆาตกรรมว่าเป็นสิ่งสวยงามแต่อย่างใด และเราเข้าใจดีว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงเหล่านั้น มีความสูญเสีย และมีผู้ได้รับผลกระทบ แต่เพราะความสนใจของมนุษย์นั้นมีหลากหลายแบบ เราจึงอยากมาคุยเหตุผลของความสนใจนี้มากกว่า UNLOCKMEN จะพาทุกคนไปดูหลากเหตุผลนา ๆ ที่คดีฆาตกรรมอยู่ในความสนใจของมนุษย์มาโดยตลอด ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องของความเป็นความตายซึ่งเกิดขึ้นใกล้ตัวเรามากที่สุด พร้อมกับชี้เป้ารายการคดีฆาตกรรมในยุคสมัยใหม่ ให้คนที่ชื่นชอบได้ติดตามฟังกันด้วย เพราะความเป็นนักล่าในตัวเราเรียกร้อง เหตุผลของความหลงใหลในเรื่องราว True Crime หรือ Murder Story ของมนุษย์นั้น ถูกนักจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (Evolutionary Psychologists) ให้คำอธิบายเอาไว้ว่า มันเริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่เราเริ่มสถาปนาตัวเองเป็น ‘นักล่า’ ในหมู่สัตว์ด้วยกันในยุคดึกดำบรรพ์แล้ว การฆาตกรรม การข่มขืน การโจรกรรม มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ช่วงโบราณกาล เรียกว่าในแง่หนึ่งมันคือ ‘เรื่องธรรมชาติ’ เพราะเราต้องปรับตัวให้เข้ากับความรุนแรงเหล่านี้ และหาเหตุผลของที่มาที่ไปของคดีฆาตกรรมเหล่านั้น เพื่อที่เราจะได้ปกป้องตัวเองและครอบครัวได้ดีที่สุดด้วย งานวิจัยในปี 2010 ของ University of Illinois พบสิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ‘ผู้หญิง’ มักเป็นเพศที่สนใจในเรื่องราวอาชญากรรมมากกว่าผู้ชาย! และผู้หญิงสนใจ