“แม้รักกันมากแค่ไหนแต่คู่รักส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ตัวติดกันตลอด 24 ชั่วโมง” วลีข้างต้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับคู่รักและครอบครัวคนทั่วโลก เพราะแต่ละคนต่างก็มีชีวิตเป็นของตัวเอง บางบ้านสามีออกไปทำงานส่วนภรรยาอยู่บ้าน หรือคู่รักบางคู่ก็มีงานทำด้วยกันทั้งคู่ ครอบครัวที่มีลูกแล้วก็ต้องแบ่งเวลากันดูลูกและแบ่งเวลาให้กับชีวิตส่วนตัว ไม่ต้องพูดถึงครอบครัวใหญ่ที่มีกันหลายคนทั้งปู่ ย่า พ่อ แม่ ลูก หลาน เราเชื่อว่าคงไม่มีใครอยู่กับคนอื่นตลอด 24 ชั่วโมงแน่นอน ตอนนี้ไวรัสโควิด-19 ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องอยู่ติดบ้าน หลายประเทศสั่งห้ามประชาชนออกจากไปไหนถ้าไม่จำเป็น สำนักงานจำนวนมากสั่งให้พนักงานทำงานที่บ้าน ทำให้สมาชิกในครอบครัว คู่รักหลายคู่ต้องอยู่ด้วยกันตลอดเป็นเวลาหลายสัปดาห์ แต่แทนที่จะมีแต่ความโรแมนติก อยู่ด้วยกัน เห็นหน้ากันตลอด กลายเป็นว่าความรุนแรงในครอบครัวกลับพุ่งสูงขึ้นจนน่าใจหาย ประเทศฝรั่งเศสเริ่มปิดประเทศเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2020 โดยตั้งเป้าว่าจนถึงวันที่ 25 เมษายน จะมีประชาชนออกจากบ้านน้อยลงเว้นแต่ออกไปซื้ออาหารหรือยารักษาโรค จูงสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่นได้วันละครั้ง ออกไปออกกำลังกายวันละครั้งตามคำแนะนำของแพทย์ หลังจากเริ่มมาตรการฉุกเฉินได้สักพักรัฐบาลฝรั่งเศสพบความผิดปกติ หลังจากสั่งให้ประชาชนกักตัวอยู่บ้าน มีคนจำนวนมากโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าถูกคนในครอบครัวทำร้ายร่างกายเพิ่มขึ้นถึง 36% ซึ่งจำนวนนี้แค่เฉพาะในเมืองปารีสเท่านั้น ส่วนเมืองอื่น ๆ ของฝรั่งเศสก็มีบันทึกเหตุทารุณกรรมเพิ่มขึ้น 32% รวมถึงมีคดีฆาตกรรมในช่วงวิกฤตไวรัสอีกสองคดี นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิและความเท่าเทียมแสดงความเป็นห่วงต่อกรณีดังกล่าว พวกเขามองว่าการโดนสั่งให้กักตัวจะทำให้เหยื่อความรุนแรงขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ได้ยากขึ้น เหยื่อต้องยกหูโทรศัพท์แจ้งความอย่างเดียวโดยไม่สามารถหลอกว่าจะออกไปทำธุระข้างนอกเพื่อขอความช่วยเหลือ หากการกักตัวอยู่แต่บ้านยังคงดำเนินต่อไปเป็นเดือน ๆ จะต้องมีคนโดยทำร้ายร่างกายเพิ่มขึ้นแน่นอน Marlene Schiappa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความเสมอภาคทางเพศ
หนังสือคือเพื่อน หนังสือคือจินตนาการ หนังสือคือความรู้ หนังสือเป็นอะไรก็ได้ตราบเท่าที่คนอ่านอย่างเรานิยามให้ ในช่วงเวลาที่เราแทบไม่ได้ออกไปไหน ใช้เวลาส่วนใหญ่ในโลกปิดแคบที่เรียกว่าบ้านและโหยหาการเดินทางใจจะขาด หนังสือจะพาเราออกโบยบินไปไกลแสนไกล UNLOCKMEN จึงเอา 5 หนังสือเรื่องการเดินทางมาฝากมนุษย์ทุกคนที่ต้องอยู่บ้านเพื่อส่วนรวม รวมถึงที่ยังต้องออกไปทำงาน (แต่ก็ไม่อาจเดินทางไปไหนไกล ๆ ได้) ทุกการเดินทางในหนังสือ 5 เล่มนี้ไม่เพียงเป็นการเดินทางเพื่อท่องเที่ยว แต่เป็นการเดินทางเพื่อตามหาความหมายอะไรบางอย่าง ซึ่งเราเชื่อเหลือเกินว่าในช่วงเวลาอันยากลำบากและชวนสับสนนี้ เราทุกคนต่างพยายามตั้งคำถามว่า “ชีวิตเราต้องการอะไรกันแน่?” มากกว่าที่เคยถามมาทั้งชีวิต สู่หนไหน “สู่หนไหน” หนังสือที่จะพาเราเดินทางไปกับ 2 หนุ่มบ้าระห่ำที่ไม่ได้ต้องการเดินทางเพื่อสิ่งใด นอกจากตอบสนองเสียงเรียกร้องในหัวใจของตัวเองเท่านั้น พวกเขาเดินทางด้วยรถเก่า ๆ รอนแรมไปทัวสหรัฐอเมริกาดินแดนแห่งเสรีที่ดูเหมือนว่าใจของพวกเขาจะเสรียิ่งกว่า การได้อ่านเล่มนี้ให้ความรู้สึกราวกับได้กระเตงไปบนรถเก่าคร่ำคร่า บางหนรถวิ่งอย่างราบรื่นพาไปเห็นบางมุมของชีวิตที่สวยงาม บางคราวรถกระตุกทุลักทุเลราวกับว่าไม่อาจจะไปต่อได้ แต่เช่นนั้น เช่นที่การเดินทางและชีวิตของมนุษย์อย่างเรา ๆ เป็น เพราะหนทางนั้นอีกยาวไกล เราจึงต้องเจอทั้งดีและร้ายอีกมาก แต่ที่หนังสือเล่มนี้ทำให้เราตั้งคำถามกับตัวเองได้อย่างเด็ดขาดคือ “ชีวิตคืออะไร?” เรากล้าจะกระโจนเข้าสู่การเดินทางราวกับตัวละครหลักของเรื่องไหม? ทั้งถนนหนทางจริง ๆ และถนนหนทางของชีวิตเรานั่นเอง ในครึ่งที่ยังว่างของกระเป๋าเดินทางสีฟ้า เรื่องราวของมนุษย์เงินเดือนวัย 29 ปี ที่ตั้งแต่ลืมตามาบนโลกจนถึงบัดนี้ยังไม่เคยออกเดินทางไปต่างประเทศแม้สักหน แล้วจู่ ๆ
เชื่อว่าหนุ่ม ๆ หลายคนคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กันถ้วนหน้า หลายคนต้องทำงานที่บ้านหรือใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้นเพื่อทำการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) นั่นทำให้ยอดการเข้าชมภาพยนตร์และสารคดีในช่องทางสตรีมมิ่งเพิ่มขึ้นถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกัน ตอนนี้ถือเป็นช่วงเวลาพิเศษสำหรับหนุ่มที่รักเสียงเพลงเพราะแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้ขนสารคดีของศิลปินระดับโลกที่น่าสนใจจำนวนมากมาให้ชม แต่ด้วยจำนวนสารคดีมากมายอาจทำให้หลายคนสับสน เลือกไม่ได้ว่าจะดูอันไหนดี วันนี้เราจึงอาสาพาไปทำความรู้จัก 6 Music Documentary เจ๋ง ๆ ที่คอดนตรีไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง จะมีเบื้องหลังเบื้องลึกของอัลบั้มไหน หรือฟุตเทจหายากของใคร เชิญติดตามรับชมได้เลย Oasis: Supersonic Oasis: Supersonic สารคดีที่จะพาคุณไปทำความรู้จักเรื่องราวของ 2 พี่น้อง Liam และ Noel Gallagher แห่งวง Oasis ที่จะพาย้อนชมชีวิตตั้งแต่ยุคก่อตั้งวงที่ปากกัดตีนถีบ ก่อนเข้าสู่ยุคแห่งความสำเร็จของวงในยุค 90’s ขณะเดียวกัน Oasis: Supersonic ก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ของ 2 พี่น้องนักดนตรีที่สร้างวงระดับตำนานขึ้นไปพร้อม ๆ กัน Oasis: Supersonic เป็นผลงานการสร้างของ
พอเข้าวงการกาแฟสด ก็กลับเข้าวงการสำเร็จรูปไม่ค่อยได้ ตอนนี้เรื่องนี้เลยกลายเป็นปัญหาหลักของคนทำงานอย่างเรา ๆ ที่เริ่มรู้สึกลงแดงคาเฟอีน เวลา Work from Home และหากแก้ด้วยการสั่งมากินที่บ้าน ก็ต้องโดนชาร์จเรื่องค่าส่งเพิ่ม ถ้าคิดว่าเป็นการแก้ระยะสั้นอาจจะพอได้ แต่พอคิดว่าถ้าทำแบบนี้ไปยาว ๆ ในเวลาที่ต้องรัดเข็มขัดแบบนี้คงไม่ใช่ทางออกที่ดีเท่าไหร่ UNLOCKMEN จึงคิดว่า “คงดีกว่า” ถ้าเราจะมี Gadgets สักตัวไว้ใช้ทำกาแฟสด ตั้งแต่บด อัด จนถึงดริฟต์พร้อมดื่มได้ในชิ้นเดียว ซื้อแล้วจบเลยแค่มีเมล็ดก็ทำได้ ประจวบพอดีกันกับไปเจอ Gadgets ตัวหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า “CAFFLANO” เป็นเครื่องทำกาแฟสดทรงกระบอกน้ำ ที่มีเครื่องบดในตัวผลิตจากโลหะขึ้น รับประกันคุณภาพและความคงทน เครื่องทำกาแฟสดแบบแมนนวล ดีไซน์รูปแบบทรงกระบอกออกแบบมาให้เลือกหลากสี Krinder (ดำ, แดงและมิ้นต์) และ Go-Brew (ดำ, แดง, มิ้นต์, สีงาช้าง, ชมพูและม่วง) สามารถเสียบได้กับกระเป๋ากางเกง พกไปไหนก็พร้อมหยิบขึ้นมาใช้งานได้ไม่จำกัดพื้นที่กรุ่นกลิ่นและรสชาติคาเฟอีน นอกจากฟังก์ชันการใช้งาน คุณภาพวัสดุยังไม่เป็นสองรองใครด้วย 6 ข้อต่อไปนี้ 1. “บดกาแฟง่าย” หลายคนอาจจะเจอเรื่องความฝืด ขนาดที่ไม่เหมาะกับมือ จำเป็นต้องกดเครื่องไว้กับระนาบโต๊ะเพื่อหมุน
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก จำนวนผู้ติดเชื้อในหลายประเทศยังเดินหน้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความพร้อมของภาครัฐ รวมถึงการช่วยเหลือจากภาคเอกชนในแต่ละประเทศก็มีวิธีรับมือที่ได้ผลแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกันสหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวน 140,000 คน และเสียชีวิตไปแล้วกว่า 2,400 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563) ความสูญเสียในครั้งนี้ทำให้บริษัทรถยนต์อย่างฟอร์ดและ General Electric หรือ GE บริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่เตรียมจับมือกันผลิตเครื่องช่วยหายใจให้ได้หลักหมื่นเครื่องให้ได้ภายในเดือนกรกฎาคม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกายังคงเพิ่มจำนวนและไม่มีทีท่าว่าจะควบคุมได้ ทำให้บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาหลายแบรนด์เริ่มเปลี่ยนโรงงานของตัวเองเป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์ป้องกันและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยสนับสนุนทีมแพทย์ที่ทำงานอยู่ด่านแรกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ล่าสุดค่ายยนตรกรรมจากเมืองลุงแซมอย่างฟอร์ดก็กระโดดเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน แถมจับมือมาพร้อมกับบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการผลิตอย่าง GE โดยพวกเขามีความตั้งใจร่วมกันว่าจะสร้างเครื่องช่วยหายใจจำนวน 50,000 เครื่องภายในเวลา 100 วัน ฟอร์ดเตรียมกลับมาเปิดโรงงาน Rawsonville ในรัฐมิชิแกนอีกครั้ง ครั้งนี้ไม่ได้เปิดสำหรับผลิตรถยนต์แต่เพื่อผลิตเครื่องช่วยหายใจ และพัดลมดูดอากาศ โดยได้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีและช่วยในการนำเข้าวัสดุโดยบริษัท GE ทั้งสองบริษัทวางแผนการร่วมกันว่าจะผลิตเครื่องช่วยหายใจให้ได้จำนวน 50,000 เครื่องภายในเวลา 100 วันหรือภายในวันที่ 4 กรกฎาคม โดยมีคนงาน 500 คนสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำงานตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อให้บรรลุแผนการแรกคือการผลิตเครื่องช่วยหายใจ
ช่วงนี้ออฟฟิศหลายแห่งกำลังขยายความกดดันจากผลกระทบของโควิด-19 การทำงาน Work from Home มันจึงเป็นบาลานซ์ความรู้สึกของคน 2 ฝั่ง ระหว่างนายจ้างกับคนทำงาน เพราะความตึงเครียดของรายจ่ายที่สวนกับรายรับ จึงอาจก่อให้เกิดหลายสถานการณ์ที่ทำให้เผลอแสดงอาการกระทบกระทั่งกัน ชวนให้หมดใจและย่ำอยู่กับที่ “ทำงานอยู่บ้านไม่ได้สบายอย่างที่คิดสักหน่อย” เราเชื่อว่ามนุษย์กำพร้าออฟฟิศหลายคนตอนนี้กำลังรู้สึกแบบนี้ แต่คุณรู้สาเหตุของความรู้สึกเหนื่อยล้าอ่อนแรงนั้นจริง ๆ หรือเปล่าว่ามันเกิดจากอะไรและจะแก้ได้อย่างไร UNLOCKMEN จะพาคุณไปทำความเข้าใจความรู้สึกเหนื่อยล้าจากข้างในของคุณเอง เราไม่ได้อยากทำงานที่บ้าน เหตุผลแรกคือ “บ้าน” อาจไม่ใช่สถานที่ที่สะดวกสำหรับการทำงานของทุกคน คุณรู้สึกว่า “เราไม่ได้อยากจะขอ Work from Home” สักหน่อย ไม่ได้อยากให้กิจวัตรมันเปลี่ยนไปจากเดิม สถานการณ์มันบังคับต่างหาก อิสรภาพที่ไม่ได้เลือกจึงอาจนำอาการสับสนและหงุดหงิดมาให้ วิธีแก้: หลายคนบอกว่าฟีลออฟฟิศมันให้งานเราได้มากกว่า งั้นเติมเต็มทุกวันเวลาด้วยตารางที่ทำให้กิจวัตรการทำงานเราไม่ต่างจากการทำงานออฟฟิศปกติ ทั้งการทั้งประชุม การควบคุมเวลาทำงาน การหยุดพัก สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นวิธีลดความหงุดหงิดได้ เพราะมันทำให้คุณควบคุมช่วงเวลาการทำงานและความเป็นอิสระได้เหมือนตอนที่ยังทำงานที่ออฟฟิศตามปกติ เราเหนื่อยกับการเรียนรู้เทคโนโลยี สายครีเอทีฟหลายคนยังจำเวลาคิดงานที่ระดมเป็นก้อนเดิมที่แค่ลุกจากโต๊ะขยับไปนิดนึงก็สามารถเขียนไว้บน whiteboard ได้ แต่ทุกวันนี้เราเริ่มเหนื่อยล้ากับบางจุดที่ขลุกขลัก ทั้งเรื่องการเรียนรู้ซอฟต์แวร์ที่งานผ่านทางไกลเพื่อแบ่งปันกับทีม ยิ่งถ้ามีปัญหารับสารได้ไม่ตรงกันเหมือนแต่ก่อน ต้องปรับแก้เทคโนโลยีที่บางคนรู้สึกว่าไม่ค่อยถูกกัน เรื่องนี้ก็ทำให้เหนื่อยได้มากกว่าปกติจริง ๆ วิธีแก้ : ทางออกคือพยายามต่อไป เรื่องนี้ตั้งต้นอาจจะเหนื่อยหน่อย แต่ก็ต้องยอมรับว่าเราต้องคิดต้องทำต่อเนื่องเพราะมันกำลังเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำ
เคยจินตนาการตัวเองตอนตกอยู่ในสถานการณ์กดดันกันบ้างไหม ? บ่อยครั้งที่พวกเรา UNLOCKMEN นึกถึงตัวเองตอนตกอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายในหนังซอมบี้ หรือการเอาตัวรอดจากฉลามกลางทะเล ถ้าเกิดเราติดเกาะจะอดตายไหม ในสถานการณ์บีบคั้นที่ทำให้เราต้องตัดสินใจว่าจะอยู่หรือจะหนี แล้วถ้าหนีต้องหนีให้รอด ถือเป็นการวัดใจและท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์ว่าเราจะสามารถดึงเอาสัญชาตญาณการเอาตัวรอดออกมาใช้ ได้มากแค่ไหน ภาพยนตร์เอาตัวรอดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมด 10 เรื่อง ที่ UNLOCKMEN คัดมาให้ในวันนี้เผยให้เห็นการคิด การตัดสินใจที่หลากหลาย หากเราตกอยู่ในอันตรายหรือบาดเจ็บ สภาพแวดล้อมและสิ่งของรอบตัวกับไหวพริบที่มีจะช่วยอะไรเราได้บ้าง THE REVENANT (2015) ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราต้องรอด! หนังแอกชันกึ่งชีวประวัติของ Hugh Glass (นำแสดงโดย Leonardo DiCaprio) ต้องออกเดินทางสำรวจดินแดนในโลกใหม่ เขานำทีมลงสำรวจพื้นที่ แต่การผจญภัยต้องเกิดปัญหาเมื่อคนในคณะถูกหมีกริซลี่ทำร้ายจนทำให้การเดินทางช้าลง ซึ่งการไปแบบช้า ๆ ส่งผลเสียร้ายแรงเพราะการอยู่กลางป่านาน ๆ อาจทำให้ทุกคนในทีมเกิดอันตราย นอกจากนี้ยังมีปัญหาใหญ่ที่ตามมาว่าเราจะเลือกไปต่อแบบช้า ๆ หรือจะฆ่าเพื่อนเพื่อให้งานที่ทำไว้ไปต่ออย่างราบรื่น ? The Revenant (2015) เล่าถึงเส้นทางชีวิตที่ต้องตัดสินใจ ท่ามกลางการบีบคั้น คนที่เหลือต้องไปต่อเพื่อเอาชีวิตรอด รวมถึงเรื่องราวความแค้นที่รอวันชำระ ชวนให้กลับมานั่งคิดใหม่อีกครั้งว่าระหว่างหมียักษ์ที่ดุร้ายกับจิตใจแสนโหดเหี้ยมของมนุษย์ สิ่งไหนน่ากลัวกว่ากัน
ความเครียดหลากหลายรูปแบบรุมเร้าเราพร้อม ๆ กัน ทั้งหน้าที่การงานที่ไม่มั่นคงอย่างที่เราเคยคิด สภาพเศรษฐกิจที่ชวนให้รู้สึกหวาดระแวง ปัญหา COVID-19 ที่ไม่รู้ว่าจะคลี่คลายลงเมื่อใด ไม่เพียงเท่านั้นไฟแห่งความเครียดและความกดดันถาโถมเข้าใส่เราอย่างหนักหน่วงจากการถูกจำกัดพื้นที่เพื่อความปลอดภัย แทบไม่ได้ออกไปไหน และได้พบปะผู้คนน้อยลง สิ่งเหล่านี้ทำให้สภาพจิตใจใครหลายคนย่ำแย่ บางคนเหงา บางคนโดดเดี่ยว บางคนเครียด และอยากได้ใครสักคนคอยรับฟัง (อย่างถูกวิธี) หรือบางคนที่รู้สึกเครียดไม่มากก็ต้องการหนทางผ่อนคลายจากหนักให้เป็นเบา UNLOCKMEN ขอแนะนำ 5 แอปพลิเคชันเยียวยาจิตใจช่วงที่อะไร ๆ ก็ดูหนักหน่วงสำหรับเราไปหมด Ooca ปรึกษาปัญหาใจ Ooca คือแอปพลิเคชันรับปรึกษาปัญหาใจ ใครเศร้าเกินขนาด ใครเครียดเกินพอดี ใครวิตกกังวลจนกระทบกับการใช้ชีวิต หรือสารพันอาการทางใจที่เราต้องการใครสักคนรับฟัง แต่ใครสักคนที่ว่าไม่ใช่ใครก็ได้ Ooca รวบรวมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่มีความรู้เรื่องปัญหาทางอารมณ์โดยเฉพาะมาให้เราปรึกษาตัวต่อตัวได้จากที่บ้าน ไม่ว่าปัญหาที่คุณเจออยู่จะเป็นอะไร และคิดว่าไร้หนทางจะหาทางออกแล้ว ลองโหลดแอปพลิเคชันนี้มาวีดีโอคอลคุยกับผู้เชี่ยวชาญดูสักครั้ง หลายอย่างอาจดีขึ้นเมื่อใจเราได้รับคำแนะนำที่ถูกวิธี หรือใครที่คิดว่าปัญหาไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ก็อึดอัดกับอารมณ์ความรู้สึกหม่น ๆ ที่อยู่รอบตัวก็ไม่จำเป็นต้องรอให้อาการหนักใหญ่โตแต่อย่างใดที่ Ooca มีคนที่คอยรับฟังคุณอยู่เสมอ ดาวน์โหลดได้ที่ Google Play, App Store Raksa – ป่วยทัก รักษา จิตใจหม่น
Zound Industries บริษัทสัญชาติสวีเดนผู้ผลิตหูฟังและลำโพงภายใต้ลิขสิทธิ์ของ Marshall Amplification ประกาศเปิดตัวลำโพงบลูทูธขนาดพกพารุ่นใหม่ล่าสุด ‘Marshall Uxbridge Voice’ ที่ผนวกระบบเสียงในตำนานของ Marshall เข้ากับซอฟต์แวร์ควบคุมด้วยเสียงสุดอัจฉริยะอย่าง Amazon Alexa Marshall Uxbridge Voice เป็นลำโพงพกพาขนาด 128 x 168 x 123 มิลลิเมตร ที่ควบคุมการทำงานด้วยเสียงของ Amazon Alexa ใช้ชุดไมโครโฟนระยะไกล สามารถจดจำเสียงระยะไกลได้ และมีระบบตัดเสียงรบกวนในตัว ทำให้ผู้ใช้สั่งงานและควบคุมลำโพงจากพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านแบบแฮนด์ฟรีได้อย่างสะดวกสบาย จะสั่งให้ลำโพงเร่งเสียงเพลงเมื่อถึงเพลย์ลิสต์โปรดหรือหยุดเพลงที่เล่นแบบกะทันหันก็ได้ ลำโพงเครื่องนี้ใช้ 30-W Class D Amplifier ที่ขับเคลื่อนด้วยไดร์เวอร์เสียงสองตัว ทั้ง Woofer และ Tweeter ให้เสียงดังสูงสุดอยู่ที่ 96 เดซิเบล และมีกำลังขับเสียงอยู่ที่ 30 วัตต์ นอกจากจะปรับแต่งลำโพงผ่านแอปพลิเคชัน Marshall Voice บนสมาร์ตโฟนได้แล้ว ด้านบนของลำโพงยังดีไซน์ปุ่มควบคุมเท่
วิกฤตเศรษฐกิจโลกตอนนี้ พยากรณ์กันว่าสหรัฐฯ จะแย่กว่าตอนเจอวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เพราะ Social Distancing สร้างปรากฏการณ์ Economic Distancing ตามมา คนไม่ได้ตกงานจากการเลิกจ้างแต่มาจากการกักกัน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบ่งเป็นระลอกคลื่น 4 ลูก ได้แก่ สภาวะสังคมแช่แข็งกะทันหัน, คนตกงาน, คนเกษียณบั้นปลายพัง และอุตสาหกรรมการลงทุนที่โดนตัดแขนขา ตามลำดับ ไทยอยู่ในเฟสแจกเงิน แต่หากเป็นไปตามการพยากรณ์ที่เทียบกับสหรัฐฯ การแจกเงินให้คนไปเก็บไว้ ไม่ได้ทำให้คนหายตกงานและคนจะไม่ออกมาใช้เงิน ธุรกิจขนาดเล็กและ SMEs ที่โดนก่อนอาจจะไม่รอด จึงควรมีมาตรการด้านอื่นช่วยส่งเสริมและธุรกิจเหล่านี้ก่อนลูกโซ่ของโดมิโนตัวแรกจะล้มลง เมื่อถึงคราวอัดฉีดเงินหลังไวรัสจากไป รัฐควรมีส่วนสนับสนุนและอัดฉีดเพื่อให้กราฟที่ดิ่งเด้งขึ้นในเร็ววัน หากสถานการณ์ยืดเกินเดือน พ.ค. ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขหลายประเทศคาดการณ์ว่าอาจยาวได้ถึงปลายปี ก็มีโอกาสสูงที่บาดแผลนี้จะยิงยาวไป 4-5 ปี เมื่อไม่กี่วันก่อน เรามีโอกาสได้ออกไปข้างนอกซื้อของเข้าบ้าน เห็นชัดว่าธนาคารสีชมพูสาขาใกล้บ้านมีคนมาอออยู่หน้าธนาคารเพียบ มั่นใจได้ว่าช่วงนี้คงไม่ได้ออกันเพื่อเอาเงินเข้า แต่เป็นยืนรอถอนเงินออกเพราะไม่มั่นใจว่าสภาวะนี้เงินสดในมือจะพอใช้หรือเปล่า หรือถ้าวันไหนเกิดธนาคารปิด ถอนเงินออกมาไม่ได้เราจะเอาอะไรกินกัน? แล้วไวรัสหรือข้าวปลา อันไหนที่น่ากลัวกว่ากัน ? เศรษฐกิจตอนนี้มันตกหรือกระทบกันแค่ไหน UNLOCKMEN ขอสรุปเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าง่าย ๆ ที่เราย่อยมาจากบทความสัมภาษณ์ Mark Zandi หัวหน้าเศรษฐศาสตร์ของ