คนที่อ่านมังงะเรื่องวันพีซ (One Piece) มาตั้งแต่ตอนแรกจนถึงปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จักชนชั้นสูงของโลกที่เรียกว่า “เผ่ามังกรฟ้า” และ UNLOCKMEN เชื่อว่าเกือบทุกคนจะต้องหมั่นไส้ตัวละครกลุ่มนี้มากแน่นอน เพราะพวกเขาไม่เคยแคร์คนอื่น ห้ามใครขัดใจ คิดว่าตัวเองเป็นเทพเจ้า ใครขัดขืนเผ่ามังกรฟ้า ถ้าไม่ถูกเอาไปเป็นทาสต้องพบกับความตาย แล้วเพราะอะไรพวกเขาถึงยิ่งใหญ่คับฟ้าขนาดนี้ ? เผ่ามังกรฟ้า (Celestial Dragons) ปรากฏตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันพีซตอนที่ 497 พวกเขาเป็นสมาชิกของราชวงศ์เก่าแก่ 20 ตระกูล ที่ร่วมกันสร้างรัฐบาลโลกเมื่อ 800 ปีก่อน เมื่อสงครามใหญ่จบลงพวกเขาพากันไปใช้ชีวิตอยู่บนดินแดนศักดิ์สิทธิ์แมรี่โจอาหรือแมรีจัวส์ (Mariejois) ผืนแผ่นดินที่ตั้งอยู่บนยอดของเรดไลน์ พร้อมกับคัดเลือกคนที่เหมาะสมให้มาปกครองดินแดนต่าง ๆ แทนตัวเองที่ย้ายไปอยู่ยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แต่เผ่ามังกรฟ้าตระกูลเนเฟลตาลี (Nefertari) ขอเลือกใช้ชีวิตอยู่บนแผ่นดินปกติตามเดิม และลูกหลานของตระกูลนี้เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโจรสลัดหมวกฟางกลุ่มตัวละครหลักของเรื่อง เรื่องราวของเผ่ามังกรฟ้าที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับพระเจ้าถูกอาจารย์โอดะค่อย ๆ สอดแทรกอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมของหนังสือการ์ตูน ทำให้คนอ่านตามเก็บรายละเอียด รับรู้เรื่องราวของชนชั้นสูงในโลกวันพีซว่าพวกเขายิ่งใหญ่ ถูกเรียกว่า ‘สายเลือดของพระเจ้า’ และไม่ค่อยสุงสิงกับพวกมนุษย์ชั้นต่ำ เราจะได้เห็นแฟชั่นของชนเผ่ามังกรฟ้าแบบเต็ม ๆ ครั้งแรกเมื่อพวกลูฟี่มาเยือนยังหมู่เกาะชาบอนดี้ เผ่ามังกรฟ้าจะไม่ใช้อากาศหายใจร่วมกับมนุษย์คนอื่น ๆ พวกเขาแต่งตัวเหมือนกับมนุษย์อวกาศ รวมถึงสัตว์เลี้ยงมีค่ามากกว่าคนทั่วไป ไม่ค่อยออกจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้าจะลงมาข้างล่างพวกเขามักแวะเวียนมายังหมู่เกาะชาบอนดี้อยู่บ่อย ๆ เพราะเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงประมูลทาสที่ใหญ่ที่สุดในโลก เผ่ามังกรฟ้าเวลาออกจากแมรี่โจอาแต่ละครั้งมักสร้างความเดือดร้อนให้ผู้คน
ชีวิตยามปกติที่เคยนอนในบ้าน กินอาหารข้างนอก ทำงานที่ทำงาน อยากผ่อนคลายก็ไปทะเลสักแห่ง ถูกสถานการณ์ COVID-19 บีบบังคับให้เราต้องกิน นอน ทำงาน ผ่อนคลาย มีชีวิตเกือบ 100% เต็มในสถานที่จำกัด บางคนอาจมีบ้านยังพอเดินไปเดินมาให้ผ่อนคลาย (แต่ก็ไม่อิสระเหมือนการได้ไปข้างนอกอยู่ดี) แต่หลายคนที่อาศัยอยู่ในห้องขนาดไม่ใหญ่มาก ยิ่งต้องเผชิญความท้าทาย ความกดดันทางอารมณ์มากขึ้นไปอีก ความโดดเดี่ยวในสถานที่คับแคบ การแบ่งเวลางานและเวลาพักผ่อน การพยายามหาหนทางผ่อนคลายให้ตัวเองจึงไม่ง่ายเลยสำหรับใครหลายคน จะมีใครเข้าใจ “วิธีมีชีวิตรอดในความโดดเดี่ยว” ดีไปกว่า Scott Kelly นักบินอวกาศผู้ต้องใช้เวลาบนสถานีอวกาศยาวนาน 1 ปี เขากิน นอน ทำงาน และผ่อนคลายที่นั่น ไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้ง หรือห่างจากสถานีอวกาศไปไหนไกลและนี่คือเคล็ดวิธีที่เขาอยากแนะนำ ในห้วงเวลาที่เราต้องอยู่ติดบ้านไปอีกพักใหญ่ อย่าปล่อยเวลาให้ไหลไป “กำหนดตารางเวลา” ให้ตัวเองเสมอ สิ่งหนึ่งที่ Kelly แนะนำคือเมื่อเราต้องอยู่ในสถานที่เดียวนาน ๆ แต่ทำสารพัดอย่าง เราต้อง “กำหนดตารางเวลา” ให้ตัวเอง ตัวเขามีตารางเวลาที่แน่นขนัด ตั้งแต่วินาทีที่ลืมตาตื่นไปจนถึงเข้านอน เพราะเรานั้นไม่สามารถใช้ “สถานที่” มาเป็นตัวกำหนดเวลาและกิจกรรมได้อีกแล้ว เช่น เมื่อก่อนเราไปถึงออฟฟิศ เราจะรู้โดยอัตโนมัติว่านี่คือเวลาทำงาน
เจริญกรุง อีกหนึ่งย่านเก่าแก่อันที่ยังคงเต็มไปด้วยเสน่ห์และกลิ่นอายด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันย่านเก่าแก่แห่งนี้ก็แฝงบาร์ คาเฟ่และร้านอาหารหลากหลายบรรยากาศจนกลายเป็นอีกโซนที่หนุ่ม ๆ หลายคน เลือกเป็นสถานที่สำหรับแฮงเอ้าท์หลังจากช่วงเวลาเลิกงานรวมทั้งคืนวันหยุดสุดสัปดาห์ To More หนึ่งในบาร์ค็อกเทลย่านเจริญกรุง ที่แม้โลเคชั่นของร้านอาจจะเป็นสถานที่คุ้นเคยของหนุ่มหลายคนผู้เคยมาเยือน Soul Bar ในอดีต ปัจจุบันถูกเปลี่ยนแปลงเป็นบูทีคบาร์ที่ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากโรงละครมูแลงรูจ (Moulin Rouge) เติมเต็มอารมณ์ด้วยพื้น ผนังไม้สีดำและผ้าม่านสีแดงที่ประดับประดาไว้อย่างลงตัว สร้างความรู้สึกเสมือนหลุดเข้ามาในโรงละครตามความตั้งใจของหุ้นส่วนร้านทุกคน ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากบาร์แจ๊สรูปแบบเดิมสู่บาร์ค็อกเทลที่สามารถดูโชว์และดนตรีได้อย่างใกล้ชิด ทำให้ไม่ว่าคุณจะหอบกันมาเป็นหมู่คณะหรืออารมณ์เปลี่ยวอยากมาจิบคนเดียวก็รู้สึกเอนจอยกับรสชาติของเครื่องดื่มจากแก้วในมือและการแสดงต่าง ๆ ที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างไม่เขินอาย นอกจากสไตล์อันเป็นเฉพาะตัวของร้านและโชว์ที่มีไม่ซ้ำกันของแต่ละวันแล้ว อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญแน่นอนว่าคือค็อกเทลสูตรเฉพาะของ To More ที่รังสรรค์โดยเฮดบาร์เทนเดอร์และหนึ่งในหุ้นส่วนของร้านอย่างพี่เบิ้ล-ปรัชญา ไชยเมือง ที่มาโชว์ฝีมือในการปรุงค็อกเทลแก้วพิเศษให้เราได้ลิ้มชิมรสกันในคืนนี้ King And I เริ่มต้นกันที่แก้วแรกสำหรับหนุ่ม ๆ ผู้ต้องการค็อกเทลรสเข้มมาเป็นแก้วเปิดวันกับ King And I ที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้เราตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมส่วนผสม ที่มีทั้งซินนาม่อนและใบซิการ์ซึ่งสร้างกลิ่นรัญจวนใจในทันทีที่เผาไหม้ส่งกลิ่นควันหอมอบอวลคลุ้งไปทั่วบาร์ จนเราแอบอดใจที่จะลิ้มลองรสชาติของแก้วนี้ไม่ไหว แต่ไม่นานหลังจากนั้น เมื่อวินาทีที่รอคอยการปรุงแต่งรสชาติและหน้าตาสิ้นสุดลง ความรู้สึกคุ้มค่ายืนยันด้วยกลิ่นสโมคของใบยาสูบจากซิการ์และซินนามอนที่ผสมเข้ากันได้อย่างลงตัวกับกลิ่นของมะพร้าวและเบสจากรัม ก่อนออนท็อปด้วยน้ำส้มสดเพื่อตัดรสชาติไม่ให้เลี่ยนจนเกินไป จนเกิดเป็นความเข้มและหนักแน่นในแบบของผู้ชาย ผนวกรวมเข้ากับความสดชื่นได้อย่างลงตัว Cinderella ต่อกันด้วยค็อกเทลสีขาวนวลที่ดูก็รู้ว่าเหมาะจะสั่งให้กับสาวที่มาด้วยกันซึ่งเข้ากันเป็นอย่างดีกับแสงเทียนละมุนตา Cinderella มาพร้อมเบสหลักเป็นจินกับไฮเนทไซรัปและน้ำมะนาวสร้างสีสันเรืองสวยเด่น ก่อนออนท็อปด้วยเปลือกเลมอน ทันทีที่เรายกแก้วขึ้นมาเพื่อสัมผัสรสชาติก็รู้ได้ทันทีว่าสุภาพสตรีทุกคนจะต้องตกหลุมรักค็อกเทลแก้วนี้จากรสชาติเปรี้ยวที่มอบความสดชื่นของมัน
เราพูดถึงคนทำงานกันมานาน แต่ฝั่งผู้บริหารระดับสูงล่ะเขาคิดอย่างไรกันบ้าง เคยสงสัยกันบ้างไหม ? หลายคนหวั่นใจแต่ไม่กล้าถาม หลายคนก็ยังคลุมเครือว่า “Work from Home” ของเรากับมุมมองของเจ้านายมันต่างกันไหม เรื่องนี้คงไม่มีให้ใครตอบได้ดีไปกว่า “ผู้บริหาร” ที่มีลูกน้องในปกครองซึ่งวันนี้ก็ต้องรับมือกับสภาพวิกฤตจากผลกระทบโควิด-19 UNLOCKMEN จึงถือโอกาสนี้สอบถามผู้บริหารทั้ง 4 คนจากบริษัทชั้นนำที่หลายคนรู้จักว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับวิกฤตนี้ และสำหรับพวกเขา คำว่า “Work from Home” ที่มันมีประสิทธิภาพจริง ๆ ควรเป็นแบบไหน ได้แก่ คุณเก่ง – สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม CEO บริษัท RGB72 และ Creative Talk, คุณกลาง – สุจารี อัศวมงคลกุล CEO บริษัท Whiteline Group, คุณป๊อก–อติพล อิทธิวัฒนะ Head of Media บริษัท Publicis Group และคุณตูน – สุธีรพันธุ์
ช่วงนี้เราผ่านระยะการ Work From Home กันมาสักระยะหนึ่งแล้ว ตื่นลืมตามาก็ทำงานได้ทันทีโดยไม่มีอะไรมาคั่นกลาง ถึงหลายคนจะบอกว่าทำงานเหมือนเดิมแค่เปลี่ยนสถานที่ แต่ลึก ๆ แล้วเราทุกคนรู้แก่ใจดีว่าสถานการณ์ทรง ๆ ของบริษัท โชคอาจจะไม่เข้าข้างชาวมนุษย์เงินเดือนพลัดออฟฟิศอย่างเราก็ได้ การต่อสู้กับวิกฤตที่เห็นแววชัดว่าคงจะยืดเยื้อมันน่ากลัว ทั้งการความเปลี่ยนแปลงส่วนตัวและส่วนรวม โดยไม่รู้ว่าวันข้างหน้าเราจะเสี่ยงตกงานไหม เพื่อขจัดความกลัวของชาวมนุษย์ออฟฟิศให้ฟิตได้เสมอไม่ว่าจะทำงานที่ไหนทั้งกายและใจ UNLOCKMEN จึงขอคำแนะนำ เคล็ดลับการทำงานดี ๆ จากคุณตูน – สุธีรพันธุ์ สักรวัตร EVP Head of Marketing of SCB ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการสื่อสารแบรนด์ ซึ่งเปรียบเสมือนขงเบ้งทัพธนาคารสีม่วงมาฝาก โดยเขาบอกเราว่า 3 สิ่งนี้อาจช่วยให้การ Work From Home ไม่น่ากลัวทั้งกับนายจ้างและลูกจ้าง และวิธีนี้คือวิธีที่เขากำลังใช้เป็นแนวทางการทำงานในองค์กร 3 เคล็ดลับพิชิต Work From Home การมีวินัย (Discipline) “การมีวินัยคือหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ และเป็นข้อแรกของการบรีฟสมาชิกในทีม ในวันก่อนที่พวกเราจะต้อง Work From Home เป็นวันแรก เหตุผลสำคัญก็คือ
ตอนนี้ใคร ๆ ก็ต้องอยู่บ้าน รวมถึงพวกเราชาว UNLOCKMEN ต้องอยู่ติดบ้าน พยายามออกไปข้างนอกให้น้อยเท่าที่จะทำได้ และการนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่ในพื้นที่เดิมอาจทำให้เราเบื่อหน่าย บางคนดูหนังจนไม่รู้ว่าจะดูเรื่องอะไรแล้วก็มี จึงทำให้วันนี้เราอยากแนะนำแอนิเมชันที่ฉายบนระบบสตรีมมิง Netflix ไว้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับคนขี้เบื่อ แอนิเมชัน 7SEEDS สร้างจากมังงะที่ตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูนรายเดือนโชโจปี 2001 และนิตยสารการ์ตูนรายเดือนฟลาวเวอร์ในปี 2002 ผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ของทามูระ ยูมิ (Tamura Yumi) นักเขียนมังงะสไตล์สดใสที่คนไทยชอบเรียกกันว่า “การ์ตูนตาหวาน” แต่ถึงจะตาหวานภาพสวยน่ารักแต่เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของอาจารย์ยูมิมักมีเนื้อหาแหวกแนวจากการ์ตูนตาหวานเรื่องอื่น ๆ 7SEED จะเล่าเรื่องราวของคนญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งถูกนำไปปล่อยทิ้งไว้สักแห่งหนึ่งของโลก เด็กสาวชื่อ ‘นัตสึ’ ตื่นขึ้นมาพบว่าตัวเองอยู่บนเรือลำหนึ่งกลางมหาสมุทรกับคนแปลกหน้าอีกสองคน พวกเขาสามารถขึ้นฝั่งบนเกาะที่ไม่รู้จัก แถมพบว่ายังมีคนอื่นที่ติดอยู่บนเกาะด้วยเหมือนกัน ผู้รอดชีวิตทั้งนักเรียนมัธยมปลาย นักดนตรี ตำรวจหญิง แต่ละคนล้วนอุปนิสัยแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทุกคนต่างต้องงัดความรู้และไหวพริบเท่าที่มีทำให้ตัวเองมีชีวิตรอดบนเกาะที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตประหลาด เรื่องราวการเอาชีวิตรอดของมนุษย์ทำให้เราลืมภาพการ์ตูนตาหวานไปจนหมดสิ้น เพราะเนื้อหาของมังงะเรื่องนี้เล่นกับจิตใจคนได้อย่างไม่น่าเชื่อ มีคนที่เชื่อมั่นสุดหัวใจว่าหากร่วมมือกันทุกคนจะต้องออกไปจากเกาะให้ได้ และก็มีบางคนเชื่อว่ามนุษย์สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัว ดำรงชีวิตอยู่บนเกาะโดยไม่ต้องพยายามหาทางออกไป จนทำให้เราย้อนกลับมาคิดว่าหรือถ้าเป็นเองจะเลือกอยู่บนเกาะหรือไปตายเอาดาบหน้าดีกว่า ? “ที่นั่น มีแต่ภาพแห่งความสิ้นหวัง” แท้จริงแล้วมนุษย์ถูกจับมาอยู่รวมกันโดยโครงการ 7SEEDS เพื่อค้นหาเมล็ดพันธุ์ยอดเยี่ยมจากกลุ่มเซอร์ไววัลมาเป็นต้นแบบเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์จากเหตุการณ์บางอย่างที่อาจทำให้เกิดการสูญพันธุ์ ท่ามกลางการ์ตูนภาพสวยกลับเต็มไปด้วยเรื่องราวหนักอึ้ง
“ไม่ว่าใครก็ติดไวรัสได้ ไม่ว่าจะรวยหรือจนหรือมีอำนาจล้นฟ้า” ประโยคดังกล่าวคือการนิยามถึงภัยร้ายจากการระบาดของไวรัสได้เป็นอย่างดี เพราะใคร ๆ ก็สามารถป่วยได้ด้วยกันทั้งนั้น จึงทำให้สถานการณ์การเมืองโลกในช่วงนี้ลดความร้อนระอุลงอย่างไม่น่าเชื่อ UNLOCKMEN จะพาทุกคนสำรวจไปทั่วโลกว่าประเทศน้อยใหญ่แต่ละที่เขามีมาตรการรับมือกับไวรัสอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะประเทศที่มีคู่กรณีหรือไม่ค่อยจะลงรอยกัน ดูสิว่าไวรัสระบาดสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการทูตมากน้อยแค่ไหน ช่วงแรกประเทศจีนเผชิญกับไวรัสโควิด-19 ทำให้คนทั่วโลกรู้จักเมืองอู่ฮั่นในฐานะเมืองแพร่เชื้อ ประเทศจีนกล่าวหาว่ากองทัพสหรัฐฯ อาจเป็นผู้ปล่อยเชื้อใส่ประเทศจีน ส่วนทางสหรัฐอเมริกากล่าวว่าเป็นจีนเองนี่แหละที่คิดค้นเชื้อโรคและเกิดความผิดพลาดจนทำให้คนตายไปจำนวนมาก ประเทศคู่กรณีอย่างไต้หวันกับจีนที่ทะเลาะกันอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่น้อยหน้า เมื่อไต้หวันบอกว่าพวกเขาเตือนองค์การอนามัยโลก (WHO) ไปตั้งแต่แรกแต่กลับไม่มีใครสนใจฟัง เพียงเพราะไต้หวันไม่ถูกนับว่าเป็นประเทศในสายตาของจีนและองค์การอนามัยโลก ทางฝั่งญี่ปุ่นที่มีข้อพิพาทกับจีนแถมยังไม่ค่อยลงรอยกับเกาหลีใต้ก็มาร่วมวงครั้งนี้ด้วย สำนักข่าวญี่ปุ่นเรียกร้องให้จีนแสดงความรับผิดชอบเพราะเป็นประเทศแรกที่เกิดการแพร่ระบาด ส่วนเกาหลีใต้ก็มีท่าทีแข็งกร้าวเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ทั่วประเทศ หลายเมืองเกิดการโทษกันไปมา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ เรียกไวรัสโควิด-19 ว่า “ไวรัสจีน” องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงการณ์เตือนผู้คนทั่วโลกว่าโปรดอย่าเรียกชื่อไวรัสชนิดนี้ว่า “ไวรัสจีน” เพราะการกระทำดังกล่าวจะสร้างภาพลักษณ์ผิด ๆ ให้กับเพื่อนร่วมโลก เพราะไวรัสไม่รู้เรื่องพรมแดน ไม่สนใจชาติพันธุ์อันแตกต่าง สีผิว หรือเงินเก็บที่คุณฝากธนาคารเอาไว้ ดังนั้นจึงอยากให้ทุกท่านอย่าสร้างภาพเหมารวมผิด ๆ ก่อให้เกิดความแตกแยก หลังจากหลายชาติต่างสลับสับเปลี่ยนวิวาทกันไปเรื่อย ๆ รู้ตัวอีกทีไวรัสโควิด-19 ก็แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โดยย้ายจากจีนมาเป็นอิตาลีที่อาการหนักเข้าขั้นโคม่า ถัดจากอิตาลีคือสหรัฐฯ ที่มีผู้ติดเชื้อมากขึ้นจนน่าใจหาย และจำนวนผู้ติดเชื้อกับผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อย
“ถ้าอยากให้มวลมนุษยชาติมีชีวิตรอด เราคงต้องย้ายไปดาวดวงอื่น” ถ้าคุณได้ยินคำพูดทำนองนี้เมื่อ 3 ปีก่อน คุณอาจคิดว่าใครคนนั้นกำลังเขียนนิยาย Sci-Fi พล็อตว่าด้วยหายนะล้างโลก หรือไม่ใครคนนั้นก็อาจเสียสติไปแล้วแน่ ๆ แต่เมื่อคำพูดนี้ออกมาจากปากสตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นักฟิสิกส์ทฤษฎี และนักจักรวาลวิทยา ก็อาจพอกระทุ้งให้ผู้คนหยุดฟังบ้าง แต่ท้ายที่สุดความคิดที่ว่ามวลมนุษยชาติจะสูญพันธุ์ โลกจะถึงกาลอวสาน จนเราต้องหาอาณานิคมใหม่บนดาวสักดวงในเวิ้งอวกาศก็ดูเป็นเรื่องไกลตัวเราอยู่ดี อย่างไรก็ตามเมื่อปี 2020 เดินทางมาถึงพร้อมวิกฤตไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ระบาดไปทั่วโลกก็ทำให้หลายคนนึกย้อนไปถึงคำพูดของนักฟิสิกส์ผู้ล่วงลับ โดยครั้งหนึ่งเขาเคยพูดถึงการสูญพันธุ์ของมวลมนุษยชาติด้วยหลายสาเหตุ และหนึ่งในสาเหตุนั้นคือ “ไวรัส” “ผมเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงที่จะถูกกวาดล้างจนสูญพันธุ์ ทั้งจากสงครามนิวเคลียร์ หรือจากไวรัสที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม มนุษยชาตินั้นคงสิ้นอนาคต ถ้าเราไม่ออกไปสู่ห้วงอวกาศ” นอกจากนั้นเขายังเคยกล่าวไว้ว่าหายนะที่จะกวาดล้างมวลมนุษยชาติ ยังมีอีกหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การโจมตีจากดาวเคราะห์น้อย รวมถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกของเองที่เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงการคุกคามจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ความเป็นนักฟิสิกส์ นักจักรวาลวิทยาและความสงสัยใคร่รู้ของเขาในฐานะมนุษย์คนหนึ่งทำให้เขาครุ่นคิดถึงเรื่องอนาคตของมวลมนุษยชาติอยู่บ่อย ๆ สตีเฟน ฮอว์คิงขึ้นพูดใน Starmus Festival ที่ประเทศนอร์เวย์ เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2017 เรื่องอนาคตของมวลมนุษยชาติเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ “พื้นที่บนโลกใบนี้กำลังร่อยหรอลงทุกที ๆ และที่ที่เราจะไปได้คือดาวดวงอื่น
สิ่งที่พรากความสุขไปจากชีวิตเรามีเพียงความสิ้นหวังเท่านั้น เพราะทุกความลำบากที่เคยเกิดและเผชิญ มนุษย์รุ่นต่อรุ่นก็ฝ่ามาได้ทุกครั้ง ขอแค่มีแสงแห่งความหวังเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นเครื่องชโลมความรู้สึกให้คลี่คลายและผ่านไปได้ จะทุกข์ทนหรือสุขสม ศิลปะมักจะมาในช่วงนั้น ทำหน้าที่เป็นทั้งกระบอกเสียงและเยียวยาหัวใจคนในสังคม นี่จึงสาเหตุที่ทำให้อีกซีกโลกเกิด Hashtag “#MuseumBouquet” หรือภาพดอกไม้ที่เป็นผลงานของศิลปินไม่ว่าจะเบอร์หรือใหญ่ ประติมากรรมหรือจิตรกรรมซึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์เหล่านั้นออกมาให้เห็นในทวิตเตอร์ การเด็ดดอกไม้ทุกดอกที่มีในพิพิธภัณฑ์มาอยู่ในโลกออนไลน์แล้วจัดเป็นคอลเลกชันส่งถึงกัน เริ่มต้นจากบัญชีของ New-York Historical Society ที่แชร์ภาพจิตรกรรมดอกแอปเปิลเบ่งบานของจิตรกรอเมริกัน Martin Johnson Heade ให้ The Smithsonian ถัดมา The Smithsonian จึงส่งรูปวาดต้นกล้าสีสันสดใสของ H. Lyman Saÿen ไปให้ Akron Art Museum ต่อ จากนั้นการตามหาดอกไม้ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ จึงเหมือนเป็น Challenge ส่งกำลังใจถึงกันระหว่างพิพิธภัณฑ์ จากบัญชีของพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งสู่อีกแห่ง หลายที่ก็เป็นบัญชีทวิตเตอร์ของพิพิธภัณฑ์ที่คนออนไลน์ตามกันจำนวนมาก ทั้ง the Metropolitan Museum of Art, the Guggenheim,
สำหรับหนุ่มคนไหนที่ดูซีรีส์จนตาแฉะและฟังเพลงจนหมดเพลย์ลิสต์แล้ว ก็ยังไม่หายเบื่อที่ต้องอยู่บ้านนาน ๆ แบบนี้ UNLOCKMEN ขอเสนออีกวิธีแก้เบื่ออย่างการเล่นเกมที่จะช่วยคลายเหงา คลายเครียด และทำให้คุณแฮปปี้ที่ได้อยู่บ้านมากขึ้น คอลัมน์ Game Highlights เดือนนี้เลยจะพาหนุ่ม ๆ ไปเล่นเกมติงต๊อง เบาสมอง เล่นสบาย แต่สนุกจนทำเอาใครหลายคนติดงอมแงมและแทบวางมือไม่ลงเลย จะมีเกมเด็ดเกมไหนน่าเล่นบ้าง ไปดูกัน! Animal Crossing: New Horizons วิดีโอเกมแนว Life Simulation ที่ซ่อนกลิ่นอายเกม RPG จากค่าย Nintendo เกมนี้จะส่งตัวผู้เล่นไปยังเกาะร้างและจำลองชีวิตบนเกาะให้คุณหาหนทางเอาตัวรอดในเกาะนี้ให้ได้ นี่ถือเป็นเกมชุดที่ห้าจากตระกูล Animal Crossing ที่เหล่าเกมเมอร์หลายคนตั้งตารอ แถมรอบนี้ยังอัปเกรดกราฟิกมาให้ดูคมชัด น่ารัก และสดใสมากกว่าเดิมด้วย ระบบเกมเพลย์ก็แสนง่ายเหมือนเกมติดเกาะทั่วไปที่คุณต้องดีไซน์รูปลักษณ์ตัวละครเอง กู้ยืมเงินเพื่อสร้างถิ่นฐาน ค้นหาทรัพยากร ทำมาหากิน และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของคนอื่น ๆ ‘Animal Crossing: New Horizons’ ไม่ใช่เกมปลูกผักทำไร่ไถนา คุณจึงใช้ชีวิตสโลว์ไลฟ์ ยืดหยุ่น และไม่ต้องรีบเร่งเก็บผักตามเวลาหรือรีบร้อนนอนเพื่อเก็บค่าพลังชีวิต ถ้าเล่นต่อไปเรื่อย ๆ คุณยังสามารถปรับแต่งภูมิประเทศหรือชวนเพื่อนมาเยี่ยมเกาะแบบออนไลน์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันได้อีกด้วย