“บุหรี่” ถือเป็นอีกเชื้อเพลิงสำคัญที่ขับเคลื่อนผู้ชายอย่างเราให้ทำงานได้คล่องตัวขึ้น อาจเพราะนิโคตินที่เราเสพ อาจเพราะช่วงเวลาพักสั้น ๆ ที่ได้ออกมาสูดอากาศนอกบรรยากาศการทำงาน อาจเพราะได้มองผู้คนจากออฟฟิศอื่นที่ก็ลงมาสูดควันเข้าปอดเหมือนกัน แต่เชื่อว่าผู้ชายหลายคนคงไม่ทันนึกว่า “การสูบบุหรี่” สามารถเชื่อมโยงกับความก้าวหน้าในอาชีพการงานได้ งานวิจัยจาก National Bureau of Economic Research สำรวจกลุ่มตัวอย่างจากพนักงานในสถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ โดยผลการสำรวจชี้ว่าพนักงานผู้ชายที่ใช้เวลาสูบบุหรี่กับหัวหน้าผู้ชายของพวกเขานั้นมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งเร็วกว่า และเงินเดือนขึ้นเร็วกว่า ในมุมหนึ่งเรื่องนี้อาจดูไม่น่าแปลกใจนักเพราะสิงห์อมควันรู้ดีว่าการสูบบุหรี่กับใครสักคนไม่ได้หมายความแค่การสูดควันเข้าปอดข้าง ๆ กัน โดยเฉพาะการสูบบุหรี่กับเพื่อนร่วมงาน ระหว่างห้วงเวลาในควันเทาทึมนั้นมักมีบทสนทนาลื่นไหลที่บางบทสนทนานั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในบรรยากาศการทำงานในออฟฟิศได้เลย การสูบบุหรี่จึงไม่ต่างจากสารกระตุ้นความผ่อนคลายบางอย่าง แต่ก็เจือบรรยากาศเปิดเผยอย่างจริงใจ จึงไม่แปลกที่ผู้ชายอาจได้แสดงวิสัยทัศน์หรือตัวตนให้หัวหน้าประทับใจ จนนำไปสู่ความก้าวหน้าทางอาชีพการงานได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ก็ทำให้เกิดข้อถกเถียงเป็นวงกว้าง เพราะถ้าทุกคนได้แสดงความคิดเห็นหรือทำให้หัวหน้าเห็นศักยภาพบางอย่างระหว่างสูบบุหรี่จริง ทำไมพนักงานผู้หญิงถึงไม่ได้เลื่อนขั้นเร็วขึ้นอย่างพนักงานผู้ชาย? หรือทำไมการที่พนักงานไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชายสูบบุหรี่กับหัวหน้าผู้หญิง แล้วถึงไม่ได้มีใครมีอัตราการเลื่อนตำแหน่งเร็วขึ้น? การตั้งข้อสังเกตเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศระหว่างการทำงาน ไม่ได้เกิดขึ้นกับการสูบบุหรี่เป็นกรณีแรก ทฤษฎี “old boys’ club” ที่ตั้งคำถามกับกิจกรรมแบบผู้ชาย ๆ ที่เอื้อประโยชน์กันแค่ในหมู่ผู้ชายและสร้างโครงข่ายคอนเนคชั่นทอดยาวไม่รู้จบนั้นมีมานานแล้ว ถ้าจินตนาการไม่ออกให้ลองนึกถึงการไปตีกอล์ฟแบบผู้ชาย ๆ หรือการไปกินดื่มเที่ยวในสถานบันเทิงบางรูปแบบที่มีแต่ผู้ชาย เพราะไม่สามารถชวนพนักงานผู้หญิงหรือเจ้านายผู้หญิงไปมีส่วนร่วมได้ ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อในทฤษฎี “old boys’ club” แต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เชื่อแน่ ๆ และเถียงหัวชนฝา พวกเขาตั้งสมมติฐานขึ้นมาว่า “ที่พนักงานผู้ชายได้ขึ้นเงินเดือนและเลื่อนตำแหน่งเร็วกว่าตอนที่ทำงานกับหัวหน้าผู้ชายก็เพราะว่าหัวหน้าผู้ชายเข้าใจเราและรู้จักวิธีบริหารดีกว่าไงล่ะ” สมมติฐานนี้คล้ายจะฟังขึ้น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศเล็ก ๆ บนเกาะที่หลายคนลงความเห็นว่าน่าอยู่และเจริญที่สุดประเทศหนึ่ง บางคนก็มองว่ามีเสน่ห์น่าหลงใหลเพราะความตั้งใจจริงของคนในชาติ แต่เราเชื่อว่าหลายคนยังคงตั้งคำถามว่า การอยู่ในกรอบสังคมญี่ปุ่นที่เป๊ะไปเสียทุกอย่างมันสร้างความกดดัน และเกี่ยวพันกับอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น หลังจากมีโอกาสพูดคุยกับ ดร. กฤตินี พงษ์ธนเลิศ เราพบมุมมองที่น่าสนใจว่า “งานไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของการตาย” และมีคำอธิบายมุมมองที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่ทำให้รู้ว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้องค์กรของญี่ปุ่นเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ยอดฆ่าตัวตาย ไม่ได้มาจากคนตั้งใจทำงาน “ครูมองว่ามันต้องแยกกันค่ะ คนที่ตั้งใจทำงานอาจจะเป็นคนละกลุ่มกัน มันไม่ได้แปลว่าคนที่ตั้งใจทำงานจะทำงานหนักจนต้องฆ่าตัวตาย” บางคนอาจเชื่อมโยงสถิติการฆ่าตัวตายวันจันทร์เข้ากับเรื่องการทำงานท่ามกลางสภาพความกดดัน เป๊ะ ๆ ของสังคมญี่ปุ่น แต่นั่นคือภาพมองแบบเหมารวม เพราะหากเราติดตามรายละเอียดจริง ๆ สถิติการตายเหล่านี้มีคณะวิจัยระบุว่าอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นในช่วงที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น นั่นแปลว่าเขารู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เครียด เมื่อไร้การทำงานจนต้องจบชีวิตตัวเองต่างหาก การทำงานเป็น A MUST สำหรับคุณ แต่ไม่ใช่สำหรับทุกคน แม้จะมีความเป็นไปได้ที่บางคนรู้สึกทุกข์ทนถึงขนาดหดหู่ที่ต้องตื่นลืมตามาทำงาน แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นในองค์กรญี่ปุ่นทุกองค์กร เพราะตามประสบการณ์ที่ ดร. กฤตินี พบแม้จะทำงานหนักแค่ไหน แต่ผู้คนในญี่ปุ่นกลับรู้สึกสนุกและเห็นคุณค่าของการทำงานจนไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ทำคือการทำงาน เธอยกตัวอย่างของเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่ทำเว็บไซต์การทำอาหารและส่งเสริมให้คนรับประทานอาหารในบ้านมากขึ้น เพราะเชื่อว่าการทำอาหารคือการส่งมอบความรัก แม้ ดร. กฤตินีให้คำแนะนำว่าสังคมไทยเป็นสังคมรับประทานอาหารนอกบ้านและเสนอให้จ้างอินฟลูเอนเซอร์ตามค่านิยมการตลาดไทย แต่เพื่อนยืนยันว่าจะทำงานหนักแทนโดยให้เหตุผลว่า “เราต้องทำให้คนรักจากหัวใจ” “เขามานั่งทำงานหนักมา ปรับโปรแกรม ปรับเว็บไซต์ให้คนไทยใช้งานง่าย
ไม่นานมานี้หนุ่ม ๆ ที่ชื่นชอบเรื่องราวของญี่ปุ่นและโปรดปรานการลิ้มรสชาติแสนเฉพาะตัวของซูชิต่างต้องตกใจไปตาม ๆ กัน เมื่อร้านซูชิโคตรดังอย่าง Sukiyabashi Jiro Honten ที่ซ่อนตัวอยู่ในชั้นใต้ดินย่านกินซ่าใจกลางกรุงโตเกียวถูกถอดดาว 3 ดวง และลบชื่อออกจาก Michelin Guide ทั้งที่เป็นร้านซูชิที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการอาหารญี่ปุ่นทำให้คนทั่วโลกต่างจับตามอง UNLOCKMEN จึงไม่พลาดนำเรื่องราวของเจ้าของร้าน Sukiyabashi Jiro นามว่า Jiro Ono มาบอกเล่าให้ฟังกันว่าเพราะเหตุใดเขาถึงกลายเป็นชายที่โลกเรียกว่า ‘ปรมาจารย์ซูชิที่ไม่มีใครเทียบชั้น’ และทำไมร้านอาหารเล็ก ๆ ของเขาถึงกลายเป็นร้านที่เหล่านักชิมทั่วโลกต้องมาเยือนสักครั้ง JIRO ONO ตำนานของวงการซูชิที่ยังมีลมหายใจ แรกเริ่มเดิมทีเรื่องราวของ Jiro Ono และร้านซูชิ Sukiyabashi Jiro ของเขาไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขนาดนี้ เขาเป็นเพียงแค่ผู้ชายที่เปิดร้านซูชิต้นทุนต่ำประทังชีวิตเท่านั้น เพราะฐานะทางบ้านของ Jiro ไม่ได้มั่งคั่งร่ำรวย เขาต้องแอบทำงานพิเศษในร้านอาหารตั้งแต่ 7 ขวบ (ที่ต้องแอบทำเพราะผิดกฎหมายแรงงาน) ถูกพร่ำสอนเสมอว่าเมื่อโตขึ้นเราจะไม่หันหลังกลับ บ้านที่อยู่อาจจะหายไปเมื่อไรก็ได้ ดังนั้นสิ่งที่จะติดตัวเราไปทุกที่คือความตั้งใจและการไม่ยอมแพ้ เมื่อ Jiro เปิดร้านซูชิช่วงแรกเขาไม่สามารถเรียกตัวเองว่าเป็นเชฟได้เต็มปาก ลูกค้าที่เข้ามาในร้านก็ถือว่าเป็นคนหลงเข้ามาเสียมากกว่า
ถ้าพูดถึงชื่อลูอิส แฮมิลตัน (Lewis Hamilton) หนุ่ม ๆ หลายคนรู้จักเขาในฐานะนักแข่งรถสูตร 1 หรือ Formula1 ปัจจุบันเขาเป็นนักขับที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นตำนานของวงการ หลังเจ้าตัวเพิ่งคว้าแชมป์โลกการแข่งขันในปี 2019 ถือเป็นแชมป์สมัยที่ 6 ให้ตัวเขาเอง และยังคงมุ่งหน้าต่อเพื่อคว้าแชมป์สมัยที่ 7 มาครองให้ได้ นอกจากนั้นลูอิสเป็นนักแข่งรถอีกคนที่หลงใหลการเก็บสะสมรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นคลาสสิกหรือยนตรกรรมสมัยใหม่ ว่ากันว่ารถยนต์แต่ละคันของราชารถสูตร 1 คนนี้ล้วนเต็มไปด้วยโมเดลสุดหล่อและโคตรแรง McLaren P1 McLaren P1 คือสุดยอดรถสปอร์ตในคอลเลกชันส่วนตัวของลูอิส แฮมิลตัน โดยรถยนต์โมเดลพิเศษที่ผลิตออกมาเพียง 375 ยูนิตคันนี้ ผลิตในปี 2015 พร้อมกับเครื่องยนต์ไฮบริด M838TQ V8 ขนาด 3.8 ลิตร Twin-Turbo ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า McLaren E-Motor ทั้งหมดให้พลัง 903 แรงม้า รวมถึงวิ่ง 0-100 กิโลเมตรใน 2.7 วินาที ลูอิสเคยให้สัมภาษณ์เหมือนรู้อนาคตว่า
หากคุณเคยไปเดินเล่นย่านเยาวราชหรือเคยขับรถผ่านถนนเจริญกรุงกันมาบ้าง ก็คงพอคุ้นหูกับ ‘ย่านทรงวาด’ ที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลกันนัก เนื่องด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ชิดติดริมแม่น้ำทำให้ในอดีตถนนเส้นนี้ถูกใช้เป็นเส้นทางการค้าส่งอาหารทะเล เครื่องเทศ หรือผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ สองฟากถนนจึงเต็มไปด้วยร้านนำเข้าและส่งออก ซึ่งหลาย ๆ ร้านก็ยังคงดำเนินกิจการมาให้เห็นจนถึงปัจจุบัน เราลัดเลาะไปตามถนนทรงวาด ก่อนจะเดินเข้าไปในตรอกสะพานญวณ อันเป็นที่ตั้งของร้าน ฮบ. ร้านอาหารสไตล์ casual dining สุดลึกลับแห่งย่านทรงวาดที่เป็นจุดหมายปลายทางของเราในวันนี้ ฮบ. ร้านอาหารลึกลับแห่งทรงวาด เมื่อผลักประตูบานสีขาวเข้าไปจะพบกับร้านอาหารบรรยากาศอบอุ่น ภายในผสมผสานเสน่ห์ของตึกเก่าเข้ากับโทนสีเขียวเข้มแบบสมัยใหม่ ผนังปูนเก่าแก่บางส่วนยังคงเอาไว้ ขณะเดียวกันก็เพิ่มกลิ่นอายร่วมสมัยให้ร้านด้วยเฟอร์นิเจอร์สีวินเทจและผนังไม้สีอบอุ่น แถมเพดานบางส่วนที่ยกโครงสร้างขึ้นไปด้านบน ก็ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งและดูไม่อึดอัด ร้าน ฮบ. เป็นร้านอาหารสไตล์ casual dining ที่เสิร์ฟอาหารท่ามกลางบรรยากาศสบาย ๆ ทุกเมนูอาหารของร้านนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์การท่องเที่ยวในต่างแดนของเจ้าของร้านทั้งสี่คน อาหารทุกจานจึงตีความจากประสบการณ์เฉพาะตัวของพวกเขา และถ่ายทอดมันออกมาผ่านคอร์สเมนูดินเนอร์ที่แบ่งเป็นเซต A และ B คอนเซ็ปต์แรกของร้าน ฮบ. คือ ‘Saigon 1st Time’ การไปเที่ยวเวียดนามครั้งแรกที่หยิบนำเอกลักษณ์ของอาหารเวียดนาม มาผสมผสานกับวัตถุดิบท้องถิ่นที่หาได้จากย่านทรงวาด จนเกิดเป็นอาหารเวียดนามสไตล์ฟิวชั่นสุดแปลก โดยเมนูอาหารของร้านจะสับเปลี่ยนทุก ๆ สามเดือน และต้นเดือนมีนาคมของปี 2020
สำหรับผู้ที่ใช้แอปพลิเคชัน Spotify ฟังเพลง เดือนสุดท้ายของปีแบบนี้ก็เป็นธรรมเนียมที่ทางแอปฯ จะปล่อยฟีเจอร์สนุก ๆ อย่าง Spotify Wrapped ออกมาให้พวกเราเล่น ซึ่งเจ้าสิ่งนี้ก็เปรียบเสมือน ‘รายงานประจำปี’ ที่แกะพฤติกรรมการฟังเพลงของเราบนแอปฯ ทุกกระเบียดนิ้ว เราฟังศิลปินคนไหนมากที่สุด ฟังเพลงไหนมากที่สุดในรอบปี ฟังเพลงจากศิลปินกี่ประเทศ มันจะทำการรายงานพร้อมขึ้น Rank จัดอันดับให้โดยละเอียด (ใครยังไม่ได้เล่นลองสังเกตบนหน้าแอปฯ ดูว่าป๊อปอัปขึ้นมาให้กดหรือยังนะครับ) ดูเผิน ๆ ก็เหมือนเป็นแค่การเล่นสนุกทั่ว ๆ ไป แต่อันที่จริงสิ่งนี้นับว่าเป็นการตลาดที่แข็งแกร่งอย่างยิ่งของ Spotify เลยนะครับ เพราะเจ้าสิ่งนี้กลายเป็นไวรัลได้ในชั่วข้ามคืนโดยที่ Spotify ไม่ต้องเสียเงินซื้อสื่อโฆษณาสักแดงเดียว เหตุใดผู้คนจึงชื่นชอบมันถึงขนาดนี้ ? เว็บไซต์ Producthunt.Com เขาได้ลงบทความดี ๆ เขียนโดย Sarah McBride ที่วิเคราะห์สิ่งนี้เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยเธอได้ให้เหตุผลใหญ่ ๆ เอาไว้ 4 ประการ ทั้งหมดที่เรากำลังจะกล่าวนี้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่เกี่ยวกับความซับซ้อนทางเทคโนโลยี แต่มาจาก ‘ความเข้าใจที่มีต่อผู้บริโภค’ ล้วน ๆ
หนาวแรกของ กทม. มาถึงแล้ว เป็นใครก็ต้องอยากออกไปต่างจังหวัดตระเวนล่าหมอก และตั้งเต็นท์ ถ่ายรูปธรรมชาติสวย ๆ ผิงไฟ เฮฮากับเพื่อน หรือพาสาวไปสร้างความประทับใจด้วยกันทั้งนั้น เราเองก็เช่นกัน พอเห็นวันหยุดยาวก็วางแผนลาหยุดและเดินทางไปผ่อนคลายที่อุทยานแห่งชาติแม่เมย จังหวัดตาก กับปางอุ๋ง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อกางเต็นท์พักผ่อน แต่ใช่ว่าทุกคนจะเซียนเรื่องการออกทริป บางคนไปแล้วอาจจะรู้สึกแย่กับความขลุกขลักที่เจอจนไม่อยากเที่ยวแนวแคมป์ปิ้งอีก ทั้งที่จริง ๆ มันไม่ได้ยากขนาดนั้นถ้าเรามีโอกาสเตรียมตัวก่อน เพื่อไม่ให้พลาดแบบเดียวกับที่เราเจอในบางเหตุการณ์ UNLOCKMEN จึงมีทริคสำคัญ 5 ข้อที่พบเจอจากประสบการณ์จริงมาแชร์ให้เตรียมตัวก่อนออกเดินทาง เพื่อนร่วมทางโคตรสำคัญ ปัจจัยนี้ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งที่ขาดไม่ได้ จะชวนไปแคมป์ ไปกางเต็นท์ ถ้าเป็นพื้นที่บนอุทยานที่ไม่ใช่ช่วงทางเข้าหรือลานกางที่มีไว้สำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ และไม่ใช่บริเวณที่มีร้านค้าให้สั่งหมูกระทะ มีน้ำอุ่นให้อาบ (บางแห่ง) สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ควร” หาเพื่อนร่วมทริปที่ดีไปด้วย เพราะเวลาอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องช่วยเหลือตัวเอง เราจำเป็นต้องแบ่งหน้าที่ทำกิจกรรมร่วมกัน บางคนต้องทำกับข้าว บางคนต้องล้างจาน ขับรถ ฯลฯ เวลาแบบนี้นิสัยและตัวตนของแต่ละคนจะออกมา ดังนั้น ถ้าเลือกคนกินแรงไป เราจะต้องรับทำทุกอย่างไว้เอง ถ้าเลือกคนขี้บ่นติดสบายไปอาจจะฟังมันบ่นหูชาจนหงุดหงิด ก่อนออกเดินทางจึงควรมั่นใจว่าถ้าใจเราไม่พร้อมจะทนอยู่ในสภาพนั้นตลอดทริป ควรชวนคนที่มองแล้วว่าคุยกันง่าย อยู่แล้วสบายใจ ไม่เห็นแก่ตัวไปจะดีที่สุด ส่วนเราทริปที่ผ่านมากลุ่มที่เราไปมีทั้งทำกับข้าวได้ คนออกตัวช่วยเหลือคนอื่นเป็นลูกมือ และมีพลขับชำนาญเส้นทาง
“เสี้ยววินาที” คือคำนิยามความเร็วของการติดต่อสื่อสารยุคปัจจุบัน คิดถึงใคร แค่กดโทรหา อยากสื่อสารอะไร แค่พิมพ์ข้อความส่งผ่านอากาศจากมุมโลกหนึ่งก็ถึงอีกมุมโลกหนึ่งอย่างง่ายดาย ไม่เว้นแม้แต่ “เซ็กซ์” ทางไกล สำหรับคนที่ตัวห่างแสนห่าง แต่โหยหากันและกัน อะไรจะดีไปกว่าการแสดงความโหยหาผ่านตัวอักษรและเทคโนโลยีได้อีก? SEXTING นิยามเฉพาะของข้อความซาบซ่าน แม้ผู้ชายหลายคนจะเคยส่งข้อความคุยกับสาว ๆ แบบวาบหวามมาแล้ว จนหลายคนอาจรู้สึกตะขิดตะขวงใจเบา ๆ ว่ามีแค่คู่เราหรือเปล่าที่ทำแบบนี้ UNLOCKMEN อยากบอกว่านี่ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่อย่างใดมีคนจำนวนมากในโลกนี้ที่ “มีเซ็กซ์ผ่านตัวอักษร” จนกลายมาเป็นที่มาของ “SEXTING” หรือ SEX รวมร่างกับ TEXTING จนเป็นคำศัพท์ที่นิยามกิจกรรมสุดสยิวทางข้อความนี้อย่างเป็นทางการ งานวิจัยจาก Drexel University ระบุว่าผู้คนกว่าร้อยละ 80 ล้วนแต่เคย SEXTING ทั้งนั้น ซึ่งสำหรับประชากรโต ๆ แล้วอาจดูปกติธรรมดา แต่งานวิจัย The Nature and Extent of Sexting Among a National Sample of Middle and
ในชีวิตมนุษย์ทำงานทุกคน เราล้วนต้องเผชิญหน้ากับคำวิจารณ์หรือฟีดแบ็คอยู่เสมอเพื่อพัฒนาตัวเองและผลงานให้ดียิ่งขึ้น คำวิจารณ์เชิงบวกไม่ต่างอะไรจากของขวัญล้ำค่าที่เรารอคอย ในขณะที่คำวิจารณ์หรือฟีดแบ็คเชิงลบเป็นสิ่งที่เราอยากหนีไปสุดหล้าฟ้าเขียว เพราะฟังทีไรก็เจ็บลึก สร้างแผลทางความรู้สึกไปนานแสนนาน แต่อยากให้รู้ไว้ว่าบนโลกใบนี้ ไม่มีใครที่รับฟีดแบ็คด้านลบได้อย่างร่าเริงเสมอไป เพียงแต่โลกใบนี้มีมีหนทาง “รับฟีดแบ็คด้านลบแบบมืออาชีพ” อยู่ ที่ต่อให้ข้างในเราจะกระทบกระเทือนเพียงไหน แต่เราจะสามารถรักษาความเป็นมืออาชีพและสามารถนำฟีดแบ็คนั้นมาพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดได้ เพราะในชีวิตการทำงานหรือแม้แต่ชีวิตด้านอื่น ๆ ฟีดแบ็คเชิงลบนี่เองที่จะทำให้เราเห็นข้อผิดพลาด หรือส่ิงที่ต้องปรับปรุง รวมถึงได้เห็นตัวเองในเวอร์ชันที่เราอาจไม่เคยมองเห็นมาก่อน UNLOCKMEN จึงเอาทั้งศาสตร์และศิลป์แห่งการ “รับฟีดแบ็คด้านลบแบบมืออาชีพ” มาฝากกัน รับฟังคำวิจารณ์ครั้งต่อไป เราจะรับฟังอย่างสง่างาม มืออาชีพ และนำมาปรับปรุงตัวเองได้ดีขึ้นแน่นอน ศาสตร์แห่งการไม่หัวร้อน: เพราะคำวิจารณ์ด้านลบ ทำลายภาพที่เราเห็นตัวเอง วินาทีแรกที่เราถูกวิจารณ์ ไม่แปลกที่เราจะโกรธ เนื่องจากนี่คือกลไกอัตโนมัติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนเมื่อตัวเองได้ฟังฟีดแบ็คที่เราไม่เชื่อว่าตัวเราเป็น โดยขั้นแรกเราจะเริ่มโมโห หัวร้อน จากนั้นเราจะเริ่มสร้างเกราะมาปกป้องตัวเองทุกหนทางเท่าที่จะทำได้ และเราจะจบลงด้วยขั้นสุดท้ายคือการเข้าข้างตัวเอง และโยนคำวิจารณ์นั้นทิ้งไป (ทั้ง ๆ ที่มันอาจมีประโยชน์ต่อเรามาก) Tasha Eurich นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาระบุไว้ในบทความ The Right Way to Respond to Negative Feedback ว่าทั้งหมดนั้นเป็นกลไกปกติ แต่ถ้าเราอยากเป็นมืออาชีพมากขึ้น และรับฟีดแบ็คลบ
คงต้องยอมรับว่าปัจจุบัน ‘กล้อง’ นั้นมีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์ไม่น้อย ไม่เพียงเป็นอุปกรณ์บันทึกภาพช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ หากยังช่วยส่งต่อวัฒนธรรมหรือเรื่องราวในอดีตของคนรุ่นเก่าไปสู่คนรุ่นใหม่ผ่านรูปถ่ายได้อีกด้วย แถมความยิ่งใหญ่ของกล้องก็เป็นแรงบันดาลใจให้การดีไซน์นาฬิกาหลายรุ่น ๆ แม้แต่รุ่น Automatic Vintage Lens II ที่ขายดีที่สุดของ TACS ก็ได้อิทธิพลมาจากเลนส์ของกล้องถ่ายรูป และตอนนี้ TACS ใช้วัสดุโลหะแปลงโฉมนาฬิการุ่นวินเทจให้กลายเป็นเรือนเวลาสีเทาเข้มสุดเท่รุ่นล่าสุดของแบรนด์ ภายใต้ชื่อ ‘TACS’ AVL II Dark Metal’ TACS’ AVL II Dark Metal เรือนนี้ถูกอัปเกรดให้แข็งแกร่งและทนทานยิ่งขึ้นด้วยหน้าปัดสี่ชั้น พร้อมเคลือบป้องกันแสงสะท้อนด้วย Super-Luminova ที่เลียนแบบลักษณะของเลนส์กล้อง ทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นตัวเลข เข็ม หรือจุดต่าง ๆ บนหน้าปัดได้อย่างชัดเจน แม้จะอยู่ท่ามกลางแสงแดดจ้าหรือตอนกลางคืนที่มีสภาพแสงน้อยก็ตาม ใต้ชั้นหน้าปัดตกแต่งด้วยลายเส้นวงกลม และครอบกระจกคริสตัลแซฟไฟร์โปร่งใส ที่ดีไซน์มาให้คล้ายกับเลนส์ฟิชอาย (Fisheye) บริเวณขอบหน้าปัดยังได้แรงบันดาลใจจากวงแหวนที่ใช้หมุนซูมและโฟกัสภาพของกล้องอีกด้วย สิ่งที่นาฬิกาเรือนนี้ต่างจากนาฬิกาวินเทจรุ่นก่อน คือใช้สายนาฬิกาสเตนเลสสตีลเกรดพรีเมียมและตกแต่งตัวบอดี้ด้วยสีเทาเข้ม ทำให้ดูลึกลับน่าค้นหา ทั้งยังทรงพลังและทนทานกว่าเดิม ด้านกลไกใช้เครื่องนาฬิการะบบควอทซ์ Citizen Miyota 82S0 ของญี่ปุ่น ช่วยให้การเดิมเข็มน่าเชื่อถือขึ้น